ประวัติศาสตร์ไทย

                                                  Coolประวัติศาสตร์ไทย Cool


    ประวัติศาสตร์ไทย คือประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองจนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน

 

 ยุคเริ่มแรก
        ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชิงโดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600
ปีก่อนคริสตศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น
มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไทยทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน ในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทย นั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มี ภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏในเวลาต่อมาเมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาว มอญและขอม
กระทั่งอำนาจของขอมในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของขอม รวมทั้งกลุ่มของชาวไทยในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวขอม โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดในตอนกลางอาณาจักรศรีวิไชย ในตอนใต้ และอาณาจักรขอมซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว
ยุคสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ.1792-1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก"คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพและใกล้ชิดกับราษฎรมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุนพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ
ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
2. การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ
(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ
กรุงสุโขทัยมีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมา 9 พระองค์ ดังนี้
           1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  ปี พ.ศ.1781
              2. พ่อขุนบานเมือง ครองราชย์ต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปี พ.ศ.1822
              3. พ่อขุนรามคำแหง พระนามเดิมว่า ร่วง เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง ขึ้นครองราชย์
ต่อจากพ่อขุนบานเมือง ปี พ.ศ.1822
              4. พระเจ้าเลอไทย ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1843
              5. พระยางั่วนำถม เริ่มรัชกาลเมื่อใดไม่แน่นอนแต่สิ้นรัชกาลราว พ.ศ.1890
              6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1890 สิ้นรัชกาลราว พ.ศ.1917
              7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 พระเจ้าไสยลือไท ขึ้นครองราชย์ปี 1917 สวรรคตเมื่อ พ.ศ.1942 กรุงสุโขทัยเป็นประเทศราช
ของกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลนี้เมื่อปี พ.ศ.1921
              8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1942 – 1962 ได้ย้ายราชธานีจากกรุงสุโขทัยไปตั้งราชธานีที่เมือง
พิษณุโลก
              9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1962 – 1981 เป็นราชวงศ์สุโขทัยองค์สุดท้าย
ยุคสมัยล้านนา
        ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
    อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งอยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมายการล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลงความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว
ยุคสมัยกรุงธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง
Kissการปกครองส่วนกลาง Laughing

                       หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

                       หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช

                                                        

                                                       ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

     ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย
ภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ
หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

สร้างโดย: 
อ.มาลัยวรรณ จันทร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 439 คน กำลังออนไลน์