หลักภาษาและวรรณคดีไทย

 ระบบเสียง
ระบบเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.เสียงพยัญชนะ
2.เสียงสระ
3.เสียงวรรณยุกต์
พยัญชนะ
เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทย (เสียงแปร) มีอยู่ด้วยกัน 21 เสียงดังต่อไปนี้

 

 

ริมฝีปากทั้งสอง

 ริมฝีปากล่าง-ฟันบน

 ปุ่มเหงือก

 หลังปุ่มเหงือก

 เพดานแข็ง

 เพดานอ่อน

 ผนังคอ

 เสียงกัก

 /ผ พ/

 

 ฏต/ฑธฒทถฐ/ฎฑด

 

 

 /ขฃคตฆ

 

 เสียงนาสิก

 

 

 นณ

 

 

 

 

 เสียงเสียดแทรก

 

 ฟ ฝ

 ศสษซ

 

 

 

 หฮ

 เสียงกึ่งเสียดแทรก

 

 

 

 /ฉชฌ

 

 

 

 เสียงรัวลิ้น

 

 

 

 

 

 

 

 เสียงเปิด

 

 

 

 

 ยญ

 

 

 เสียงข้างลิ้น

 

 

 ลฬ

 

 

 

 

สระ
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน
สระเดี่ยว คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง
-อะ อา อิ อี อุ อู อึ อือ เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ เอาะ ออ โอะ โอ

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
เ–ีย ประสมจากสระ อี และ อา
เ–ือ ประสมจากสระ อือ และ อา
–ัว ประสมจากสระ อู และ อา
*ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
–ำ  ประสมจาก อะ + ม (อัม) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)
ใ–  ไ– ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
เ–า ประสมจาก อะ + ว (เอา) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)
ฤ ประสมจาก ร + อึ (รึ) บางครั้งเปลี่ยนเป็น (ริ) หรือ (เรอ)
ฤๅ ประสมจาก ร + อือ (รือ)
ฦ ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
ฦๅ ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
*นอกจากนี้
     -สระบางตัวเมื่อมีตัวสะกดจะไม่แสดงรูปสระเรียกว่า สระลดรูป ได้แก่ สระโอะเช่น น โอะ ก= นก
     -สระบางตัวเมื่อมีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูปเรียกว่า สระเปลี่ยนรูป ได้แก่ สระเอะ, แอะเช่น จ เอะ ด= เจ็ด,
      ข แอะ ง = แข็ง  สระอะ เช่น ร อะ ก= รัก  สระเออ เช่น ม เออ น = เมิน

วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
-เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
-เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
-เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
-เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
-เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
-ไม้เอก ( -่ )
-ไม้โท ( -้ )
-ไม้ตรี ( -๊ )
-ไม้จัตวา ( -๋ )

ไตรยางค์
     ไตรยางค์  คืออักษร ๓ หมู่ ซึ่งจัดแยกออกมาเป็นพวก ๆ จากพยัญชนะ ๔๔ ตัว ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห 
อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ 
อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ 

อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก และ วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ ๓ คำ คำตายผันได้ ๒ คำดังนี้ 
คำเป็น- พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา  เช่น ขา ขง ขน ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก  เช่น ข่า ข่ง ข่น
             ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้า ข้ง ข้น
คำตาย- พื้นเสียงเป็นเสียงเอก  เช่น ขะ ขก ขด
             ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด
อักษรกลาง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี วรรณยุกต์จัตวา คำเป็นผันได้ ๕ คำ คำตายผันได้ ๔ คำ 
คำเป็น- พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ 
คำตาย- พื้นเสียงเป็นเสียงเอก  เช่น กบ กาก กาด กาบ
อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ ๓ คำดังนี้
คำเป็น- พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว  
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว  
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้าว  
คำตาย- ผันได้ ๓ คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ จัตวา แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้ 
  คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี  เช่น คะ คก คด คบ      
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ      
คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท  เช่น คาก คาด คาบ        
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ        

