• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:28d2f4dba1333fad0ed2a99d3a03e3f9' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\nถือเป็นกิจกรรมแห่งการรอคอยของน้องๆ นักศึกษาที่เป็นนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปไปแล้ว สำหรับค่ายพัฒนาเยาวชนซึ่ง ซิตี้แบงก์ ร่วมกับ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อนำคณะนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปกว่า 70 ชีวิตจากทั่วประเทศไปร่วมบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียน ด้วยมีความมุ่งหวังให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความ หวงแหนในแผ่นดิน และ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ชื่อ “คืนน้ำ คืนต้นลาน คืนโบราณสถาน ตามรอยบาทพ่อ” ณ สวนศักดิ์สุภา รีสอร์ท จ.ปราจีนบุรี \n</p>\n<p>\nการเข้าค่าย “คืนน้ำ คืนต้นลาน คืนโบราณสถาน ตามรอยบาทพ่อ” ในครั้งนี้ ได้พาน้องๆ ไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่างๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี เช่น โบราณสถานสระมรกต วัดต้นศรีมหาโพธิ์ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ วัดแก้วพิจิตร เป็นต้น และยังมีกิจกรรมเชิงปฎิบัติหลายๆ รูปแบบเพื่อชุมชนเพื่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ และเกิดการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ กิจกรรม “คืนโบราณสถาน ตามรอยบาทพ่อ” คือ ทำความสะอาดรอบบริเวณปราสาทสด๊อกก๊อกธม (ปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ถือเป็นโบราณสถานสำคัญของ จ.สระแก้ว), กิจกรรม “คืนต้นลาน  ตามรอยบาทพ่อ” คือ ร่วมกันปลูกต้นลานในบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน เพื่อให้ต้นลานซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่นนี้ ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่สูญหายไปเพราะถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีการปลูกทดแทน หรือกิจกรรม “คืนน้ำ ตามรอยบาทพ่อ” เป็นการร่วมมือกับชาวบ้าน อ.นาดี ทำฝายชะลอน้ำ ที่น้ำตกบ่อทอง เพื่อกักเก็บน้ำเวลาฝนตก ไม่ให้ไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ฯลฯ   <br />\n <br />\nสิทธิชัย บรรพต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวถึงการทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของค่ายนี้ ว่าเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงการในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะน้ำตกบ่อทอง มีลักษณะเป็นเหวชันสูง 7 ชั้น เวลาฝนตกน้ำจะไม่ไหลทิ้ง น้ำตกชั้นล่างไม่แห้งขอด ทำให้ป่าชุ่มชื้น\n</p>\n<p>\nขั้นตอนการทำฝายชะลอน้ำในครั้งนี้ เริ่มจากการนำหินที่มีอยู่จำนวนมากในบริเวณนั้นมาเรียงให้เต็มบนคันดินที่ปรับไว้เป็นคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยกันคนละไม้คนละมือทั้งน้องๆ นักเรียนทุน และชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยยืนเรียงแถวส่งหินต่อๆ กันมาวางบนคันดิน บางส่วนก็ตักปูนทรายมาผสมน้ำเพื่อนำไปฉาบบนหินที่วางเรียงกันไว้ บางส่วนก็เตรียมอาหารไว้ให้คนที่ทำฝายได้รับประทานตอนพักเที่ยง เป็นภาพที่บอกได้ถึงความสามัคคีอย่างชัดเจน\n</p>\n<p>\n“การทำฝายชะลอน้ำครั้งนี้ เป็นฝายดินปนหิน มีประโยชน์มาก เพราะช่วยกักเก็บน้ำที่ตกมาจากต้นน้ำไม่ให้ไหลทิ้ง ทั้งยังชะลอการไหลของน้ำไม่ให้ไหลไปท่วมที่ชาวบ้าน เมื่อมีน้ำเพียงพอ ระบบนิเวศก็ดีขึ้นตามไปด้วย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทำให้ไม่ต้องออกไปหากินในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ฝายนี้สามารถเก็บน้ำได้หลายสิบลูกบาศก์เมตร ตอนนี้เรากำลังทำเฟส 2 ซึ่งเป็นชั้นล่างๆ ของน้ำตกก่อน