@**๑๖.๒ ความน่าจะเป็นและกฎการแยก**@

รูปภาพของ msw6597

๑๖.๒  ความน่าจะเป็นและกฎการแยก
        จากตารางที่ 16.1 จะเห็นได้ว่า อัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยของรุ่น F2 โดยประมาณจะเท่ากับ3:1 เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อัตราส่วนดั้งกล่าวเมนเดลคงจะไม่ใช่คนแรกที่พบ แต่คนที่พบอัตราส่วนนี้ไม่สามารถอธิบายได้
        เมนเดลเป็นนักคณิตศาสตร์และสถิติ จึงนำกฎความน่าจะเป็น(probability)มาใช่วิเคราะห์การทดลง เพื่ออธิบายอัตราส่วนของลักษณะเด่นและลักษณะด้อยในรุ่น F2 ที่เกิดขึ้นดั้งนี้
        การโยนเหรียญบาทขึ้นไปในอากาศแล้วปล่อยให้ตกลงสู่พื้นอย่างอิสระ โอกาสที่เหรียญจะตกลงมาแล้วออกหัวหรือก้อยได้เท่ากันถ้าโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมๆกันโอกาสที่จะเป็นไปได้มี 3 แบบคือแบบที่1ออกหัวทั้ง 2 เหรียญ แบบที่ 2 ออกหัว1 เหรียญ และออกก้อย 1 เหรียญ แบบที่ 3 ออกก้อยทั้ง 2 เหรียญ โดยอัตราส่วนแบบที่ 1 :แบบที่ 2 :แบบที่ 3 เท่ากับ1:2:3 ดังภาพที่ 16-5

ที่มาของภาพ : สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีวะวิทยา เล่ม ๕( หน้าที่ ๙ ).พิมพ์ครั้งที่ ๓ .สำนักพิมพ์คุรุสภาลาศพร้าว.กรุงเทพฯ.๒๕๕๐

        ในกรณีของการผสมพันธุถั่วลันเตารุ่น F1 ซึ่งมีฟีโนไทป์เป็นฝักสีเขียวและมีจีโนไทป์เป็น Gg อาจเปรียบได้กับเหรียญที่มีหน้าหนึ่งเป็น G อีกหน้าหนึ่งเป็น g การผสมระหว่าง F1 กับรุ่น F1 จึงเท่ากับเป็นการโยนเหรียญขึ้นไปบนอากาศพร้อมๆกัน 2 เหรียญโอกาสที่ยีนในรุ่น F2 จะเข้าคู่กันเป็นได้3แบบคือ GG Gg และ gg โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ1:2:1และมีฟีโนไทป์เป็น 2 แบบ คือ ฝักสีเขียวกับฝักสีเหลือง ในอัตราส่วน 3:1 ดังนั้นปัญหาที่สงสัยว่าอัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยในรุ่น  F2 เหตุใดจึงเท่ากับ 3:1 สามารถอธิบายได้ด้วยกฎของความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เมนเดลประสบความสำเร็จในการทดลอง
        ปัญหาต่อไปก็คือ ยีน G และ g ในรุ่น F1ถูกนำไปยังรุ่น F2ได้อย่างไร จึงทำให้ GG:Gg:gg มีอัตราส่วนดังกล่าวนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อยีน G กับ g จะต้องแยกจากกันไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จึงเกิดเป็นกฎการแยก (Law of segregation)ซึ่งเป็นกฎข้อที่1มีใจความว่ายีนที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะได้รับเพียงแอลลีลใดแอลลีลหนึ่ง   จากกฎข้อที่1 นี้ทำให้สามารถทำนายลักษณะในรุ่น F1 ได้เมื่อรู้จีโนไทป์ในรุ่นพ่อแม่ ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจกฎนี้  ให้นักเรียนศึกษาจากแผนภาพแสดงการทดลงของเมนเดล ดังภาพที่16-6

ที่มาของภาพ : สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีวะวิทยา เล่ม ๕( หน้าที่๑๐).พิมพ์ครั้งที่ ๓ .สำนักพิมพ์คุรุสภาลาศพร้าว.กรุงเทพฯ.๒๕๕๐

        จากภาพที 16-6 รุ่น F1 มีฟิโนไทป์แป็นฝักสีเขียวทั้งหมด และมีจีโนไทป์เป็น Gg รุ่น F2 มีฟิโนไทป์เป็น2แบบ คือ ฝักสีเขียวและฝักสีเหลืองในอัตราส่วน 3:1 ฝักสีเหลืองเป็นลักษณะด้อยที่แฝงอยู่ในรุ่น F1 จะปรากฏออกมาในรุ่น F2 ทำให้ร่น F2 มีลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยในอัตราส่วนเท่ากับ 3:1
        เมนเดลไม่ทราบว่ามีกลไกอะไรที่ทำให้ยีนที่เป็นคู่กันแยกออกจากกันในระหว่างที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์  และยังไม่ทราบเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส แต่ด้วยความสามารถทางคณิตศาสตร์จึงทำให้พบกฎแห่งการแยก ที่เป็นกฎที่สำคัญในวิชาพันธุศาสตร์ ในภายหลังจึงเป็นที่ทราบกันว่ายีนที่เป็นคู่กันจะแยกจางกันเมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส และเมื่อมีการปฏิสนธิจะเกิดการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ ยีนจะกลับมาเป็นคู่กันอีกครั้ง

ที่มาของข้อมูล : สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์แล้เทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีวะวิทยา เล่ม ๕( หน้าที่๙-๑๐).พิมพ์ครั้งที่ ๓ .สำนักพิมพ์คุรุสภาลาศพร้าว.กรุงเทพฯ.๒๕๕๐

รูปภาพของ mswsompoch

ตรวจงานแล้วนะครับ...Wink 

แต่มีคนเข้าดูน้อยจัง....!!!....

รูปภาพของ mswsompoch

ตรวจงานแล้วนะครับKiss

สะกดผิดนะแก้ไขด้วย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 213 คน กำลังออนไลน์