เทคโนโยชีวภาพ

รูปภาพของ knw_32299

เทคโนโลยีชีวภาพ คือ อะไร ( What is biotechnology ? )

 

 เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตผลของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น โดย United Nations Convention on Biological Diversity ได้ให้นิยามของ เทคโนโลยีชีวภาพ ไว้ว่า Any technological application that uses biological systems, living organisms, or derivatives thereof, to make or modify products or processes for specific use. ”การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับ ระบบของสิ่งมีชีวิต หรือ สิ่งมีชีวิต หรือ ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต เพื่อสร้างหรือปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ เพื่อมาใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน” ซึ่งต้องนำความรู้ไปใช้ในเรื่อง พันธุวิศวกรรม

 

•พันธุวิศวกรรมคืออะไร พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)

หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำการเคลื่อนย้ายยีนจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่ง เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะต่างๆ ตามแต่จะได้มีการออกแบบไว้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ จีเอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดจากการตัดต่อเอายีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่ไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติมาใส่ เพื่อให้เกิดคุณสมบัติตามต้องการ เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาใส่ในมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช กล่าวโดยทั่วๆไป เทคโนโลยีชีวภาพคือการใช้ขบวนการและระบบทางชีววิทยาในการเสริมสร้างเทคโนโลยีและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เกือบทุกสาขาหรือภาคอุตสาหกรรม – ตั้งแต่การใช้ยีนส์ของมนุษย์เพื่อสร้างวัคซีนที่ใช้ในการควบคุมขบวนการทางธรรมชาติของแบคทีเรียในการทำน้ำให้บริสุทธิ์ เทคโนโลยีสามารถเป็นลักษณะที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแปลกประหลาดเท่ากับตัวของมันเอง สิ่งที่ค้นพบแต่ละอย่างสามารถนำไปสู่การวิจัยสาขาใหม่หรือวิธีการใหม่ๆในการทำสิ่งต่างๆซึ่งทำเพื่อสาขาที่กำลังพัฒนาอย่างคงที่เหมือนกับเซลที่แบ่งแยกออกมา

•ประวัติของ เทคโนโลยีชีวภาพ ( History of biotechnology )

เทคโนโลยีชีวภาพ ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) โดยเทคโนโลยีชีวภาพเมื่อก่อนมักนำไปใช้กับทางด้านอาหารและด้านการเกษตร การค้นพบ โครงสร้างของสารพันธุกรรม หรือ DNA โดยเจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก ในปี พ.ศ. 2496 ต่อมามีการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะในแบคทีเรีย โดยเวอร์เนอร์ อาร์เบอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2510 ในปี พ.ศ. 2516 เอนไซม์ตัดจำเพาะนี้ถูกนำไปทดลองใช้ในการทดลองตัดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่ง แล้วนำไปใส่ให้แบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่งเป็นผลสำเร็จ โดยแสตนลีย์ โคเฮน และเฮอร์เบิร์ด โบเยอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มีการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น (ที่ไม่ใช่ของแบคทีเรีย) ไปใส่ในแบคทีเรียเป็นผลสำเร็จ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าด้านนี้อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญมีการตัดต่อยีนของมนุษย์ที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนใส่ลงในเซลล์ แบคทีเรียที่ชื่อ E. coli ซึ่งทำให้แบคทีเรียสร้างฮอร์โมนของมนุษย์ออกมาได้เป็นผลสำเร็จ จากสิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ทำให้เกิด เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology) หรือ พันธุวิศวกรรม ( Genetic engineering )

 

 •การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ ( Applications of biotechnology )

การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายด้านเช่น

1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า

 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ

3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย

4.เทคโนโลยีชีวภาพด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต

 •เทคโนโลยีชีวภาพใหม่เข้ามาผสมผสาน

แม้ในการใช้เทคนิคพื้นๆ เช่น การผสมพันธุ์พืชแบบเดิม เทคโนโลยีชีวภาพแผนใหม่ ก็เข้ามีอิทธิพลมากขึ้นเป็นลำดับ เช่น การตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์ หรือ พืชที่นำมาผสมกัน หรือลักษณะของจุลชีพที่คัดเลือกมาใช้ในการหมักดอง หรือการบำบัดน้ำเสีย แต่เดิมมาเรามักยึด รูปพรรณสัณฐาน แต่ในปัจจุบันจะใช้ " ลักษณะทางพันธุกรรม" เป็นหลัก เนื่องจากดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะตัว มีรหัสที่เป็นเสมือนลายนิ้วมือของตนเอง สามารถนำมาบันทึกเป็น "ลายพิมพ์ดี เอ็น เอ" ที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ วิธีการโดยทั่วไป คือ ใช้ "กรรไกร" ตัดดีเอ็นเอตรงที่ ต่างๆ กรรไกรดังกล่าวคือ เอ็นไซม์ หรือ โปรตีน ที่มีหน้าที่ตัดดีเอ็นเอเฉพาะตรงที่มีรหัสระบุ เมื่อตัดได้ชิ้นดีเอ็นเอที่มีความยาวแตกต่างกันแล้วแต่ ลักษณะทางพันธุกรรมแล้ว ก็สามารถตรวจได้ว่า มีอะไรบ้าง โดยนำไปแยกด้วยไฟฟ้า จะได้แบบแผนของดีเอ็นเอที่ถูกตัดสั้นยาวต่างกันเป็นลักษณะ เฉพาะตัว และนำไปตรวจดูได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนมีลายพิมพ์ดีเอ็นเอของตน เทคนิคตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอนี้ ไม่เพียงนำมาใช้ตรวจลักษณะ ของพืช สัตว์ และจุลชีพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์ ตามที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ในการตรวจเชื้อโรคที่ปนเปือ้นในอาหาร หรือในการตรวจพันธุกรรม ของมนุษย์ เช่น ตรวจว่า เป็นบุตรของผู้หนึ่งผู้ใดหรือตรวจหาว่า ผู้ใดเป็น อาชญากร ในการตรวจต้องการดีเอ็นเอในปริมาณน้อยมาก เพราะเป็นการตรวจที่มีความไวสูง เช่น อาจตรวจจากน้ำลายที่ถูกบ้วนทิ้งไว้ หรือแม้แต่ คราบน้ำลาย บนก้นบุหรี่ ก็สามารถสืบหา ตัวอาชญากรได้ ที่ทำได้เช่นนั้นก็เพราะมีเทคนิคเรียกว่า PCR ที่จะขยาย ปริมาณ ดีเอ็นเอ ที่มีอยู่น้อย จนเพียงพอที่จะตรวจได้อย่างชัดเจนไม่ผิดพลาด จึงมีการนำมาใช้แทนที่ เทคนิคเดิมมากขึ้นทุกที แม้จะมีราคาค่อนข้างแพงก็ตาม

 

