• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:5cf661c1ae188da59dd8d4ffb870595e' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<strong><u>การเผชิญหน้ามรสุมแห่งความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศ</u></strong>\n</p>\n<p>\nสภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ยุติลง ส่งผลให้เกิดวิกฤตที่ลึกซึ้งหลายประการ ที่สำคัญคือ ตลาดโลกได้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ตลาดทุนนิยมกับตลาดสังคมนิยม โดยมีสหรัฐอเมริกาโดดเด่นเป็นผู้นำโลกทุนนิยม นอกจากนี้ระบอบอาณานิคม-กึ่งอาณานิคม ซึ่งเคยเป็นรากฐานหล่อเลี้ยงระบบทุนนิยมโลก โดยการครอบงำสังคมโลกนอกตะวันตกมาเนิ่นนานนับศตวรรษก็กำลังเสื่อมสลายลง อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวตื่นตัวของขบวนการกู้ชาติ-ปลดแอกอาณานิคมได้แผ่ขยายไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันพลังประชาธิปไตยและสังคมนิยมซึ่งบั่นทอนการครอบงำของระบบทุนนิยมก็เติบโตแข็งกล้าขึ้นอย่างรวดเร็ว\n</p>\n<p>\nสำหรับโลกคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงนั้น เกียรติภูมิทางการเมืองระหว่างประเทศของสหภาพโซเวียตยิ่งใหญ่ขึ้นจากการร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยเหนือฝ่ายอักษะ เมื่อประกอบกับการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศภายหลังสงครามโลก ทำให้พลังสังคมนิยมได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก พลังเหล่านี้มุ่งปลดแอกมนุษยชาติจากการครอบงำของชนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะจากชาติจักรวรรดินิยมหรือจากเผด็จการฟาสซิสต์ พลังเหล่านี้ได้ประกอบรวมกันเป็นขบวนการปฏิวัติที่แผ่ขยายกว้างขวางทั่วโลก ในยุโรปตะวันออกได้มีการสถาปนาระบอบ “ประชาธิปไตยของประชาชน” ขึ้นที่ประเทศโปแลนด์ โรมาเนีย เยอรมันตะวันออก ยูโกสลาเวีย เชคโกสโลวาเกีย อัลบาเนีย บัลกาเรีย และฮังการี ส่วนในภูมิภาคนอกตะวันตก ขบวนการกู้ชาติได้ตื่นตัวเคลื่อนไหวในอินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า เกาหลี มลายู ฟิลิปปินส์ ตลอดจนแทบทุกส่วนของอาฟริกา ขบวนการมวลชนเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความคิดแนวลัทธิมาร์กซิสม์-เลนินนิสม์ที่ได้แผ่กระจายลึกซึ้งเปรียบเสมือนพลังทางสังคมที่สนับสนุนอยู่อีกชั้นหนึ่ง\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong><u>บทที่ ๑ สงครามเย็น</u></strong>\n</p>\n<p>\nแม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองจะยุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แต่ความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ ก็ยังดำเนินต่อไป โดยมีคู่ขัดแย้งใหม่คือ สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ความขัดแย้งของมหาอำนาจสองประเทศที่เรียกว่า “สงครามเย็น” เริ่มจากอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน สหรัฐฯถืออุดมการณ์การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สหภาพโซเวียต ถืออุดมการณ์การเมืองแบบคอมมูนนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ผู้นำสองประเทศนี้เริ่มแสดงทัศนะขัดแย้งกันโดยแบ่งโลกเป็นสองฝ่ายในต้นทศวรรษ ๒๔๙๐ ความขัดแย้งได้แสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ มีการตอบโต้กันด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งทางการทูต การทหาร และเศรษฐกิจ มีการแสวงหามิตรประเทศและพันธมิตรทางทหาร เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของฝ่ายตรงข้าม\n</p>\n<p>\nสภาพความขัดแย้งในสงครามเย็น ได้เริ่มตึงเครียดสูงขึ้นในทวีปยุโรป เมื่อสหภาพโซเวียตได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย และได้สถาปนาระบบสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกมากขึ้น ทางสหรัฐฯได้ตอบโต้โดยการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารแก่พันธมิตรของตนในยุโรปตะวันตก\n</p>\n<p>\nในทางด้านเศรษฐกิจ,สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือแก่ยุโรปตะวันตกตามหลักการของของประธานาธิบดี (Turman Doctrine) เพื่อมิให้ประเทศเหล่านี้ดำเนินเศรษฐกิจและการเมืองตามอย่างสหภาพโซเวียต