ชีวะวิทยา

<><><><>


ความหมาย ความหลากหลายทางชีวภาพตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Biodiversity นักชีววิทยากล่าวถึง ความหลากหลายทางชีวภาพใน 3 ระดับ ดังนี้
ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ได้แก่ ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ระดับความแตกต่างนี่เองที่ใช้กำหนดความใกล้ชิดหรือความห่างของสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตที่สืบทอดลูกหลานด้วยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหรือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นฝาแฝดเหมือน ย่อมมีองค์ประกอบพันธุกรรมเหมือนกันเกือบทั้งหมด เนื่องจากเปรียบเหมือนภาพพิมพ์ของกันและกันสิ่งมีชีวิตที่สืบทอดมาจากต้นตระกูลเดียวกัน ย่อมมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ญาติกัน ยิ่งห่างก็ยิ่งต่างกันมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดต่างกลุ่มหรือต่างอาณาจักรกัน ตามลำดับ นักชีววิทยามีเทคนิคการวัดความหลากหลายทางพันธุกรรมหลายวิธี แต่ทุกวิธีอาศัยความแตกต่างขององค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นดัชนีในการวัด หากสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ย่อมแสดงว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (species diversity) ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity) ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย แต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีต และมีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของมันเองส่วนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง หากไม่มีทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมและความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นย่อมไร้ทางเลือกและหมดหนทางที่จะอยู่รอดเพื่อสืบทอดลูกหลานต่อไป ความสำคัญ ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเอกลักษณ์ประจำโลกของเรา ทำให้โลกเป็นดาวเคราะห์ที่แตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นในสุริยจักรวาล ดังนั้นในระดับมหภาค ความหลากหลายทางชีวภาพจึงช่วยธำรงโลกใบนี้ให้มีบรรยากาศ มีดิน มีน้ำ มีอุณหภูมิ และความชื้นอย่างที่เป็นอยู่ให้ได้นานที่สุด สำหรับความสำคัญต่อมนุษย์นั้นมีมากมายมหาศาล เนื่องจากมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของชีวภาพ จึงต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตด้วยกันเพื่อการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ต่างๆ มนุษย์จึงใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในทุกด้านและใช้มากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ด้วย เพราะนอกจากจะใช้ประโยชน์ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัยเพื่อความอยู่รอดแล้ว ยังใช้ในด้านการอำนวยความสะดวกสบาย ความบันเทิงและอื่นๆ อย่างหาขอบเขตมิได้ ในวิวัฒนาการมีมนุษย์เกิดขึ้นเพียงประมาณ 1 แสนปีมาแล้ว ดังนั้น เมื่อเทียบกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพก่อนที่จะมีมนุษย์อยู่ในโลกนี้ มนุษย์จึงมีช่วงเวลาที่จะรู้จักและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายนี้น้อยมาก แต่เพียงเล็กน้อยเท่านี้ก็ทำให้มนุษย์เพิ่มจำนวนประชากรขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ชนิดใดๆ การขยายถิ่นฐาน รวมทั้งการขยายขอบเขตของการใช้ทรัพยากรชีวภาพจากเพื่อความอยู่รอด และความพออยู่พอกินมาเป็นความฟุ่มเฟือยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้มนุษย์ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราที่เร็วกว่าปกตินับพันเท่า