สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

                นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต  Soviet Union เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1922 อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี ค.ศ. 1991                การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2  พระเจ้านิโคลัสที่2สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกี้ขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค Bolshevik (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) นำโดยวลาดิมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics หรือUSSR)เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และองค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ                    เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อนการล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์และฟินแลนด์ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับมลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตหลักการในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต                 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นองค์ประกอบตายตัวในนโยบายต่างประเทศ อาจมีการผ่อนปรนในบางครั้ง ถ้าเห็นว่าผลประโยชน์สำคัญของชาติ (Vital National Interest) นั้นมีความสำคัญกว่า บางครั้งอาจจะต้องชลอเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติโลก ยุทธศาสตร์โซเวียต                 ทิศทางปฏิบัติการ เป็นความพยายามเชื่อมต่อปฏิบัติการย่อยๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้ยุทธวิธีมีความเป็นเอกภาพ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อการเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ และบรรลุอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ|

นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น                  นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของโซเวียต ที่ปรากฏในช่วง ค.ศ. 1917 -1945 ในระหว่างช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 และสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป เป็นยุคที่สหภาพโซเวียตได้พยายามก่อร่างสร้างตัว เพื่อให้เป็นรัฐสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ตามแนวลัทธิมาร์ก-เลนิน และเพื่อดำรงอยู่ได้โดยไม่ถูกทำลายจากมหาอำนาจตะวันตก และป้องกันภัยจากทางตะวันออกไกล คือ ญี่ปุ่น ดังนั้นนโยบายต่างประเทศในช่วงนี้จะอยู่ในสมัยของ เลนิน (1917-1924) และส่วนใหญ่ของ สตาลิน (1924-1953)                 มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศบ่อยครั้ง ในช่วงแรกจะใช้วิธีการประวิงเวลา รอจังหวะและฉวยโอกาสตามสภาพการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อสร้างฐานของโซเวียตให้เข้มแข็งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร มีระบบที่ยืดหยุ่นในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ประเทศต่างๆ นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
              นับตั้งแต่ปี 1945 -1985 สามารถแบ่งตามสมัยของผู้นำได้ดังนี้

นโยบายต่างประเทศสมัยสตาลิน               ในปี 1924 โจเซพ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945)นี้ไว้ได้                โจเซฟ สตาลิน สืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำสหภาพโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 โซเวียตมีฐานะที่มั่นคงแข็งแรงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารมากขึ้น แม้ว่าทางการทหารจะยังเป็นรองสหรัฐอเมริกาในระยะแรกก็ตาม หลังจากนั้นสตาลินได้เปลี่ยนท่าทีหันมาดำเนินนโยบายรุนแรง กวาดล้างผู้เป็นปรปักษ์จำนวนมากและมีนโยบายแข็งกร้าวต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งโซเวียตมองว่าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง                  สิ่งแรกที่โซเวียตเร่งดำเนินการก็คือ สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ให้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในยุโรปตะวันออกเป็นแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การชี้นำของโซเวียต สนับสนุนขบวนการปลดแอก ให้เป็นเครื่องมือในการทำลายจักวรรดินิยมของอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และสหรัฐ สำหรับประเทศยุโรปตะวันออกนั้นมีความสำคัญต่อโซเวียตเป็นอย่างยิ่งในทางภูมิรัฐศาสตร์ ถือเป็นดุลอำนาจให้แก่โซเวียตในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้ว

การผนึกกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์                  สตาลินได้จัดตั้งสำนักงานข่าวของคอมมิวนิสต์ (Communist Information Bureau หรือ Cominform) ในเดือนกันยายน ปี 1947 เพื่อใช้สำนักงานนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศอื่นให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และอยู่ในวินัยที่เคร่งครัด ภายใต้การควบคุมของโซเวียต แม้ว่าสตาลินจะถือนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-Existence) ก็เพียงชั่วคราวเพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น ยังมีความเชื่อมั่นตามอุดมการณ์ที่จะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในประเทศต่างๆ และเห็นว่าสงครามการปะทะกันระหว่างฝ่ายนายทุนกับสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้                 ดังนั้นนโยบายของสตาลินในช่วงนี้ในช่วงนี้จึงนิยมความรุนแรงและรุกราน พยายามที่จะแยกประชาชาติต่างๆในยุโรปมิให้รวมกันได้ อาจกล่าวได้ว่าฝ่ายสหภาพโซเวียตริเริ่มทำให้เกิดสงครามเย็นระหว่างโลกตะวันตกหรือโลกเสรีซึ่งสหรัฐเป็นผู้นำ กับโลกตะวันออกหรือค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่โซเวียตเป็นผู้นำ ทำให้โลกอยู่ในสภาวะ 2 ศูนย์อำนาจอย่างเคร่งครัด สตาลินมีนโยบายรวบรวมผนึกกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้อาณัติของสหภาพโซเวียตอย่างเข้มงวด โดยใช้กำลังทหารและการบีบคั้นทางด้านอื่น เช่นทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ทำให้ประเทศในค่ายสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกถูกขนานนามว่าเป็นบริวารโซเวียต (Soviet Satellite หรือ Soviet Bloc) ซึ่งเรียกว่า ลัทธิสตาลิน (Stalinism) การแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่น                 นอกจากนี้โซเวียตยังเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่นๆ อีก เช่นในปี 1947 ได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ให้ยึดครองกรีซ (เหตุการณ์ครั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์กระทำการไม่สำเร็จ เพราะสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสกัดกั้น ให้ความช่วยเหลือกรีซและตุรกีตามแผนการมาแชล) และวิกฤตการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 (ทำให้มีการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตกคืออังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ จนต้องแบ่งแยกเยอรมันออกเป็น 2ประเทศโดยเด็ดขาด) นอกจากนี้ก็มีเหตุการณ์ที่สตาลินขับไล่ ยูโกสลาเวีย ภายใต้การนำของติโต้ออกจากองการณ์โคมินฟอร์มในปี 1948 และ ในปี 1949 ก็ประสบความสำเร็ขในการสร้างในการคิดสร้างอาวุธนิวเคลียร์เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา และปีเดียวกันก็จัดตั้งสภาเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (Council for Mutual Economic Assistance หรือ Comecon) เพื่อต่อต้านองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก (The European Economic Community - EEC) นโยบายต่างประเทศต่อจีน                  โซเวียตมีอิทธิพลมากขึ้น ให้ความช่วยเหลือจีนภายหลังจากที่คอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง ปฏิวัติสำเร็จเมื่อ 1949 โซเวียตต้องการครอบงำจีนไว้เป็นมิตรทางยุทธศาสตร์ เพื่อสกัดกั้นญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าโซเวียตจะมีสนธิสัญญาพันธมิตรกับจีนเมื่อปี 1950และมีอายุ 30 ปีก็ตาม แต่โซเวียตต้องการจะครอบงำจีนและขาดความจริงใจในการช่วยเหลือจีน จึงกลายเป็นเรื่องขัดแย้งต่อมาภายหลัง การที่โซเวียตสนับสนุนช่วยเหลือเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี 1950 ซึ่งแม้โซเวียตไม่ได้ประจันหน้าโดยตรงเพราะจีนเข้ามามีบทบาทแทนโซเวียต ตลอดจนการสนับสนุนเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ต่อต้านฝรั่งเศสตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงจนประสบชัยชนะในปี 1954 เหตุการณ์ที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่โซเวียตเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงเพื่อการขยายอำนาจและอิทธิพลของโซเวียต                 สรุปได้ว่า นโยบายต่างประเทศสมัยสตาลินเป็นไปในทางรุกแข็งกร้าว เพื่อสร้างอำนาจให้แข็งแกร่งมีความเป็นปึกแผ่นในค่ายสังคมนิยม ภายใต้อิทธิพลของโซเวียตเพื่อแข่งขันและสกัดกั้นอิทธิพลของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐ จนกระทั่งสตาลินถึงแก่กรรมในปี 1953

นโยบายต่างประเทศสมัยครุสชอฟ                  ปี ค.ศ. 1955 นิกิต้า ครุสชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน โดยเปลี่ยนไปใช้นโยบาย "อยู่ร่วมกันโดยสันติ" (Peaceful Coexistence) มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย

นโยบายต่างประเทศสมัยเบรชเนฟ                 ประกาศเบรสเนฟ (Bresnev Doctrine) ค.ศ.1968 เพื่อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกภายหลังที่โซเวียตบุกเชคโกสโลวาเกีย ทำให้ประเทศยุโรปไม่พอใจ ซึ่งความสนใจการสร้างความสัมพันธ์ โดยสันติวิธีดังนี้นับเป็นการสืบต่อนโยบายลดความตึงเครียด หรือที่เรียกว่า Détente

นโยบายต่างประเทศของโซเวียตช่วงก่อนการล่มสลาย                การดำเนินนโยบายต่างประเทศในยุคของเบรสเนฟ มีลักษณะการผ่อนคลาย (Detente) พยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก นำไปสู่การเจรจากับสหรัฐอเมริกา และประเทศตะวันตกอื่นๆ เช่นการเจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ครั้งที่หนึ่ง และสอง (SALTI, SALTII) ค.ศ.1972 และ1979               เบรสเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980