เพราะจะได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถมาได้สะดวก กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือกันจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งซิตี้แบงก์ สภาสังคมสงเคราะห์ อบต. น้องๆ นักเรียนทุน และ ชาวบ้าน ที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ถึงการทำฝายจะยังไม่เสร็จเรียบร้อยในวันเดียว แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่จะสานงานต่อไป ทั้งยังทำให้เยาวชนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ และมีสัมพันธ์อันดีกับชาวบ้าน เขาจะได้รู้ว่า การแบกหินแม้เพียง 1 ก้อน ก็มีส่วนช่วยรักษาต้นน้ำแล้ว เพราะงานแบบนี้ไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าว\n</p>\n<p>\nส่วนกิจกรรม คืนต้นลาน  ตามรอยบาทพ่อ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ให้เยาวชนได้รู้จักการดูแลรักษาธรรมชาติ โดยร่วมกันปลูกต้นลาน บริเวณพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติทับลาน ต.บุพราหมณ์ ซึ่งต้นลาน เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ที่ไม่ขึ้นแพร่หลายนัก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ปาล์ม ในอดีตที่จังหวัดนี้มีต้นลานเยอะมาก แต่ปัจจุบันเริ่มมีน้อยลงเนื่องจากมีการตัดไปใช้แต่ไม่มีการปลูกทดแทน\n</p>\n<p>\nประมวล มาหาญ พนักงานพิทักษ์ป่า รักษาการหัวหน้าฝ่ายวิชาการ อุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า ต้นลานในพื้นที่นี้ เป็นลานป่า เป็นลานดั้งเดิมของพื้นที่ มีความสำคัญกับระบบนิเวศของท้องที่มาก ปัจจุบันชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีป่าลานได้นำใบอ่อนของลานไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวส่วนหนึ่ง และยังมีกลุ่มจักสาน ก็นำใบลานไปทำผลิตภัณฑ์ ทำให้ตอนนี้ต้นลานลดน้อยลงทุกที แต่ชาวบ้านยังไม่เห็นความสำคัญในการปลูกทดแทนมากนัก อาจจะเพราะเห็นว่ายังมีเหลืออีกเยอะ แต่จริงๆ เมื่อเทียบกับอดีตจะทราบว่ามันเหลือน้อยเต็มที\n</p>\n<p>\n“ในพื้นที่ทำการเกษตรของหมู่บ้านเหลือไม่ถึง 10% แล้ว ผมคิดว่าที่จะมีเหลือมากก็เฉพาะในเขตอุทยานเท่านั้นคือมี 100% อยู่ ถึงแม้โดยธรรมชาติต้นลานจะขึ้นเองอยู่แล้ว แต่เราก็อยากปลูกเพิ่มในส่วนที่โดนทำลายไป ต้นลานที่ปลูกกว่าจะโตก็ใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี กว่าจะเริ่มใช้ยอดมาทำจักสานได้ มีอายุประมาณ 60 ปี เมื่อออกดอกแล้วก็จะตาย เป็นวงจรชีวิตของต้นลาน ปกติตามพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านจะมีลูกลานหล่นมาเยอะ เราก็ไปขอเขาเพื่อเอามาไว้ในป่า เมื่อปี 2548 เราขอมาได้ 2 ประมาณแสนลูก เพื่อทำโครงการคืนลานสู่ป่า จากนั้นก็ทำเป็นประเพณีมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ ปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้วในการคืนลานสู่ป่า โดยในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เราจัดให้เป็นวันคืนลานสู่ป่าของตำบลบุพราหมณ์ ต่อไปกำลังคิดกันว่าจะขยับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลนี้ด้วย” ประมวล กล่าว <br />\n <br />\n<span style=\"background-color: #ccffcc\">พิกุล บุญครอง หรือ น้องกุล อายุ 23 ปี นักศึกษาชั้นปี 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์</span> ซึ่งเป็นผู้ที่แขนพิการทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าค่ายครั้งนี้แต่อย่างใด เพราะสามารถร่วมกิจกรรมกับน้องๆ พี่ๆ เพื่อนๆ ได้ โดยทุกคนต่างช่วยกันดูแล และช่วยเหลือกันอย่างดี     <br />\n \n</p>\n<p>\n“เป็นครั้งแรกที่มาเข้าค่ายนี้ แต่ปีก่อนๆ เคยได้ฟังพี่ๆ ที่เคยมาแล้ว เล่าให้ฟังว่าสนุกมากได้ความรู้เยอะ พอปีนี้มีโอกาสมาจึงตื่นเต้นดีใจมาก ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ จากทั่วประเทศ ก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเข้าค่าย เพราะบางคนเคยมาหลายครั้งแล้ว สำหรับกิจกรรมที่ประทับใจก็มีหลายอย่างค่ะ เช่น ไปดูปราสาทสด๊อกก๊อกธม ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ปลูกต้นลาน ได้ล่องแก่ง ตอนแรกคุณพ่อคุณแม่ก็ห่วงว่าถ้าเรามาแล้วจะปรับตัวได้มั้ย จะคิดมากหรือเปล่า แต่กุลบอกท่านว่าไม่ต้องห่วงเพราะตอนเราอยู่มหาวิทยาลัยก็ยังปรับตัวได้ มาที่นี่จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร ซึ่งเพื่อนๆ ทุกคนน่ารักมาก ดูแลเราดี สนุกมากค่ะ ได้ความรู้เยอะ ถ้ามีโอกาสคราวหน้าก็อยากมาอีก” \n</p>\n<p>\n<span style=\"background-color: #ccffcc\">คม-คมสัน ร่มแก้ว อายุ 22 ปี เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆ จาก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</span> ปีนี้มาค่ายเป็นครั้งที่ 7 แล้ว เขามีความประทับใจทุกครั้งที่ได้มาเพราะชอบทำกิจกรรม และยังได้รับสาระที่แทรกมาของแต่ละค่ายแตกต่างกันไป\n</p>\n<p>\n“ตอนมาค่ายครั้งแรกๆ ยอมรับเลยว่า ชอบเที่ยว ชอบทำกิจกรรม ได้เจอผู้ใหญ่ใจดี มีความเป็นกันเอง และยังได้เจอเพื่อนๆ พอมาหลายครั้งก็เหมือนได้เจอเพื่อนเก่าๆ พี่เก่าๆ ที่สนิทกันมาก ปีนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้มา เพราะเรียนจบแล้ว ก็ใจหายเหมือนกัน มันเป็นความผูกพันอย่างหนึ่ง ก็จะพยายามเก็บเกี่ยวทุกอย่างให้มากที่สุด เพราะต่อไปพอไปทำงานแล้วคงไม่มีโอกาสมาทำฝาย มาปลูกต้นลาน อย่างนี้อีก ต้องขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านที่ให้โอกาสผมได้รับประสบการณ์ดีๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ต่อไป เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การมีความอดทน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะเราต้องใช้แน่ๆ ในการทำงาน ผมคิดไว้ด้วยว่าถ้าทำงานเก็บเงินได้ พอมีความพร้อมและพอมีกำลังแล้ว ก็อยากจะร่วมกับเพื่อนๆ ที่รู้จักในค่าย ให้ทุนกับน้องๆ ที่ขาดโอกาสเหมือนเรา ได้มีโอกาสดีๆ เหมือนเราบ้าง”    \n</p>\n<p>\n<span style=\"background-color: #ccffcc\">ส้มโอ-ทิพธัญญา ตาวิยะ อายุ 21 ปี เพิ่งจบการศึกษาจาก คณะเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ โรงเรียนการบินพลเรือน</span> มาค่ายเป็นครั้งที่ 6 แล้ว และปีนี้ก็เป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีโอกาสได้มาในฐานะนักเรียนทุนเช่นกัน\n</p>\n<p>\n“มาค่ายทุกครั้งก็จะได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากหลายจังหวัด ได้ประสบการณ์ ได้ทำอะไรหลายอย่าง เป็นการสร้างความสามัคคี แต่ประทับใจค่ายครั้งนี้มากที่สุดเพราะได้มาทำฝายชะลอน้ำร่วมกับชาวบ้าน ได้ช่วยเสิร์ฟน้ำให้เขาดื่ม แล้วก็มีโอกาสพูดคุยกับพี่ๆ เขาด้วย ถามเรื่องความเป็นอยู่ว่าเป็นยังไง จะได้ทำให้รู้สึกว่าเราไม่ได้ห่างกัน รู้สึกตื้นตันใจและมีความสุขค่ะยังไม่อยากกลับเลย ใจหายเหมือนกันเมื่อรู้ว่าจะได้มาครั้งสุดท้ายแล้ว คิดถึงเพื่อนๆ ที่เจอกันปีละครั้งเวลามาค่าย ปีนี้มีน้องใหม่มาหลายคน เราก็ช่วยแนะนำในสิ่งที่เขายังไม่รู้ เช่น การรักษาเวลา การพูดคุยกับคนรอบข้างจะได้รู้จักกันไว้เผื่อปีหน้าได้มาอีก จะได้มีเพื่อน สิ่งที่ส้มโอได้รับจากการมาค่ายมีหลายอย่างมาก และจะนำไปใช้เวลาเราทำงานได้ เช่น ความเป็นมิตร การเคารพผู้อาวุโส ทำให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี”  \n</p>\n<p>\n  \n</p>\n<p align=\"center\">\n  <img border=\"0\" width=\"300\" src=\"/files/u20/citi_0.jpg\" height=\"200\" />\n</p>\n', created = 1719804889, expire = 1719891289, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:28d2f4dba1333fad0ed2a99d3a03e3f9' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

สานสามัคคีนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ป

ถือเป็นกิจกรรมแห่งการรอคอยของน้องๆ นักศึกษาที่เป็นนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปไปแล้ว สำหรับค่ายพัฒนาเยาวชนซึ่ง ซิตี้แบงก์ ร่วมกับ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อนำคณะนักเรียนทุนซิตี้กรุ๊ปกว่า 70 ชีวิตจากทั่วประเทศไปร่วมบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียน ด้วยมีความมุ่งหวังให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความ หวงแหนในแผ่นดิน และ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ชื่อ “คืนน้ำ คืนต้นลาน คืนโบราณสถาน ตามรอยบาทพ่อ” ณ สวนศักดิ์สุภา รีสอร์ท จ.ปราจีนบุรี 

การเข้าค่าย “คืนน้ำ คืนต้นลาน คืนโบราณสถาน ตามรอยบาทพ่อ” ในครั้งนี้ ได้พาน้องๆ ไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่างๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี เช่น โบราณสถานสระมรกต วัดต้นศรีมหาโพธิ์ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ วัดแก้วพิจิตร เป็นต้น และยังมีกิจกรรมเชิงปฎิบัติหลายๆ รูปแบบเพื่อชุมชนเพื่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ และเกิดการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ กิจกรรม “คืนโบราณสถาน ตามรอยบาทพ่อ” คือ ทำความสะอาดรอบบริเวณปราสาทสด๊อกก๊อกธม (ปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ถือเป็นโบราณสถานสำคัญของ จ.สระแก้ว), กิจกรรม “คืนต้นลาน  ตามรอยบาทพ่อ” คือ ร่วมกันปลูกต้นลานในบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน เพื่อให้ต้นลานซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่นนี้ ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่สูญหายไปเพราะถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีการปลูกทดแทน หรือกิจกรรม “คืนน้ำ ตามรอยบาทพ่อ” เป็นการร่วมมือกับชาวบ้าน อ.นาดี ทำฝายชะลอน้ำ ที่น้ำตกบ่อทอง เพื่อกักเก็บน้ำเวลาฝนตก ไม่ให้ไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ฯลฯ   
 
สิทธิชัย บรรพต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวถึงการทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของค่ายนี้ ว่าเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงการในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะน้ำตกบ่อทอง มีลักษณะเป็นเหวชันสูง 7 ชั้น เวลาฝนตกน้ำจะไม่ไหลทิ้ง น้ำตกชั้นล่างไม่แห้งขอด ทำให้ป่าชุ่มชื้น

ขั้นตอนการทำฝายชะลอน้ำในครั้งนี้ เริ่มจากการนำหินที่มีอยู่จำนวนมากในบริเวณนั้นมาเรียงให้เต็มบนคันดินที่ปรับไว้เป็นคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยกันคนละไม้คนละมือทั้งน้องๆ นักเรียนทุน และชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยยืนเรียงแถวส่งหินต่อๆ กันมาวางบนคันดิน บางส่วนก็ตักปูนทรายมาผสมน้ำเพื่อนำไปฉาบบนหินที่วางเรียงกันไว้ บางส่วนก็เตรียมอาหารไว้ให้คนที่ทำฝายได้รับประทานตอนพักเที่ยง เป็นภาพที่บอกได้ถึงความสามัคคีอย่างชัดเจน

“การทำฝายชะลอน้ำครั้งนี้ เป็นฝายดินปนหิน มีประโยชน์มาก เพราะช่วยกักเก็บน้ำที่ตกมาจากต้นน้ำไม่ให้ไหลทิ้ง ทั้งยังชะลอการไหลของน้ำไม่ให้ไหลไปท่วมที่ชาวบ้าน เมื่อมีน้ำเพียงพอ ระบบนิเวศก็ดีขึ้นตามไปด้วย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทำให้ไม่ต้องออกไปหากินในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ฝายนี้สามารถเก็บน้ำได้หลายสิบลูกบาศก์เมตร ตอนนี้เรากำลังทำเฟส 2 ซึ่งเป็นชั้นล่างๆ ของน้ำตกก่อน เพราะจะได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถมาได้สะดวก กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือกันจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งซิตี้แบงก์ สภาสังคมสงเคราะห์ อบต. น้องๆ นักเรียนทุน และ ชาวบ้าน ที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ถึงการทำฝายจะยังไม่เสร็จเรียบร้อยในวันเดียว แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่จะสานงานต่อไป ทั้งยังทำให้เยาวชนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ และมีสัมพันธ์อันดีกับชาวบ้าน เขาจะได้รู้ว่า การแบกหินแม้เพียง 1 ก้อน ก็มีส่วนช่วยรักษาต้นน้ำแล้ว เพราะงานแบบนี้ไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าว

