คำตอบข้อที่1

รูปภาพของ msw6632

ตอบ    1.T-A-C-G-C-T-T-T-T-C-G-C-A-A-A-G-A-C-C-T-G-C-C-A-G-T-G-A-T-T

2. การบำบัดด้วยยีนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งบำบัดรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องของยีนใดยีนหนึ่ง โดยการใส่ยีนที่ทำงานได้ดีเข้าไปทดแทนหรือเสริมยีนที่บกพร่องในร่างกายของคนไข้มีขั้นตอนหลัก คือ นำยีนปกติถ่ายเข้าสู่เซลล์ร่างกายหรือเนื้อเยื่อที่บกพร่อง ยีนปกตินี้จะรวมกับจีโนมของเซลล์ เมื่อยีนแสดงออกก็จะสร้างโปรตีนที่ปกติหรือผลผลิตที่ต้องการ ปัจจุบันการทำยีนบำบัดที่ใช้กันมากคือ เทคนิคการนำเซลล์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงยีนออกมานอกร่างกาย แล้วทำการเปลี่ยนแปลงยีนโดยใช้ไวรัสเป็นตัวนำยีนที่ปกติด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรม แล้วนำไวรัสเข้าสู่เซลล์ ยีนจะแยกเข้าสู่โครโมโซมของเซลล์นี้  จากนั้นจึงนำเซลล์ดังกล่าวใส่กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างการบำบัดด้วยยีนของโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์


3. ถ้าเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมมีความพร้อมและนำมาใช้กับมนุษย์ ในทางการแพทย์สามารถตรวจ DNA ในเด็กแรกเกิดหรือขณะอยู่ในครรภ์เพื่อค้นหาโรคบางอย่าง ถ้าทราบล่วงหน้าจะทำการบำบัดด้วยยีน ซึ่งอาจหายจากโรค ตรงข้ามก็อาจเกิดความกังวลได้เช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการคัดเลือกคุณสมบัติต่างๆ ในการให้กำเนิดเด็กในอนาคตจะไม่ใช่เพียงการคดเลือกลักษณะที่เป็นโรคออกไปเท่านั้น แต่จะคัดเลือกลักษณะที่ดีๆ เอาไว้ โดยผู้ที่มีฐานะดีในสังคมจะมีโอกาสเลือกได้มากกว่า ในการใช้พันธุวิศวกรรม ก็เพื่อเปลี่ยน แปลงพันธุกรรม เพื่อให้ลูกหลานแข็งแรงและฉลาดที่สุด จึงอาจสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมในอนาคต ทำให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้นมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ถ้าไม่ระมัดระวังในการนำมาใช้ นอกจากนี้วงการวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายความเสี่ยงได้ว่า ในระยะยาว คนที่เกิดมาแล้วและถูกเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมนั้นจะสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงใด และหากอนุญาตให้มีการทำยีนบำบัดกับเซลล์ตั้งต้นที่จะสร้างไข่และสเปิร์มก็อาจจะมีผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์ต่อไปในอนาคต


4. เมื่อก่อนหน้านี้การคัดเลือกพันธุ์พืชจะใช้วิธีการผสมพันธุ์พืชที่เป็นชนิดเดียวกันหลายๆ ชั่วรุ่น จึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะดีตามที่เราต้องการ แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมในการคัดเลือกพันธุ์ เป็นวิธีที่ทำได้กับพืชต่างชนิดกัน โดยการสร้าง DNA สายผสม หรือรีคอมบิแนนท์ DNA ซึ้งนำ DNA ที่มียีนที่ต้องการจากพืชชนิดหนึ่งมาใส่ในยียของพืชอีกชนิดหนึ่งเพื่อให้ได้พืชสายพันธุ์ใหม่ พืชที่ได้รับการดัดแปลงยีนจะมีลักษณะดีตามที่ต้องการแตกต่างไปจากต้นเดิม ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่คัดเลือกพันธุ์พืชได้ในระยะเวลาอันสั้นอาจเพียงหนึ่งชั่วชีวิตของพืช (1 รุ่น) และมีประสิทธิภาพสูงด้วย


5. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงหรืออันตรายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร GMOs ดังนี้ เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดสารโรคภูมิแพ้  เนื่องจากการถ่ายทอดยีนจะทำให้มีการผลิตโปรตีนบางชนิดและ โปรตีน คือ สิ่งที่กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ ตัวอย่างเช่น มีการนำยีนจากถั่วบราซิลมาทำ GMOs  เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนในถั่วเหลือง อาจมีผู้บริโภคถั่วเหลืองสายพันธุ์ใหม่เกิดอาการภูมิแพ้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่วบราซิล นอกจากนี้ยังอาจทำให้เชื้อโรคในร่างกายเกิดการดื้อยาได้  เนื่องจากมักใช้ยีนที่สร้างสาต่อต้านยาปฏิชีวนะเป็นยีนเครื่องหมาย ถ้าแบคทีเรียในร่างกายของคนได้รับยีนนี้เข้าไปก็จะทำให้ได้แบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ การรักษาโรคจึงไม่ค่อยได้ผล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 274 คน กำลังออนไลน์