หลักการทรูแมน ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นการให้เงินกู้ทางการทหารแก่รัฐบาลกรีซและตุรกีซึ่งเป็นรัฐบาลเผด็จการทั้งคู่ เพื่อช่วยสร้างกองทัพให้เข้มแข็งโดยเฉพาะในตุรกี เพื่อเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียตและเพื่อตอบโต้ ต่อต้านสงครามปฏิวัติซ้อนของประชาชนชาวกรีซที่จะกระทำต่อผู้นำเผด็จการของตน (จากวัตถุประสงค์ของหลักการทูรแมนตรงนี้จะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาที่ประกาศตนว่ายึดถืออุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย แต่กลับสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในประเทศอื่นให้ดำรงอยู่ต่อไป ไม่ว่าผู้นำเผด็จการนั้นจะกดขี่เบียดเบียนประชาชนของตนเพียงไร และนี่เองเป็นคำตอบแก่ประชาชนชาวไทยให้ได้เข้าใจถึงการดำรงอยู่ของรัฐบาลเผด็จการทหารตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ จนมาถึงปัจจุบัน เพราะแม้ว่านโยบายทางการเมืองของสหัฐอเมริกาจะเปลี่ยนไปอย่างมากภายหลังการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์แล้วก็ตาม แต่ซากความคิดล้าหลังแบบเผด็จการก็ยังคงตกทอดสืบต่อมาในกลุ่มนายทหารชั้นสูงของไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย!!!)\n</p>\n<p>\nโดยนัยเช่นนี้ หลักการทรูแมนจึงสะท้อนถึงจุดยืนทางการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่ว่าพร้อมจะช่วยเหลือรัฐบาลใด ๆ หากสามารถสนองตอบผลประโยชน์ของตน-ร่วมต่อต้านค่ายคอมมิวนิสต์ นอกจากหลักการทรูแมนแล้ว สหรัฐอเมริกายังใช้แผนการมาร์แชลล์ (Marshall Plan) และ แผนการชูมานน์ (Schumann Plan)ในการช่วยเหลือ ฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก\n</p>\n<p>\nแผนการมาร์แชลล์เป็นแผนการที่ริเริ่มโดยนายจอร์จ ซี.มาร์แชลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ โครงการฟื้นฟูยุโรป (The European Recovery Program (E.R.P.) เป็นโครงการช่วยเหลือระยะเวลา ๕ ปี ตามโครงการซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๙๔ สหรัฐฯได้ใช้เงินจำนวนถึง ๑๒,๐๐๐ ล้านเหรียญเพื่อการ “ฟื้นฟู” ยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์อีกแง่มุมหนึ่ง การทุ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล กลับเป็นการกดดันให้ประเทศเหล่านั้นต้องใช้จ่ายงบประมาณทางการทหารเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทวีคูณ\n</p>\n<p>\nแผนการชูมานน์ เป็นแผนการริเริ่มโดยนายชูมานน์ เพื่อรวบรวมอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหินของเยอรมันตะวันตก ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ และลักเซมเบอร์ก แต่ในที่สุดอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหินของเยอรมันตะวันตกก็คงโดดเด่นและมีพลังการผลิตที่สูงสุด\n</p>\n<p>\nการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แก่ยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกามีทัศนะว่าเป็นปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ส่วนทางด้านการเมืองนั้น ก็โดยการผลักดันให้ประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อังกฤษ ลักเซมเบอร์ก และเนเธอแลนด์ ลงนามในสนธิสัญญาบรัสเซลส์ (Brussels Treaty) เพื่อจัดตั้งระบบความมั่นคงร่วมกันในยุโรปตะวันตก ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เจรจากับประเทศกลุ่มยุโรปตะวันตก ๑๑ ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม นอร์เวย์ เดนมาร์ก ลักเซมเบอร์ก โปรตุเกส เนเธอแลนด์ และแคนาดา จนสามารถลงร่วมกันในสนธิสัญญาเพื่อสถาปนาองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ (North Atlantic Treaty Organization-NATO) ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำสำคัญ เพื่อต่อต้านการขยายตัวทางการเมือง-การทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เมื่อล่วงเข้าปี ๒๔๙๕ ประเทศกรีซและตุรกีก็ได้เข้าร่วมด้วย\n</p>\n<p>\nอย่างไรก็ตาม สหรัฐฯเห็นว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแผนโครงการต่าง ๆ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการต่อต้านสหภาพโซเวียตเท่านั้น