รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

      รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

การทุจริตของข้าราชการและผู้แทนราษฎรบางคน การที่เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะตกต่ำเพราะเป็นช่วงสงครามโลกเพิ่งเลิก และความไม่พอใจของฝ่ายทหารเกี่ยวกับสถานะภาพของฝ่ายทหาร ในที่สุดทหารกลุ่มหนึ่งก็ได้ทำการยึดอำนาจ นายทหารที่เป็นต้นคิดนั้นเป็นทหารนอกประจำการเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญคือ พลโทผิน ชุนหะวัณ นายทหารนอกประจำการอดีตแม่ทัพไทยที่ไปรบเชียงตุง    ,นาวาอากาศเอกกาจ กาจสงคราม อดีตสมาชิกคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475     ,พันโทก้าน จำนงภูมิเวท นายทหารนอกประจำการและสมาชิกพฤฒิสภา   ,พันเอกสวัสดิ์ สวัสดิ์เกียรติ เจ้ากรมเกียกกายทหารบกผู้วางแผนเชิญจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้ากลุ่มเพราะยังเคารพจอมพล ป. อยู่ และจะเป็นผู้ร่วมคิดยึดอำนาจนี้ ยังมีนายทหารที่ได้ไปเชิญมาร่วมงาน อีก 3 ท่าน คือ  พันเอกสฤษต์ ธนะรัชต์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1       ,พันโทประภาส จารุเสถียร ผู้บังคับกองพัน กรมทหารราบที่ 1      ,พันโทถนอม กิตติขจร อาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก  และมีนายทหารที่เป็นลูกของพลโทผิน ในภายหลังจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี และก็ถูกยึดอำนาจคือ ร้อยเอกชาติชาติ ชุณหะวัณ ผู้บังคับกองร้อยกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์   และคนสำคัญอีกคนในกลุ่มผู้ยึดอำนาจ โดยที่ท่านผู้นี้เป็นผู้ดูฤกษ์ยาม ว่าจะทำวันไหน และตรวจดวงชะตาของฝ่ายรัฐบาล     นอกจากนั้นการยึดอำนาจครั้งนี้มีอดีต ส.ส.จังหวัดเชียงราย  เป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการยึดอำนาจ การยึดอำนาจลงมือดำเนินการ เวลา 23.30 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน คณะผู้ทำการรัฐประหารทำคล้าย ๆ กับการก่อการฯ ปี พ.ศ. 2475 คือ การจับบุคคลสำคัญกับการยึดสถานที่สำคัญ บุคคลสำคัญที่ถูกวางแผนจับคือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และพลเรือตรีสังวรณ์ สุวรรณชีพ อธิบดีกรมแต่จับกุ่มไม่ได้เพราะทั้ง 3 ท่าน รู้ตัวและหลบหนีไปก่อน  แต่การยึดอำนาจก็สำเร็จด้วยดี เพราะไม่มีใครต่อสู้

คณะผู้ยึดอำนาจได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 มีความว่าดังนี้

 