เทคโนโลยีชีวภาพแบบผสม เทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่

มีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่มาก การหาและใช้ข้อมูล ที่มีอยู่ในยีน ข้อมูลที่สำคัญ คือ ข้อมูลลำดับอักษรของดีเอ็นเอ อักษรแต่ละตัว คือสารเคมีที่เรียกว่า เบส ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ A T G C ยีนต่างๆ มีการเรียงตัวของเบส 4 ชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เช่น AGTC ATGC AATCCG เป็นต้น เมื่อรู้ลำดับการเรียงตัวของยีน ก็จะสามารถรู้ได้ว่า มันมีหน้าที่อย่างไร ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนอะไรภายในเซลล์ เปรียบเสมือนได้รู้ " แผนงานละเอียด" ของ สิ่งมีชีวิตนั้นทีเดียว นักวิทยาศาสตร์จึงต้องการ ที่จะล่วงรู้ลำดับเบสของดีเอ็นเอ ไม่ว่าจะเป็น ของจุลชีพซึ่งมีอยู่หลายล้านเบสหรือของคน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3,500 ล้านเบส ดีเอ็นเอทั้งสิ้นในสิ่งมีชีวิต หนี่งๆ เรียกว่า ยีโนม ของมัน การหาลำดับเบสมากมาย ในยีโนมเช่นนี้ ทำได้โดยตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ แล้วไปหาลำดับ ในแต่ละชิ้น จากนั้นเอากลับมาปะติดปะต่อกันใหม่ คล้ายกับเอาหน้าหนังสือที่ฉีกขาดไปแล้ว กลับมาต่อใหม่ ทั้งหมดนี้เป็นงานยืดยาวมหาศาล ไม่เพียงต้องใช้การ วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่ต้องใช้เทคโนโลยี - สารสนเทศ ( Information Technology - IT) ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ ข้อมูล การวิเคราะห์ทำได้ หลายด้าน เช่น วิเคราะห์ความเหมือนและความต่างระหว่างยีนต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตเดียวกัน กับสิ่งมีชีวิต แตกต่างกัน วิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่ของยีน รวมถึง โครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีนที่เป็นผลผลิต ของยีน การพัฒนาอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถเข้าถึง ข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ว่าจะอยู่ทีใดในโลก มีการพัฒนา Software สำหรับการวิเคราะห์เหล่านี้ รวมถึงช่วยให้เข้าถึงข้อมูลสาธารณะที่มีอยู่แล้วในอินเตอร์เน็ต พัฒนาการเช่นนี้เป็นสิ่งที่ ประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยควรตระหนักและพยายาม เพิ่มขีดความสามารถของตน ในการเข้าถึง และใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ พัฒนาการนี้แตกต่าง ไปจาก แนวโน้ม อีกประการหนึ่ง คือ การปกปิดข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงการค้า ซึ่งก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสในดีเอ็นเอ และการวิเคราะห์ทางชีววิทยา- สมัยใหม่โดยทั่วไป ได้พัฒนามาเป็นวิทยาการแขนงใหม่ที่อาจเรียกว่า ชีวสารสนเทศ Bioinformatics เป็นศาสตร์ที่ผสมระหว่าง ชีววิทยา กับ สารสนเทศศาสตร์ ซึ่งกำลังมาแรง และเป็นที่ต้องการของวงการอุตสาหกรรม และวงวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพเป็นอย่างยิ่ง ชีวสารสนเทศไม่เพียงมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ดีเอ็นเอเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์มาก ในการศึกษาโครงสร้างของโปรตีน และสารชีวภาพอื่นๆ ซึ่งการศึกษาโมเลกุลเหล่านี้ต้องใช้เทคนิค เช่น การฉายรังสีเอกซ์ เข้าไปในผลึกของมัน แล้วนำภาพที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างเหล่านี้ง่ายดายขึ้น ละเอียดขึ้น และให้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการออกแบบยา วัคซีน หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคได้ดียิ่งขึ้น

 

•เทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต

มนุษย์มียีโนมที่มีลำดับตัวอักษร หรือ ลำดับเบสอยู่ถึงประมาณ 3,500 ล้านเบส การหาลำดับเบสของยีโนมของมนุษย์เป็นโครงการใหญ่ที่สุดในชีววิทยา ได้เริ่มมาประมาณ 10 ปี แล้ว มีการแบ่งและแข่งกันทำระหว่างกลุ่มต่างๆ ข้อมูลทั้งหมดที่จะออกมาในช่วงต้น ศตวรรษหน้า จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการแพทย์ และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเราหวังว่า จะได้รู้จักยีนต่างๆ พอที่จะเข้าใจกลไกการเกิดโรค และรู้วิธีการวินิจฉัย และการรักษาโรค ซึ่งจะทำให้มีวิธีตรวจรักษา และมียาใหม่ๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ในขณะนี้มีการค้นพบยีนใหม่ๆ ของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างเช่น ยีนที่ควบคุม- การสร้างภูมิคุ้มกันโรค ยีนควบคุมความอ้วน ยีนควบคุมการชรา และแม้แต่ยีนที่ส่งผลให้เซลล์ จบชีวิตของตนเองลง เป็นต้น จึงเป็นที่คาดหวังว่า 20 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคใหม่ของการแพทย์ ที่เราเข้าใจกลไกการดำรงชีวิตของเราเอง กลไกของการชราภาพ และการเกิดโรคต่างๆ จนสามารถคิดค้นยาและวิธีการที่จะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น สุขภาพแข็งแรงขึ้น และคุณภาพชีวิตดีขึ้น ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การตรวจดีเอ็นเอมีการพัฒนาจนตรวจได้แม่นยำ ละเอียด และรวดเร็วขึ้น การตรวจว่าชิ้นดีเอ็นเอมีการเรียงลำดับอักษรของมันอย่างไร ทำได้โดย ใช้ตัวตรวจที่เป็นสายดีเอ็นเอสายเดี่ยว ที่มีลำดับอักษรคล้องของกันกับสายที่ต้องการตรวจ เมื่อใส่ตัวอย่าง เช่น เลือดที่มีดีเอ็นเอที่ต้องการตรวจลงไป สายดีเอ็นเอนี้จะไปจับกับสายดีเอ็นเอ ที่เป็นตัวตรวจนั้น ได้มีพัฒนาการใหม่ คื อ การทำ ดีเอ็นเอชิป หรือ ยีนชิป ซึ่งเป็นแผ่นแก้วเล็กๆ ที่มีสายดีเอ็นเอตัวตรวจต่างๆนับหมื่นเรียงกันอยู่ ตัวตรวจที่จับกับสายดีเอ็นเอในตัวอย่าง จะก่อสัญญาณที่ตรวจพบได้ แบบแผนของการจับคคู่ดีเอ็นเอระหว่างตัวตรวจกับตัวอย่าง ที่ต้องการตรวจนี้ จะถูกนำไปเข้าคอมพิพิวเตอร์เพื่อแปลผลออกมาได้ ด้วยวิธีนี้จะสามารถตรวจ ลักษณะพันธุกรรมได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเชื้อโรค พืช สัตว์ หรือ มนุษย์ก็ตาม การใช้ยีนชิป โดยใช้ลำดับอักษรเบสของยีนของมนุษย์ที่จะได้รู้จากโครงการยีโนมมนุษย์ ในไม่ช้า จะทำให้สามารถทำนายล่วงหน้าได้ว่า แต่ละคนมีโรคที่เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรมของตน หรือ จะมีโอกาสมีโรคดังกล่าวมากน้อยเพียงใด โรคหลายโรค เช่น มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ การรู้ล่วงหน้าเช่นนี้ จะมีผลอย่างไร การรู้ล่วงหน้าอาจทำให้ระวังไม่ให้โรคมาถึงก็ได้ แต่ในกรณีที่ป้องกันไม่ได้ การรู้ชะตากรรมล่วงหน้าเช่นนี้จะดีต่อคุณภาพชีวิตหรือ บริษัทประกันชีวิตควรมีสิทธิ์รู้ข้อมูล เหล่านี้เพียงไร คู่รักที่กำลังจะแต่งงานล่ะ คำถามเช่นนี้เป็นคำถามใหม่ที่ยังไม่มีคำตอบแน่ชัด