ส่วนกิจกรรม คืนต้นลาน  ตามรอยบาทพ่อ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ให้เยาวชนได้รู้จักการดูแลรักษาธรรมชาติ โดยร่วมกันปลูกต้นลาน บริเวณพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติทับลาน ต.บุพราหมณ์ ซึ่งต้นลาน เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ที่ไม่ขึ้นแพร่หลายนัก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ปาล์ม ในอดีตที่จังหวัดนี้มีต้นลานเยอะมาก แต่ปัจจุบันเริ่มมีน้อยลงเนื่องจากมีการตัดไปใช้แต่ไม่มีการปลูกทดแทน

ประมวล มาหาญ พนักงานพิทักษ์ป่า รักษาการหัวหน้าฝ่ายวิชาการ อุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า ต้นลานในพื้นที่นี้ เป็นลานป่า เป็นลานดั้งเดิมของพื้นที่ มีความสำคัญกับระบบนิเวศของท้องที่มาก ปัจจุบันชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีป่าลานได้นำใบอ่อนของลานไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวส่วนหนึ่ง และยังมีกลุ่มจักสาน ก็นำใบลานไปทำผลิตภัณฑ์ ทำให้ตอนนี้ต้นลานลดน้อยลงทุกที แต่ชาวบ้านยังไม่เห็นความสำคัญในการปลูกทดแทนมากนัก อาจจะเพราะเห็นว่ายังมีเหลืออีกเยอะ แต่จริงๆ เมื่อเทียบกับอดีตจะทราบว่ามันเหลือน้อยเต็มที

“ในพื้นที่ทำการเกษตรของหมู่บ้านเหลือไม่ถึง 10% แล้ว ผมคิดว่าที่จะมีเหลือมากก็เฉพาะในเขตอุทยานเท่านั้นคือมี 100% อยู่ ถึงแม้โดยธรรมชาติต้นลานจะขึ้นเองอยู่แล้ว แต่เราก็อยากปลูกเพิ่มในส่วนที่โดนทำลายไป ต้นลานที่ปลูกกว่าจะโตก็ใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี กว่าจะเริ่มใช้ยอดมาทำจักสานได้ มีอายุประมาณ 60 ปี เมื่อออกดอกแล้วก็จะตาย เป็นวงจรชีวิตของต้นลาน ปกติตามพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านจะมีลูกลานหล่นมาเยอะ เราก็ไปขอเขาเพื่อเอามาไว้ในป่า เมื่อปี 2548 เราขอมาได้ 2 ประมาณแสนลูก เพื่อทำโครงการคืนลานสู่ป่า จากนั้นก็ทำเป็นประเพณีมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ ปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้วในการคืนลานสู่ป่า โดยในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เราจัดให้เป็นวันคืนลานสู่ป่าของตำบลบุพราหมณ์ ต่อไปกำลังคิดกันว่าจะขยับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลนี้ด้วย” ประมวล กล่าว 
 
พิกุล บุญครอง หรือ น้องกุล อายุ 23 ปี นักศึกษาชั้นปี 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นผู้ที่แขนพิการทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าค่ายครั้งนี้แต่อย่างใด เพราะสามารถร่วมกิจกรรมกับน้องๆ พี่ๆ เพื่อนๆ ได้ โดยทุกคนต่างช่วยกันดูแล และช่วยเหลือกันอย่างดี    
 

