เพลงเพื่อชีวิต

ชื่อการศึกษา             แนวเพลงเพื่อชีวิต

ผู้ศึกษา                       นาวสาวอรนุช  กาสกุล และคณะ

อาจารย์                      นายอภิญญ์   ภาณุศานต์

โรงเรียน                     นวมินทราชินูทิศ  เบญจมราชาลัย

ปีการศึกษา                    2560

 

 

บทคัดย่อ

เพลงเพื่อชีวิตถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่ผู้แต่งสร้างหรือผลิตขึ้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่สาธารณะในการสื่อสารความคิดและอุดมการณ์ของตนผ่านบทเพลงนั้นๆ โดยได้รับอิทธิพลในการแต่งเพลงจากบริบทแวดล้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองอย่างเป็นพลวัต ทำให้กระบวนการสร้างหรือการผลิตของเพลงเพื่อชีวิตต้องปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลาต่างๆ ด้วยเช่นกันผลการศึกษาพบว่า

            เพลงเพื่อชีวิต คือ การเรียกร้องประชาธิปไตยแบบเต็มใบที่มีความเท่าเทียม    และความยุติธรรมในสังคม ทั้งด้านชนชั้น เชื้อชาติ เศรษฐกิจ และการจัดสรรผลประโยชน์โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้รายละเอียดมีการแตกต่างไปตามบริบททางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมในช่วงเวลาต่างๆ

 

แม้บทเพลงเพื่อชีวิตใน พ.ศ.2525-2550 จะดำเนินตามวาทกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามกระบวนการทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสร้างความหมายของเพลงเพื่อชีวิตจากภาพลักษณ์ของศิลปิน ส่งผลให้เนื้อหาของเพลงเพื่อชีวิตเปลี่ยนไปจากเพลงเพื่อชีวิตที่มีความหมายตามรากเหง้า กล่าวคือ เป็นบทเพลงที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือและต่อสู้เพื่อสังคม จึงลดน้อยถอยลง กลายเป็นบทเพลงที่มีเนื้อหาเป็นไปตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้วงการเพลงเพื่อชีวิตถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางลบจากสังคมเป็นวงกว้าง ศิลปินเพลงเพื่อเพื่อชีวิตจึงพยายามหลีกหนีวาทกรรมอันเกิดจากกระบวนการธุรกิจดังกล่าว โดยสามารถแบ่งเป็นสามแนวทาง คือ การปฏิเสธในการเป็นศิลปินเพื่อชีวิต การหลีกหนีระบบธุรกิจกระแสหลักด้วยการเป็นศิลปินใต้ดิน และการยืนหยัดอยู่ในระบบธุรกิจกระแสหลักด้วยการปรับเปลี่ยนเป็นแนวเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิต

 

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญ

เพลงเป็นงานทางศิลปะที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้ผู้อื่นได้ทราบ “อาจเป็นเพลงขับร้อง (vocal) หรือเพลงจากดนตรีล้วน (instrumental) หรือสองอย่างผสมกันก็ได้” (ม.ล.ตุ้ย ชุมสาย 2516 : 45) ด้วยทำนองที่กระทบอารมณ์และเนื้อหาที่กระทบใจ  เพลงจึงสามารถบันดาลให้มนุษย์เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กัน เช่น ความรู้สึกที่อ่อนไหว เศร้าสร้อย ร่าเริงแจ่มใส หรือคึกคะนองไปกับเสียงเพลง ฯลฯ นอกจากนี้เพลงยังช่วยให้มนุษย์เกิดพลังสร้างสรรค์ และช่วยผลักดันให้มีมานะที่จะต่อสู้กับอุปสรรคหรือปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาแผ้วพานในชีวิตได้  ดังจะเห็นได้ว่า  มนุษย์แต่ละชาติจึงมีเพลงและลักษณะการขับร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติตน ทั้งนี้เพราะเพลงเกิดจากแรงบันดาลใจที่มนุษย์ได้รับมาจากการดำรงชีวิตในสังคมของตน การที่สังคมแต่ละสังคมมีสภาพต่างกันทำให้เพลงของมนุษย์มีความแตกต่างกันไปด้วย ด้วยเหตุนี้เพลงจึงเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้บันทึก ถ่ายทอดและกล่อมเกลาสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนทั้งวิธีคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรมและปรากฏการณ์ของยุคสมัย เป็นบทบันทึกทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ควรค่าแก่การศึกษา เพื่อการเข้าใจซึ่งกันและกัน