นโยบายต่างประเทศมิคาอิล กอร์บาชอฟ                ปี 1985 มิคาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนายอังเดร โกรมิโกรที่ลาออกในปี 1988 เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสทรอยก้า Perestroyka โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาร์ชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ( Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสทรอยก้าล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย รัฐต่างๆ 15 รัฐแยกตัวเป็นอิสระ ภายใต้ใหม่ชื่อว่า สหพันธรัฐรัสเซีย นโยบายเปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์               มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ             1985 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคอนสแตนติน เคอร์เชนโก. กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลานอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์ การลดอำนาจหน่วย KGB และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง)ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม             อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์และความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกได้ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ สรุป
สหภาพโซเวียต
                   การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจนเกิดขึ้นทั่วเมืองในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต(Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
                  ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้
                  ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
                ปี 1985 มีฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนายอังเดร โกรมิโกรที่ลาออกในปี 1988 เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่าง ๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุป
นโยบายสหภาพโซเวียต
(USSR) ช่วงสงครามเย็น
กำหนดนโยบายหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงประมาณต้นทศวรรษที่ 1980 คือ
I 
สมัยการสร้างความมั่นคงให้ระบอบคอมมิวนิสต์กับหมู่ประเทศบริวาร คือ
1.
สมัยโจเซฟ สตาลิน (ค.ศ.1924-1953)
2.
สมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ (ค.ศ.1953-1958) นโยบายต่างประเทศ คือการลดการเผชิญหน้าลง และรักษานโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติมากขึ้น
3.
นายนิกิตา ครุสชอฟ (ค.ศ.1958-1964) ใช้นโยบายเผชิญหน้า ควบคู่กับนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ
4.
นายเบรสเนฟ- โคไซกิน (ค.ศ.1964-1980) เป็นยุคการเมืองแบบสามขั้วอำนาจ คือการจับมือกันของจีนกับสหรัฐ และโซเวียตกลับมีปัญหากับจีนคอมมิวนิสต์
II.
นโยบายกล๊าสนอสต์-เปเรสทรอยกา
สมัยนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ
III.
สมัยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ค.ศ.1991
เป็นยุคที่รัฐต่างๆ ของสหภาพโซเวียตแตกเป็นรัฐเอกราช (15 รัฐ) ยังคงมีสหพันธรัฐรัสเซียที่ดำเนินนโยบายโดดเด่นในฐานะ เป็นรากเหง้าแห่งอำนาจของสหภาพโซเวียต มีประธานาธิบดีสองคน คือนายบอริส เยลต์ซิน  นายวลาดิเมียร์ ปูติน และ นายดมิทรี เมดเวเดฟ(คนปัจจุบัน) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ประธานาธิบดีสมัยสหภาพโซเวียต  1917-1991
1. วลาดิมีร์ เลนิน           2. โจเซฟ สตาลิน             3. นิกิตา ครุสชอฟ          4. ลีโอนิด เบรซเนฟ           5. ยูริ แอนโดรปอฟ
6. คอนสแตนติน เชอร์เนนโก           7. มิคาอิล กอร์บาชอฟ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------SALT   I / II / III
                เป็นคำย่อจากคำว่า Strategic Arms Limitation Treaty การเจรจาเพื่อการลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ซึ่งหมายถึง การเจรจาของประเทศมหาอำนาจ เพื่อลดการแข่งขันด้วยอาวุธปรมาณูซึ่งมีการเจรจา 3 รอบด้วยกัน จาก SALT I (1972) จนถึง SALT II (1979) แม้ว่าการเจรจาจะประสบความสำเร็จน้อย แต่ในที่สุดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอดีต สหภาพโซเวียตก็ได้ทำให้การแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจยุติลง แต่ก็ยังมีความหวั่นใจโดยทั่วไปว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ กลับเร่งสร้างเสริมอาวุธร้ายแรงนี้จนอาจเป็นอันตรายต่อโลกในอนาคตได้                ในทศวรรษ 1970 มีการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ตรั้งที่ 1 (The Strategic Arms Limitation Talks – SALT I) ระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียต --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ประเทศหลังม่านเหล็ก ( iron curtain ; Soviet Union; USSR ),
                ประเทศหลังม่านเหล็ก  ใช้เรียกประเทศประเทศสหภาพโซเวียตสมัยที่ยังมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์               ม่านเหล็ก : เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด

สร้างโดย: 
นาย สุทธิพงษ์ มณฑาลพ นาย ปิยะบุตร อินรุณ
รูปภาพของ silavacharee

 

ลอกเพื่อนมาหรือเปล่า เหมือนกันเลย  ใครลอกของใคร

มันลอกผมคับ (วันที่ผมทำมันอยู่บ้านผมด้วย)-*-

รูปภาพของ thepthida_023

ส่ง จ นดั๊  ย ย! น๊า *

>> อิ พ วก เ น๊ !

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 449 คน กำลังออนไลน์