สนธิสัญญาแวร์ซายส์

สนธิสัญญาแวร์ซายส์

 

พระราชวังแวร์ซายส์ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายส์

 

       สนธิสัญญาแวร์ซายส์ [1]เป็นสนธิสัญญาสันติภาพ ที่ทำขึ้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส หลังเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 สนธิสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังช่วงเวลาหกเดือนแห่งการเจรจาสันตืภาพที่กรุงปารีส และสิ้นสุดลงที่การทำสนธิสัญญา ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้จักรวรรดิเยอรมนีเดิมและพันธมิตรฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องรับผิดชอบต่อเสียหายทั้งหมดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และในข้อตกลงมาตรา 231-248 ได้ทำการปลดอาวุธ เกิดการลดดินแดนของผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมไปถึงต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่สนธิสัญญาดังกล่าวถูกบ่อนทำลายด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังปี 1922 จนกระทั่งร้ายแรงขึ้นเมื่อทศวรรษ 1930

ผลจากการแก่งแย่งและเป้าหมายที่ขัดแย้งกันของฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามนั้นเป็นการประนีประนอมที่ไม่มีฝ่ายใดพอใจ เยอรมนีนั้นไม่ได้นิยมสันติภาพและญาติดีกับชาติอื่นๆ ในยุโรป และผลจากสนธิสัญญาดังกล่าวได้กลายเป็นลางในอนาคตของเยอรมนี ยุโรปรวมไปถึงโลกทั้งใบ
เป้าหมายของฝ่ายพันธมิตร

 เป้าหมายของฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสสูญเสียทหารราว 1.5 ล้านคน รวมไปถึงพลเรือนอีกกว่า 400,000 คน นอกเหนือจากนั้น การรบส่วนใหญ่บนแนวรบด้านตะวันตกก็เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส จอร์จส์ คลูมองโซ ได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าตนเป็นผู้แทนของประชาชนชาวฝรั่งเศสที่จะต้องทำการล้างแค้นกับเยอรมนี เขาต้องการให้มีการกำหนดให้เยอรมนีกลายเป็นอัมพาต ทั้งทางการหทาร ทางเศรษฐกิจและทางการเมือง

เจตนาของคลูมองโซนั้นชัดเจนและเรียบง่าย นั่นคือ กองทัพของเยอรมนีต้องไม่ถูกทำให้อ่อนแอเป็นช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต้องทำให้อ่อนแออย่างถาวรจนกระทั่งไม่สามารถทำการรุกรานฝรั่งเศสได้อีก เขายังต้องการให้มีการทำลายเครื่องหมายของลัทธินิยมทหารของจักรวรรดิเยอรมนีเดิม นอกจากนั้นยังต้องการปกป้องสนธิสัญญาลับและเรียกร้องให้มีการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนี เพื่อให้ฝรั่งเศสสามารถควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออกของประเทศผู้แพ้สงคราม คลีเมนคอูนั้นเป็นบุคคลที่รุนแรงที่สุดในกลุ่มผู้นำทั้งสี่ จนได้รับฉายา "Tigre" (เสือ ,Tiger) จากเหตุผลดังกล่าว

ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากเห็นด้วยว่าฝรั่งเศสควรจะได้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมของเยอรมนีจำนวนมาก ถ่านหินจากแคว้นรูร์ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของเยอรมนีถูกขนส่งไปยังฝรั่งเศสโดยทางรถไฟ กองทัพฝรั่งเศสยังได้ยึดครองหัวเมืองสำคัญของเยอรมนีจำนวนมาก อย่างเช่น เก๊า-อัลเกสไฮม์ ทำให้เกิดพลเมืองไร้บ้านเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก คนงานทางรถไฟของเยอรมนีจำนวนมากได้ทำการเผาการขนส่งถ่านหินไปสู่ฝรั่งเศส ซึ่งส่งผลให้คนงานราว 200 คนถูกประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศส

จอร์จ คลีเมนคลูแห่งฝรั่งเศสต้องการค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนีเพื่อบูรณะประเทศฝรั่งเศสซึ่งเสียหายในสงคราม ระหว่างสงคราม บ้านราว 750,000 หลังคาเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม 23,000 โรงถูกทำลาย และจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะลดจำนวนทหารในกองทัพเยอรมันให้อยู่ในจุดที่สามารถควบคุมได้ รวมไปถึงส่วนหนึ่งของค่าปฏิกรรมสงคราม ฝรั่งเศสต้องการที่ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในเยอรมนี


 เป้าหมายของอังกฤษ
นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด ลอยด์ จอร์จ ก็ได้สนับสนุนการเรียกเก็บค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี แต่ในขอบเขตที่น้อยกว่าข้อเสนอของฝรั่งเศส เนื่องจากเขารู้ดีว่าถ้าหากทำตามข้อเสนอของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็อาจจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรปตอนกลาง และความสมดุลอันบอบบางก็จะถูกทำลาย นอกจากนั้น เขายังกังวลกับข้อเสนอของวูดโรว์ วิลสันสำหรับอำนาจปกครองตัวเอง และ - เหมือนกับฝรั่งเศส - ต้องการปกปักรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตน โดยสภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง ซึงได้มีส่วนในการรบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เดวิด ลอยด์ จอร์จก็เป็นผู้นำอีกคนหนึ่งซึ่งสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนีและสนธิสัญญาลับ

ยังมีคำกล่าวบ่อยๆ ว่าลอยด์ จอร์จเดินทางสายกลางระหว่างข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันและข้อเสนอพยาบาทของคลูมองโซ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของเขานั้นเป็นข้อเสนอที่แสนบอบบางกว่าที่ปรากฏในตอนแรก มหาชนชาวอังกฤษต้องการให้เกิดการลงโทษเยอรมนีให้หนักเหมือนกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพื่อให้รับผิดชอบต่อผลของสงครามที่เกิดขึ้น และได้สัญญาไว้เช่นสนธิสัญญาการเลือกตั้งปี 1918 ซึ่งลอยด์ จอร์จได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นยังมีการบีบคั้นจากพรรคอนุรักษ์นิยม ในความต้องการแบบเดียวกันกับชาวอังกฤษ เพื่อปกปักรักษาจักรวรรดิอังกฤษ ต่อมา แรงกดดันของมหาชนชาวอังกฤษได้สนับสนุนให้มีการลดขนาดของจักรวรรดิเยอรมัน ลอยด์ จอร์จจึงจัดการให้เพิ่มการชำระค่าปฏิกรสงครามโดยรวม และส่วนแบ่งของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า ใช้เป็นค่าตอบแทนแก่หญิงม่าย เด็กกำพร้า ชายทุพพลภาพ ชายที่ตกงานจำนวนมหาศาลเนื่องจากสงครามโลก

อย่างไรก็ตาม ลอยด์ จอร์จนั้นก็ได้เฝ้าระวังปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากเยอรมนีที่ขมขื่นจากสงคราม และเขารู้สึกว่าสนธิสัญญาที่ลดความรุนแรงลงซึ่งมิได้ก่อให้เกิดความพยาบาทน่าจะเป็นผลที่ดียิ่งกว่าและเป็นการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่ยาวนาน อีกหนึ่งปัจจัยนั้นคือเยอรมนีนั้นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของอังกฤษ และการจำกัดเศรษฐกิจของเยอรมนีย่อมไม่ส่งผลดีต่ออังกฤษ นอกจากนั้น เขาและคลูมองโซได้รู้จักสภาพของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจะทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารของโลกในอนาคตอีกด้วย หลังจากนั้น ข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันก็ไม่สามารถได้รับคำเยาะเย้ยหรือถูกหัวเราะใส่จากอังกฤษและฝรั่งเศสถ้าพวกเขายังต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาอยู่ นี่ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมสันนิบาตชาติเกี่ยวกับแนวคิดหลักของวิลสันซึ่งตั้งอยู่บนสันติภาพที่โอบอ้อมอารีนั้นได้ถูกเล่นงานโดยอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อวิลสันได้เดินทางมาถึงสถานที่จัดการประชุม ยิ่งกว่านั้น อังกฤษต้องการที่จะรักษา"ความสมดุลของอำนาจ" - โดยไม่ให้ทประเทศใดก็ตามในยุโรปเสนอข้อตกลงไว้มากมายกว่าประเทศอื่นๆ และถ้าข้อเสนอของฝรั่งเศสได้ถูกนำไปใช้ นอกจากเยอรมนีจะกลายเป็นคนพิการแล้ว ฝรั่งเศสก็จะกลายเป้นประเทศมหาอำนาจแทนที่อังกฤษอีกด้วย

