• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:ff580775169745d277d5c6035486af2c' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\nนายเจษฎา  เนตรสว่างวิชา ครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ไฟแรงในโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี (สสวท.)  รุ่นที่ 1  ปัจจุบันสอนอยู่ที่โรงเรียนทุ่งแฝกพิทยาคม  อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี     เมื่ออายุเพียง 34 ปี เขาได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น  ปี พ.ศ. 2551  จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ว.ท.)\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"300\" src=\"/files/u20/kru.jpg\" height=\"230\" />\n</p>\n<p>\n<br />\nอาจารย์เจษฎา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) เคมีอินทรีย์  จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\n</p>\n<p>\nภาระหน้าที่ของครู สควค. คือ การมุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนให้นักเรียนมีคุณลักษณะพื้นฐานของการเป็นนักวิทยาศาสตร์  เป็นนักคิด นักวิจัย ตั้งแต่วัยเด็ก มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น ยกมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนให้มีมาตรฐานในระดับเดียวกับนานาชาติ   ส่วนสิ่งที่ครู สควค. โดดเด่นก็คือ จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ที่บ่มเพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเป็นอย่างดี   จึงสามารถจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเนื้อหาในแนวดิ่งเชิงลึกให้กับนักเรียนได้ นอกจากนี้ยังสามารถฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนได้  ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในระดับขั้นพื้นฐานต่อยอดไปสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ชัดเจน\n</p>\n<p>\n<br />\nอาจารย์เจษฏา เล่าว่า “การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของผมก็คือการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ 100%  และที่สำคัญต้องเข้าใจธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการเรียนรู้ในทุกหน่วยการเรียน นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้  และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน และพยายามเชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ไปสู่ชีวิตจริงให้มากที่สุด\n</p>\n<p>\n<br />\nอีกวิธีหนึ่งที่เป็นผลสำเร็จก็คือการเรียนวิทยาศาสตร์ภาคสนามโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้องค์ความรู้โดยใช้สื่อจากธรรมชาติและของจริงที่มีอยู่ใกล้ตัว พยายามให้นักเรียนมองวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เราเกี่ยวข้องอยู่ทุกวัน จนแยกออกจากชีวิตประจำวันเราไม่ได้ สิ่งที่ครูทุกคนต้องตระหนักโดยตลอดก็คือธรรมชาติของนักเรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผมจึงใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความสามรถทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ฝึกทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันได้อย่างเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผมยังได้ใช้กระบวนการวิจัยมาติดตามการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบด้วย”\n</p>\n<p>\nอาจารย์เจษฎาฝากไปถึงครูรุ่นน้อง หรือผู้ที่กำลังที่จะก้าวเข้ามาเป็นครูมือใหม่ว่าเมื่อกำลังเข้ามาเป็นครู  ต้องเตรียมใจให้รักและศรัทธา ในวิชาชีพครู ภาคภูมิใจในอาชีพครูและต้องเรียนรู้ภาระงานของเรา  สิ่งที่เป็นภาระหลักในอาชีพครูก็คือภาระการสอนนักเรียนให้สามารถเรียนรู้องค์ความรู้ได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร\n</p>\n<p>\n<br />\nนอกจากนี้ครูยังต้องทำหน้าที่ในการเป็นแบบอย่างด้านพฤติกรรมการวางตัวตามจรรยาบรรณวิชาชีพ    องค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมานั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพ แต่สิ่งที่เราจะได้มากกว่าที่เรียนมาคือประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน และจากนักเรียน อาชีพครูเป็นอาชีพที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพียงอุดมการณ์ เดี๋ยวนี้อาชีพครูมีความก้าวหน้ามากและมั่นคง  ดังนั้นเมื่อเรากำลังก้าวสู่อาชีพครูควรเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเป็นครูมืออาชีพด้วย \n</p>\n<p>\nการเตรียมตัวเตรียมใจในการเป็นครูมืออาชีพนั้นพอจะแบ่งโอกาสความก้าวหน้าได้ สามช่วงใหญ่ ๆ  ได้แก่ ช่วงที่หนึ่งก็คือช่วงปรับตัวและเรียนรู้  สิ่งที่จะทำให้เราจะเป็นครูที่ดีได้นั้นต้องมาเรียนรู้เองในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนการพัฒนาตนเอง  และการค้นหาแนวทางของตนเองในการเป็นครูในระยะนี้จึงต้องฝึกประสบการณ์ในหลาย ๆ ด้าน ให้การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อเรียนรู้งาน ประมาณ 3-5 ปี และเพื่อให้รักในวิชาชีพครู    \n</p>\n<p>\nช่วงที่สอง ช่วงสร้างเกียรติยศความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ   ได้แก่ การหาแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพอย่างจริงจังเพราะเรามีประสบการณ์ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น การสร้างนวัตกรรมใช้ในการจัดการเรียนรู้ การทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อหาจุดเด่นและจุดแข็งในการเป็นครูของเรา เป็นตัวตนของเรา หรือตามบริบทของการเสริมหรือสร้างจากเดิมที่มีอยู่ในโรงเรียนให้เด่นชัดขึ้น ซึ่งผลงานที่จะนำพาให้เรามีเกียรติยศได้ดีที่สุดก็คือการพัฒนานักเรียนให้มีผลสำเร็จผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ซึ่งผลงานจากการพัฒนานักเรียนนี้จะเป็นจุดแข็งในความเป็นครูมากกว่าผลงานด้านอื่น และหาเวทีวิชาการแสดงออกและแลกเปลี่ยนในทุกระดับเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงาน ซึ่งเวทีเหล่านี้จะช่วยวัดและเพิ่มมาตรฐานการทำงานของเราโดยตรง  ซึ่งช่วงที่สองนี้ใช้เวลาประมาณ  5-10 ปี\n</p>\n<p>\nช่วงที่สาม การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ   อันเป็นการแสดงถึงการเป็นครูมืออาชีพเต็มตัว ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีค่าตอบแทน   จากตำแหน่งวิชาการในปัจจุบัน ตั้งแต่ครูผู้ช่วย  ครูชำนาญการ  ครูชำนาญการพิเศษ  ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ช่วงละ 10 ปีหลังจากช่วงที่สอง ฝากไปยังเพื่อนครูที่มัวแต่ท้อแท้ ดูถูกตนเองว่าอาชีพครูต่ำต้อย  หรือมัวแต่ตั้งหน้าสอนพิเศษปั้มเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่  เดี๋ยวแก่ตัวจะสายเกินไปนะครับ\n</p>\n<p>\n<br />\nสำหรับครูวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ  ผมขอฝากไว้ว่าพวกเราโชคดีที่ได้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เพราะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นมีรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เฉพาะตัวอยู่แล้วได้แก่ การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งแฝงไว้ทั้งทักษะกระบวนการ และคุณธรรมในรูปแบบของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ขอให้ครูวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ 80-100% ในการสอนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผมเชื่อว่าเราสามารถตอบได้ทุกโจทย์ ในการประเมินมาตรฐานตามหลักสูตรและมาตรฐานผู้เรียนครับ เช่นการประเมินกระบวนการคิด ต่าง ๆ ซึ่งการสอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือการสอนวิธีเรียนรู้ให้นักเรียน  ไม่ได้สอนองค์ความรู้….เพราะฉะนั้นอย่าสอนวิทยาศาสตร์โดยหลงประเด็น โดยไม่ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เลย หรือใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์น้อยกว่าการสอนวิธีอื่น ๆ  ก็จะทำให้การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศเราน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ\n</p>\n<hr id=\"null\" />\n<p align=\"right\">\nข้อมูลจาก ประชาสัมพันธ์ สสวท.\n</p>\n', created = 1727565464, expire = 1727651864, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:ff580775169745d277d5c6035486af2c' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