ในสังคมไทยโบราณ ปรากฏการใช้บทเพลงในวิถีวิตตั้งแต่เกิดจนตายมาอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงพื้นบ้าน บททำขวัญ บทสวด บทแหล่ เป็นต้น ด้วยถ้อยคำที่คมคายคล้องจอง ประกอบกับท่วงทำนองและจังหวะของเพลงที่กลมกลืนกับจุดมุ่งหมาย รวมทั้งเนื้อความที่มีอรรถรสจับใจ แม้เป็นการถ่ายทอดด้วยมุขปาถะ (การถ่ายทอดด้วยภาษา) เพลงเหล่านี้ก็ยังดำรงอยู่ถึงปัจจุบันให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้  ดังเช่นเพลงกล่อมเด็กที่ใช้ขับกล่อมเด็กๆ ให้เกิดความเพลิดเพลินและอบอุ่นใจ จะได้หลับง่ายและหลับสบายด้วยความรู้สึกปลอดภัย ลักษณะเพลงเป็นบทร้อยกรองสั้นๆ ใช้คำคล้องจองด้วยฉันลักษณ์ที่ไม่ซับซ้อน ใช้ท่วงทำนองที่อ่อนหวานแทนความรู้สึกเอื้ออาทร  เนื้อหาของเพลงแสดงความรัก ความหวงแหนห่วงใยที่แม่มีต่อลูก หรืออาจจะเล่าเรื่องนิทานหรือสังคมแวดล้อม เล่าประสบการณ์ ล้อเลียน หรือเสียดสีสังคม รวมทั้งบันทึกความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กและให้คติสอนใจ เป็นอารมณ์รักซาบซึ้งและผูกพันระหว่างแม่กับลูก อันเป็นลักษณะสากล

เพลงเพื่อชีวิตในไทย  เริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย  และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อกโดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ็อบ ดิลลันบ็อบ มาร์เลย์นีล ยังไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น

เทียบได้กับโปรเทสต์ซองของสหรัฐอเมริกา โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต"

เพลงเพื่อชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ คือดนตรีไฟล์คตะวันตก ร็อก ลูกทุ่ง พื้นบ้านไทย คันทรี และแหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรมเพอร์คัชชัน ไวโอลิน เปียโน และดนตรีไทย

 เป็นต้น

จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมตะวันตกและลัทธิล่าอาณานิคม ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง  ดังปรากฏในงานของเทียนวรรณหรือ ต.ว.ส.วัณณาโภ ที่เสนอให้ปรับปรุงราชการงานเมือง เสนอให้เลิกทาส เลิกการพนัน ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นและเสนอให้มีสภาผู้แทน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักประพันธ์ไทยเริ่มใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือสะท้อนเนื้อหาสังคมและการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น แนวคิดนี้ถ่ายทอดต่อมา ดังปรากฏในงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบของปัญญาชนยุค พ.ศ.2500 เป็นปัญญาชนอัจฉริยะที่เปิดสังคมแห่งชนชั้นออกสู่ที่แจ้งผลงานหลายเล่มที่ได้รับความนิยมยกย่องว่าหลากหลาย ทั้งวรรณคดี ศิลปะ ศาสนา ทฤษฎีการเมืองเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บวกกับความงดงามทางด้านภาษาศาสตร์ ทำให้ผลงานหลายเล่มของ จิตร ภูมิศักดิ์ เช่น โฉมหน้าศักดินาไทย, ความเป็นมาของสยาม ไทย ลาวและขอม, ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฯลฯ ได้รับการกล่าวขวัญทั้งในหมู่ปัญญาชนร่วมสมัยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ จิตรยังประพันธ์เพลงเพื่อชีวิตขึ้นอีกหลายเพลง ที่โด่งดังและเป็นอมตะได้แก่      “แสงดาวแห่งศรัทธา” บทกวีหลายบทของเขา ได้ถูกดัดแปลงเป็นเพลงเพื่อชีวิตอีกหลายเพลง เช่น เปิบข้าว กลิ่นรวงทอง เป็นต้น  

 

โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวานแฮมเมอร์โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่นคาราบาวพงษ์สิทธิ์ คำภีร์พงษ์เทพ กระโดนชำนาญอินโดจีนคนด่านเกวียนมาลีฮวนน่าโฮปซูซูตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชรเสกสรร ทองวัฒนาธนพล อินทฤทธิ์หนู มิเตอร์นิค นิรนามพลพล พลกองเส็งกะท้อนศุ บุญเลี้ยงสิบล้อ เป็นต้น

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของแนวเพลงเพื่อชีวิต
  2. เพื่อศึกษาจุดเด่นของแนวเพลงเพื่อชีวิตในประเทศและต่างประเทศ
  3. เพื่อศึกษาความนิยมของกลุ่มบุคคลที่ฟังเพลงเพื่อชีวิต

 

ขอบเขตการดำเนินงาน

                ที่มาและความสำคัญของเพลงเพื่อชีวิต แรงบันดาลใจ และเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดเพลงเพื่อชีวิตมา เป็นการสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนในฐานะ ต่างๆ แต่ละภูมิภาคของคนในประเทศไทย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเพลงเพื่อชีวิต

2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงเพื่อชีวิต

3.จัดทำและนำเสนอเนื้อเกี่ยวกับเพลงเพื่อชีวิต

ระยะการดำเนินงาน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560

นิยามศัพท์

                เพลงเพื่อชีวิต คือ  บทเพลงที่มีเนื้อหาสาระสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนในแง่เศรษฐกิจ การเมือง สังคม โจมตี คัดค้านการทำผิดศีลธรรม ต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบ แนวความคิด ความรู้สึก ตลอดจนความเป็นอยู่เพื่อให้ชีวิตที่ดีขึ้น

