• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('พลับพลึง@31469', 'node/162759', '', '18.117.108.171', 0, '49481e6814601bddd4eb231615d11afd', 127, 1716132800) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:2ae594f389048e5a734b354ba59050a1' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><div align=\"center\"><span class=\"size22 FTtext\"><span>อย่าเข้าใจผิดว่าอำนาจเผด็จการทำให้ชาติเจริญ</span></span></div>\n<div align=\"center\">&nbsp;&nbsp;<span class=\"size13 FTtext color1\"><span style=\"text-decoration: underline;\">AREA แถลง</span>&nbsp;ฉบับที่ 704/2565: วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565</span></div>\n<p>&nbsp;</p>\n<div class=\"box-position text-right\">ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย<br />ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย<br /><a href=\"https://www.area.co.th/thai/about.php#sopon\" target=\"_blank\">บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส</a>&nbsp;<a class=\"FTtext size12\" href=\"mailto:sopon@area.co.th\"><img src=\"https://www.area.co.th/images/img_icon/icon_areapress_06.jpg\" alt=\"sopon@area.co.th\" width=\"61\" height=\"18\" /></a>&nbsp;<a class=\"FTtext size12\" href=\"https://www.facebook.com/dr.sopon4\" target=\"_blank\"><img src=\"https://www.area.co.th/images/img_icon/icon_areapress_03.jpg\" alt=\"https://www.facebook.com/dr.sopon4\" width=\"\" height=\"20\" /></a></div>\n<div class=\"wf_pressdetail size15 wf_colortext\">\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่าเข้าใจผิดว่าในยุคเผด็จการ ได้มีการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อประเทศชาติ มากอสไม่ได้สร้างนครหลวงเกซอน และย่านธุรกิจมาคาติ ทรราชซูฮาร์โตก็แค่พัฒนาตามพันธกิจเดิมที่เคยวางไว้</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผมเคยไปสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงมะนิลามา&nbsp; และเคยสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงจาการ์ตา&nbsp; ผมไปสำรวจที่กรุงมะนิลาและไปบรรยายที่นั่นมาหลายรอบ&nbsp; รวมทั้งที่กรุงจาการ์ตาที่ผมเคยไปทำงานให้กับธนาคารโลกในโครงการสาธารณูปโภค และในโครงการที่ปรึกษาของกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย&nbsp; จึงขออนุญาตแบ่งปันข้อเท็จจริงเชิงเปรียบเทียบกับไทยเรา</p>\n<div id=\"bannerPressID\" class=\"no-print col-xs-12 col-sm-12 col-md-12 col-lg-12\">\n<div class=\"embed-responsive embed-responsive-16by9\"><iframe src=\"https://www.area.co.th/thai/area_announce/__area_press_popup_placebody_2_1.php?get=[0,107]\" scrolling=\"no\" width=\"320\" height=\"240\"></iframe></div>\n</div>\n<p>&nbsp;</p>\n<p><span>เกซอนซิตี้</span></p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่ฟิลิปปินส์ เขาเคยสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่กรุงมะนิลามาแล้ว ชื่อว่า \"เกซอนซิตี้\" (Quezon City) โดยเป็นนครหลวงในช่วงปี 2491-2516&nbsp; มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภา&nbsp; กระทรวงและสำนักงานของทางราชการส่วนกลางทั้งหลายมาตั้งอยู่รวมกันในนครหลวงแห่งใหม่นี้&nbsp; ทั้งนี้สาเหตุที่ย้ายเมืองหลวงเพราะกรุงมะนิลา \"เน่า\" เต็มทน&nbsp; ผู้บริหารจึงรู้สึกว่า \"เกินเยียวยา\"&nbsp; สร้างใหม่ดีกว่า&nbsp; ไทยเราก็ทำศูนย์ราชการ เช่นที่แจ้งวัฒนะ แต่ก็ทำได้ \"โหลยโท่ย\" จริง ๆ เพราะพื้นที่ก็เล็ก สร้างก็จำกัด ดูเหมือนไม่ได้มีการรวมศูนย์ราชการจริง ๆ เลย</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ผิดพลาดเป็นอย่างมาก