ซึ่งแท้จริงแล้วความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสมบัติพื้นฐานที่จะทำให้มนุษยชาติอยู่รอด คงจะมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นจำนวนมากที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยน้ำมือของมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก่อนที่มนุษย์จะได้มีโอกาสนำมาใช้ประโยชน์เสียด้วยซ้ำไป ไฟลัมต่างๆที่ควรทราบ . ไฟลัม พอริเฟอรา (Phylum Porifera) โครงสร้าง - มีหลายเซลล์ มีเนื้อเยื่อ แต่ยังไม่มีอวัยวะ - มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (ยังไม่เรียกว่าเอกโตเดิร์มและเอนโดเดิร์ม) - ระหว่างเนื้อเยื่อแทรกด้วยของเหลวคล้ายวุ้นเรียกว่า mesenchyme ซึ่งมี เซลล์รูปร่างคล้ายอะมีบาเรียกว่า amoebocyte มีหน้าที่คือ · จับอาหาร และย่อยอาหารภายในเซลล์ · สร้างขวาก (spicule) เพื่อใช้เป็นโครงร่างแข็งค่ำจุนฟองน้ำ · เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (ฟองน้ำไม่มีอัณฑะ, รังไข่) · มีรงควัตถุทำให้ฟองน้ำมีสีต่างๆ - ผนังด้านในมี collar cell (เซลล์ปลอกคอ) ที่มีแฟลเจลลัมคอยพัดโบก อาหารและจับอาหารกินได้ - ภายในเป็นโพรง เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำเล็กๆ อยู่แบบภาวะอิงอาศัย - ลำตัวมีรูพรุนเป็นทางให้น้ำไหลเข้า ตอนบนมีโพรงให้น้ำไหลอออก เรียกว่า osculum - โครงร่างประกอบด้วย · ขวาก (spicule) ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตหรือซิลิกา · เส้นใยโปรตีน (spogin) ทำให้ฟองน้ำอ่อนนุ่มใช้ถูตัวได้ - สมมาตร * asymmetry * radail ทางเดินอาหาร - ไม่มี - การย่อยอาหารจะย่ออยภายในเซลล์ โดย collar cell กับ amoebvocyte การสืบพันธ์ - ไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ การงอกใหม่ การสร้างเจมมูล - อาศัยเพศ โดยการปฏิสนธิ ตัวอย่างของสัตว์ ฟองน้ำจืดและเค็ม ประโยชน์ ใช้ทำแปรงทาสี ขัดพื้น ถูตัวเด็กอ่อน กิจกรรมทางแพทย์ 2 ไฟลัมซีเลนเตอราตา (Phylum Coelenterata) หรือ Cnidaria (ไนดาเรีย) รูปร่าง - ทรงกระบอก (polip) - คล้ายร่มหรือกระดิ่ง (medusa) โครงสร้าง - มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เอกโตเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม - ตรงระหว่างเนื้อเยื่อจะมีของเหลวคล้ายวุ้น ( mesoglea) แทรกอยู่ - มีสมมาตรแบบ radial หรือ biradial เช่น ดอกไม้ทะเล (sea anemone) - ภายในร่างกายมีโพรงเรียกว่า gastrovascular cavity ซึ่งเป็นแหล่งที่ ย่อยอาหาร แลกเปลี่ยนก๊าซ และขับถ่ายของเสีย ทางเดินอาหาร แบบไม่สมบูรณ์ รอบๆปากมีหนวด (tentacle)บนหนวดมีเข็ม พิษ (nematocyst) แทรกอยู่สำหรับป้องกันตนเองและจับเหยื่อ (เข็มพิษเป็น ลักษณะประจำไฟลัมนี้) การสืบพันธุ์ - แบบไม่อาศัยเพศ : โดยการแตกหน่อ - แบบอาศัยเพศ : โดยการปฏิสนธิตัวอย่างสัตว์ ไฮดรา , ซีแอนีโมนี (ดอกไม้ทะเล) , ปากกาทะเล , ปะการัง , กัลปังหา , แมงกะพรุน , โอบีเลีย 3. ไฟลัม แพลตีเฮลมินเทส ( Phylum Platyhelminthes) รูปร่าง ยาวแบน โครงสร้าง - เริ่มมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ เอกโตเดิร์ม มีโซเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม - มีสมมาตรแบบ bilateral (พวกแรก) - ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว (acoelom) - พวกที่เป็นปรสิตมีชั้น cuticle สร้างจาก epidermis มาหุ้ม ป้องกันน้ำย่อย ของ host - มีกล้ามเนื้อที่เรียงตัวตามยาวและกล้ามเนื้อตามวง ทำงานแบบ antagonism เป็นพวกแรก (antagonism คือ ลักษณะการทำงานที่ตรงกันข้ามชุดหนึ่งหดตัว อีก ชุดหนึ่งคล้ายตัว) ทางเดินอาหาร แบบไม่สมบูรณ์ ยกเว้น พยาธิตัวตืดไม่มีปาก , ทวารหนัก และ ทางเดินอาหาร การหายใจ ใช้ผิวหนัง