user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('อบเชย', 'node/18753', '', '18.224.63.61', 0, '0542dae11751fb92480d0cf5f0467b50', 128, 1715911495) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

กำเนิดคอมพิวเตอร์

รูปภาพของ dsp6285


การกำเนิดของคอมพิวเตอร์

 มนุษย์พยายามสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยการคำนวณมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จึงได้พยายามพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้ง่ายเพิ่มขึ้นตามลำดับ
 ซึ่งพอที่จะลำดับเครื่องมือที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมามีดังนี้
 ในระยะ 5,000 ปี ที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนาเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน
 ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
 และยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

   พ.ศ. 2518
 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
 
 พ.ศ. 2185
 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ได้ออกแบบเครื่องมือช่วยในการคำนวณโดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ
 ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เช่นเดียวกับการทดเลขสำหรับผลการคำนวณจะดูได้ที่ช่องบน
 และได้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนเมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณบวกและลบ เท่านั้น ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าไร


 ในปี 2216 
 นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ Gottfried Wilhelm Baronvon Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของปาสคาล
 ซึ่งใช้การบวกซ้ำ ๆ กันแทนการคูณเลข จึงทำให้สามารถทำการคูณและหารได้โดยตรง ซึ่งอาศัยการหมุนวงล้อของเครื่องเอง เครื่องคิดเลขที่ไลบนิซ
 สร้างขึ้นเรียกว่า Leibniz's Stepped และยังค้นพบเลขฐานสอง (Binary Number) คือ เลข 0 และเลข 1 ซึ่งเป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ


   พ.ศ. 2344
 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครืองทอผ้าโดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่งควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้
 ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร (Punched Card Machine) ในเวลาต่อมา และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ชุดคำสั่ง (Program) สั่งทำงานเป็นเครื่องแรก
 
   พ.ศ. 2373
 Charles Babbage ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ของอังกฤษ ได้สร้างเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine)
 ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ แต่ก็ไม่สำเร็จตามแนวคิด ด้วยข้อจำกัดทางด้านวิศวกรรมในสมัยนั้น
 แต่ได้พัฒนาเครื่องมือหนึ่งเรียกว่า เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เครื่องนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
   1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
   2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
   3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูลและส่วนประมวลผล
   4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยเครื่องวิเคราะห์นี้มีลักษณะใกล้เคียง
 กับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์"


 พ.ศ. 2385
  สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนขั้นตอนของคำสั่งวิธีใช้เครื่องนี้
 ให้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือ Taylor's Scientific Memories จึงนับได้ว่า ออกุสต้า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
 และยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรูที่บรรจุชุดคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำใหม่ได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ
 หรือที่เรียกว่า Loop เครื่องมือคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number)

แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์
ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้เลขฐานสอง (Binary Number)กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต


  พ.ศ. 2397
  นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้สร้างระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า พีชคณิตบูลลีน (Boolean Algebra)ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการออกแบบวงจรไฟฟ้า
 และอิเล็กทรอนิกส์และการออกแบบทางตรรกวิทยาของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันด้วย


  พ.ศ. 2423
   Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติเครื่องแรก ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกา
 เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริท หรือบัตรไอบีเอ็ม เพราะผู้ผลิตคือบริษัท ไอบีเอ็ม


   พ.ศ. 2480
  ศาสตราจารย์ Howard Aiken ได้พัฒนาเครื่องคำนวณตามแนวคิดของแบบเบจ ร่วมกับวิศวกรของบริษัท ไอบีเอ็มได้สำเร็จโดยเครื่องจะทำงานแบบเครื่องจักรกลปนไฟฟ้า
 และใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อในการนำข้อมูลเข้าสู่เครื่องเพื่อทำการประมวลผล เครื่องมือนี้มีชื่อว่า MARK I
 หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า IBM Automatic Sequence Controlled Calculator และนับเป็นเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก


 พ.ศ. 2486
  เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ต้องการเครื่องคำนวณหาทิศทางและระยะทางในการส่งขีปนาวุธ
 ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชม.ต่อการยิง 1 ครั้ง ดังนั้น จึงให้ทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ Persper Eckert สร้างคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา
 มีชื่อว่า ENIAC (Electronic Numerical Intergrater and Calculator) สำเร็จในปี 2489 โดยนำหลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอดมาใช้ในการสร้าง ซึ่งมีข้อดีคือ
 ทำให้เครื่องมีความเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น


