การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ

ชื่อเรื่อง      :  การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะ
                    การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ
                    อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้วิจัย        :  วีระเชษฐ์  วรรณรส

ปีการศึกษา :  2565

บทคัดย่อ 

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ฉบับที่ 2 แบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย ฉบับที่ 3 (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา) และแบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย ฉบับที่ 4 (สำหรับครูผู้สอน) ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น ฉบับที่ 5 ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ ฉบับที่ 6 และแบบประเมินทักษะการอ่านออกเขียนได้ ฉบับที่ 7/1- ฉบับที่ 7/4 และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา มีการวางแผนและการบริหารงานในสถานศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด มีการสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ค่อนข้างบ่อย/มีปัญหาน้อย และได้แก้ปัญหาร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและจากการแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีการสัมภาษณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน และจากการประชุมกลุ่มย่อยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้แนวทางในการสร้างรูปแบบการบริหาร งานวิชาการเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้และสามารถสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ

2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีชื่อว่า “Participation Plus 6 Model” (พาทิซิเพชั่น พลัสซิก โมเดล) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) ขั้นตอนของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม มี 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  (Co-Collection and Analysis Data : C1) ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนา (Co-Plan for Development : C2) ขั้นที่ 3 การนำแผนสู่การปฏิบัติ (Co-Taking Action : C3) ขั้นที่ 4 การอภิปรายและสะท้อนความคิด (Co-Discussion and Reflect : C4) ขั้นที่ 5 การสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Co-Create Continuous Learning Opportunities : C5) และขั้นที่ 6 การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (Co-Evaluation : C6)

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า จากการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และการสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนมีความถูกต้อง เหมาะสมในระดับมาก และจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมแบบ “Participation Plus 6 Model” นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเขียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมินและส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี

4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม แบบ “Participation Plus 6 Model” อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมแบบ “Participation Plus 6 Model” โดยควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 477 คน กำลังออนไลน์