ชนิดของประโยค
ประโยคแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
   1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
   2. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
  3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือประโยคที่มีใจความเพียงความเดียว มีภาคแสดงภาคเดียว อาจมี
ส่วนขยายได้เช่น
     ลมพัด
     ควายกินฟางข้าว
     ม้าวิ่งเร็วมาก
     ลิงขึ้นต้นมะพร้าวสูง
ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) คือการที่เอาประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อม
ประโยคความรวมแบ่งได้ 4 ชนิด คือ
    1. ใจความคล้อยตามกัน ใช้สันธาน และ, ทั้ง.....และ, แล้ว...ก็, แล้ว...จึง, ครั้น...ก็, ครั้น...จึง, ถ้าว่า, ถ้า...ก็,
ผิว่า   เป็นตัวเชื่อม เช่น ตาและยายไปวัด
     ครั้นเขาอาบน้ำแล้วก็แต่งตัว พอฝนตกแล้วแดดก็ออก
     2.ใจความขัดแย้ง ใช้สันธาน แต่, ถึง...ก็, กว่า...ก็, แต่...ทว่า, เช่น
     แดงเป็นชาวนาแต่ขาวเป็นชาวไร่, กว่าเขาจะทำเขื่อนน้ำก็ท่วม, ถึงเธอรูปสวยก็พูดจาไม่สุภาพ
    3.ใจความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้สันธาน หรือ, มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น เป็นตัวเชื่อม เช่น
      เธอจะเรียนนิติศาสตร์หรือบัญชี, เธอไปกับฉันมิฉะนั้นเธอเฝ้าบ้าน, เธอต้องเลิกเล่นการพนันไม่เช่นนั้นเธอจะติดคุก
     4.ใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน จะใช้สันธาน เพราะ, เพราะ...จึง, เพราะฉะนั้น...จึง, ฉะนั้น...จึง เป็นนั้นตัวเชื่อม และจะต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อนแล้วมีผลตามมาภายหลัง เช่น  เพราะเขาขยันจึงร่ำรวย, ฝนตก ฉะนั้น
น้ำจึงท่วม
     หมายเหตุ ถ้าผลเกิดก่อนเหตุตามหลังจะเป็นประโยคความซ้อน เช่น
    เขาสอบตกเพราะเขาป่วย
    น้ำท่วมเพราะเขื่อนพัง
ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือ ประโยคที่มีประโยคใหญ่หรือประโยคหลักอยู่ 1 ประโยค แล้วมีประโยคย่อย ซึ่งเป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่
    ประโยคหลัก เรียกว่า มุขยประโยค
    ประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่ เรียกว่า อนุประโยค
ตัวอย่าง ประโยคความซ้อน เช่น
     เขารักคนที่สวมเสื้อสีแดง
     เปาบุ้นจิ้น ประหารขุนนาง ซึ่งเป็นโจร
     เขาวิ่งจนเป็นลม
ประโยคย่อย หรืออนุประโยค แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
    1.นามานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างนาม อาจเป็นบทประธาน หรือบทกรรม ของ
มุขยประโยค เช่น
     ผู้ร้ายฆ่าคนซ่อนอยู่ในกระท่อม (บทประธาน)
     เขาเห็นงูเขียวกินเขียด (บทกรรม)
และมักมีคำเชื่อมคือ คำว่า ให้, ว่า เช่น
     ฉันไม่โกรธให้เขาพูด
     เขาพูดว่าอากาศกรุงเทพฯเป็นพิษ
2.คุณานุประโยค คืออนุประโยคที่ขยายนามหรือสรรพนาม ในมุขยประโยค โดยมีประพันธสรรพนาม ที่, ซึ่ง, อัน เป็นบทเชื่อม เช่น
     เขาตีสุนัขที่กัดไก่
        เขาอภิปรายโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง
     ทหารพรานเดินป่าอันรกร้างกว้างใหญ่
3.วิเศษณานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างคำวิเศษณ์ คือ ขยายกริยา หรือขยายวิเศษณ์ใน
มุขยประโยค
มักจะมีประพันธ์วิเศษณ์ เช่น ขณะที่, หลังจาก, เหมือน, จน, ตาม, เพราะ เป็นบทเชื่อม เช่น
     เขาเป็นคนทำงานขณะที่ฝฝนตก
     หลังจากเขขาป่วย เขาลาออกจากงาน
     เขาคอยเธอเหมือนข้าวคอยฝน
     วัวเดินจนหญ้าตาย
     เขาทำงานคามเจ้านายสั่ง
     ชาวบ้านล้มตายเพราะน้ำท่วม
     หมายเหตุ คำว่า "เพราะ" ต้องมีผลเกิดก่อน เหตุตามหลัง เช่น
     ชาวบ้านล้มตาย เป็นผล
     น้ำท่วม เป็นเหตุ


