• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:561811540238b5bb50ddbc74249a7a80' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<strong>สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552</strong>\n</p>\n<p align=\"center\">\n<span style=\"color: #000000\"><img border=\"0\" width=\"200\" src=\"/files/u12/solar_eclipse.gif\" height=\"200\" /></span>\n</p>\n<p>\nเช้าวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เส้นทางคราสเต็มดวงผ่านหลายประเทศในเอเชีย แต่ไม่ผ่านประเทศไทย เราจึงจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีเมื่อเวลาประมาณตี 3 ของวันเดียวกัน และเกิดหลังจากที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด 2-3 สัปดาห์ ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สุริยุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลามืดเต็มดวงยาวนานมาก\n</p>\n<p>\nสุริยุปราคาเริ่มต้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในเวลา 6:58 น. ตามเวลาประเทศไทย ตรงบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ศูนย์กลางเงามืดเริ่มแตะผิวโลกเมื่อเวลาประมาณ 7:53 น. ในบริเวณอ่าวแคมเบย์ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งด้านทิศตะวันตก ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 3 นาที 9 วินาที จากนั้นเงามืดเคลื่อนไปทางตะวันออก ผ่านเนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน และตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 8:05 น. โดยผ่านเฉิงตูและนครเซี่ยงไฮ้\n</p>\n<p>\nเงามืดลงสู่ทะเลจีนตะวันออก พาดผ่านทางเหนือของหมู่เกาะริวกิวและอิโวะจิมะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น แล้วเริ่มบ่ายหน้าลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 6 นาที 39 วินาที โดยเกิดขึ้นในเวลา 9:29 น. ใกล้หมู่เกาะโบนิน นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21\n</p>\n<p>\nช่วงท้ายของปรากฏการณ์ เงามืดผ่านเกาะเล็ก ๆ ในหมู่เกาะมาร์แชล ก่อนจะสิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 11:18 น. ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 3 นาที 9 วินาที สุริยุปราคาในวันนี้จะสิ้นสุดเมื่อเงามัวของดวงจันทร์หลุดออกจากผิวโลกในเวลา 12:12 น. ใกล้เกาะวอลลิสและฟูตูนา ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ในมหาสมุทรแปซิฟิก\n</p>\n<p>\nบริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นทางใต้ของอินโดนีเซีย ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งตรงข้ามกับสุริยุปราคาเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มแหว่งทางซ้ายมือด้านบนและไปสิ้นสุดทางซ้ายมือด้านล่าง\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"394\" src=\"/library/teachershow/poonsak/picture/200907tse.png\" height=\"533\" /><br />\nดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ ขณะดวงจันทร์เข้าบังเต็มที่\n</p>\n<script type=\"text/javascript\">\n<!--\ngoogle_ad_client = \"pub-4345580538062578\";\n/* 300x250, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 5/9/09 */\ngoogle_ad_slot = \"1424642690\";\ngoogle_ad_width = 300;\ngoogle_ad_height = 250;\n//--><!--\ngoogle_ad_client = \"pub-4345580538062578\";\n/* 300x250, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 5/9/09 */\ngoogle_ad_slot = \"1424642690\";\ngoogle_ad_width = 300;\ngoogle_ad_height = 250;\n//--></script><script type=\"text/javascript\" src=\"http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js\">\n</script><p>\n&nbsp;\n</p>\n<p><table border=\"0\" width=\"500\" cellPadding=\"3\" cellSpacing=\"0\">\n<tbody>\n<tr>\n<th colSpan=\"12\" class=\"tablehead\">ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552</th>\n</tr>\n<tr>\n<td rowSpan=\"2\" align=\"center\"><b>สถานที่</b></td>\n<td colSpan=\"2\" align=\"center\"><b>เริ่ม</b></td>\n<td colSpan=\"3\" bgColor=\"#e7e7e7\" align=\"center\"><b>บังเต็มที่</b></td>\n<td colSpan=\"3\" align=\"center\"><b>สิ้นสุด</b></td>\n</tr>\n<tr>\n<td align=\"center\"><b>เวลา</b></td>\n<td align=\"center\"><b>มุมเงย</b></td>\n<td align=\"center\"><b>เวลา</b></td>\n<td align=\"center\"><b>มุมเงย</b></td>\n<td align=\"center\"><b>ขนาด</b></td>\n<td align=\"center\"><b>เวลา</b></td>\n<td align=\"center\"><b>มุมเงย</b></td>\n</tr>\n<tr>\n<td>กรุงเทพฯ</td>\n<td align=\"center\">07:07 น.</td>\n<td align=\"center\">15°</td>\n<td align=\"center\">08:04 น.</td>\n<td align=\"center\">28°</td>\n<td align=\"center\">0.521</td>\n<td align=\"center\">09:09 น.