"เจษฎา เนตรสว่างวิชา" ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น รุ่น 1

นายเจษฎา  เนตรสว่างวิชา ครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ไฟแรงในโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี (สสวท.)  รุ่นที่ 1  ปัจจุบันสอนอยู่ที่โรงเรียนทุ่งแฝกพิทยาคม  อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี     เมื่ออายุเพียง 34 ปี เขาได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น  ปี พ.ศ. 2551  จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ว.ท.)


อาจารย์เจษฎา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) เคมีอินทรีย์  จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาระหน้าที่ของครู สควค. คือ การมุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนให้นักเรียนมีคุณลักษณะพื้นฐานของการเป็นนักวิทยาศาสตร์  เป็นนักคิด นักวิจัย ตั้งแต่วัยเด็ก มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น ยกมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนให้มีมาตรฐานในระดับเดียวกับนานาชาติ   ส่วนสิ่งที่ครู สควค. โดดเด่นก็คือ จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ที่บ่มเพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเป็นอย่างดี   จึงสามารถจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเนื้อหาในแนวดิ่งเชิงลึกให้กับนักเรียนได้ นอกจากนี้ยังสามารถฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนได้  ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในระดับขั้นพื้นฐานต่อยอดไปสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ชัดเจน


อาจารย์เจษฏา เล่าว่า “การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของผมก็คือการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ 100%  และที่สำคัญต้องเข้าใจธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการเรียนรู้ในทุกหน่วยการเรียน นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้  และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน และพยายามเชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ไปสู่ชีวิตจริงให้มากที่สุด


อีกวิธีหนึ่งที่เป็นผลสำเร็จก็คือการเรียนวิทยาศาสตร์ภาคสนามโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้องค์ความรู้โดยใช้สื่อจากธรรมชาติและของจริงที่มีอยู่ใกล้ตัว พยายามให้นักเรียนมองวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เราเกี่ยวข้องอยู่ทุกวัน จนแยกออกจากชีวิตประจำวันเราไม่ได้ สิ่งที่ครูทุกคนต้องตระหนักโดยตลอดก็คือธรรมชาติของนักเรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผมจึงใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความสามรถทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ฝึกทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันได้อย่างเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผมยังได้ใช้กระบวนการวิจัยมาติดตามการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบด้วย”