สรุปข้อเสนอของเดวิด ลอยด์ จอร์จมีดังนี้:

เพื่อรักษาผลประโยชน์ของอังกฤษโดยการดำรงไว้ซึ่งอำนาจทางทะเลซึ่งถูกคุกคามโดยเยอรมนีระหว่างสงคราม การคงไว้ซึ่งจักรวรรดิอังกฤษ
เพื่อลดขนาดกองทัพเยอรมันในอนาคต และรับค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี
เพื่อหลีกเลี่งการแก้แค้นและการคุกคามสันติภาพในอนาคตของเยอรมนี
เพื่อช่วยเหลือเยอรมนีให้กลายเป็นประเทศคู่ค้าของอังกฤษ

เป้าหมายของสหรัฐอเมริกา

นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อเดือนเมษายนปี 1917 ชาวอเมริกันจำนวนมากมีความรู้สึกร้อนรนที่จะปลดตัวเองออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สหรัฐอเมริกานั้นได้รับมุมมองผูกไมตรีมากขึ้นจากผลที่เกิดขึ้นของค่าปฏิกรสงครามเยอรมนี นอกจากนั้น ชาวอเมริกันยังต้องการที่จะทำให้แน่ใจว่าโอกาสทางการค้าและรอการชำระหนี้สินคืนจากประเทศในยุโรป

ก่อนสงครามจะสิ้นสุด ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน พร้อมกับข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึง เอ็ดเวริ์ด แมนเดล เฮ้าส์ ได้ผลักดันให้ข้อเสนอสิบสี่ประการซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าข้อเสนอของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมหาชนชาวเยอรมันคิดว่าสนธิสัญญาดังกล่าวควรจะออกมาประมาณนี้ ซึ่งทำให้พวกเขามีความหวัง แต่ทว่ามันผิด

วิลสันนั้นไม่ต้องการการทูตที่เป็นความลับมากกว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น พันธมิตรลับ สนธิสัญญาอื่นๆ เป็นต้น เขายังต้องการให้เยอรมนีควรจะลดขนาดของอาวุธยุทธภัณฑ์ ซึ่งทำให้ขนาดของกองทัพลดขนาดเล็กลงไปและทำให้ปราศจากข้อสงสัยว่าในอนาคตจะไม่เกิดสงครามขึ้นอีก นอกจากนั้น เขายังต้องการให้ประเทศอื่นๆ ได้กระทำแบบเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการจำกัดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสงคราม ซึ่งเขากล่าวไว้ชัดเจนในข้อเสนอข้อที่ 4

หลักสิบสี่ข้อ ประกอบด้วย:

สร้างข้อตกลงแห่งสันติภาพที่ไม่ปิดบัง ตรงไปตรงมา ซึ่งจะทำให้ปราศจากความเข้าใจส่วนตัวนานาชาติ แต่ควรจะเป็นการทูตที่เปิดเผยและอยู่ในสายตาของสาธารณชน
เปิดเสรีในการเดินทางทางทะเล ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำสากล ทั้งในยามสงบและยามสงคราม ยกเว้นแต่ว่าจะถูกปิดกั้นจากการกระทำของนานาชาติเพื่อการดำรงไว้ซึ่งข้อตกลงนานาชาติ
การยกเลิกการกีดกันทางการค้า และการสร้างความเท่าเทียมกันทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งได้ยินยอมในสันติภาพและมีส่วนร่วมในการดำรงรักษามันไว้
ให้ความมั่นใจว่าจะมีการอาวุธยุทธภัณฑ์ของกองทัพนานาชาติลงจนถึงจุดที่มีความปลอดภัย ต่ำกว่าความเสี่ยงของสงคราม และสามารถป้องกันประเทศของตนเองเท่านั้น
ให้ความยุติธรรมอย่างทั่วถึงในการจัดการกับอาณานิคมโพ้นทะเลของทุกประเทศ รวมไปถึงให้โอกาสและความสำคัญแก่การประกาศเอกราชของชนพื้นเมืองภายในอาณานิคม ให้มีน้ำหนักเท่ากับประเทศแม่
การถอนเอาเอาณาเขตปรัสเซียออกไป และรวมไปถึงรกรากของสหภาพโซเวียตนั้นเป็นการปลอดภัยและเสรีในความร่วมมือของนานาชาติที่จะเสนอโอกาสซึ่งไม่ขัดขวางและไม่อยู่ในฐานะที่อับอายในการที่มีสิทธิ์เต็มที่ในการใช้อำนาจปกครองตัวเอง เพื่อการพัฒนาทางการเมืองและนโยบายแห่งชาติของตัวเอง รวมไปถึงการให้ความรับรองแก่สหภาพโซเวียตที่จะเข้าสู่เวทีนานาชาติภายใต้สถาบันที่ได้จัดตั้งขึ้นมาเอง และนอกจากนั้น ให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพโซเวียตในทุกวิถีทาง การปฏิบัติต่อสหภาพโซเวียตโดยประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาต่อมานั้นก็เป็นการทดสอบสำหรับจุดประสงค์ของแต่ละประเทศ และเปิดโอกาสให้สหภาพโซเวียตมีความสนใจของตน ด้วยความใจกว้างและด้วยปัญญา
เบลเยี่ยมควรจะถูกกำหนดให้ได้รับการฟื้นฟูจากนานาชาติ โดยปราศจากความพยายามที่จะจำกัดเอกราชให้เท่าเทียมกับประเทศเสรีอื่นๆ โดยการกระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างประเทศในกฎหมายซึ่งพวกเขาได้จัดตั้งเองและตั้งใจแน่วแน่ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ ผลจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นการรักษาความมั่นคงของกฎหมายนานาชาติอีกด้วย
ดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมดควรจะได้รับอิสระและฟื้นฟูส่วนที่เสียหายจากสงคราม และความผิดของปรัสเซียต่อฝรั่งเศสในปี 1871 เกี่ยวกับมณฑลแอลซาซ-ลอเรน ซึ่งไม่ได้ชำระสะสางสันติภาพของโลกมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ควรจะถูกทำให้ถูกต้อง เพือให้สันติภาพได้รับการดูแลรักษาอย่างมั่นคง
ควรจะมีการปรับแนวเขตแดนของประเทศอิตาลีควรจะตั้งอยู่บนแนวเขตแดนของชาติที่สามารถจำได้
ประชาชนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม ควรจะได้รับการป้องกันและช่วยเหลือ รวมไปถึงได้รับโอกาสอย่างเสรีที่จะพัฒนาตนเอง
โรมาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกรควรจะได้รับการฟื้นฟูจากความเสียหายของสงคราม เซอร์เบียมีอาณาเขตทางออกสู่ทะเล และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบอลข่านต่อกันนั้นตั้งอยู่บนคำแนะนำของชาติพันธมิตรตามประวัติศาสตร์บนเส้นของความจงรักภักดีและความรักชาติ และนานาชาติสมควรที่จะรับรองความเป็นอิสระทางการเมืองและทางเศรษฐกิจรวมไปถึงความมั่นคงในดินแดนของตน
ส่วนแบ่งของตุรกีจากจักรวรรดิ

สร้างโดย: 
sila15369สาวิกา สุภามาลา4/3no.3นัฐวุฒิ โยธิโนม.4/3no.2
รูปภาพของ silavacharee

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 531 คน กำลังออนไลน์