</td>\n<td align=\"center\">43°</td>\n</tr>\n<tr bgColor=\"#f2f0f0\">\n<td>ขอนแก่น</td>\n<td align=\"center\">07:06 น.</td>\n<td align=\"center\">17°</td>\n<td align=\"center\">08:07 น.</td>\n<td align=\"center\">31°</td>\n<td align=\"center\">0.594</td>\n<td align=\"center\">09:16 น.</td>\n<td align=\"center\">47°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>เชียงใหม่</td>\n<td align=\"center\">07:02 น.</td>\n<td align=\"center\">14°</td>\n<td align=\"center\">08:03 น.</td>\n<td align=\"center\">27°</td>\n<td align=\"center\">0.699</td>\n<td align=\"center\">09:12 น.</td>\n<td align=\"center\">43°</td>\n</tr>\n<tr bgColor=\"#f2f0f0\">\n<td>นครราชสีมา</td>\n<td align=\"center\">07:07 น.</td>\n<td align=\"center\">16°</td>\n<td align=\"center\">08:06 น.</td>\n<td align=\"center\">30°</td>\n<td align=\"center\">0.550</td>\n<td align=\"center\">09:13 น.</td>\n<td align=\"center\">46°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>นครศรีธรรมราช</td>\n<td align=\"center\">07:14 น.</td>\n<td align=\"center\">14°</td>\n<td align=\"center\">08:04 น.</td>\n<td align=\"center\">26°</td>\n<td align=\"center\">0.351</td>\n<td align=\"center\">08:59 น.</td>\n<td align=\"center\">39°</td>\n</tr>\n<tr bgColor=\"#f2f0f0\">\n<td>นราธิวาส</td>\n<td align=\"center\">07:20 น.</td>\n<td align=\"center\">16°</td>\n<td align=\"center\">08:06 น.</td>\n<td align=\"center\">27°</td>\n<td align=\"center\">0.273</td>\n<td align=\"center\">08:58 น.</td>\n<td align=\"center\">39°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>ประจวบคีรีขันธ์</td>\n<td align=\"center\">07:08 น.</td>\n<td align=\"center\">14°</td>\n<td align=\"center\">08:03 น.</td>\n<td align=\"center\">26°</td>\n<td align=\"center\">0.463</td>\n<td align=\"center\">09:05 น.</td>\n<td align=\"center\">41°</td>\n</tr>\n<tr bgColor=\"#f2f0f0\">\n<td>ภูเก็ต</td>\n<td align=\"center\">07:13 น.</td>\n<td align=\"center\">12°</td>\n<td align=\"center\">08:02 น.</td>\n<td align=\"center\">24°</td>\n<td align=\"center\">0.346</td>\n<td align=\"center\">08:56 น.</td>\n<td align=\"center\">36°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>ระยอง</td>\n<td align=\"center\">07:09 น.</td>\n<td align=\"center\">15°</td>\n<td align=\"center\">08:05 น.</td>\n<td align=\"center\">28°</td>\n<td align=\"center\">0.480</td>\n<td align=\"center\">09:09 น.</td>\n<td align=\"center\">43°</td>\n</tr>\n<tr bgColor=\"#f2f0f0\">\n<td>สงขลา</td>\n<td align=\"center\">07:17 น.</td>\n<td align=\"center\">15°</td>\n<td align=\"center\">08:05 น.</td>\n<td align=\"center\">26°</td>\n<td align=\"center\">0.307</td>\n<td align=\"center\">08:58 น.</td>\n<td align=\"center\">38°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>สุโขทัย</td>\n<td align=\"center\">07:04 น.</td>\n<td align=\"center\">14°</td>\n<td align=\"center\">08:04 น.</td>\n<td align=\"center\">28°</td>\n<td align=\"center\">0.634</td>\n<td align=\"center\">09:11 น.</td>\n<td align=\"center\">44°</td>\n</tr>\n<tr bgColor=\"#f2f0f0\">\n<td>อุบลราชธานี</td>\n<td align=\"center\">07:09 น.</td>\n<td align=\"center\">20°</td>\n<td align=\"center\">08:10 น.</td>\n<td align=\"center\">34°</td>\n<td align=\"center\">0.542</td>\n<td align=\"center\">09:19 น.</td>\n<td align=\"center\">50°</td>\n</tr>\n</tbody>\n</table>\n</p>\n<p>\n<b>หมายเหตุ :</b>\n</p>\n<ol>\n<li>มุมเงย คือ มุมที่วัดจากขอบฟ้า ขึ้นไปหาตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า </li>\n<li>ขนาด คือ สัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น) </li>\n<li>อำเภอเมืองของจังหวัดอื่น ๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก<a target=\"_blank\" href=\"/node/29225\"><u><span style=\"color: #0000ff\">ตารางเวลาสำหรับทุกจังหวัดทั่วประเทศ</span></u></a> </li>\n</ol>\n<p>\nดวงอาทิตย์มีแสงจ้ามาก ห้ามดูด้วยตาเปล่า การสังเกตสุริยุปราคาบางส่วน ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือสังเกตการณ์ทางอ้อม เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงอาทิตย์ โดยแผ่นกรองแสงหรือแว่นกรองแสงต้องเป็นชนิดที่ออกแบบมาสำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หากดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ก็ต้องมีแผ่นกรองแสง เช่น แผ่นไมลาร์ ปิดบังหน้ากล้อง\n</p>\n<p>\nวิธีสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนที่ปลอดภัย คือการสังเกตทางอ้อม ได้แก่ การให้แสงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงไปปรากฏบนฉากรับภาพ อีกวิธีซึ่งทำได้ง่าย คือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม นำกระดาษมาเจาะรูขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ไปปิดที่กระจกเงา แล้วนำกระจกเงาบานนั้นไปรับแสงอาทิตย์ ให้แสงสะท้อนไปตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ในที่ที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง เมื่อเกิดสุริยุปราคา ภาพดวงอาทิตย์บนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า หากมีต้นไม้อยู่ใกล้ ๆ อาจสังเกตเห็นว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้แล้วไปตกบนพื้นหรือผนัง ก็มีลักษณะแหว่งเว้าตามดวงอาทิตย์\n</p>\n<p>\nต้นปีหน้าจะเกิดสุริยุปราคาขึ้นอีกครั้งในบ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 เป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสพาดผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยอยู่นอกแนวคราสวงแหวน จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน\n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/img/200907tse.gif\" class=\"thumbnail\"></a><a target=\"_blank\" href=\"/library/teachershow/poonsak/picture/200907tse.gif\"><img border=\"0\" width=\"742\" src=\"/library/teachershow/poonsak/picture/200907tse.gif\" height=\"627\" style=\"width: 348px; height: 216px\" /></a><br class=\"cleared\" />\n</p>\n<p align=\"center\" class=\"caption\">\nแผนที่แสดงบริเวณที่มองเห็นสุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552\n</p>\n<p align=\"center\" class=\"caption\">\n<a target=\"_blank\" href=\"/library/teachershow/poonsak/picture/200907tse-asia.gif\"><img border=\"0\" width=\"900\" src=\"/library/teachershow/poonsak/picture/200907tse-asia.gif\" height=\"630\" style=\"width: 434px; height: 298px\" /></a><br />\nเส้นทางสุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม 2552 ขณะผ่านทวีปเอเชีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก กรอบสี่เหลี่ยมระบุเวลา ความยาวนานของสุริยุปราคาเต็มดวงที่จุดศูนย์กลางเงา และมุมเงยของดวงอาทิตย์ ลงตำแหน่งเมืองที่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน (เวลาในภาพเป็นเวลาประเทศไทย)\n</p>\n<p>\nข้อมูลโดย <span class=\"reportby\">วรเชษฐ์ บุญปลอด</span>\n</p>\n<p>\n<a href=\"http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200907tse.html\">http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200907tse.html</a>\n</p>\n<p>\nสมาคมดาราศาสตร์ไทย - <a href=\"http://thaiastro.nectec.or.th/\" title=\"http://thaiastro.nectec.or.th\"><u><span style=\"color: #800080\">http://thaiastro.nectec.or.th</span></u></a>\n</p>\n<p>\nอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ <a href=\"/node/7773\">http://www.thaigoodview.com/node/7773</a>\n</p>\n', created = 1714647135, expire = 1714733535, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:561811540238b5bb50ddbc74249a7a80' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:7ec09fba80a8582a15285933751a6125' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>ดีมากคับ...</p>\n', created = 1714647135, expire = 1714733535, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:7ec09fba80a8582a15285933751a6125' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:e0b6ee763f7f5e9716b5019e9bf48675' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\nใครได้ดูแล้วเป็นไงบ้าง เล่ากันด้วยนะ แลกเปลี่ยนกันในแต่ละจังหวัด มีภาพก็มาฝากกันบ้าง\n</p>\n<p>\n-----------------------------------------------------------------------------------------<br />\nครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล<br />\nทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน\n</p>\n', created = 1714647135, expire = 1714733535, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:e0b6ee763f7f5e9716b5019e9bf48675' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:693b48e6bd14ca4ae441833f3f02657d' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\nดูแล้วรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถุก<img border=\"0\" src=\"/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/plugins/emotions/images/smiley-tongue-out.gif\" alt=\"Tongue out\" title=\"Tongue out\" />\n</p>\n', created = 1714647135, expire = 1714733535, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:693b48e6bd14ca4ae441833f3f02657d' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552

