มารู้จัก...วงออร์เคสตร้ากันเถอะ

รูปภาพของ nu_amp

                 วงออร์เคสตร้า

           ออร์เคสตร้า เป็นภาษาเยอรมัน ตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าของโรงละครสมัย         กรีกโบราณ ที่ใช้เป็นที่เต้นรำและร้องเพลง ของพวกนักร้องประสานเสียงสำหรับดนตรีตะวันตก  ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ได้แก่ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี
            ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตร้า หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
 อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงแสดงคอนเสิร์ต
            ระยะต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตร้าจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสาย (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10-25 คน โดยบางครั้งอาจจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 วงออร์เคสตร้ามีการเพิ่มเครื่องลมไม้  และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในออร์เคสตร้า
             ราวกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตร้าเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุคคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่ง
คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตร้าให้มีมาตรฐาน เพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี
นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้ อุปรากร และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตร้าเป็นแบบแผนขึ้น   แม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดวงออร์เคสตร้า    หรือแนวทางการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตร้า แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตร้าของผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใด
วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังนี้

 
                        1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี

 ประเภทเครื่องสาย

1.ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)
2. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin                             
3. เชลโล่ - Cello                                 
4. วิโอล่า - Viola

5. ดับเบิลเบส - Double bass
6.ฮาร์ป - harp
 

                                              ประเภทเครื่องลมไม้
                                       7. อิงลิช ฮอร์น - English horn
                                       8. โอโบ - Oboe
                                       9. ฟลูต - Flute
                                      10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet
                                      11. คลาริเนต - Clarinet 
                                      12. บาสซูน - Bassoon
                                      13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon

 

 

ประเภทเครื่องลมทองเหลือง
1. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn
2. ทูบา - Tuba
3. ทรอมโบน - Trombone
4. ทรัมเปต - Trumpet

 

ประเภทเครื่องกระทบ
1. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)
2. ฉาบ - Cymbal
3. เบส ดรัม - Bass Drum
4. ไทรแองเกิ้ล - Triangle
5. กลอง - side หรือ Snare Drum
6. Tubular Bells - ระฆังราว
7.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า

แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.fp-group.th.gs/

สร้างโดย: 
ครูรัตติยา บุญหลง โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
รูปภาพของ aoyhappiness

พยายามเข้านะคะคุณครู
เนื้อหาความรู้ของวงดนตรีสากล
ยากมากเลยนะคะ จะพยายามอ่าน
และทำความเข้าใจเป็นอย่างดีค่ะ

สู้ๆค่ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 422 คน กำลังออนไลน์