                                                             คำแถลงการณ์ฉบับที่ 1

พี่น้องทหารทั้งหลาย

ด้วยคณะทหาร ข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ และประชาชนของชาติไทย มีความเห็นร่วมเป็นเอกฉันท์ว่าภาวการณ์ของชาติไทย เท่าที่ปรากฏในปัจจุบันนี้คณะรัฐบาลปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ด้วยดีได้ จึงเป็นเหตุให้พี่น้องทั้งหลายได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสดังที่ผจญอยู่ในเวลานี้ คณะรัฐบาลปัจจุบันก็รู้ดีว่าตนไม่สามารถจะกระทำการแก้ไขได้ เช่นไม่ สามารถแก้ไขในการครองชีพของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องข้าว มิหนำซ้ำยังปล่อยให้เกิดทุจริตในเรื่องนี้และเรื่องอื่น ๆ อย่างขนานใหญ่ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลมีอำนาจสามารถ ป้องกันและปราบปรามได้นับว่าเป็นการทำให้ราษฎรได้รับความทรมานในทางจิตใจและร่างกายอย่างยิ่งยวด ยิ่งกว่านั้นพวกนักการเมืองบางคนที่ถือเอาการเมืองเป็นเครื่อง บังหน้ายังฉวยโอกาสในยามที่บ้านเมืองคับแค้นเช่นนี้ ทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงกอบโกยเอาผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองโดยมิได้ละอายใจแต่อย่างใด ในขณะที่ราษฎรทั้งประเทศจะอดตาย แต่พวกคณะรัฐบาลและพวกฉวยโอกาสบางเหล่ากลับมีความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญและฟุ่มเฟือยโดยไม่คำนึงถึงเสี่ยงร่ำร้องของประชาชนแต่ประการใด ความเหลวแหลกในทางปฏิวัติของวงการรัฐบาล เป็นผลให้เกิดความทุกข์ร้อนทุกหย่อมหญ้าโดยมูลเหตุที่ได้ตระหนักในความเหลวแหลกของวงการรัฐบาล และความทุกข์ยากของประชาชนเช่นนี้จึงจำใจต้องทำการยึดอำนาจบังคับให้รัฐบาลลาออกและจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้นใหม่ต่อไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยกันกวาดล้างความทุจริตและความเหลวแหลกนานาประการในวงการรัฐบาลเสีย และกำจัความเดือดร้อนทุกข์เข็ญของประชาชนโดยรีบด่วนฉะนั้นเพื่อความสงบเรียบร้อย ขอให้บรรดาประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศตั้งอยู่ในความสงบ อย่าได้กระทำการใด ๆ เป็นการขัดขวางเป็นอันขาดบรรดาข้าราชการทั้งหลาย พึงรักษาหน้าที่ของตนตามปกติและรอรับคำสั่งต่อไป ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ให้ข้าราชการทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

                                                                                                                                                                                 คณะทหาร

                                                                                                                                                                            9 พฤศจิกายน 2490  

 

 การยึดอำนาจครั้งนี้ไม่มีใครบาดเจ็บหรือว่าตาย คณะผู้ยึดอำนาจเรียกคณะของตนว่า “คณะทหาร  และเป็นการยึดอำนาจของฝ่ายทหารบกเพียงฝ่ายเดียวซึ่งต่างจากการปฏิวัติใน ปี 2475 ทีเกิดจาก ความร่วมมือของ ฝ่ายพลเรือน ทหารบก ทหารเรือ  จึงทำให้ฝ่ายทหารบกครองอำนาจตั้งแต่นั้นมา เมื่อยึดอำนาจแล้วก็ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 และนำรัฐธรรมนูญที่เตรียมไว้มาประกาศใช้ เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 โดยนำไปให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนามประกาศใช้ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั่นเอง   เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจแล้วก็ไม่ได้ตั้งรัฐบาลเอง แต่ให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล พลโทผิน ให้สัมภาษณ์ว่าคณะทหารไม่ต้องการตำแหน่งรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2490 กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรภายใน 90 วัน รัฐบาลนายควง ได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ซึ่งจำนวนเพียง 99 คน เพราะกำหนดว่าให้มีผู้แทนฯ 1 คน ต่อประชากร 200,000 คนไม่ใช่ต่อ 100,000 คน เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 หลังการเลือกตั้งรัฐสภาแล้วก็ให้นายควงเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่นายควงเป็นนายกรัฐมนตรีมาได้เพียงแค่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ก็ลาออกจากตำแหน่ง เพราะคณะรัฐประหารชุด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได้บังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง และนายควง ก็ลาออกโดยดี ซึ่งเท่ากับว่าคณะรัฐประหารให้นายควงเป็น นกยาอยู่ 5 เดือน  แล้วก็เข้าบริหารประเทศเอง  แต่ให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี   ขณะที่คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490   เชิญจอมพล ป. มาเป็น นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. อายุ 51 ปี และถึงจอมพล ป. จะเป็นนายกรัฐมนตรีแต่อำนาจนั้นอยู่ที่คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 มีผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้เป็นรัฐมนตรีร่วมในรัฐบาลของจอมพล ป.  คือ พลโทมังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงหลังนี้นาน 10 ปี 4 เดือน

สร้างโดย: 

นายวีรยุทธ เพ็ชร์นิล ศีลาจารพิพัฒน์ ม.6/1 เลขที่ 20

 

รูปภาพของ silavacharee

Kiss

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 377 คน กำลังออนไลน์