หากจะยับยั้งการขยายตัวของค่ายคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง ต้องเคลื่อนไหวทางการทหาร ประสานกับปฏิบัติการทางการเมืองซึ่งจัดตั้งเป็นองค์การนาโต้ไว้แล้ว จึงได้เรียกร้องให้มีการสถาปนาความร่วมมือทางการทหารในกลุ่มประเทศโลกเสรี แผนการนี้นำมาซึ่งการจัดตั้งกองทัพผสมของยุโรปตะวันตกจากหกประเทศสำคัญ ๆ พร้อมทั้งได้ฟื้นฟูกองทัพเยอรมันตะวันตกซึ่งส่วนใหญ่คือนาซีเยอรมัน เพื่อเป็นแกนนำสำคัญ องค์กรนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ “European Defense Community” (E.D.C) คณะกรรมาธิการฝ่ายทหารนี้ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศภาคีสมาชิก ส่วนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการนั้นกว่าร้อยละ ๗๐ เป็นทหารจากสหรัฐอเมริกา โดยมีนายพลไอเซนฮาวเออร์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรกขององค์การนาโต้\n</p>\n<p>\nทางสหภาพโซเวียตได้ดำเนินการตอบโต้และป้องกันตนเองในทางเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งสภาความร่วมมือและช่วยเหลือทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน (Council for Mutual Economic Assistance-COMECON) ซึ่งมีลักษณะเดียวกับแผนการมาร์แชลล์ของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยมีสมาชิกประกอบด้วย สหภาพโซเวียต โปแลนด์ บัลกาเรีย โรมาเนีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี อัลเบเนีย (ต่อมาลาออกในปี พ.ศ. ๒๕๐๓) เยอรมันตะวันออก และมองโกเลีย แต่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากสหภาพโซเวียตมีทุนและทรัพยากรจำกัด และสนใจผลประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเองมากกว่าประเทศภาคีสมาชิก นอก จากนี้ประเทศภาคีสมาชิกยังถูกจำกัดตลาดให้ค้าขายเฉพาะกับสหภาพโซเวียตเท่านั้น จึงเป็นการจำกัดให้ประเทศภาคีฯต้องพึ่งพิงสหภาพโซเวียตมากขึ้น\n</p>\n<p>\nในทางการเมือง สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งองค์การข่าวสารคอมมิวนิสต์ขึ้นมา (Communist Information Bureau-COMINFORM) เพื่อการประสานข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ ในบรรดากลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปตะวันออก นอกจากนั้นได้จัดตั้งองค์การทางการเมืองระหว่างประเทศ (International Communist Front Organization) ซึ่งดำเนินงานกว้างขวางทั่วโลกเป็นจำนวนมาก องค์กรบังหน้าเหล่านี้เคลื่อนไหวต่อต้านสหรัฐฯและองค์การนาโต้ กิจกรรมสำคัญในช่วงต้นทศวรรษ ๒๔๙๐ ก็คือ สนับสนุนการรณรงค์เรียกร้องสันติภาพ-ต่อต้านสงครามขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อโจมตีสหรัฐเพื่อและพันธมิตรเป็นต้น\n</p>\n<p>\nเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๙๘ สหภาพโซเวียตได้สถาปนาองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Treaty Organization- Warsaw Pact) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรทางการทหารขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก ๗ ประเทศ ได้แก่ โปแลนด์ เยอรมันตะวันออก โรมาเนีย เชคโกสโลวาเกีย บัลกาเรีย ฮังการี และอัลบาเนีย\n</p>\n<p>\nสภาพความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในลักษณะ “สงครามเย็น” ได้ทวีความตึงเครียดมากขึ้นในช่วงนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นต้นไป และได้ขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเซีย ดังนั้นเมื่อประกอบกับสภาพความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในภูมิภาคนั้นแล้ว จึงยังผลให้เกิดวิกฤตการณ์ขัดแย้ง-เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทวีปเอเซีย คือ สงครามกลางเมืองและการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ.๒๔๙๒ วิกฤตการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๗ และการปิดล้อมฝ่ายคอมมิวนิสต์ในทวีปเอเซีย\n</p>\n', created = 1719973279, expire = 1720059679, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:5cf661c1ae188da59dd8d4ffb870595e' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