พวกปรสิตสามารถหายแบบไม่ใช้ออกซอเจน การขับถ่าย เฟลมเซลล์ (flame cell) ระบบประสาท เป้นพวกแรกที่มีระบบประสาท (ganglion) 2 ปม ที่ส่วนหัวทำ หน้าที่คล้ายสมอง และมีเส้นประสาทใหญ่ (nerv cord) 2 เส้นทอดไปตามความ ยาวของร่างกาย การสืบพันธุ์ - แบบไม่อาศัยเพศ : โดยการงอกใหม่ เช่น พลานาเรีย - อาศัยเพศ : self fertilization และ cross fertilization ตัวอย่างสัตว์ พยาธิตัวตืด , พยาธิใบไม้ , หนอนหัวขวาน 4. ไฟลัมมาโตดา (phylum Nematoda) รูปร่าง ยาวกลม แหลมหัวแหลมท้าย โครงสร้าง - มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น - มีสมมาตรแบบ bilateral - มีช่องตัวเทียม (pseudocoelom) - ผิวหนังเรียบ มีชั้น cuticle หนาๆ หุ้มตัว - มีกล้ามเนื้อที่เรียบตัวตามยาว มามีกล้ามเนื้อที่เรียงตัวเป็นวง จึงไม่มีการ ทำงานแบบ antagonism ของกล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร แบบสมบูรณ์ การหายใจ - ปรสิต : หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน - หากินอิสระ : ใช้ผิวหนัง การขับถ่าย ใช้ lateral excretory canal (ท่อขับถ่ายข้างลำตัว) ระบบประสาท - มีสมองเป็น nerve ring อยู่รอบคอหอย - มีเส้นประสาททั้งด้านหลังและด้านท้อง เรียกว่า dorsal และ ventral nerve cord การสืบพันธุ์ เป็นสัตว์แยกเพศ (ตัวเมียมักใหญ่กว่าตัวผู้) โดยการปฏิสนธิ ตัวอย่างของสัตว์พวกหากินอิสระ - หนอนในน้ำครำ , หนอนในน้ำส้มสายชู พวกที่เป็นปรสิต - พยาธิโรคเท้าช้าง , หนอนที่ลูกตา , พยาธิตัวจี๊ด , พยาธิไส้เดือน , พยาธิ ปากขอ , พยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด , พยาธิเส้นม้า , พยาธิกล้ามเนื้อ , ไส้เดือนฝอยในรากพืช (ทำให้เกิดโรครากปมในพืชหลายชนิด) 5. ไฟลัม แอนีลิดา (phylum Annelida)รูปร่าง ลำตัวเป็นวงหรือปล้องๆต่อกัน จึงมี segmentation ทั้งภายนอกและภายใน ร่างกาย โครงสร้าง - มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น - มีสมมาตรแบบ bilateral - มีช่องตัวแบบแท้จริง (true coelom หรือ eucoelom ) - มี cuticle ชุ่มชื้น เพราะมีต่อมเมือกสร้างเมือกทำให้ลำตัวลื่น - มีรยางค์ เรียกว่า เดือย (seta หรือ setae) ยกเว้น ปลิง ทางเดินอาหาร แบบสมบูรณ์ การหายใจ - บางชนิดใช้เหงือก - ส่วนใหญ่ใช้ผิวหนัง ระบบเลือด เป็นพวกแรกที่มีระบบเลือดแบบปิด โดยเฮโมโกลบินละลายอยู่ ในน้ำเลือด ไม่ได้อยู่ในเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดไม่มีสี จึงเรียกว่า amoebocyte เพราะมีรูปร่างคล้ายอะมีบา การขับถ่าย ใช้ nephridium มีเกือบทุกปล้อง ปล้องละ 1 คู่ ระบบประสาท - บางชนิดใช้เหงือก - ส่วนใหญ่ใช้ผิวหนังระบบประสาท - สมอง เป็นปมประสาท 2 พู - เส้นประสาท เป็นคู่อยู่ทางด้านท้อง (double ventral nerve cord) การสืบพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นกะเทย แต่ cross fertilization ตัวอย่างสัตว์ ไส้เดือน , แม่เพรียง (ไส้เดือนทะเล,บุ้งทะเล,หนอนดอกไม้) , ปลิงน้ำจืด , ปลิงบกหรือทากดูดเลือด , ตัวสงกรานต์ (อาศัยอยู่ในน้ำจืด) 6. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) โครงสร้าง - มีขาต่อกันเป็นข้อๆ (jointed leg) - ร่างกายมักแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ หัว (head) , อก (thorax)และท้อง (abdomen)บางชนิดมีหัวและอกรวมกันเป็น cephalothorax - มีเปลือกแข็งหุ้มตัว (exoskeleton)- มีสมมาตรแบบ bilateral - มีช่องตัวอย่างแท้จริง (eucoelom) ซึ่งมีขนาดเล็ก ทำหน้าที่เป็นเสมือน เส้นเลือดให้เลือดไหลผ่าน เรียกว่า haemocoel ทางเดินอาหาร แบบสมบูรณ์ การหายใจ - พวกอาศัยในน้ำ ใช้ - gill (เหงือก)พบใน

สร้างโดย: 
somboon900

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 357 คน กำลังออนไลน์