กาพย์เห่เรือ
        กาพย์เห่เรือเป็นกาพย์สำหรับฝีพายขับเห่ในกระบวนเรือเสด็จ ไม่นับว่าไปในงานพิธี ลำนำสำหรับเห่เรือมี 3 อย่าง คือ
                1. ช้าลวะเห่ ทำนองเห่ช้า สำหรับตอนเรือเริ่มออก หรือเรือตามน้ำ
                2. มูลลวะเห่ ทำนองเห่เร็ว  สำหรับตอนนำเรือพายทวนน้ำ หรือเกือบถึงจุดหมายปลายทาง
                3. สวะเห่ เป็นการเห่เรือที่จะถึงจุดหมายปลายทาง
ลักษณะคำประพันธ์
        แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วจึงแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ และแต่งกาพย์ยานีพรรณนาเพิ่มเติม ซึ่งเรียกว่า กาพย์ห่อโคลง
         วิธีแต่งกาพย์ห่อโคลง มีอยู่ 3 แบบ คือ
                1. แต่งกาพย์ยานีก่อนแล้วแต่งโคลงสี่สุภาพเลียนแบบ
                2. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบต่อมา
                3. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ    และแต่งกาพย์ยานีพรรณนา เพิ่มเติม
ผู้ประพันธ์
        เจ้าพระยาธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (2258-2298) เป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา
เนื้อเรื่อง แบ่งออกเป็น 5 ตอน ซึ่งกล่าวพรรณนาถึง
        1. กระบวนเรือ           2. พันธุ์ปลา            3. พันธุ์ไม้
        4. พันธุ์นก                     5. คร่ำครวญรำพึงรำพันถึงนางคนที่รัก
 
ลักษณะพิเศษของกาพย์เห่เรือ
        1. ลักษณะของสำนวนและความหมาย  ใช้สำนวนกะทัดรัด มีความหมายเด่นชัดเข้าใจง่ายและมีน้ำหนักอย่างเหมาะสม เช่น
                        พระเสด็จโดยแดนชล                ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
                กิ่งแก้วแพรวพรรณราย                     พายอ่อนหยับวับงามงอน
        2. ลักษณะถ้อยคำ ใช้ถ้อยคำเกลี้ยงเกลาสละสลวย ไพเราะด้วยการสัมผัสและทำให้เกิดภาพพจน์ เช่น
                        เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ                    เนื้อน้องหรืออ่อนทั้งกาย
                ใครต้องข้องจิตชาย                           ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
        3. ลักษณะการพรรณนา การพรรณนาความรู้สึกลึกซึ้งและแยบคายมาก เช่น
                        แก้มช้ำช้ำใครต้อง                       อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
                ปลาทุกทุกข์อกตรม                        เหมือนทุกข์ที่พี่จากนาง
        4. ลักษณะอารมณ์ เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เช่น
                        เพรางายวายเสพรส                  แสนกำสรดอดโอชา
                 อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                             อิ่มโศกาหน้านองชล
        5. ลักษณะการแต่ง แต่งถูกต้อง มีการเล่นอักษร มีสำนวนอุปมาอุปไมย เช่น
                        รอนรอนสุริยโอ้                          อัสดง
                เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง                           ค่ำแล้ว
                         รอนรอนจิตจำนง                      นุชพี่ เพียงแม่
                เรื่อยเรื่อยเรียมคอบแก้ว                   คลับคล้ายเรียมเหลียว
 
การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เรื่องกาพย์เห่เรือ
        1. เนื้อหา แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ
                1.1 การชมขบวนเรือในเวลาเช้า  ได้พรรณนาไว้อย่างละเอียด พิสดาร
                1.2 การชมฝูงปลาในเวลาสายอุปมาอุปไมยอย่างแจ่มชัดและกินใจ
อย่างยิ่ง
                1.3 การชมพรรณนาดอกไม้ในเวลากลางวัน สอดใส่ความรู้สึก   และอารมณ์ให้ผู้อ่านคล้อยตาม
                1.4 การชมฝูงนกในเวลาเย็น อุปมาอุปไมยแจ่มชัด เด่นชัด
                1.5 การคร่ำครวญถึงนาง ในเวลากลางคืน สร้างบรรยากาศเชิง
อรรถรสและวังเวง
        2. รูปแบบ ลักษณะคำประพันธ์ ใช้กาพย์ห่อโคลง คือ แต่งโคลงสี่สุภาพแล้วแต่งกาพย์
เลียนแบบพรรณนาเพิ่มเติม
        ศิลปการประพันธ์ทำให้เกิดภาพพจน์ และความรู้สึกทางสุนทรียะอันได้แก่ ความชื่นชมในสิ่งสวยงามตามธรรมชาติ ความไพเราะของดนตรี ความรู้สึกแยบคายทาง อารมณ์สะเทือนใจ
 
การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม เรื่องกาพย์เห่เรือ
        1. สะท้อนภาพชีวิตคนไทยด้านการคมนาคม  แสดงการสัญจรทางน้ำให้เห็นว่าเมืองไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
        2. แสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น
                ประเพณีการแต่งกาย ผู้หญิงห่มผ้าสไบคลุมไหล่ เป็นต้น
                การไว้ทรงผม  ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาวประบ่า   แล้วเก็บไรที่ถอนผมออกเป็นวงกลม
                การบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็นเครื่องบอกเปลี่ยนเวลา
 
ความรู้ที่ได้จากเรื่อง
        1. ได้รับรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและสภาพสังคม เช่น  ประเพณีเห่เรือและประเภทของเรือ ประเพณีการแต่งกาย ผู้หญิงห่มผ้าสไบคลุมไหล่ ถ้าผู้หญิงชั้นสูง ๆ หรือมีฐานะ ห่มสไบทำด้วยตาด การไว้ทรงผม ผู้หญิงไว้ผมยาวประลงมาถึงบ่าแล้วเก็บไรถอนผมออกเป็นวงกลม การบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็นเครื่องบอกเปลี่ยนเวลา
        2. ได้รู้จักชื่อสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำและชื่อต้นไม้
        3. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และชนิดของเรือ
        4. ได้รู้เทพนิยายระหว่างครุฑกับนาค เรื่องมีว่า ครุฑกับนาคเกิดจากบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดา มารดาครุฑถูกมารดาของนาคกลั่นแกล้งข่มเหง จนตกเป็นทาสของมารดานาค ครุฑเจ็บใจมากขึงผู้ใจเจ็บ ต่อมาครุฑได้พรจากพระนารายณ์ให้จับนาคกินได้ ครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์
        5. ได้ความรู้เกี่ยวกับคำและวิธีการใช้คำ เช่น ชดช้อย  พรหมินทร์  เสด็จ สำอาง อร่าม
 
ความดีของเรื่อง
        1. ลักษณะการแต่ง แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนบังคับ เช่น
                        ปางเสด็จประเวศดาว           ชลาลัย
                ทรงรัตนพิมานชัย                         กิ่งแก้ว
                พรั่งพร้อมพวกพลไกร                  แหนเห่
                เรือกระบวนต้นแพร้ว                   เพริศพริ้ง พายทอง
                                พระเสด็จโดยแดนชล                        ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
                กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย                    พายอ่อนหยับจีบงามงอน
        2. การใช้คำ  รู้จักสรรคำที่มีความหมายเด่นชัด คำทุกคำมีความหมายไพเราะรื่นหู สัมผัสใน สัมผัสนอกและมีทั้งสัมผัสสระ พยัญชนะ เช่น
                        จำปาหนาแน่นเนือง                        คลี่กลีบเหลืองอร่าม
                คิดคะนึงถึงนงราม                        ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
        3. การใช้สำนวนกะทัดรัด ใช้คำแต่น้อยความหมายมาก เช่น
                        เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง                นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
                ตัวเดียวมาพลัดคู่                               เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
        4. ทรงพรรณนาอารมณ์ต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับความจริง เช่น
                        เวนามาทันแล้ว                           จึงจำแคล้วแก้วโกมล
                ให้แค้นแสนสุดทน                         ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย
        5. ผู้อ่านได้รับความรู้หลายเรื่อง เช่น ประเพณีต่าง ๆ  เทพนิยาย ความรู้ทางภาษาศาสตร์สัตว์และพฤกษ์ เป็นต้น
        6. พรรณนาให้เกิดจินตนาการและมโนภาพ เช่น
                        น้ำเงินคือเงินยวง                       ขาวพรายช่างสีสำอาง
                ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง                    งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
อารมณ์สะเทือนใจของกาพย์ยานี
        1. อารมณ์เศร้า เช่น
                        เพรางายวายเสพรส                          แสนกำสรดอดโอชา
                 อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                               อิ่มโศกาหน้านองชล
        2. อารมณ์คล้อยตามธรรมชาติ เช่น
                        ล่วงสามยามปลายแล้ว              จนไก่แก้วแว่วขันขาน
                ม่อยหลับหลับบันดาล                      ฝันเห็นน้องต้องติดตา
        3. อารมณ์แห่งภาพพจน์ เช่น
                        สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย               งามชดช้อยถอยหลังสินธุ์
                เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์                   ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
        4. อารมณ์แห่งการคร่ำครวญ เช่น
                        ยามสองฆ้องยามย่ำ             ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
                เสียงปี่มีครวญเครง                      เหมือนเรียมคร่ำร่ำครวญนาน
 
