รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้น

ชื่อเรื่อง          รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E)

                       เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101)

                    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
                    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๙ จังหวัดนราธิวาส

ผู้รายงาน        นิอิบรอน  มะเด็ง

ปีที่ศึกษา        2563

บทคัดย่อ 

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๙ จังหวัดนราธิวาส ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส  สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E)  จำนวน 4 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) จำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) จำนวน 40 ข้อ และ 4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E)  จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples ผลการศึกษาพบว่า

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.98/84.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว31101) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจ        อยู่ในระดับมาก

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 408 คน กำลังออนไลน์