• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:1c9979a2ef85fe5aea56c42e52febbf3' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n          นายฉัตรเฉลิม  เกษเวชสุริยา นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์  โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project : JSTP) สวทช.  กล่าวว่า เขาน้อย เป็นหนึ่งในเขาหินปูน ของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  ที่มีการพบฟอสซิลของหอยฝาเดียว(Gastropods) จำนวนมาก   จึงทำให้สนใจศึกษาโบราณชีววิทยาของหอยฝาเดียวในบริเวณเขาน้อย เพราะอาจเป็นร่องรอยที่บอกเล่าได้ถึงสภาวะแวดล้อมบรรพกาล โดยมี ผศ.ดร.สมชาย นาคะผดุงรัตน์ และ ดร.โยชิโอะ ซาโต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา \n</p>\n<p>\n<br />\n          “ในการศึกษาได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บตัวอย่างฟอสซิลในบริเวณเขาน้อย และนำตัวอย่างที่ได้มาวิเคราะห์ทางด้านสัณฐานวิทยา ลักษณะโครงสร้างภายนอก ซึ่งผลการจัดจำแนก พบฟอสซิลหอยฝาเดียว  3 สกุล ได้แก่ Lophosplia sp., Trepospina sp. และ Murchisonia sp. กับอีก 2 ชนิดพันธุ์  คือ Naticopsis minoensis  และ Naticopsis sp. cf. N. paraealta    โดยหอยฝาเดียวชนิด Naticopsis  minoensis  ที่พบ มีลักษณะการขดแบบเจดีย์ มีขนาดกว้าง 1.0 - 4.2 เซนติเมตร ยาว 1.8 – 4.1 เซนติเมตร หอยชนิดนี้มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ใช้เท้ายึดเกาะอยู่กับโคลนหลังแนวปะการัง เพื่อหลบแรงปะทะของกระแสน้ำ   ส่วนหอยฝาเดียวชนิด Naticopsis sp. cf. N. paraealta   จะมีลักษณะทั่วไปคล้ายกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก คือ มีขนาดกว้าง  5.6 เซนติเมตร และยาว 7.4 เซนติเมตร ดำรงชีวิตอาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบหลังแนวปะการัง เช่นเดียวกัน  นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าเขาหินปูนยังพบฟอสซิลสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จำนวนมาก เช่น ปะการัง ฟองน้ำ  อีกทั้งยังพบ ฟิวซูลินิด  กลุ่มของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวชนิด Verbeekina  verbeeki   ซึ่งถือเป็นฟอสซิลดัชนี (index fossil) ที่สามารถใช้อ้างอิงเพื่อบอกอายุของฟอสซิลและชั้นหินที่มีฟอสซิลเหล่านี้ปรากฏได้ว่าอยู่ในยุคเพอร์เมียนมีอายุราว 276.5 ล้านปีก่อน”\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"200\" src=\"/files/u20/fossil.jpg\" height=\"149\" /><img border=\"0\" width=\"200\" src=\"/files/u20/fossil1.jpg\" height=\"150\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n          จากการวิเคราะห์ข้อมูลลำดับชั้นหินและฟอสซิลที่พบ บ่งบอกได้ว่า ครั้งหนึ่งบริเวณเขาน้อยเคยเป็นเขตทะเลน้ำตื้นบริเวณหลังแนวปะการัง( Back-reef ) ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านระบบนิเวศสูง  เนื่องจากการพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นจำนวนมาก  และเมื่อกาลเวลาผ่านไปกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาทำให้เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว โดยเปลือกโลกส่วนของแผ่นดินบริเวณฉานไทยได้มุดตัวลงใต้แผ่นอินโดจีน ทำให้น้ำทะเลในแผ่นมหาสมุทรไหลลงไปใต้โลก ขณะเดียวกันแผ่นฉานไทยมีการโค้ง โก่ง ยกตัวสูงขึ้นและมีการผุพังทลายจนกลายเป็นภูเขาที่มีชื่อว่า “เขาน้อย” ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน\n</p>\n<p>\n          อย่างไรก็ดี ฟอสซิลที่พบไม่เพียงใช้บอกเล่าถึงอดีตกาลของเขาน้อยเท่านั้น  แต่ ดร.โยชิโอะ ซาโต อาจารย์ที่ปรึกษายังตรวจสอบพบว่า ฟอสซิลหอยฝาเดียว  Naticopsis  minoensis  เป็นชนิดเดียวกับที่เคยพบที่ประเทศญี่ปุ่น จึงอาจเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่เชื่อมโยงได้ว่า แผ่นดินไทยกับญี่ปุ่นเคยมีอาณาเขตร่วมกันในยุคเพอร์เมียนมาก่อน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาลำดับชั้นหินอย่างละเอียดต่อไป\n</p>\n<p>\n          “สำหรับการศึกษาต่อยอด จะทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างฟอสซิลกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามแนวรอยเลื่อนเก่าของประเทศไทย โดยหวังว่าจะค้นพบข้อมูลและหลักฐานบางอย่างที่อาจจะนำมาซึ่งการไขปริศนาการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ของสัตว์ทะเลในยุคเพอร์เมียน”  \n</p>\n<hr id=\"null\" />\n<p align=\"right\">\nข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. <a href=\"mailto:watta.ryo@gmail.com\">watta.ryo@gmail.com</a>\n</p>\n', created = 1719802208, expire = 1719888608, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:1c9979a2ef85fe5aea56c42e52febbf3' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