พันธุ์ไม้ที่ปรากฏในเรื่องมี 17 ชนิด
        1. จำปา เป็นต้นไม้คล้ายต้นจำปี ดอกเป็นกลีบสีขาว เหลือง มีกลิ่นหอม
        2. ประยงค์ เป็นดอกไม้ ใบคล้ายดอกแก้ว ดอกเล็ก ๆ เป็นช่อสีเหลือง ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน
        3. พุดจีบ ไม้ดอกจำพวกหนึ่ง ดอกเล็ก ใบคล้ายดอกพุด แต่กลับมีลักษณะเป็นจีบ
        4. พิกุล ไม้ดอกจำพวกหนึ่ง ดอกเป็นจัก ๆ มีกลิ่นหอมเย็น ใช้ทำยาได้
        5. สุกรม เป็นต้นไม้ใหญ่ ใบรี ผลเนื้อสุกสีแดง ใช้ทำยาได้
        6. สาวหยุด หรือสายหยุด คล้ายดอกกระดังงา  แต่เป็นไม้เลื้อย ดอกหอม พอสายก็หมดกลิ่น
        7. พุทธชาด เป็นไม้ล้มลุก ดอกคล้ายดอกพุด
        8. บุนนาค เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ดอกคล้ายดอกสารภีแต่โตกว่า ใบคล้ายใบกระทิง
        9. แต้ว  ต้นขนาดย่อม แกนแข็ง ใช้ยางเป็นเครื่องฉาบทา ดอกขาวหรือชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม
        10. แก้ว เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูลส้ม  ดอกขาวหอม มักขึ้นตามป่าที่ร่มเย็น บางต้นมีหลายง่าม ใช้ทำด้ามมีดและไม้ถือ อีกชนิดหนึ่งเนื้อแข็งเหนียว มีลาย
        11. เต็ง ไม้ขนาดใหญ่ ใช้ทำเสาเรือน
        12. มะลิวัลย์ เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย ดอกสีขาวหอม
        13. จิก มีหลายชนิด  ดอกสีขาว ๆ หรือแดง ๆ มักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้าขึ้นในที่ชุ่มชื้น
        14. จวง ต้นเทพทาโร บางแห่งเรียกจวงหอม
        15. ลำดวน เป็นไม้ดอก ดอกคล้ายดอกนมแมว มีกลิ่นหอม
        16. นางแย้ม ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ สีขาว คล้ายใบพิมเสน
        17. กาหลง ดอกสีชมพูอ่อนบ้าง ขาวบ้างแต่ไม่มีกลิ่น ใบคล้ายใบชงโคหรือใบเลี้ยว
 
นกที่ปรากฏในเรื่องมี 10 ชนิด
        1. นกยูง นกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนงามเป็นสีเลื่อม ขนเป็นแวว
        2. สร้อยทอง นกที่มีคอเป็นสีต่าง ๆ 
        3. สาลิกา นกจำพวกนกเอี้ยง หัวสีดำ ตัวสีน้ำตาลแกมดำ หนังของตาจัดเหลือง
        4. นางนวล ชื่อนกกินปลาชนิดหนึ่ง อยู่ตามชายหาด
        5. แก้ว ชื่อนกขนเขียว ปากแดงและงุ้ม มีหลายชนิด
        6. ไก่ฟ้า เป็นนกสีสวยงามชอบอยู่เป็นฝูงอย่างไก่บ้าน ตัวขนาดไก่แจ้ บินเก่งมาก
        7. แขกเต้า เป็นนกในตระกูลนกแก้ว แต่ตัวเล็กกว่า
        8. ดุเหว่า ตัวสีดำ เล็กกว่ากาเล็กน้อย ร้องไพเราะ มักจะเรียกกันว่า กาเหว่า
        9. โนรี เป็นนกจำพวกนกแก้ว โดยมากมีขนเป็นสีแดงล้วน  บางชนิดมีสีอื่นแซม เรียกเบญจพรรณ
        10. สัตวนกใน เป็นนกจำพวกนกแก้ว ตัวโต สีเขียวเกือบเป็นสีคราม

 

 


 

สร้างโดย: 
srisawart

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 378 คน กำลังออนไลน์