เพราะปรากฏว่าในภายหลังทั้งกรุงมะนิลาและกรุงเกซอนซิตี้กลับเชื่อมต่อกันเพราะห่างกันเพียง 17 กิโลเมตรเท่านั้น&nbsp; ภายหลังเกซอนซิตี้จึงกลายเป็นเพียงเทศบาลหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ Metro Manila หรือ \"กรุงมะนิลาและปริมณฑล\"&nbsp; ข้อนี้เป็นการชี้ชัดอย่างหนึ่งว่า การย้าย/สร้างเมืองหลวงใหม่ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้&nbsp; เราอาจย้ายศูนย์ราชการออกไปได้&nbsp; แต่ก็อยู่แบบค่อนข้างโดดเดี่ยว เช่น กรุงวอชิงตัน กรุงแคนเบอรา กรุงบราซิเลีย หรือกรุงเนปยีดอ เป็นต้น&nbsp; แต่เมืองหลวงทางเศรษฐกิจยังอยู่ยั้งยืนยงอยู่ที่เดิม เช่น นิวยอร์ก ซิดนีย์ เซาเปาโล ย่างกุ้ง เป็นต้น</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; คือหลายคนอาจเข้าใจว่าอดีต \"กรุงเกซอนซิตี้\" สร้างในสมัยมาร์กอส แต่ความจริงมาร์กอสมาเป็นประธานาธิบดีในปี 2508&nbsp; จึงไม่ได้มีส่วนในการสร้างเมืองนี้ขึ้นมาแต่อย่างใด&nbsp; เผด็จการไม่ได้มาสร้าง แต่มา \"กิน\"!&nbsp; แต่มาร์กอสก็เป็นผู้ที่เลิกสถานะเมืองหลวงของเกซอนซิตี้&nbsp; และให้มีสถานะเป็นเพียงเทศบาลหนึ่งในนครหลวงแห่งนี้&nbsp; การมีเทศบาลหลายแห่งใน \"กรุงมะนิลาและปริมณฑล\" นี้&nbsp; ในแง่หนึ่งก็เป็นแง่ดีที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ แต่ละเทศบาลดูแลปัญหาได้ใกล้ชิด&nbsp; แต่ในด้านแง่ลบก็คือทำให้ขาดการประสานงานกัน</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แต่ที่แน่ๆ สำหรับกรุงเทพมหานครก็คือ เราควรมีการเลือกตั้งผู้อำนวยการเขต หรือแม้แต่หัวหน้าฝ่ายการศึกษา ฝ่ายเทศกิจ ฯลฯ ก็ควรให้มีการเลือกตั้ง&nbsp; ให้ข้าราชการเป็นแค่มือไม้หรือเครื่องมือสนองนโยบายของผู้แทนของประชาชน&nbsp; และควรให้มีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ในอาเซียนมีเพียงไทย บรูไนและเมียนมาร์ที่ไม่มีภาษีนี้) มาบริหารราชการให้สนองความต้องการของประชาชนจริงๆ</p>\n<p>&nbsp;</p>\n<p><span>มาคาติ</span></p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ฟิลิปปินส์มีหลายสิ่งที่เจริญกว่าไทย เช่น เขาเคยจัดแข่งชกมวยชิงแชมป์โลกระหว่างโจ ฟราเซียกับโมฮัมหมัด อาลี ที่เกซอนซิตี้เมื่อปี 2518 มาแล้ว&nbsp; นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังมีย่านธุรกิจชั้นนำใจกลางเมืองชื่อว่าเมืองมาคาติ (Makati)&nbsp; ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรุงมะนิลา ถือเป็นศูนย์รวมสถาบันการเงิน ธุรกิจชั้นนำ อาคารสวยและสูงใหญ่มากมายที่สร้างและเจริญมาก่อนกรุงเทพมหานครเสียอีก&nbsp; ในกรุงเทพมหานครของเราก็คงมีแต่ย่านสีลม สุรวงศ์ สาทร เป็นต้น&nbsp; แต่ย่านสีลม หรือแม้แต่ย่านค้าปลีกเช่น สยาม-ชิดลม-เพลินจิต ก็เป็นย่านที่เกิดขึ้นเองตามยถากรรม ไม่ได้ผ่านการวางแผนอย่างเป็นกระบวนการเช่นในกรณีของมะนิลา</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ย่านอะยาลา (Ayala) ในใจกลางเมืองมากาตีซึ่งเป็นเสมือนย่านวอลสตรีทหรือศูนย์กลางการเงินของนิวยอร์กนั้น แต่เดิมเป็นสนามบินเก่า&nbsp; เขาไม่เอาไปทำสวนสาธารณะแบบที่เรากำลังรณรงค์ให้เอาที่รถไฟมักกะสันไปทำสวน (ทำไมไม่รณรงค์เอาที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารหรือที่ดินบรรทัดทองจุฬาฯ ไปทำสวนบ้างก็ไม่รู้)&nbsp; มากาติจึงเป็นศูนย์รวมความเจริญ&nbsp; อาคารขนาดใหญ่เช่นธนาคารกรุงเทพย่านสีลมที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2525 นั้น ในย่านมากาติ เขามีมาก่อนนับสิบปีแล้ว</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ย่านมากาติ มีการตัดถนนหนทาง วางผังเมืองอย่างสวยงาม&nbsp; บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยจัดได้ว่าการวางผังเมืองที่นี่ได้ผลเป็นอย่างดี&nbsp; ถ้าจะเดินเล่นในมะนิลาในยามวิกาล&nbsp; มากาติถือเป็นย่านที่เดินได้&nbsp; แต่ถ้าไปในเขตเทศบาลมะนิลาที่เป็นเมืองหลวงเก่า ก็ไม่สามารถเดินได้&nbsp; พูดมาถึงตรงนี้หลายท่านอาจเข้าใจผิดว่ามาร์กอสเป็นผู้สร้างเมืองมากาติ แต่แท้จริงเขาพัฒนามาก่อนสมัยมาร์กอสแล้ว&nbsp; แต่มากาติก็เป็นศูนย์รวมสำคัญของการเดินขบวนขับไล่มาร์กอส</p>\n<p>&nbsp;</p>\n<p><span>จาการ์ตาหลังซูฮาร์โต</span></p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จาการ์ตาเป็นอีกนครหลวงหนึ่งที่เคยเจริญยิ่งใหญ่กว่าเรามาก&nbsp; แต่มาชะลอไปในช่วงประธานาธิบดีซูฮาร์โต&nbsp; แต่อันที่จริงในยุคต้นของซูฮาร์โตก็มีการพัฒนาทางหลวงพิเศษขึ้นมากมายเช่นกัน แต่เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องมาจากยุคของซูการ์โนที่เป็นประธานาธิบดีคนแรก และเป็นคนที่ถูกซูฮาร์โตจับไปขังในเมืองโบโกร์ ซึ่งเป็นเมืองบริวารหนึ่งของกรุงจาการ์ตา และเสียชีวิตเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีเพียงพอ</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ศูนย์ธุรกิจใหม่ของกรุงจาการ์ตา ณ ถนนนายพลสุเดอแมน (Jend. Sudirman) และ ถนนราซูนาซาอิด (H.R. Rasuna Said) ก็เติบโตขึ้นมาอย่างจริงจังหลังจากการโค่นอำนาจของจอมเผด็จการซูฮาร์โตหลังปี 2541 แล้ว&nbsp; โดยเฉพาะในช่วง 7-8 ปีหลังมานี้ ราคาสำนักงานพุ่งสูงขึ้นสูงนับเท่าตัว&nbsp; อันเป็นผลพวงจากการตื่นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ&nbsp; อินโดนีเซียกลายเป็น \"ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับ\" หลังจากสลบไสลไปหลายสิบปีภายใต้อำนาจเผด็จการซูฮาร์โตนั่นเอง</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อ 9 กรกฎาคม ปีที่แล้ว กำลังคึกคักอย่างยิ่ง&nbsp; การลงทุนไหลบ่าเข้าประเทศเป็นอย่างมาก&nbsp; ส่วนในฟากประเทศฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3 ที่ครองตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2553 จากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากเช่นกัน ก็ยังเป็นที่นิยมของประชาชน&nbsp; แต่ขณะนี้มีข่าวว่าคนรอบข้างของท่านประธานาธิบดีอาจมีกลิ่นโกงโชยมาแล้ว&nbsp; ซึ่งก็คงต้องดูกันต่อไป&nbsp; แต่ที่แน่ๆ ก็คือประเทศมักจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน&nbsp; ส่วนในยุคเผด็จการ ประเทศมักถดถอยเพราะการโกงโดยไร้การตรวจสอบนั่นเอง</p>\n<p><span>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยุคเผด็จการคือยุคมืดที่ไม่มีการตรวจสอบและจบลงด้วยการโกงมหาศาล ทำร้ายชาติต่างหาก ในประวัติศาสตร์ไม่มีอัศวินม้าขาวไหนที่เหาะมาโดยไมได้รับฉันทามติของประชาชน&nbsp; อย่าลืมประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าเรา ยังจัดเลือกตั้งได้โดยไม่หาว่าคนเขาถูกซื้อเสียง และไม่มีใครกล้าขัดขวาง</span></p>\n<p>&nbsp;</p>\n<p>&nbsp;</p>\n<p><img src=\"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/ae/Ayalatriangle.jpg/1024px-Ayalatriangle.jpg\" alt=\"\" /></p>\n<p><span><a href=\"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5\">https://th.wikipedia.org/wiki/มากาตรี</a></span></p>\n<div id=\"bannerSpecial\">&nbsp;</div>\n<div class=\"clearfix\">&nbsp;</div>\n<div id=\"relationNews\">&nbsp;</div>\n<div class=\"clearfix\">&nbsp;</div>\n<div id=\"relation\">&nbsp;</div>\n<div class=\"clearfix\">&nbsp;</div>\n<p><br clear=\"all\" /></p>\n<p class=\"size14 wf_pressdetail\"><span>ผู้แถลง:</span><br />ดร.โสภณ พรโชคชัย (<a href=\"mailto:sopon@area.co.th\">sopon@area.co.th</a>) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (<a href=\"https://www.area.co.th/\" target=\"_blank\">www.area.co.th</a>): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน</p>\n</div>\n', created = 1716132840, expire = 1716219240, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:2ae594f389048e5a734b354ba59050a1' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