รูปภาพของ ssspoonsak

สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552

เช้าวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เส้นทางคราสเต็มดวงผ่านหลายประเทศในเอเชีย แต่ไม่ผ่านประเทศไทย เราจึงจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีเมื่อเวลาประมาณตี 3 ของวันเดียวกัน และเกิดหลังจากที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด 2-3 สัปดาห์ ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สุริยุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลามืดเต็มดวงยาวนานมาก

สุริยุปราคาเริ่มต้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในเวลา 6:58 น. ตามเวลาประเทศไทย ตรงบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ศูนย์กลางเงามืดเริ่มแตะผิวโลกเมื่อเวลาประมาณ 7:53 น. ในบริเวณอ่าวแคมเบย์ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งด้านทิศตะวันตก ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 3 นาที 9 วินาที จากนั้นเงามืดเคลื่อนไปทางตะวันออก ผ่านเนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน และตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 8:05 น. โดยผ่านเฉิงตูและนครเซี่ยงไฮ้

เงามืดลงสู่ทะเลจีนตะวันออก พาดผ่านทางเหนือของหมู่เกาะริวกิวและอิโวะจิมะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น แล้วเริ่มบ่ายหน้าลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 6 นาที 39 วินาที โดยเกิดขึ้นในเวลา 9:29 น. ใกล้หมู่เกาะโบนิน นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ช่วงท้ายของปรากฏการณ์ เงามืดผ่านเกาะเล็ก ๆ ในหมู่เกาะมาร์แชล ก่อนจะสิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 11:18 น. ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 3 นาที 9 วินาที สุริยุปราคาในวันนี้จะสิ้นสุดเมื่อเงามัวของดวงจันทร์หลุดออกจากผิวโลกในเวลา 12:12 น. ใกล้เกาะวอลลิสและฟูตูนา ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ในมหาสมุทรแปซิฟิก

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นทางใต้ของอินโดนีเซีย ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งตรงข้ามกับสุริยุปราคาเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มแหว่งทางซ้ายมือด้านบนและไปสิ้นสุดทางซ้ายมือด้านล่าง


ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ ขณะดวงจันทร์เข้าบังเต็มที่

 

