• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:0799ad26edeac358112c5128f088f4ee' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n          สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) หน่วยงานเฉพาะด้านของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผนึกกำลัง 5 สถาบันการศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และระดับภูมิภาค มุ่งหวังสร้างกระบวนการการเรียนรู้ให้กับอนาคตของชาติ เพื่อให้ค้นพบและสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านกิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพ  หรือ G&amp;T April 2009 Summer Camp\n</p>\n<p>\n          พลเรือเอก ฐนิธ  กิตติอำพน  รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) เปิดเผยว่า “กิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพของ สสอน. ในปีนี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5  โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันและพันธมิตรในวงการการศึกษาช่วยในการออกแบบและดูแลกิจกรรมให้เหมาะสมกับอัจฉริยภาพของเด็กในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการกับศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ (GTX) ทั่วประเทศ  ได้มาค้นพบกระบวนการการเรียนรู้ ปรับตัว พร้อมทั้งพัฒนาตนเองสู่การเป็นอัจฉริยะสร้างชาติได้”\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"250\" src=\"/files/u20/gtx.jpg\" height=\"162\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n          “เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 513 คน ทุกคนเป็นเด็กที่ผ่านการคัดกรองโดยกระบวนการสรรหาของศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ (GTX) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมเด็กกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาอัจฉริยภาพ   ซึ่งปัจจุบันศูนย์ฯ ได้นำร่องโครงการไปแล้วกว่า 40 จังหวัด และเร่งขยายให้คลอบคลุมทั่วประเทศในเร็วๆ นี้”\n</p>\n<p>\n          สำหรับกิจกรรมนั้นได้แบ่งออกเป็น 5 ค่าย ตามภูมิภาค ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และในเขตกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา ซึ่งหลักสูตรเนื้อหากิจกรรมของค่ายจะแบ่งออกเป็นการพัฒนาเด็กในแต่ละด้าน อาทิ หลักสูตรนัก..รักษ์ภาษาไทย  หลักสูตรยอดนักประดิษฐ์  หลักสูตรยอดนักสืบ หลักสูตรศิลปะ และหลักสูตรเกษตรน่ารู้ ฯลฯ\n</p>\n<p>\n            ด้าน อาจารย์รัชยา สุพโปฎก หรือครูปูน ผู้อำนวยการค่ายและผู้ออกแบบกิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และค่ายคณิตศาสตร์ ในเขต กทม.  กล่าวถึงกิจกรรมว่า “การเรียนรู้ในค่ายมุ่งเน้นให้เด็กๆ ได้รับการกระตุ้นการคิดผ่านทุกกิจกรรม ซึ่งออกแบบให้สอดรับกับการทำงานของสมอง โดยเด็กๆ จะได้ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมา (Recognize) แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหา (Problem Solving) กระทั่งกระบวนการสุดท้าย เด็กจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ประยุกต์ความรู้ที่มีทั้งหมดมาหาคำตอบในสิ่งที่ตนต้องการได้  ดังนั้นตลอดระยะเวลา 7 วันในค่าย เด็กๆ จะได้สัมผัสกับ 3 กระบวนการนี้ผ่านการเรียนรู้ที่สนุกสนาน นำไปสู่การค้นพบวิธีที่จะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพของตนเอง ตามความความมุ่งหวังของค่ายที่จะให้เด็กเหล่านี้คิดเป็น โดยไม่เก่งแค่ในตำราเพียงอย่างเดียว”\n</p>\n<p>\n        \n</p>\n<hr id=\"null\" />\n<p>\n          ศูนย์ GTX คือ ศูนย์เสาะหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในท้องถิ่น หรือ ศูนย์ GTX (Gifted and Talented Exploring Center) หมายถึง ศูนย์ต้นแบบที่ สสอน. จัดตั้งร่วมกับโรงเรียนและองค์กรเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อเสาะหา วัดแววความสามารถพิเศษของเด็กในแต่ละด้าน และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาความสามารถพิเศษของตนอย่างเต็มศักยภาพ สสอน. กำหนดให้มีการจัดฐานการเรียนรู้ 8 ฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถพิเศษของเด็กและเยาวชน 8 ด้าน ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี กีฬา สังคมศาสตร์ และความริเริ่มสร้างสรรค์ โดยภายในศูนย์ GTX ประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถค้นคว้า เรียนรู้ตามความสนใจ และสร้างสรรค์ ตลอดจนสามารถฝึกหัดทำผลงานตามความสนใจและความสามารถพิเศษได้ด้วยตนเอง\n</p>\n<p>\n          <strong>บทบาทหน้าที่ของศูนย์ GTX</strong>\n</p>\n<p>\n          -เป็นศูนย์ต้นแบบในการเสาะหา วัดแววและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในท้องถิ่น ด้วยกระบวนการและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม\n</p>\n<p>\n          -เป็นศูนย์ประสานและเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษอย่างทั่วถึง\n</p>\n<p>\n          -เป็นศูนย์ต้นแบบด้านความร่วมมือ เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพและคุณภาพของเด็กและเยาวชน ตั้งแต่กิจกรรมระหว่างเยาวชน กิจกรรมระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ในท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ระดับชาติกับเยาวชน เพื่อกระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นของเด็กให้ฉายแววออกมา แล้วทำให้สามารถค้นพบผู้มีความสามารถพิเศษได้\n</p>\n<p>\n          -เป็นศูนย์ต้นแบบสำหรับถ่ายทอดความรู้สู่โรงเรียนและท้องถิ่นในการดำเนินงานเสาะหา วัดแวว และพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ\n</p>\n<hr id=\"null\" />\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n', created = 1719804193, expire = 1719890593, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:0799ad26edeac358112c5128f088f4ee' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ค่ายเสริมอัจฉริยภาพเด็กไทย สสอน.

          สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) หน่วยงานเฉพาะด้านของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผนึกกำลัง 5 สถาบันการศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และระดับภูมิภาค มุ่งหวังสร้างกระบวนการการเรียนรู้ให้กับอนาคตของชาติ เพื่อให้ค้นพบและสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านกิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพ  หรือ G&T April 2009 Summer Camp

          พลเรือเอก ฐนิธ  กิตติอำพน  รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) เปิดเผยว่า “กิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพของ สสอน. ในปีนี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5  โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันและพันธมิตรในวงการการศึกษาช่วยในการออกแบบและดูแลกิจกรรมให้เหมาะสมกับอัจฉริยภาพของเด็กในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการกับศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ (GTX) ทั่วประเทศ  ได้มาค้นพบกระบวนการการเรียนรู้ ปรับตัว พร้อมทั้งพัฒนาตนเองสู่การเป็นอัจฉริยะสร้างชาติได้”

 

 

          “เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 513 คน ทุกคนเป็นเด็กที่ผ่านการคัดกรองโดยกระบวนการสรรหาของศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ (GTX) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมเด็กกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาอัจฉริยภาพ   ซึ่งปัจจุบันศูนย์ฯ ได้นำร่องโครงการไปแล้วกว่า 40 จังหวัด และเร่งขยายให้คลอบคลุมทั่วประเทศในเร็วๆ นี้”

          สำหรับกิจกรรมนั้นได้แบ่งออกเป็น 5 ค่าย ตามภูมิภาค ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และในเขตกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา ซึ่งหลักสูตรเนื้อหากิจกรรมของค่ายจะแบ่งออกเป็นการพัฒนาเด็กในแต่ละด้าน อาทิ หลักสูตรนัก..รักษ์ภาษาไทย  หลักสูตรยอดนักประดิษฐ์  หลักสูตรยอดนักสืบ หลักสูตรศิลปะ และหลักสูตรเกษตรน่ารู้ ฯลฯ

            ด้าน อาจารย์รัชยา สุพโปฎก หรือครูปูน ผู้อำนวยการค่ายและผู้ออกแบบกิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และค่ายคณิตศาสตร์ ในเขต กทม.  กล่าวถึงกิจกรรมว่า “การเรียนรู้ในค่ายมุ่งเน้นให้เด็กๆ ได้รับการกระตุ้นการคิดผ่านทุกกิจกรรม ซึ่งออกแบบให้สอดรับกับการทำงานของสมอง โดยเด็กๆ จะได้ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมา (Recognize) แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหา (Problem Solving) กระทั่งกระบวนการสุดท้าย เด็กจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ประยุกต์ความรู้ที่มีทั้งหมดมาหาคำตอบในสิ่งที่ตนต้องการได้  ดังนั้นตลอดระยะเวลา 7 วันในค่าย เด็กๆ จะได้สัมผัสกับ 3 กระบวนการนี้ผ่านการเรียนรู้ที่สนุกสนาน นำไปสู่การค้นพบวิธีที่จะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพของตนเอง ตามความความมุ่งหวังของค่ายที่จะให้เด็กเหล่านี้คิดเป็น โดยไม่เก่งแค่ในตำราเพียงอย่างเดียว”

        


          ศูนย์ GTX คือ ศูนย์เสาะหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในท้องถิ่น หรือ ศูนย์ GTX (Gifted and Talented Exploring Center) หมายถึง ศูนย์ต้นแบบที่ สสอน. จัดตั้งร่วมกับโรงเรียนและองค์กรเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อเสาะหา วัดแววความสามารถพิเศษของเด็กในแต่ละด้าน และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาความสามารถพิเศษของตนอย่างเต็มศักยภาพ สสอน. กำหนดให้มีการจัดฐานการเรียนรู้ 8 ฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถพิเศษของเด็กและเยาวชน 8 ด้าน ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี กีฬา สังคมศาสตร์ และความริเริ่มสร้างสรรค์ โดยภายในศูนย์ GTX ประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถค้นคว้า เรียนรู้ตามความสนใจ และสร้างสรรค์ ตลอดจนสามารถฝึกหัดทำผลงานตามความสนใจและความสามารถพิเศษได้ด้วยตนเอง

          บทบาทหน้าที่ของศูนย์ GTX

          -เป็นศูนย์ต้นแบบในการเสาะหา วัดแววและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในท้องถิ่น ด้วยกระบวนการและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

          -เป็นศูนย์ประสานและเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษอย่างทั่วถึง

          -เป็นศูนย์ต้นแบบด้านความร่วมมือ เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพและคุณภาพของเด็กและเยาวชน ตั้งแต่กิจกรรมระหว่างเยาวชน กิจกรรมระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ในท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ระดับชาติกับเยาวชน เพื่อกระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นของเด็กให้ฉายแววออกมา แล้วทำให้สามารถค้นพบผู้มีความสามารถพิเศษได้

          -เป็นศูนย์ต้นแบบสำหรับถ่ายทอดความรู้สู่โรงเรียนและท้องถิ่นในการดำเนินงานเสาะหา วัดแวว และพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ


 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 614 คน กำลังออนไลน์