อย่าเข้าใจผิดว่าอำนาจเผด็จการทำให้ชาติเจริญ

รูปภาพของ pornchokchai
อย่าเข้าใจผิดว่าอำนาจเผด็จการทำให้ชาติเจริญ
  AREA แถลง ฉบับที่ 704/2565: วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            อย่าเข้าใจผิดว่าในยุคเผด็จการ ได้มีการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อประเทศชาติ มากอสไม่ได้สร้างนครหลวงเกซอน และย่านธุรกิจมาคาติ ทรราชซูฮาร์โตก็แค่พัฒนาตามพันธกิจเดิมที่เคยวางไว้

            ผมเคยไปสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงมะนิลามา  และเคยสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงจาการ์ตา  ผมไปสำรวจที่กรุงมะนิลาและไปบรรยายที่นั่นมาหลายรอบ  รวมทั้งที่กรุงจาการ์ตาที่ผมเคยไปทำงานให้กับธนาคารโลกในโครงการสาธารณูปโภค และในโครงการที่ปรึกษาของกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย  จึงขออนุญาตแบ่งปันข้อเท็จจริงเชิงเปรียบเทียบกับไทยเรา

 

เกซอนซิตี้

            ที่ฟิลิปปินส์ เขาเคยสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่กรุงมะนิลามาแล้ว ชื่อว่า "เกซอนซิตี้" (Quezon City) โดยเป็นนครหลวงในช่วงปี 2491-2516  มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภา  กระทรวงและสำนักงานของทางราชการส่วนกลางทั้งหลายมาตั้งอยู่รวมกันในนครหลวงแห่งใหม่นี้  ทั้งนี้สาเหตุที่ย้ายเมืองหลวงเพราะกรุงมะนิลา "เน่า" เต็มทน  ผู้บริหารจึงรู้สึกว่า "เกินเยียวยา"  สร้างใหม่ดีกว่า  ไทยเราก็ทำศูนย์ราชการ เช่นที่แจ้งวัฒนะ แต่ก็ทำได้ "โหลยโท่ย" จริง ๆ เพราะพื้นที่ก็เล็ก สร้างก็จำกัด ดูเหมือนไม่ได้มีการรวมศูนย์ราชการจริง ๆ เลย

            อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ผิดพลาดเป็นอย่างมาก เพราะปรากฏว่าในภายหลังทั้งกรุงมะนิลาและกรุงเกซอนซิตี้กลับเชื่อมต่อกันเพราะห่างกันเพียง 17 กิโลเมตรเท่านั้น  ภายหลังเกซอนซิตี้จึงกลายเป็นเพียงเทศบาลหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ Metro Manila หรือ "กรุงมะนิลาและปริมณฑล"  ข้อนี้เป็นการชี้ชัดอย่างหนึ่งว่า การย้าย/สร้างเมืองหลวงใหม่ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  เราอาจย้ายศูนย์ราชการออกไปได้  แต่ก็อยู่แบบค่อนข้างโดดเดี่ยว เช่น กรุงวอชิงตัน กรุงแคนเบอรา กรุงบราซิเลีย หรือกรุงเนปยีดอ เป็นต้น  แต่เมืองหลวงทางเศรษฐกิจยังอยู่ยั้งยืนยงอยู่ที่เดิม เช่น นิวยอร์ก ซิดนีย์ เซาเปาโล ย่างกุ้ง เป็นต้น

            คือหลายคนอาจเข้าใจว่าอดีต "กรุงเกซอนซิตี้" สร้างในสมัยมาร์กอส แต่ความจริงมาร์กอสมาเป็นประธานาธิบดีในปี 2508  จึงไม่ได้มีส่วนในการสร้างเมืองนี้ขึ้นมาแต่อย่างใด  เผด็จการไม่ได้มาสร้าง แต่มา "กิน"!  แต่มาร์กอสก็เป็นผู้ที่เลิกสถานะเมืองหลวงของเกซอนซิตี้  และให้มีสถานะเป็นเพียงเทศบาลหนึ่งในนครหลวงแห่งนี้  การมีเทศบาลหลายแห่งใน "กรุงมะนิลาและปริมณฑล" นี้  ในแง่หนึ่งก็เป็นแง่ดีที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ แต่ละเทศบาลดูแลปัญหาได้ใกล้ชิด  แต่ในด้านแง่ลบก็คือทำให้ขาดการประสานงานกัน

            แต่ที่แน่ๆ สำหรับกรุงเทพมหานครก็คือ เราควรมีการเลือกตั้งผู้อำนวยการเขต หรือแม้แต่หัวหน้าฝ่ายการศึกษา ฝ่ายเทศกิจ ฯลฯ ก็ควรให้มีการเลือกตั้ง  ให้ข้าราชการเป็นแค่มือไม้หรือเครื่องมือสนองนโยบายของผู้แทนของประชาชน  และควรให้มีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ในอาเซียนมีเพียงไทย บรูไนและเมียนมาร์ที่ไม่มีภาษีนี้) มาบริหารราชการให้สนองความต้องการของประชาชนจริงๆ

 

มาคาติ

            ฟิลิปปินส์มีหลายสิ่งที่เจริญกว่าไทย เช่น เขาเคยจัดแข่งชกมวยชิงแชมป์โลกระหว่างโจ ฟราเซียกับโมฮัมหมัด อาลี ที่เกซอนซิตี้เมื่อปี 2518 มาแล้ว  นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังมีย่านธุรกิจชั้นนำใจกลางเมืองชื่อว่าเมืองมาคาติ (Makati)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรุงมะนิลา ถือเป็นศูนย์รวมสถาบันการเงิน ธุรกิจชั้นนำ อาคารสวยและสูงใหญ่มากมายที่สร้างและเจริญมาก่อนกรุงเทพมหานครเสียอีก  ในกรุงเทพมหานครของเราก็คงมีแต่ย่านสีลม สุรวงศ์ สาทร เป็นต้น  แต่ย่านสีลม หรือแม้แต่ย่านค้าปลีกเช่น สยาม-ชิดลม-เพลินจิต ก็เป็นย่านที่เกิดขึ้นเองตามยถากรรม ไม่ได้ผ่านการวางแผนอย่างเป็นกระบวนการเช่นในกรณีของมะนิลา

            ย่านอะยาลา (Ayala) ในใจกลางเมืองมากาตีซึ่งเป็นเสมือนย่านวอลสตรีทหรือศูนย์กลางการเงินของนิวยอร์กนั้น แต่เดิมเป็นสนามบินเก่า  เขาไม่เอาไปทำสวนสาธารณะแบบที่เรากำลังรณรงค์ให้เอาที่รถไฟมักกะสันไปทำสวน (ทำไมไม่รณรงค์เอาที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารหรือที่ดินบรรทัดทองจุฬาฯ ไปทำสวนบ้างก็ไม่รู้)  มากาติจึงเป็นศูนย์รวมความเจริญ  อาคารขนาดใหญ่เช่นธนาคารกรุงเทพย่านสีลมที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2525 นั้น ในย่านมากาติ เขามีมาก่อนนับสิบปีแล้ว