“เป็นครั้งแรกที่มาเข้าค่ายนี้ แต่ปีก่อนๆ เคยได้ฟังพี่ๆ ที่เคยมาแล้ว เล่าให้ฟังว่าสนุกมากได้ความรู้เยอะ พอปีนี้มีโอกาสมาจึงตื่นเต้นดีใจมาก ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ จากทั่วประเทศ ก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเข้าค่าย เพราะบางคนเคยมาหลายครั้งแล้ว สำหรับกิจกรรมที่ประทับใจก็มีหลายอย่างค่ะ เช่น ไปดูปราสาทสด๊อกก๊อกธม ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ปลูกต้นลาน ได้ล่องแก่ง ตอนแรกคุณพ่อคุณแม่ก็ห่วงว่าถ้าเรามาแล้วจะปรับตัวได้มั้ย จะคิดมากหรือเปล่า แต่กุลบอกท่านว่าไม่ต้องห่วงเพราะตอนเราอยู่มหาวิทยาลัยก็ยังปรับตัวได้ มาที่นี่จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร ซึ่งเพื่อนๆ ทุกคนน่ารักมาก ดูแลเราดี สนุกมากค่ะ ได้ความรู้เยอะ ถ้ามีโอกาสคราวหน้าก็อยากมาอีก” 

คม-คมสัน ร่มแก้ว อายุ 22 ปี เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆ จาก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีนี้มาค่ายเป็นครั้งที่ 7 แล้ว เขามีความประทับใจทุกครั้งที่ได้มาเพราะชอบทำกิจกรรม และยังได้รับสาระที่แทรกมาของแต่ละค่ายแตกต่างกันไป

“ตอนมาค่ายครั้งแรกๆ ยอมรับเลยว่า ชอบเที่ยว ชอบทำกิจกรรม ได้เจอผู้ใหญ่ใจดี มีความเป็นกันเอง และยังได้เจอเพื่อนๆ พอมาหลายครั้งก็เหมือนได้เจอเพื่อนเก่าๆ พี่เก่าๆ ที่สนิทกันมาก ปีนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้มา เพราะเรียนจบแล้ว ก็ใจหายเหมือนกัน มันเป็นความผูกพันอย่างหนึ่ง ก็จะพยายามเก็บเกี่ยวทุกอย่างให้มากที่สุด เพราะต่อไปพอไปทำงานแล้วคงไม่มีโอกาสมาทำฝาย มาปลูกต้นลาน อย่างนี้อีก ต้องขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านที่ให้โอกาสผมได้รับประสบการณ์ดีๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ต่อไป เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การมีความอดทน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะเราต้องใช้แน่ๆ ในการทำงาน ผมคิดไว้ด้วยว่าถ้าทำงานเก็บเงินได้ พอมีความพร้อมและพอมีกำลังแล้ว ก็อยากจะร่วมกับเพื่อนๆ ที่รู้จักในค่าย ให้ทุนกับน้องๆ ที่ขาดโอกาสเหมือนเรา ได้มีโอกาสดีๆ เหมือนเราบ้าง”    

ส้มโอ-ทิพธัญญา ตาวิยะ อายุ 21 ปี เพิ่งจบการศึกษาจาก คณะเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ โรงเรียนการบินพลเรือน มาค่ายเป็นครั้งที่ 6 แล้ว และปีนี้ก็เป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีโอกาสได้มาในฐานะนักเรียนทุนเช่นกัน

“มาค่ายทุกครั้งก็จะได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากหลายจังหวัด ได้ประสบการณ์ ได้ทำอะไรหลายอย่าง เป็นการสร้างความสามัคคี แต่ประทับใจค่ายครั้งนี้มากที่สุดเพราะได้มาทำฝายชะลอน้ำร่วมกับชาวบ้าน ได้ช่วยเสิร์ฟน้ำให้เขาดื่ม แล้วก็มีโอกาสพูดคุยกับพี่ๆ เขาด้วย ถามเรื่องความเป็นอยู่ว่าเป็นยังไง จะได้ทำให้รู้สึกว่าเราไม่ได้ห่างกัน รู้สึกตื้นตันใจและมีความสุขค่ะยังไม่อยากกลับเลย ใจหายเหมือนกันเมื่อรู้ว่าจะได้มาครั้งสุดท้ายแล้ว คิดถึงเพื่อนๆ ที่เจอกันปีละครั้งเวลามาค่าย ปีนี้มีน้องใหม่มาหลายคน เราก็ช่วยแนะนำในสิ่งที่เขายังไม่รู้ เช่น การรักษาเวลา การพูดคุยกับคนรอบข้างจะได้รู้จักกันไว้เผื่อปีหน้าได้มาอีก จะได้มีเพื่อน สิ่งที่ส้มโอได้รับจากการมาค่ายมีหลายอย่างมาก และจะนำไปใช้เวลาเราทำงานได้ เช่น ความเป็นมิตร การเคารพผู้อาวุโส ทำให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี”  

  

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 619 คน กำลังออนไลน์