แปลงบ้านพิษณุโลกเป็นโรงแรมเถอะ

รูปภาพของ pornchokchai
แปลงบ้านพิษณุโลกเป็นโรงแรมเถอะ
  AREA แถลง ฉบับที่ 721/2563: วันศุกร์ที่ 04 ธันวาคม 2563

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
 sopon@area.co.th 

            บ้านพิษณุโลกไม่ได้มีการใช้สอยจริงจัง เป็นความสิ้นเปลืองของแผ่นดิน ดร.โสภณ จึงเสนอให้ใช้เพื่อเป็นโรงแรม หารายได้เข้าแผ่นดิน

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะผู้ประเมินค่าทรัพย์สินให้ความเห็นว่า บ้านพิษณุโลกมีห้องหับมากมาย หากแปลงสภาพเป็นโรงแรม 6 ดาว แบบที่ในต่างประเทศนิยมนำปราสาทราชวังมาทำเป็นโรงแรมต้อนรับนักท่องเที่ยว ก็น่าจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เป็นการบริหารทรัพย์สิน นำเงินมาพัฒนาประเทศ

Upcoming Training

            ทั้งนี้มีแนวทางการดำเนินการคือจัดการประมูลให้โรงแรมเครือดังทั่วโลก รวมทั้งนักลงทุนไทย มาเช่าใช้ในระยะยาวโดยดัดแปลงเป็นโรงแรม เพราะในอาคารบ้านพิษณุโลกมีห้องหับมากมาย น่าจะสามารถดัดแปลงเป็นโรงแรมได้เป็นอย่างดี สนนราคาก็สามารถกำหนดให้แตกต่างกันไปได้ตามกลไกตลาด  และเนื่องจากบ้านพิษณุโลกมีประวัติอันยาวนาน จึงน่าที่จะเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และเมื่อปรับปรุงเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้าและโควิด-19 หมดไปแล้ว ก็น่าจะมีความต้องการใช้สูงมาก

            อย่างไรก็ตามบางท่านอาจกังวลว่าบ้านพิษณุโลกมีผี ซึ่งคงเป็นเรื่องเท็จ (ผีไม่มีจริง) แต่การแปลงสภาพเป็นโรงแรม มีผู้คนพลุกพล่าน และคนเข้าพักก็หมุนเวียนไปเรื่อย หลายชาติ หลายภาษา หลายศาสนา ดร.โสภณกล่าวอย่างติดตลกว่า (ถ้าคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์) ผีก็คงพัฒนาการทางสมองให้จดจำผู้เข้าพักไม่ได้ เพราะมีการเข้าออกตลอดเวลา จึงอาจหลอกผีไม่ถูกก็เป็นไปได้  แถมยังมีพนักงานทำงานตลอด 24 ชั่วโมง  โอกาสการหลอกคนก็คงมีน้อยลงตามลำดับ

            ถ้าบ้านพิษณุโลกสามารถสร้างรายได้จากการให้เช่าสุทธิที่เดือนละ 10 ล้านบาท ก็คงเป็นเงินปีละ 120 ล้านบาท หากแปลงรายได้เป็นมูลค่าด้วยอัตราผลตอบแทนที่ 5% ต่อปี ก็ได้มูลค่าของบ้านถึงประมาณ 2,400 ล้านบาท สามารถนำเงินจำนวนนี้ไปพัฒนาประเทศได้อีกหลากหลาย  ในกรุงเทพมหานคร ยังมีวังเก่า ปราสาทหรือบ้านหลังใหญ่ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์น้อยกว่าที่ควรอีกหลายแห่ง รัฐบาลควรนำมาแปลงสภาพเพื่อหารายได้เข้าหลวง นำมาพัฒนาประเทศต่อไป

            อนึ่งตาม Wikipedia กล่าวว่า “บ้านพิษณุโลก หรือชื่อเดิมคือ บ้านบรรทมสินธุ์ เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเรือนรับรองแขกสำคัญของรัฐบาลไทย เป็นบ้านแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเวเนเทียน ออกแบบและสร้างโดยมาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน ตั้งอยู่บริเวณถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับทำเนียบรัฐบาล รัชกาลที่ 6 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2465 โดยมีมาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาลีประจำกระทรวงโยธาธิการเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและออกแบบบ้าน และพระราชทานให้กับพระยาอนิรุทธเทวา อธิบดีกรมมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพซึ่งเป็นมหาดเล็กส่วนพระองค์”

            “รัฐบาลยุคต่อมาได้ปรับปรุงบ้านพิษณุโลก เพื่อใช้เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่สมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522 และมาแล้วเสร็จในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2524 พลเอกเปรม ได้ย้ายเข้าไปพัก แต่ก็อยู่เพียง 2 วัน จึงย้ายออกไปพักที่บ้านพักเดิมคือ บ้านสี่เสาเทเวศร์ ในยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ทำการของคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีโดยเรียกกันติดปากสื่อมวลชนว่า "ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก"แต่ไม่ได้มีการใช้เป็นที่พัก โดยนายกรัฐมนตรียุคต่อมามีเพียง นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายที่เข้าพักบ้านพิษณุโลกหลังนี้และอยู่ได้นานทั้งสองสมัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยได้ใช้โซฟาในห้องทำงานซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเป็นที่นอน” https://bit.ly/3mK9wXe)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 576 คน กำลังออนไลน์