            ย่านมากาติ มีการตัดถนนหนทาง วางผังเมืองอย่างสวยงาม  บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยจัดได้ว่าการวางผังเมืองที่นี่ได้ผลเป็นอย่างดี  ถ้าจะเดินเล่นในมะนิลาในยามวิกาล  มากาติถือเป็นย่านที่เดินได้  แต่ถ้าไปในเขตเทศบาลมะนิลาที่เป็นเมืองหลวงเก่า ก็ไม่สามารถเดินได้  พูดมาถึงตรงนี้หลายท่านอาจเข้าใจผิดว่ามาร์กอสเป็นผู้สร้างเมืองมากาติ แต่แท้จริงเขาพัฒนามาก่อนสมัยมาร์กอสแล้ว  แต่มากาติก็เป็นศูนย์รวมสำคัญของการเดินขบวนขับไล่มาร์กอส

 

จาการ์ตาหลังซูฮาร์โต

            จาการ์ตาเป็นอีกนครหลวงหนึ่งที่เคยเจริญยิ่งใหญ่กว่าเรามาก  แต่มาชะลอไปในช่วงประธานาธิบดีซูฮาร์โต  แต่อันที่จริงในยุคต้นของซูฮาร์โตก็มีการพัฒนาทางหลวงพิเศษขึ้นมากมายเช่นกัน แต่เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องมาจากยุคของซูการ์โนที่เป็นประธานาธิบดีคนแรก และเป็นคนที่ถูกซูฮาร์โตจับไปขังในเมืองโบโกร์ ซึ่งเป็นเมืองบริวารหนึ่งของกรุงจาการ์ตา และเสียชีวิตเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีเพียงพอ

            ศูนย์ธุรกิจใหม่ของกรุงจาการ์ตา ณ ถนนนายพลสุเดอแมน (Jend. Sudirman) และ ถนนราซูนาซาอิด (H.R. Rasuna Said) ก็เติบโตขึ้นมาอย่างจริงจังหลังจากการโค่นอำนาจของจอมเผด็จการซูฮาร์โตหลังปี 2541 แล้ว  โดยเฉพาะในช่วง 7-8 ปีหลังมานี้ ราคาสำนักงานพุ่งสูงขึ้นสูงนับเท่าตัว  อันเป็นผลพวงจากการตื่นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ  อินโดนีเซียกลายเป็น "ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับ" หลังจากสลบไสลไปหลายสิบปีภายใต้อำนาจเผด็จการซูฮาร์โตนั่นเอง

            รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อ 9 กรกฎาคม ปีที่แล้ว กำลังคึกคักอย่างยิ่ง  การลงทุนไหลบ่าเข้าประเทศเป็นอย่างมาก  ส่วนในฟากประเทศฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3 ที่ครองตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2553 จากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากเช่นกัน ก็ยังเป็นที่นิยมของประชาชน  แต่ขณะนี้มีข่าวว่าคนรอบข้างของท่านประธานาธิบดีอาจมีกลิ่นโกงโชยมาแล้ว  ซึ่งก็คงต้องดูกันต่อไป  แต่ที่แน่ๆ ก็คือประเทศมักจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน  ส่วนในยุคเผด็จการ ประเทศมักถดถอยเพราะการโกงโดยไร้การตรวจสอบนั่นเอง

            ยุคเผด็จการคือยุคมืดที่ไม่มีการตรวจสอบและจบลงด้วยการโกงมหาศาล ทำร้ายชาติต่างหาก ในประวัติศาสตร์ไม่มีอัศวินม้าขาวไหนที่เหาะมาโดยไมได้รับฉันทามติของประชาชน  อย่าลืมประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าเรา ยังจัดเลือกตั้งได้โดยไม่หาว่าคนเขาถูกซื้อเสียง และไม่มีใครกล้าขัดขวาง

 

 

https://th.wikipedia.org/wiki/มากาตรี

 
 
 
 
 
 


ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 299 คน กำลังออนไลน์