สนธิสัญญา บรัสเซลส์

รูปภาพของ chompoonuch

การเผชิญหน้ามรสุมแห่งความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศ

สภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ยุติลง ส่งผลให้เกิดวิกฤตที่ลึกซึ้งหลายประการ ที่สำคัญคือ ตลาดโลกได้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ตลาดทุนนิยมกับตลาดสังคมนิยม โดยมีสหรัฐอเมริกาโดดเด่นเป็นผู้นำโลกทุนนิยม นอกจากนี้ระบอบอาณานิคม-กึ่งอาณานิคม ซึ่งเคยเป็นรากฐานหล่อเลี้ยงระบบทุนนิยมโลก โดยการครอบงำสังคมโลกนอกตะวันตกมาเนิ่นนานนับศตวรรษก็กำลังเสื่อมสลายลง อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวตื่นตัวของขบวนการกู้ชาติ-ปลดแอกอาณานิคมได้แผ่ขยายไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันพลังประชาธิปไตยและสังคมนิยมซึ่งบั่นทอนการครอบงำของระบบทุนนิยมก็เติบโตแข็งกล้าขึ้นอย่างรวดเร็ว

สำหรับโลกคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงนั้น เกียรติภูมิทางการเมืองระหว่างประเทศของสหภาพโซเวียตยิ่งใหญ่ขึ้นจากการร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยเหนือฝ่ายอักษะ เมื่อประกอบกับการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศภายหลังสงครามโลก ทำให้พลังสังคมนิยมได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก พลังเหล่านี้มุ่งปลดแอกมนุษยชาติจากการครอบงำของชนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะจากชาติจักรวรรดินิยมหรือจากเผด็จการฟาสซิสต์ พลังเหล่านี้ได้ประกอบรวมกันเป็นขบวนการปฏิวัติที่แผ่ขยายกว้างขวางทั่วโลก ในยุโรปตะวันออกได้มีการสถาปนาระบอบ “ประชาธิปไตยของประชาชน” ขึ้นที่ประเทศโปแลนด์ โรมาเนีย เยอรมันตะวันออก ยูโกสลาเวีย เชคโกสโลวาเกีย อัลบาเนีย บัลกาเรีย และฮังการี ส่วนในภูมิภาคนอกตะวันตก ขบวนการกู้ชาติได้ตื่นตัวเคลื่อนไหวในอินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า เกาหลี มลายู ฟิลิปปินส์ ตลอดจนแทบทุกส่วนของอาฟริกา ขบวนการมวลชนเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความคิดแนวลัทธิมาร์กซิสม์-เลนินนิสม์ที่ได้แผ่กระจายลึกซึ้งเปรียบเสมือนพลังทางสังคมที่สนับสนุนอยู่อีกชั้นหนึ่ง

บทที่ ๑ สงครามเย็น

แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองจะยุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แต่ความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ ก็ยังดำเนินต่อไป โดยมีคู่ขัดแย้งใหม่คือ สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ความขัดแย้งของมหาอำนาจสองประเทศที่เรียกว่า “สงครามเย็น” เริ่มจากอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน สหรัฐฯถืออุดมการณ์การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สหภาพโซเวียต ถืออุดมการณ์การเมืองแบบคอมมูนนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ผู้นำสองประเทศนี้เริ่มแสดงทัศนะขัดแย้งกันโดยแบ่งโลกเป็นสองฝ่ายในต้นทศวรรษ ๒๔๙๐ ความขัดแย้งได้แสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ มีการตอบโต้กันด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งทางการทูต การทหาร และเศรษฐกิจ มีการแสวงหามิตรประเทศและพันธมิตรทางทหาร เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของฝ่ายตรงข้าม

