สุริยุปราคา 22 กค. 2552

  
ภาพสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2552  ตั้งแต่เวลา 15.55 น. - 17.55 น. ณ โรงเรียนวัดราชาธิวาส
ถ่ายภาพโดย จันทิมา  สุขพัฒน์  ใช้กล้องดิจิตอลถ่ายผ่านแว่นดูดวงอาทิตย์

          เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2552  ที่ผ่านมา  หลายๆคนคงได้ชมสุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟากฟ้าไทยตั้งแต่เวลา  15.40 น. - 18.00 น.กันแล้ว  ซึ่งสุริยุปราคาในครั้งนั้นเป็นสุริยุปราคาชนิดสุริยุปราคาวงแหวน แต่ในประเทศไทยเราจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน  ที่โรงเรียนวัดราชาธิวาสของเราได้จัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนั้นด้วย  สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสในครั้งนั้นก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้นะคะ

         สำหรับสุริยุปราคาในครั้งนี้จะเกิดขึ้นในเช้าวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 เป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เส้นทางคราสเต็มดวงจะผ่านหลายประเทศในเอเชีย แต่ไม่ผ่านประเทศไทย ดังนั้นเราจึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน โดยสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีในเวลาประมาณตี 3 ของวันเดียวกัน และเกิดหลังจากที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด 2-3 สัปดาห์ ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สุริยุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลามืดเต็มดวงยาวนานมาก

          สุริยุปราคาเริ่มต้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในเวลา 6:58 น. ตามเวลาประเทศไทย ตรงบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ศูนย์กลางเงามืดเริ่มแตะผิวโลกเมื่อเวลาประมาณ 7:53 น. ในบริเวณอ่าวแคมเบย์ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งด้านทิศตะวันตก ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 3 นาที 9 วินาที จากนั้นเงามืดเคลื่อน  ไปทางตะวันออก ผ่านเนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน และตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 8:05 น. โดยผ่านเฉิงตูและนครเซี่ยงไฮ้  เงามืดลงสู่ทะเลจีนตะวันออก พาดผ่านทางเหนือของหมู่เกาะริวกิวและอิโวะจิมะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น แล้วเริ่มบ่ายหน้าลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 6 นาที 39 วินาที โดยเกิดขึ้นในเวลา 9:29 น. ใกล้หมู่เกาะโบนิน นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21  ช่วงท้ายของปรากฏการณ์ เงามืดผ่านเกาะเล็ก ๆ ในหมู่เกาะมาร์แชล ก่อนจะสิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 11:18 น. ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 3 นาที 9 วินาที สุริยุปราคาในวันนี้จะสิ้นสุดเมื่อเงามัวของดวงจันทร์หลุดออกจากผิวโลกในเวลา 12:12 น. ใกล้เกาะวอลลิสและฟูตูนา ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ในมหาสมุทรแปซิฟิก  บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นทางใต้ของอินโดนีเซีย ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งตรงข้ามกับสุริยุปราคาเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มแหว่งทางซ้ายมือด้านบนและไปสิ้นสุดทางซ้ายมือด้านล่าง
 

             

ข้อมูลและภาพจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย

 

        คราวนี้ก็อย่าพลาดนะคะ  เพราะโอกาสที่จะได้เห็นในช่วงชีวิตของเรานั้นน้อยครั้งนัก  ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์ในแต่ละครั้งจะแตกต่างกันไป  ชาวราชาธิวาสก็พบกันได้ตั้งแต่เวลา  6.30 น. ณ บริเวณสนามหน้าเสาธงเช่นเดิม  ถ้าโชคดีฟ้าเปิดจะนำภาพกิจกรรมและภาพถ่ายสุริยุปราคามาให้ชมกันอีกนะคะ

Kiss   ถ้าใครใช้เทคนิคการถ่ายภาพอย่างไร  ได้ภาพอย่างไรก็ส่งมาแบ่งปันกันดูบ้างนะคะ...จะรอค่ะ...โดยการคลิ๊กที่ "แสดงความคิดเห็น" ท้ายหน้านี้ได้เลยค่ะ

เสียใจจัง...ไม่เห็นเลยมีแต่เมฆ...แถมฝนโปรยปราย...มีใครเห็นบ้าง...ส่งรูปให้ดูหน่อยเด่ะ!!

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 359 คน กำลังออนไลน์