 • ความปลอดภัยของเทคโนโลยีชีวภาพ

 การนำไปใช้ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยี- ชีวภาพใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ คือ การใช้พืชและสัตว์ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ โดยในช่วงแรกนี้จะยังเป็นเพียงการ นำเอาเทคโนโลยีด้าน ดีเอ็นเอมาใช้ใน "การผสมและ คัดเลือกพันธุ์" แต่ในไม่ช้าจะมีการนำเอา "พืชและสัตว์ข้ามพันธุ์" มาใช้มากขึ้น นั่นคือ พืชและสัตว์ที่มียีนพิเศษจากแหล่งอื่นอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ฝ้ายที่มียีนต้านหนอนเจาะสมอฝ้ายอยู่ ข้าวที่มียีนต้านทานไวรัส พริกหรือ มะเขือเทศที่มียีนป้องกันไม่ให้เหี่ยวเร็ว ผลไม้ที่มีวิตามินมากกว่าปกติ ปศุสัตว์ที่มียีนทำให้โตเร็ว หรือมีนมมากขึ้น เป็นต้น ในอนาคตที่ไกลออกไปอีกหน่อย จะมีพืชหรือสัตว์ที่มีผลผลิต เช่น ยา หรือวัคซีนของมนุษย์ อยู่ในผลผลิต ปัจจุบันมีการทดลองและผลิตพืชและสัตว์ข้ามพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ บางชนิดก็เข้าสู่ตลาดแล้ว ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นทางเทคโนโลยี ซึ่งค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ไม่มีอุปสรรคที่เกินกว่าจะแก้ได้ ประเด็นสำคัญกลับอยู่ที่ การยอมรับของสังคม การผลิตพืช และสัตว์ข้ามพันธุ์ และการใช้ผลผลิตของมันนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ จึงเกิดข้อกังขา 2 ข้อใหญ่ๆ คือ ความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป และผู้บริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในด้านความปลอดภัยต่อประชาชนทั่วไปและผู้บริโภคนั้น ต้องนึกถึงความเป็นไปได้ที่ สิ่งมีชีวิตข้ามพันธุ์ เช่น เชื้อโรคที่ได้รับยีนใหม่ๆ เข้าไป โดยบังเอิญหรือจงใจก็แล้วแต่จะกระจาย ออกไปเป็นภัยต่อมนุษย์ เรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้คำนึงถึงตั้งแต่แรกที่สามารถตัดต่อยีน ได้เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ในด้านหลักการแล้ว การที่สิ่งมีชีวิต มียีนใหม่ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ ของตนอยู่นั้น เป็นภาวะที่ทำให้ อ่อนแอลง และจะไม่สามารถแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตที่มียีน ตามธรรมชาติได้อยู่แล้ว ในการสร้างจุลชีพข้ามพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้จุลชีพลักษณะพิเศษ ที่จะอยู่ได้ด้วยตนเองนอกห้องปฏิบัติการไม่ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้นอีกด้วย แม้กระนั้นก็ยังมีความเป็นห่วงในประเด็นนี้อยู่มาก จึงได้มีการออกเกณฑ์ต่างๆในการควบคุม ความปลอดภัยทางชีวภาพขึ้นอย่างเคร่งครัด การทดลองหลายอย่างที่ยังไม่อาจมั่นใจได้ ในความปลอดภัยจะถูกยับยั้ง จากเวลาที่ผ่านไปและประสบการณ์ที่มากขึ้น ปัจจุบันมีเกณฑ์สากล ในการสร้างจุลชีพข้ามพันธุ์ และการทำพันธุวิศวกรรมที่กำหนดให้ทำในห้องปฏิบัติการที่มี ความปลอดภัยสูง ซึ่งไทยก็ปฏิบัติตามอยู่ จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ความเสี่ยงต่อการบริโภคผลผลิตที่มาจากพืช สัตว์ หรือจุลชีพข้ามพันธุ์ เป็นประเด็นสำคัญ ที่กำลังมีการถกเถียงกันทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เมื่อคราวเกิดโรควัวบ้าทีอาจแพร่เชื้อมาติดคนได้ แม้เหตุการณ์นี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ประเด็นที่ห่วงใย แต่หลายคนก็เห็นว่า น่าจะเป็นบทเรียนที่ดี โรควัวบ้านั้นเกิดจากการไม่ระวัง ตรวจตราแหล่งที่มาของอาหารสัตว์ จึงมีผู้คัดค้านการนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตข้ามพันธุ์มาใช้ เนื่องจากไม่รู้ว่าจะเกิดอันตรายอะไร มีการเรียกอาหารจากผลผลิตเช่นนี้ว่า อาหารแฟรงเกนสไตน์ คนอีกส่วนหนึ่งเห็นว่า อาจนำมาใช้ได้แต่ต้องติดฉลากให้ชัดเจน การคัดค้านที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่ง มาจากความกลัวในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย อีกส่วนหนึ่งมาจากความรอบคอบก่อนรับสิ่งใหม่มาใช้

รูปภาพของ knw32296

ว้าววว

 

สวยขึ้นอยุค่ะ

เนื้อหาเยอะดี

 

*-*

รูปภาพของ knw_32299

555

ตกแต่งแล้ว

คิดว่าน่าจะดีขึ้น

 

รูปภาพของ knw_32299

555+

 

แสดงความเหงไห้หน่อยน่ะ

 

ขอบคุงมากมายLaughing

รูปภาพของ knw 32302

ทำให้รู้เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพ มากเลยจ้ะ : D

 

รูปภาพของ knw32294

^^~

 

 

 

เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพมากเลย

 

:)))))

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 271 คน กำลังออนไลน์