การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์

ชื่อเรื่อง            :    การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพ
                            สู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์
                            (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 

ผู้รายงาน          :    ธเนศพล  ติ๊บศูนย์

ปีการศึกษา        :    2565

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน 3) ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน 4) ครูผู้สอน จำนวน 19 คน 5) นักเรียนในโครงการ จำนวน 65 คน และ 6) ผู้ปกครองของนักเรียนที่อยู่ในโครงการ จำนวน 65 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) และการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ตามลำดับ ผลปรากฏดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) โดยภาพรวมมีความต้องการจำเป็น/ความเหมาะสม/ความคาดหวังในระดับมาก (x-bar= 4.38, S.D.= 0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ความเหมาะสม (Propriety) ของโครงการ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด (x-bar= 4.51, S.D.= 0.52) รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็น (Need) ของโครงการ (x-bar= 4.42, S.D.= 0.54) และความคาดหวัง (Expectation) ของโครงการ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.28, S.D.= 0.63) ตามลำดับ และได้ผลสรุปในการสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนเป็นข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจ วางแผนจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมถึงวิธีดำเนินการตามโครงการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้/ความเหมาะสม/ความเพียงพอในระดับมาก (x-bar= 4.25, S.D.= 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด (x-bar= 4.39, S.D.= 0.58) รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงานของโครงการ (x-bar= 4.27, S.D.= 0.52) ด้านงบประมาณ (x-bar= 4.22, S.D.= 0.50) และด้านบุคลากร มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.06, S.D. = 0.43) ตามลำดับ

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (x-bar= 4.23, S.D.= 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การวางแผน (Plan) มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด (x-bar= 4.30, S.D.= 0.61) รองลงมา คือ การดำเนินการ (Do) (x-bar= 4.22, S.D.= 0.64) การตรวจสอบ (Check) (x-bar= 4.21, S.D.= 0.62) และการปรับปรุง แก้ไข (Act) มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.18, S.D.= 0.57) ตามลำดับ  

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.31, S.D.= 0.64) เมื่อพิจารณาตามประเด็น พบว่า

4.1 ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ จากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจในระดับมาก

4.2 ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ จากความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติ/ความสามารถในระดับมาก และมีความพึงพอใจในระดับมาก

4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต จากความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรม/ความสามารถในระดับมาก และมีความพึงพอใจในระดับมาก

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 458 คน กำลังออนไลน์