การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา

ชื่อเรื่อง      :  การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน                     

                    โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ผู้วิจัย         :  มนิต  เพชรสุวรรณ

ปีการศึกษา :  2565

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อการวิจัย ฉบับที่ 2 และแบบสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) เพื่อการวิจัย ฉบับที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และครูผู้สอน จำนวน 25 คน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม ฉบับที่ 4 แบบประเมินความสอดคล้อง ฉบับที่ 5 และแบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ฉบับที่ 6 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ ฉบับที่ 7 แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ฉบับที่ 8 และแบบประเมินคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ฉบับที่ 9 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 60 คน และนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ถึงนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 302 คน และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินการปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ 10 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คนและครูผู้สอน จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า โดยรวมมีสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษา/ความต้องการในการพัฒนาสถานศึกษาในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.48, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากร มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.58, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ ด้านความเป็นผู้นำ (ค่าเฉลี่ย = 4.54, S.D. = 0.50) ขณะที่ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.08, S.D. = 0.28) ตามลำดับ และมีแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาคุณภาพองค์กร การบริหารโรงเรียนคุณภาพในประเทศไทย การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยศึกษาหนังสือ ตำรา บทความและงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้

2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า “Best Practice Model” ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เป้าหมาย 4) กระบวนการบริหารสถานศึกษา มี 8 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การตระหนักรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership awareness Stage : T) ขั้นตอนที่ 2 การคาดหวังเป้าหมายความเป็นเลิศทางการบริหารสถานศึกษา (Expectation of Administration Excellence Goals Stage : E) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาบุคลากร (Human Resources Development Stage : H) ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมความพร้อมผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ (Preparation Learner for Learning Stage : P) ขั้นตอนที่ 5 การจัดสื่อ แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Media Learning Resources and Environment Stage : M) ขั้นตอนที่ 6 กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ (Learning Process for the Best Practices Stage : L) ขั้นตอนที่ 7 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา (Creation of a Learning Society in School Stage : C) ขั้นตอนที่ 8 ผลลัพธ์ความเป็นเลิศทางการเรียนของผู้เรียน (Outcomes of Student learning Excellence Stage : O) 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า หลังจากการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่มีชื่อว่า “Best Practice Model” ไปทดลองใช้แล้ว ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 27.03, S.D. = 1.26) มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.51, S.D. = 0.48) มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย= 2.53, S.D. = 0.49) มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย= 2.55, S.D. = 0.50) และผลการประเมินคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ประกอบด้วยด้านความรู้พื้นฐาน ด้านสมรรถนะเป็นเลิศ ด้านคุณลักษณะสำคัญและด้านความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรม/การปฏิบัติได้ดีทุกครั้ง (ค่าเฉลี่ย = 2.51, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรู้พื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 2.56, S.D. = 0.49) รองลงมา คือ ด้านสมรรถนะเป็นเลิศ (ค่าเฉลี่ย = 2.52, S.D. = 0.50) ด้านคุณลักษณะสำคัญ (ค่าเฉลี่ย = 2.50, S.D. = 0.50) ขณะที่ด้านความฉลาดทางอารมณ์ มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 2.46, S.D. = 0.51) ตามลำดับ

4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.46, S.D. = 0.55) มีความเหมาะสม/การนำไปใช้ได้จริงอยู่ในระดับมาก และมีข้อปรับปรุงเพียงเล็กน้อย

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 529 คน กำลังออนไลน์