เพลงที่กล่าวถึงนามบุคคล หมายถึง เพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ผู้ประพันธ์กล่าวถึงการกระทำ พฤติกรรม อาชีพ วิถีชีวิต ซึ่งการกระทำหรือพฤติกรรมนั้นเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้ประพันธ์และปรากฏเป็นชื่อเพลง เช่น เพลงอองซานซูจี, เพลงโกวเล้ง, เพลงคานธี  เพลงประเวียน บุญหนัก, เพลงจ่าง แซ่ตั้ง  เป็นต้น

อีกส่วนหนึ่งปรากฏเป็นคำหรือวลีที่สามามารถเชื่อมโยงชื่อเพลงกับเนื้อหาของเพลงให้เข้าใจได้ว่าเป็นบุคคลนั้นๆ เช่น ดาวแห่งโดม หมายถึง ปรีดี พนมยงค์, กีต้าร์คิงส์ หมายถึง แหลม มอริสัน,          มหาจำลองรุ่น 7 หมายถึง พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นต้น

แรงบันดาลใจ หมายถึง สิ่งที่กระทบใจเราอย่างรุนแรง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร เป็นเรื่อง     ที่ได้รับมาแล้วอยากจะบอกเล่าต่อไป และมีคุณค่าสำหรับในทางใดทางหนึ่ง และกลายเป็นวัตถุดิบชั้นดี   ในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต  

ศิลปะการใช้ภาษา หมายถึง การนำคำที่มีลักษณะเหมือนหรือสอดคล้องกัน โดยเสียงหรือโดยความหมายมา บรรจุลงบนข้อความ เพื่อให้เกิดความไพเราะ หรือย้ำความรู้สึก เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกตามความต้องการของผู้ประพันธ์ แทนที่จะใช้คำที่มีความหมายตรงไปตรงมาตามปกติ

 

                เพลงใต้ดิน คือ เพลงหรือดนตรีของศิลปิน ที่ไม่มีสังกัดที่เป็นหลักฐานแน่นอน" หรือ "เพลงที่ไม่สามารถออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้" หรือ "เพลงที่ศิลปิน หรือ นักแต่งเพลง ทำกันเอง และไม่ได้เผยแพร่อย่างกว้างขวาง"

                คันทรี คือ เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมเกิดในแถบสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้และทางภูเขาแอพพาลาเชียน มีต้นกำเนิดจากดนตรีโฟล์ก,ดนตรีเคลติกดนตรีกอสเปล และดนตรีโอลด์-ไทม์ 

                เพอร์คัชชั่น คือ วัตถุที่ให้เสียงจากการตี กระทบ ถู เขย่า หรือการกระทำลักษณะที่ใกล้เคียงกันที่ทำให้วัตถุสั่นและเกิดเสียง เพอร์คัชชันนั้นหมายความรวมทั้งเครื่องดนตรีที่รู้จักกันทั่วไป เช่น กลอง ฉาบ ฆ้อง แทมบูรีน ไซโลโฟน หรือสิ่งของซึ่งถูกนำมาใช้ในดนตรีสมัยใหม่หลายชนิด เช่น ไม้กวาด ท่อโลหะ เป็นต้น

                แนวอคูสสติก คือ (acoustic music) ดนตรีที่เล่นโดยใช้เครื่องดนตรีที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้า

 

บทที่ 5

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

 

แม้ว่าบริบททางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปมากสักเท่าใด แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคง

อยู่ในสังคมไทย คือ ปัญหาความไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรมทางสังคม ซึ่งส่งผลให้เกิดการต่อสู้

เรียกร้องจากคนหลากหลายกลุ่มตลอดมา ศิลปินเพื่อชีวิตเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างวาทกรรมผ่าน

บทเพลงเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้การขจัดปัญหาข้างต้น หากพิจารณาจากบทความ จะพบว่าถึงแม้

เวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่สามารถขจัดไปในสังคมไทยได้

 

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเป็นคำตอบที่น่าสนใจประการหนึ่งในการขจัดปัญหาความ

ไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรมทางสังคมให้หมดไปจากสังคมไทย แม้จะใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา แต่ก็ดีกว่าให้ปัญหาผ่านล่วงเลย อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น จริงจัง และจริงใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือแก้ปัญหานี้ด้วย

 

เชิงอรรถ

1. บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของร่างวิทยานิพนธ์เรื่อง “วาทกรรมเพลงเพื่อชีวิตในบริบททางการ

เมืองไทย (พ.ศ. 2525 – 2550)”, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครอง ภาควิชาการ

ปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

2. Miss Natthanicha Nanta, Master degree student, Faculty of Political Sciences, Chulalongkorn

University

3. จรูญรัตน์ สุวรรณภูสิทธิ์. 2531. การศึกษาบทเพลงเพื่อชีวิตที่เกี่ยวข้องกับขบวนการนักศึกษา

ช่วง 2516 – 2519. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

4. จีระนันท์ พิตรปรีชา. 2549. อีกหนึ่งฟางฝัน บันทึกแรมทางของชีวิต. กรุงเทพฯ: แพรว

สำนักพิมพ์.

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 836 คน กำลังออนไลน์