นักวิทย์รุ่นเยาว์นครสวรรค์ศึกษาฟอสซิล

 

          นายฉัตรเฉลิม  เกษเวชสุริยา นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์  โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project : JSTP) สวทช.  กล่าวว่า เขาน้อย เป็นหนึ่งในเขาหินปูน ของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  ที่มีการพบฟอสซิลของหอยฝาเดียว(Gastropods) จำนวนมาก   จึงทำให้สนใจศึกษาโบราณชีววิทยาของหอยฝาเดียวในบริเวณเขาน้อย เพราะอาจเป็นร่องรอยที่บอกเล่าได้ถึงสภาวะแวดล้อมบรรพกาล โดยมี ผศ.ดร.สมชาย นาคะผดุงรัตน์ และ ดร.โยชิโอะ ซาโต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา 


          “ในการศึกษาได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บตัวอย่างฟอสซิลในบริเวณเขาน้อย และนำตัวอย่างที่ได้มาวิเคราะห์ทางด้านสัณฐานวิทยา ลักษณะโครงสร้างภายนอก ซึ่งผลการจัดจำแนก พบฟอสซิลหอยฝาเดียว  3 สกุล ได้แก่ Lophosplia sp., Trepospina sp. และ Murchisonia sp. กับอีก 2 ชนิดพันธุ์  คือ Naticopsis minoensis  และ Naticopsis sp. cf. N. paraealta    โดยหอยฝาเดียวชนิด Naticopsis  minoensis  ที่พบ มีลักษณะการขดแบบเจดีย์ มีขนาดกว้าง 1.0 - 4.2 เซนติเมตร ยาว 1.8 – 4.1 เซนติเมตร หอยชนิดนี้มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ใช้เท้ายึดเกาะอยู่กับโคลนหลังแนวปะการัง เพื่อหลบแรงปะทะของกระแสน้ำ   ส่วนหอยฝาเดียวชนิด Naticopsis sp. cf. N. paraealta   จะมีลักษณะทั่วไปคล้ายกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก คือ มีขนาดกว้าง  5.6 เซนติเมตร และยาว 7.4 เซนติเมตร ดำรงชีวิตอาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบหลังแนวปะการัง เช่นเดียวกัน  นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าเขาหินปูนยังพบฟอสซิลสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จำนวนมาก เช่น ปะการัง ฟองน้ำ  อีกทั้งยังพบ ฟิวซูลินิด  กลุ่มของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวชนิด Verbeekina  verbeeki   ซึ่งถือเป็นฟอสซิลดัชนี (index fossil) ที่สามารถใช้อ้างอิงเพื่อบอกอายุของฟอสซิลและชั้นหินที่มีฟอสซิลเหล่านี้ปรากฏได้ว่าอยู่ในยุคเพอร์เมียนมีอายุราว 276.5 ล้านปีก่อน”

 

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลลำดับชั้นหินและฟอสซิลที่พบ บ่งบอกได้ว่า ครั้งหนึ่งบริเวณเขาน้อยเคยเป็นเขตทะเลน้ำตื้นบริเวณหลังแนวปะการัง( Back-reef ) ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านระบบนิเวศสูง  เนื่องจากการพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นจำนวนมาก  และเมื่อกาลเวลาผ่านไปกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาทำให้เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว โดยเปลือกโลกส่วนของแผ่นดินบริเวณฉานไทยได้มุดตัวลงใต้แผ่นอินโดจีน ทำให้น้ำทะเลในแผ่นมหาสมุทรไหลลงไปใต้โลก ขณะเดียวกันแผ่นฉานไทยมีการโค้ง โก่ง ยกตัวสูงขึ้นและมีการผุพังทลายจนกลายเป็นภูเขาที่มีชื่อว่า “เขาน้อย” ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

          อย่างไรก็ดี ฟอสซิลที่พบไม่เพียงใช้บอกเล่าถึงอดีตกาลของเขาน้อยเท่านั้น  แต่ ดร.โยชิโอะ ซาโต อาจารย์ที่ปรึกษายังตรวจสอบพบว่า ฟอสซิลหอยฝาเดียว  Naticopsis  minoensis  เป็นชนิดเดียวกับที่เคยพบที่ประเทศญี่ปุ่น จึงอาจเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่เชื่อมโยงได้ว่า แผ่นดินไทยกับญี่ปุ่นเคยมีอาณาเขตร่วมกันในยุคเพอร์เมียนมาก่อน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาลำดับชั้นหินอย่างละเอียดต่อไป

          “สำหรับการศึกษาต่อยอด จะทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างฟอสซิลกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามแนวรอยเลื่อนเก่าของประเทศไทย โดยหวังว่าจะค้นพบข้อมูลและหลักฐานบางอย่างที่อาจจะนำมาซึ่งการไขปริศนาการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ของสัตว์ทะเลในยุคเพอร์เมียน”  


ข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. watta.ryo@gmail.com

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 586 คน กำลังออนไลน์