อาจารย์เจษฎาฝากไปถึงครูรุ่นน้อง หรือผู้ที่กำลังที่จะก้าวเข้ามาเป็นครูมือใหม่ว่าเมื่อกำลังเข้ามาเป็นครู  ต้องเตรียมใจให้รักและศรัทธา ในวิชาชีพครู ภาคภูมิใจในอาชีพครูและต้องเรียนรู้ภาระงานของเรา  สิ่งที่เป็นภาระหลักในอาชีพครูก็คือภาระการสอนนักเรียนให้สามารถเรียนรู้องค์ความรู้ได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร


นอกจากนี้ครูยังต้องทำหน้าที่ในการเป็นแบบอย่างด้านพฤติกรรมการวางตัวตามจรรยาบรรณวิชาชีพ    องค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมานั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพ แต่สิ่งที่เราจะได้มากกว่าที่เรียนมาคือประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน และจากนักเรียน อาชีพครูเป็นอาชีพที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพียงอุดมการณ์ เดี๋ยวนี้อาชีพครูมีความก้าวหน้ามากและมั่นคง  ดังนั้นเมื่อเรากำลังก้าวสู่อาชีพครูควรเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเป็นครูมืออาชีพด้วย 

การเตรียมตัวเตรียมใจในการเป็นครูมืออาชีพนั้นพอจะแบ่งโอกาสความก้าวหน้าได้ สามช่วงใหญ่ ๆ  ได้แก่ ช่วงที่หนึ่งก็คือช่วงปรับตัวและเรียนรู้  สิ่งที่จะทำให้เราจะเป็นครูที่ดีได้นั้นต้องมาเรียนรู้เองในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนการพัฒนาตนเอง  และการค้นหาแนวทางของตนเองในการเป็นครูในระยะนี้จึงต้องฝึกประสบการณ์ในหลาย ๆ ด้าน ให้การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อเรียนรู้งาน ประมาณ 3-5 ปี และเพื่อให้รักในวิชาชีพครู    

ช่วงที่สอง ช่วงสร้างเกียรติยศความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ   ได้แก่ การหาแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพอย่างจริงจังเพราะเรามีประสบการณ์ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น การสร้างนวัตกรรมใช้ในการจัดการเรียนรู้ การทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อหาจุดเด่นและจุดแข็งในการเป็นครูของเรา เป็นตัวตนของเรา หรือตามบริบทของการเสริมหรือสร้างจากเดิมที่มีอยู่ในโรงเรียนให้เด่นชัดขึ้น ซึ่งผลงานที่จะนำพาให้เรามีเกียรติยศได้ดีที่สุดก็คือการพัฒนานักเรียนให้มีผลสำเร็จผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ซึ่งผลงานจากการพัฒนานักเรียนนี้จะเป็นจุดแข็งในความเป็นครูมากกว่าผลงานด้านอื่น และหาเวทีวิชาการแสดงออกและแลกเปลี่ยนในทุกระดับเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงาน ซึ่งเวทีเหล่านี้จะช่วยวัดและเพิ่มมาตรฐานการทำงานของเราโดยตรง  ซึ่งช่วงที่สองนี้ใช้เวลาประมาณ  5-10 ปี

ช่วงที่สาม การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ   อันเป็นการแสดงถึงการเป็นครูมืออาชีพเต็มตัว ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีค่าตอบแทน   จากตำแหน่งวิชาการในปัจจุบัน ตั้งแต่ครูผู้ช่วย  ครูชำนาญการ  ครูชำนาญการพิเศษ  ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ช่วงละ 10 ปีหลังจากช่วงที่สอง ฝากไปยังเพื่อนครูที่มัวแต่ท้อแท้ ดูถูกตนเองว่าอาชีพครูต่ำต้อย  หรือมัวแต่ตั้งหน้าสอนพิเศษปั้มเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่  เดี๋ยวแก่ตัวจะสายเกินไปนะครับ


สำหรับครูวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ  ผมขอฝากไว้ว่าพวกเราโชคดีที่ได้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เพราะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นมีรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เฉพาะตัวอยู่แล้วได้แก่ การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งแฝงไว้ทั้งทักษะกระบวนการ และคุณธรรมในรูปแบบของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ขอให้ครูวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ 80-100% ในการสอนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผมเชื่อว่าเราสามารถตอบได้ทุกโจทย์ ในการประเมินมาตรฐานตามหลักสูตรและมาตรฐานผู้เรียนครับ เช่นการประเมินกระบวนการคิด ต่าง ๆ ซึ่งการสอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือการสอนวิธีเรียนรู้ให้นักเรียน  ไม่ได้สอนองค์ความรู้….เพราะฉะนั้นอย่าสอนวิทยาศาสตร์โดยหลงประเด็น โดยไม่ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เลย หรือใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์น้อยกว่าการสอนวิธีอื่น ๆ  ก็จะทำให้การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศเราน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ


ข้อมูลจาก ประชาสัมพันธ์ สสวท.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 279 คน กำลังออนไลน์