  พ.ศ. 2492
     Dr. John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้สำเร็จ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถุฏพัฒนาขึ้นตามแนวคิดนี้
 ได้แก่ EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และนำมาใช้งานจริงในปี 2494 และในเวลาเดียวกันมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์
 ในลักษณะคล้ายกับเครื่อง EDVAC นี้ และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Strorage Automatic Calculator) มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ EDVAC คือเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำ
  แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไปคือ ใช้เทปแม่เหล็กในการบันทึกข้อมูลต่อมา ศาสตราจารย์แอคเคิทและมอชลี
 ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก ชื่อว่า UNIVAC I (Universal Automatic Calculator) ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อขายหรือเช่า เป็นเครื่องแรกที่ออกสู่ตลาดซึ่ง
 ทำให้คอมพิวเตอร์ขยายตัวออกไปในภาคเอกชน และเริ่มมีการซื้อขายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


      คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น    4  ยุค

 ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2488-2501) จะใช้หลอดสูญญากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญภาษาที่ใช้
 สั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานต้องใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลข     ในปลายยุคนี้มีการ
 นำเทปแม่เหล็กมาเก็บข้อมูลควบคู่กับบัตรเจาะรู หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์
 ทำด้วยวงแหวนแม่เหล็กขนาดเล็กหน่วยความจำหลักนี้จะเก็บข้อมูลเฉพาะการประมวลผล
 ถ้าต้องการเก็บข้อมูลถาวรต้องบันทึกด้วยบัตรเจาะรู 

 ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2506)  ยุคนี้ใช้ทรานซีสเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
 แทนหลอดสูญญากาศในยุคนี้มีการใช้ภาษาแอสเซมบลี(Assembly Language)ซึ่งเป็น
 ภาษาที่ใช้คำย่อเป็นคำแทนรหัสตัวเลข
      ในปี พ.ศ. 2505 มีการนำเอาชุดจานแม่เหล็กที่ถอดเปลี่ยนได้มาบันทึกข้อมูลแทนการ
 ใช้แถบแม่เหล็ก

 ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507-2512)ยุคนี้จะใช้วงจรไอซี  (IC หรือ Integrated Circuits) ซึ่งเป็นการบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากบนแผ่นซิลิกอนเล็กๆแทนการใช้
 ทรานซิสเตอร์เล็กๆ ซึ่งทำให้มีความเที่ยงตรงในการทำงานสูงมีความเร็วในการทำงาน
 สูงขึ้นราคาถูกและกินไฟน้อย

 ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2513 ถึง ปัจจุบัน) จากวงจรไอซี ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการพัฒนาแอลเอสไอ (LSI = Large Scale Integration Circuit)ทำให้สามารถ
 บรรจุทรานซิสเตอร์ จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิกอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว
      ในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มวงจรหลายหมื่นวงจรบนแผ่นซิลิกอนขนาดเท่าเดิม
 เรียกว่า วีแอลเอสไอ (VLSI = Very Large Scale Integration Circuit) ทำให้ขนาด
 ของคอมพิวเตอร์เล็กลง

ในความเป็นจริงแล้ว ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการมาทำงานประสานงานร่วมกันซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย

         

            1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
           

             2. ซอฟต์แวร์ (Software) 
          

             3. บุคลากร (Peopleware)

4. ข้อมูล (Data)

     1.ฮาร์ดแวร์
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม)
 เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)  หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

      2  ซอฟต์แวร์
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)

คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา

2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

    3. บุคลากร

หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)

คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User)

คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น


4.ข้อมูล

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์
พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท
คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

 

 

แหล่งที่มา

 http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu4.htm

สรุป

ที่ได้ค้นหามา   คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวนและความสะดวกของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งมีมานานหลายกว่าปี และคอมพิวเตอร์ก็ได้ถูกปรับปรุงให้สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

