เรื่องกำเนิดคอมพิวเตอร์

รูปภาพของ dsp6023

 

การกำเนิดคอมพิวเตอร์ 

คอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้เราเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหล่าสิ่งประดิษฐ์และเครื่องจักรกลที่ช่วยการคำนวนที่ยังไม่ได้นำความสามารถทางอเล็กทรอนิกส์มาใช้ ซึ่งเราขอกล่าวสรุปถึงชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการกำเนิดคอมพิวเตอร์
ในปี ค.ศ. 1896 Hollerith ได้ตั้งบริษัท Tabulating Machine Company เพื่อขายเครื่องจักร และบัตรเจาะรู เพื่อใช้งานทางด้านธุรกิจ่างๆ และในปัจจุบันบริษัทของ Hollerith นี้ก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทไอบีเอ็ม

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น George Boole นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบพีชคณิตแบบใหม่ได้แก่ Boolean Alyebra ซึ่งใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 1 และ 0 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกะพื้นฐานกำเนิดเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์

เครื่องมือทั้งลายที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ล้วนเป็นเครื่องจักรซึ่งประกอบด้วยฟันเฟือง คาน ลูกรอก ซึ่งส่วนมากมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก จึงทำให้การทำงานมีความช้าและผิดพลาดอยู่เสมอ ดังนั้นในยุคต่อมาของกำเนิดคอมพิวเตอร์จึงเป็นการคิดค้นที่หันเข้าสู่เครื่องจักรที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักน้อยลง


ในปี ค.ศ. 1931 Howard H.Aiken ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นที่มหาลัยฮาร์วาร์ด โดยอาศัยแนวคิดของบัตรเจาะรูเป็นสื่อนำข้อมูลเข้า พร้อมด้วยการทำงานแบบเครื่องจักรกลไฟฟ้า และการพัฒนาดังกล่าวนี้ได้เสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 1944 ภายใต้การสนับสนุนด้านการเงิน และบุคลากรจากไอบีเอ็ม Mark I จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า IBM. Automatic Setwence Controlled Calculator

ในปี ค.ศ. 1939 Dr. John V. Atansoft นักฟิสิกส์แห่ง iowa state college ได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญแก่วงการคอมพิวเตอร์ แต่ผลงานมักจะถูกหลงลืมและไม่ได้เป็นที่กล่าวขวัญถึงบ่อยนัก อย่างไรก็ดีผลงานของ Atanasoft ซึ่งเรียกว่า ABC หรือ Atanasoft-Berry Computer ถือได้ว่าเป็นเครื่องดิจิตอลคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแรกของ โดยได้นำหลอดสูญญากาศ (acaum tube) มาใช้แทนเครื่องจักรกลไฟฟ้า

         อ้างอิงจาก  http://img.icez.net/i/lm/zx2us1.jpg

 ชาวจีนในประมาณ 2600 ปี ก่อนคริสตกาล ได้เป็นคนประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณ ขึ้นมา เรียกว่า ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องคำนวณและคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ได้ออกแบบเครื่องช่วยในการคำนวณโดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟือง
พ.ศ. 2337 กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช (Gottfried von Leibniz)ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูง สามารถคูณและหารได้ บุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเครื่องจักรคำนวณคือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2343 เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า Difference engine ต่อมา
ในปีพ.ศ.2439 ฮอลเลอริชได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ ชื่อ บริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติงเรดคอสดิง หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2467 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine: IBM)
แนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจนั้นก้าวหน้ามากโดยเฉพาะแนวคิดทางด้านการใช้โปรแกรมควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติ แบบเบจได้ริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการใช้คำสั่งเลือกแบบมีเงื่อนไข เครื่องวิเคราะห์ที่แบบเบจวิเคราะห์ขึ้นอาจกล่าว ได้ว่าเป็นแนวคิดเดียวกับการ ทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่แบบเบจก็ไม่สามารถสร้างเครื่องวิเคราะห์นี้ให้เป็นจริงได้เนื่องจากเป็นความคิดที่ล้ำยุคเกินไป จึงทำให้ ไม่มีช่างฝีมือคนใดสามารถผลิตฟันเฟืองต่างๆ ตามที่เขาต้องการได้ แบบเบจถึงแก่กรรมก่อนที่จะได้ทราบว่าแนวคิดของเขานั้น สามารถ เป็นจริงได้ในเชิงไฟฟ้าไม่ใช่เชิงกล แบบเบจจึงได้รับสมญานามว่า เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์แบ่งออกป็นกี่ยุค

4 ยุคคือ

ยุคที่ 1 (ค.ศ. 1951 – 1958)

Eckert และ Mauchly ผู้พัมนาเครื่อง ENIAC นั้นนอกจากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีและยังมีหัวทางธุรกิจด้วย โดยเขาทั้งสองได้จัดตั้งบริษัท Eckert – Mxachly Computer Corporation ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความจริงว่าคอมพิวเตอร์สามารถถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้ในงานอื่นๆ

ในปี ค.ศ. 1950 เขาได้ขายธุรกิจของเขาให้แก่บริษัท Remington Rand Corporation ซึ่งได้สร้างเครื่อง UNIVAC I ขึ้นมาใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี ค.ศ. 1951 จึงนับได้ว่า UNIVAC I เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ

วิวัฒนาการในยุคต่างๆ มาของคอมพิวเตอร์อยู่ที่ก้าวหน้าทางอุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์และคิดค้นวิธีการสร้างหน่วยความจำแบบต่างๆ ระบบหน่วยความจำที่เกิดขึ้นและนำมาใช้ในเครื่อง UNINAC II คือ การใช้วงแหวนแม่เหล็ก (haynetic core) ซึ่งนับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ และนำมาใช้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมในคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (ค.ศ. 1959- 1964)

เทคโนโลยีที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ได้แก่ อุปกรณ์

ที่เรียกว่า “ทรานซิสเตอร์” (Transistor) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นด้วยฝีมือของนักฟิสิกส์ที่ศูนย์วิจัยเบลล์ เมื่อปี ค.ศ. 1948 และทรานซิสเตอร์ก็ได้เข้ามาแทนที่หลอดสูญญากาศที่ใช้อยู่ในวิทยุ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์

เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกได้กำเนิดขึ้นในสมัยคอมพิวเตอร์ยุคที่สองนี่เอง ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่ถูกออกแบบให้สามารถทำการคำนวณได้เร็วกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้หลายเท่า ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ ได้แก่ เครื่อง CDC 6600 ซึ่งสามารถประมวลผลได้ 3 ล้านคำสั่งใน 1 วินาที ลูกค้ารายสำคัญของซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ได้แก่ องค์กรของรัฐบาล และธุรกิจขนาดใหญ่

 

  อ้างอิงจาก  http://img.icez.net/i/4d/zx4we2.jpg

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (ค.ศ. 1965 – 1970)

การปฏิบัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกและครั้งสำคัญ ซึ่งนำไปสู่คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ได้แก่ การคิดค้น “วงจรเบ็ดเสร็จ” (Integrated Circuit) หรือ IC ซึ่งได้แก่ สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ชิ้นเล็กๆ ที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะ (Losic circuit) ไว้ได้หลายวงจร วงจรเหล่านี้จะถูกพิมพ์ลงบนซิลิกอน (Silicon) และเราเรียกมันว่า “ชิป” (Chip)

ในปี ค.ศ. 1965 บริษัท Digital Equipment Corporation (DIC) ได้เปิดตัวมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรกออกมาด้วยขนาดและราคาที่ย่อมเยากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เพื่อมุ่งหวังจะให้เป็นรุ่นที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก อย่างไรก็ดีแนวการออกแบบมินิคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การที่ผู้ใช้สามารถทำงานโต้ตอบกับระบบได้หลายๆ คนพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างระบบได้อีกด้วย

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

จากอดีตที่ผ่านมานั้นค่อนข้างจะเห็นถึงการแบ่งคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจนโดยสรุปได้สั้นๆ ว่า ยุคที่หนึ่งเป็นยุคของหลอดสูญญากาศ ยุคที่สองเป็นยุคของทรานซิสเตอร์ และยุคที่สามเป็นยุคของวงจรเบ็ดเสร็จแต่ตั้งแต่หลังคอมพิวเตอร์ในยุคที่สามเป็นต้นมา วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกได้แก่ Altair 8800 ซึ่งจำหน่ายออกมาในรูปแบบของชุดเครื่องที่ผู้ใช้จะต้องนำมาประกอบและโปรแกรมให้ทำงานเอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 Stephen wozniak และ Steven Jobs ได้เปิดตัวเครื่อง Apple ในขณะเดียวกันกับที่บริษัท Radio shack ได้แนะนำเครื่อง TRS-80 ออกสู่ท้องตลาด เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จอภาพและภาษาโปรแกรมต่างๆ ในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นยุคของเครื่อง Apple II เพราะนัยเป็นเครื่องที่มียอดขายสูงสุด

 

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย

หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์

หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก (main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณืส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก

 

 

อ้างอิงจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/soft.jpg

ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา

ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม

 

ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก

 

  อ้างอิงจาก  http://sps.lpru.ac.th/resources/6/29/1810.jpg

บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้

การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น

 ข้อมูล

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)  การวัดขนาดข้อมูล

ในการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีขนาดมากน้อยเพียงไร  เรามีหน่วยในการวัดขนาดของข้อมูล
ดังต่อไปนี้
 
   8 Bit = 1 Byte
 1,024 Byte = 1 KB (กิโลไบต์)
 1,024 KB = 1 MB (เมกกะไบต์)
 1,024 MB = 1 GB (กิกะไบต์)
 1,024 GB = 1TB (เทระไบต์)

 

สรุป


            การกำเนิดคอมพิวเตอร์นั้นมนุษย์นั้นรู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นการทุ่นแรงมากและคอมพิวเตอร์นั้นการมีทำงานที่ดีกว่ามนุษย์ ใน ด้านความจำ ทำให้มนุษย์นั้นเลือกที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในด้านความจำ  การคำนวณ  การประมวลผลต่างๆ ทำให้การประมวลผลต่างๆที่คอมพิวเตอร์ประมวลนั้นจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า  และการใช้คอมพิวเตอร์นั้น สามารถนำมาประยุคก์ใช้ในการทำงานได้ในหลายๆแบบและหลายวิชา กราใช้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถสื่อสารกับคนอื่นๆที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านต่างๆที่เราอยากรู้ และสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก แต่กับการสื่อสารนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดีนั้นพวกเราคงรู้กันอยู่แล้วแต่ข้อเสียนั้นมีหลายแบบ เช่น การค้นคว้าข้อมูลต่างๆก็ควรจะเป็นประโยชน์กับตัวเอง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 520 คน กำลังออนไลน์