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552
สถานที่ เริ่ม บังเต็มที่ สิ้นสุด
เวลา มุมเงย เวลา มุมเงย ขนาด เวลา มุมเงย
กรุงเทพฯ 07:07 น. 15° 08:04 น. 28° 0.521 09:09 น. 43°
ขอนแก่น 07:06 น. 17° 08:07 น. 31° 0.594 09:16 น. 47°
เชียงใหม่ 07:02 น. 14° 08:03 น. 27° 0.699 09:12 น. 43°
นครราชสีมา 07:07 น. 16° 08:06 น. 30° 0.550 09:13 น. 46°
นครศรีธรรมราช 07:14 น. 14° 08:04 น. 26° 0.351 08:59 น. 39°
นราธิวาส 07:20 น. 16° 08:06 น. 27° 0.273 08:58 น. 39°
ประจวบคีรีขันธ์ 07:08 น. 14° 08:03 น. 26° 0.463 09:05 น. 41°
ภูเก็ต 07:13 น. 12° 08:02 น. 24° 0.346 08:56 น. 36°
ระยอง 07:09 น. 15° 08:05 น. 28° 0.480 09:09 น. 43°
สงขลา 07:17 น. 15° 08:05 น. 26° 0.307 08:58 น. 38°
สุโขทัย 07:04 น. 14° 08:04 น. 28° 0.634 09:11 น. 44°
อุบลราชธานี 07:09 น. 20° 08:10 น. 34° 0.542 09:19 น. 50°

หมายเหตุ :

  1. มุมเงย คือ มุมที่วัดจากขอบฟ้า ขึ้นไปหาตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า
  2. ขนาด คือ สัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น)
  3. อำเภอเมืองของจังหวัดอื่น ๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จากตารางเวลาสำหรับทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ดวงอาทิตย์มีแสงจ้ามาก ห้ามดูด้วยตาเปล่า การสังเกตสุริยุปราคาบางส่วน ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือสังเกตการณ์ทางอ้อม เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงอาทิตย์ โดยแผ่นกรองแสงหรือแว่นกรองแสงต้องเป็นชนิดที่ออกแบบมาสำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หากดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ก็ต้องมีแผ่นกรองแสง เช่น แผ่นไมลาร์ ปิดบังหน้ากล้อง

วิธีสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนที่ปลอดภัย คือการสังเกตทางอ้อม ได้แก่ การให้แสงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงไปปรากฏบนฉากรับภาพ อีกวิธีซึ่งทำได้ง่าย คือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม นำกระดาษมาเจาะรูขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ไปปิดที่กระจกเงา แล้วนำกระจกเงาบานนั้นไปรับแสงอาทิตย์ ให้แสงสะท้อนไปตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ในที่ที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง เมื่อเกิดสุริยุปราคา ภาพดวงอาทิตย์บนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า หากมีต้นไม้อยู่ใกล้ ๆ อาจสังเกตเห็นว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้แล้วไปตกบนพื้นหรือผนัง ก็มีลักษณะแหว่งเว้าตามดวงอาทิตย์

ต้นปีหน้าจะเกิดสุริยุปราคาขึ้นอีกครั้งในบ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 เป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสพาดผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยอยู่นอกแนวคราสวงแหวน จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน


แผนที่แสดงบริเวณที่มองเห็นสุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552


เส้นทางสุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม 2552 ขณะผ่านทวีปเอเชีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก กรอบสี่เหลี่ยมระบุเวลา ความยาวนานของสุริยุปราคาเต็มดวงที่จุดศูนย์กลางเงา และมุมเงยของดวงอาทิตย์ ลงตำแหน่งเมืองที่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน (เวลาในภาพเป็นเวลาประเทศไทย)

ข้อมูลโดย วรเชษฐ์ บุญปลอด

http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200907tse.html

สมาคมดาราศาสตร์ไทย - http://thaiastro.nectec.or.th

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaigoodview.com/node/7773

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
รูปภาพของ pompam

ดีมากคับ...

รูปภาพของ ssspoonsak

ใครได้ดูแล้วเป็นไงบ้าง เล่ากันด้วยนะ แลกเปลี่ยนกันในแต่ละจังหวัด มีภาพก็มาฝากกันบ้าง

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

ดูแล้วรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถุกTongue out

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 534 คน กำลังออนไลน์