ที่สำคัญส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์นั้นก็มีมากมายหลายชิ้นส่วน หลักๆอย่างที่เราสังเกตุเห็นจากภายนอกก็คือ หน้าจอ แป้นพิมพ์ หรือที่เรียกว่าคีย์บอล์ด เมาส์  CPU แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีการออกแบบมากมายให้ดึงดูดใจลูกค้าเช่น การออกแบบลักษณะที่ดูแปลกตา ปรับเปลี่ยนให้เกิดการมีลวดลายหลากหลาย

ฮาร์ดแวร์หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้   

ซอฟแวร์ หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง

 บุคลากร หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ

  คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น    4  ยุค

 ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2488-2501) จะใช้หลอดสูญญากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญภาษาที่ใช้
 สั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานต้องใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลข     ในปลายยุคนี้มีการ
 นำเทปแม่เหล็กมาเก็บข้อมูลควบคู่กับบัตรเจาะรู หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์

 ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2506)  ยุคนี้ใช้ทรานซีสเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
 แทนหลอดสูญญากาศในยุคนี้มีการใช้ภาษาแอสเซมบลี

  ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507-2512)ยุคนี้จะใช้วงจรไอซี  (IC หรือ Integrated Circuits) ซึ่งเป็นการบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากบนแผ่นซิลิกอนเล็กๆแทนการใช้
 ทรานซิสเตอร์เล็กๆ ซึ่งทำให้มีความเที่ยงตรงในการทำงานสูงมีความเร็วในการทำงาน
 สูงขึ้นราคาถูกและกินไฟน้อย

 ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2513 ถึง ปัจจุบัน) จากวงจรไอซี ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการพัฒนาแอลเอสไอ (LSI = Large Scale Integration Circuit)ทำให้สามารถ
 บรรจุทรานซิสเตอร์ จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิกอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งที่กล่าวมานั้นต่างก็มีความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าอยากให้คอมพิวเตอร์มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ ช่วยในการทำงานของเรา  ช่วยในการจำและยังมีฟังค์ชั่นให้เลือกมากมายหลายอย่าง

ย้อนไปในสมัย5,000ปีก่อนจากที่มนุษย์เพิ่งจะรู้จักการใช้นิ้วมือนิ้วเท้า แต่ก็เรียนรู้ในพัฒนาตนเอง พัฒนาสิ่งที่อยู่รอบข้างทีละนิด เริ่มหาสิ่งที่จะเข้ามาช่วยในการจดจำข้อมูลต่างๆ ปรับปรุงออกมาเรื่อยๆ จนมาถึงยุคของคอมพิวเตอร์ในพ.ศ.2492 เริ่มมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน Dr.John Von Neumannได้พบโปรแกรมในการเก็บความจำของเครื่องได้สำเร็จ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ถูกพัฒนามาตามแนวคิดนี้แล้วจึงนำมาใช้ในปีพ.ศ.2494 และในขณะเดียวกันได้มีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้สร้างคอมพิวเตอร์

ความคิดเห็น

มีความรู้สึกว่าคอมพิวเตอร์ในสมัยนี้เริ่มมีความจำเป็นกับมนุษย์เราในตอนนี้มาก เพราะ คอมพิวเตอร์ช่วยการจดจำได้ดีกว่าตัวมนุษย์ซะอีก จึงเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดีกับตัวผู้ที่ได้เล่นมากนัก เพราะในแต่ละวันมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป้นเด็ก ซึ่งบางทีคอมพิวเตอร์ก็ให้ผลเสียกับเรา  เช่นอย่างที่มีปัญหาในปัจจุบันคือ มีการติดเกมส์ในหมู่นักเรียน นักศึกษา แต่อย่างไรถ้าเราเล่นให้รู้จักเวลาและการทำงานก็เป็นผลดีกับผู้ใช้

แต่ถึงอย่างไรคอมพิวเตอร์ก็มีทั้งประโยชน์และโทษดังนั้นเราต้องรู้จักใชคอมพิวเตอร์ให้ถูก

รูปภาพของ dsp6290

เอิ๊ก เอิ๊ก.. . ^^

ตั้งจั้ยทามงานชิ้นที่ 5 ดั๊ว ววว เน้ อ:[[

เพิ่ ล ลล ร๊า ก กกกกก ของกุ KissKiss

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 270 คน กำลังออนไลน์