รถไฟฟ้าสายสีชมพู. . . จะดีหรือ

รูปภาพของ pornchokchai
รถไฟฟ้าสายสีชมพู. . . จะดีหรือ
  AREA แถลง ฉบับที่ 527/2566: วันจันทร์ที่ 03 กรกฎาคม 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

            รถไฟฟ้าสายสีชมพูจะส่งผลต่อราคาที่ดินและห้องชุดอย่างไรบ้าง ดีจริงหรือไม่ ไปซื้อห้องชุดไว้เก็งกำไรแล้ว จะได้กำไรจริงหรือ

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายต่างๆ อย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพบว่าราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้จะไม่เท่ารถไฟฟ้าสายอื่นๆ แต่ก็นับว่าปรับตัวได้มากพอสมควร เป็นที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ

            ตามข้อมูลใน Wikipedia โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบวิ่งคร่อมคานทางวิ่ง (straddle-beam monorail) เป็นระบบหลัก โดยมีสถานีต้นทางที่บริเวณแยกแคราย และสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร ความจุ 356 คนต่อตู้ มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้ (ต่อพ่วงแบบ 4 ตู้ต่อขบวน) ขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ รองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางในช่วงแรก ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนขบวนเป็น 7 ตู้ต่อขบวน เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

            ชานชาลาด้านข้างผสมเกาะกลาง ความสูง 3 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเปลี่ยนสายระหว่างสายหลักและสายรอง มีทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานีศรีรัช ชานชาลาด้านข้าง แบบแยกอาคาร ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาที่ลดความสูงเพื่อหลบหลีกรางรถไฟฟ้า และสิ่งกีดขวาง มีทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตัวสถานีออกแบบให้มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half-height) ทุกสถานี หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี

            สำหรับราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้ตามผลการสำรวจของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า:

 

สถานี                รหัส      ชื่อสถานี                          ราคา บาท/ตรว.     % ปี 2566

สถานีที่  1          PK01    ศูนย์ราชการนนทบุรี                 360,000           5.9%

สถานีที่  12        PK12    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ์       330,000           6.5%

สถานีที่  16        PK16    วงเวียนหลักสี่                         380,000           5.6%

สถานีที่  30        PK30    มีนบุรี                                   200,000           5.3%

สถานีอื่นๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย                                                                     3.7%

เฉลี่ย 30 สถานี                                                                               4.0%

 

 

            ว่าราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้มีราคาเพิ่มขึ้น 4.0% เท่านั้น แต่สถานที่ราคาเพิ่มสูงได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เพิ่ม 5.9% สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ เพิ่ม 6.5% สถานีวงเวียนหลักสี่ เพิ่ม 5.6% และสถานีมีนบุรี เพิ่ม 5.3% และเฉลี่ยสถานีอื่นๆ เพิ่มเพียง 3.7% เท่านั้น

            รถไฟฟ้าสายนี้อาจไม่ได้มีความจำเป็นมากนัก ควรสร้างรถไฟฟ้าเข้าเมืองมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามทางราชการกลับเร่งรัดสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ก่อน เพราะแทบไม่ต้องเวนคืนที่ดินเนื่องจากสร้างบนทางหลวงเป็นหลัก  ทางเลือกที่ควรสร้างควรเป็นเพียงการสร้างโมโนเรลจากศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะให้เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง รวมทั้งการขยายทางด่วนโทลเวย์เข้าไปในศูนย์ราชการฯ มากกว่าที่จะสร้างรถไฟฟ้าสายนี้

 

            มีความเป็นไปได้ที่รถไฟฟ้าสายนี้จะมีคนใช้บริการไม่มาก เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง อีกทั้งยังมีบริการรถตู้และรถประจำทางอยู่แล้ว รวมทั้งความจำเป็นในการเดินทางตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้อาจน้อย  ดังนั้นราคาที่ดินที่เคยขึ้นสูงมากในขณะนี้ ในอนาคตอาจจะหยุดนิ่ง หรือมีความเคลื่อนไหวน้อยลง  ผู้ที่ลงทุนซื้อที่ดินไว้ อาจไม่ได้กำไรตามที่คาดหวัง โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อห้องชุดเพื่อการเก็งกำไรตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้ อาจได้รับมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่มาก หรือปล่อยเช่าไม่ได้ราคาเท่าที่ควร

            ยกตัวอย่างทำเลหนึ่งในแนวรถไฟฟ้าสายนี้ ในรอบปีที่ผ่านมา มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นเพียง 1,309 หน่วยในบริเวณแถวมีนบุรี  ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยเป็นทาวน์เฮาส์มากที่สุดถึง 533 หน่วยโดยเป็นทาวน์เฮาส์ราคา 2-5 ล้านบาท เป็นห้องชุด 487 หน่วยในระดับราคา 1-3 ล้านบาทเท่านั้น และเป็นบ้านเดี่ยวราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป 289  หน่วย แต่คาดว่าในปี 2566 สัดส่วนของห้องชุดจะมากขึ้นเมื่อรถไฟฟ้านี้แล้วเสร็จสมบูรณ์  บ้านแนวราบน่าจะลดลง

            ณ ปี 2566 มีหน่วยขายที่อยู่อาศัยรอขายอยู่ 3,244 หน่วย โดยเป็นทาวน์เฮาส์มากที่สุดถึง 1,513 หน่วย โดยกลุ่มใหญ่สุดเป็นในราคา 3-5 ล้านบาท รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยวรอขายอยู่ 1,013 หน่วย และกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นบ้านเดี่ยวราคา 5-10 ล้านบาท ส่วนห้องชุดเหลือน้อยที่สุดคือเหลือเพียง 514 หน่วย ทั้งนี้เป็นห้องชุดราคา 2-3 ล้านบาทเป็นหลัก แสดงว่าโอกาสที่ห้องชุดจะเกิดมากขึ้นมีมากกว่ากลุ่มอื่นที่ยังมีอุปทานเหลืออยู่มากมาย  อย่างไรก็ตามในการลงทุนซื้อ จำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบราคาให้ชัดเจน

            ดังนั้นก่อนลงทุนซื้อห้องชุดหรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้ ควรดูให้ดีก่อน ถ้าราคายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ควรลงทุน ถ้าที่มีผู้ซื้อไปแล้ว ราคาไม่ขึ้น ก็ไม่ควรลงทุน

 

หมายเหตุ: บทความนี้เคยลงในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 27 มิถุนายน 2566

https://www.matichon.co.th/economy/news_4050033

 

เรียนรู้เพิ่มเติม: https://citly.me/Ofs4i

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 561 คน กำลังออนไลน์