สภาพความขัดแย้งในสงครามเย็น ได้เริ่มตึงเครียดสูงขึ้นในทวีปยุโรป เมื่อสหภาพโซเวียตได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย และได้สถาปนาระบบสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกมากขึ้น ทางสหรัฐฯได้ตอบโต้โดยการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารแก่พันธมิตรของตนในยุโรปตะวันตก

ในทางด้านเศรษฐกิจ,สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือแก่ยุโรปตะวันตกตามหลักการของของประธานาธิบดี (Turman Doctrine) เพื่อมิให้ประเทศเหล่านี้ดำเนินเศรษฐกิจและการเมืองตามอย่างสหภาพโซเวียต หลักการทรูแมน ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นการให้เงินกู้ทางการทหารแก่รัฐบาลกรีซและตุรกีซึ่งเป็นรัฐบาลเผด็จการทั้งคู่ เพื่อช่วยสร้างกองทัพให้เข้มแข็งโดยเฉพาะในตุรกี เพื่อเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียตและเพื่อตอบโต้ ต่อต้านสงครามปฏิวัติซ้อนของประชาชนชาวกรีซที่จะกระทำต่อผู้นำเผด็จการของตน (จากวัตถุประสงค์ของหลักการทูรแมนตรงนี้จะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาที่ประกาศตนว่ายึดถืออุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย แต่กลับสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในประเทศอื่นให้ดำรงอยู่ต่อไป ไม่ว่าผู้นำเผด็จการนั้นจะกดขี่เบียดเบียนประชาชนของตนเพียงไร และนี่เองเป็นคำตอบแก่ประชาชนชาวไทยให้ได้เข้าใจถึงการดำรงอยู่ของรัฐบาลเผด็จการทหารตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ จนมาถึงปัจจุบัน เพราะแม้ว่านโยบายทางการเมืองของสหัฐอเมริกาจะเปลี่ยนไปอย่างมากภายหลังการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์แล้วก็ตาม แต่ซากความคิดล้าหลังแบบเผด็จการก็ยังคงตกทอดสืบต่อมาในกลุ่มนายทหารชั้นสูงของไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย!!!)

โดยนัยเช่นนี้ หลักการทรูแมนจึงสะท้อนถึงจุดยืนทางการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่ว่าพร้อมจะช่วยเหลือรัฐบาลใด ๆ หากสามารถสนองตอบผลประโยชน์ของตน-ร่วมต่อต้านค่ายคอมมิวนิสต์ นอกจากหลักการทรูแมนแล้ว สหรัฐอเมริกายังใช้แผนการมาร์แชลล์ (Marshall Plan) และ แผนการชูมานน์ (Schumann Plan)ในการช่วยเหลือ ฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก

แผนการมาร์แชลล์เป็นแผนการที่ริเริ่มโดยนายจอร์จ ซี.มาร์แชลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ โครงการฟื้นฟูยุโรป (The European Recovery Program (E.R.P.) เป็นโครงการช่วยเหลือระยะเวลา ๕ ปี ตามโครงการซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๙๔ สหรัฐฯได้ใช้เงินจำนวนถึง ๑๒,๐๐๐ ล้านเหรียญเพื่อการ “ฟื้นฟู” ยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์อีกแง่มุมหนึ่ง การทุ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล กลับเป็นการกดดันให้ประเทศเหล่านั้นต้องใช้จ่ายงบประมาณทางการทหารเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทวีคูณ

แผนการชูมานน์ เป็นแผนการริเริ่มโดยนายชูมานน์ เพื่อรวบรวมอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหินของเยอรมันตะวันตก ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ และลักเซมเบอร์ก แต่ในที่สุดอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหินของเยอรมันตะวันตกก็คงโดดเด่นและมีพลังการผลิตที่สูงสุด

การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แก่ยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกามีทัศนะว่าเป็นปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ส่วนทางด้านการเมืองนั้น ก็โดยการผลักดันให้ประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อังกฤษ ลักเซมเบอร์ก และเนเธอแลนด์ ลงนามในสนธิสัญญาบรัสเซลส์ (Brussels Treaty) เพื่อจัดตั้งระบบความมั่นคงร่วมกันในยุโรปตะวันตก ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เจรจากับประเทศกลุ่มยุโรปตะวันตก ๑๑ ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม นอร์เวย์ เดนมาร์ก ลักเซมเบอร์ก โปรตุเกส เนเธอแลนด์ และแคนาดา จนสามารถลงร่วมกันในสนธิสัญญาเพื่อสถาปนาองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ (North Atlantic Treaty Organization-NATO) ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำสำคัญ เพื่อต่อต้านการขยายตัวทางการเมือง-การทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เมื่อล่วงเข้าปี ๒๔๙๕ ประเทศกรีซและตุรกีก็ได้เข้าร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯเห็นว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแผนโครงการต่าง ๆ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการต่อต้านสหภาพโซเวียตเท่านั้น หากจะยับยั้งการขยายตัวของค่ายคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง ต้องเคลื่อนไหวทางการทหาร ประสานกับปฏิบัติการทางการเมืองซึ่งจัดตั้งเป็นองค์การนาโต้ไว้แล้ว จึงได้เรียกร้องให้มีการสถาปนาความร่วมมือทางการทหารในกลุ่มประเทศโลกเสรี แผนการนี้นำมาซึ่งการจัดตั้งกองทัพผสมของยุโรปตะวันตกจากหกประเทศสำคัญ ๆ พร้อมทั้งได้ฟื้นฟูกองทัพเยอรมันตะวันตกซึ่งส่วนใหญ่คือนาซีเยอรมัน เพื่อเป็นแกนนำสำคัญ องค์กรนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ “European Defense Community” (E.D.C) คณะกรรมาธิการฝ่ายทหารนี้ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศภาคีสมาชิก ส่วนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการนั้นกว่าร้อยละ ๗๐ เป็นทหารจากสหรัฐอเมริกา โดยมีนายพลไอเซนฮาวเออร์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรกขององค์การนาโต้

ทางสหภาพโซเวียตได้ดำเนินการตอบโต้และป้องกันตนเองในทางเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งสภาความร่วมมือและช่วยเหลือทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน (Council for Mutual Economic Assistance-COMECON) ซึ่งมีลักษณะเดียวกับแผนการมาร์แชลล์ของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยมีสมาชิกประกอบด้วย สหภาพโซเวียต โปแลนด์ บัลกาเรีย โรมาเนีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี อัลเบเนีย (ต่อมาลาออกในปี พ.ศ. ๒๕๐๓) เยอรมันตะวันออก และมองโกเลีย แต่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากสหภาพโซเวียตมีทุนและทรัพยากรจำกัด และสนใจผลประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเองมากกว่าประเทศภาคีสมาชิก นอก จากนี้ประเทศภาคีสมาชิกยังถูกจำกัดตลาดให้ค้าขายเฉพาะกับสหภาพโซเวียตเท่านั้น จึงเป็นการจำกัดให้ประเทศภาคีฯต้องพึ่งพิงสหภาพโซเวียตมากขึ้น

ในทางการเมือง สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งองค์การข่าวสารคอมมิวนิสต์ขึ้นมา (Communist Information Bureau-COMINFORM) เพื่อการประสานข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ ในบรรดากลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปตะวันออก นอกจากนั้นได้จัดตั้งองค์การทางการเมืองระหว่างประเทศ (International Communist Front Organization) ซึ่งดำเนินงานกว้างขวางทั่วโลกเป็นจำนวนมาก องค์กรบังหน้าเหล่านี้เคลื่อนไหวต่อต้านสหรัฐฯและองค์การนาโต้ กิจกรรมสำคัญในช่วงต้นทศวรรษ ๒๔๙๐ ก็คือ สนับสนุนการรณรงค์เรียกร้องสันติภาพ-ต่อต้านสงครามขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อโจมตีสหรัฐเพื่อและพันธมิตรเป็นต้น

เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๙๘ สหภาพโซเวียตได้สถาปนาองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Treaty Organization- Warsaw Pact) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรทางการทหารขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก ๗ ประเทศ ได้แก่ โปแลนด์ เยอรมันตะวันออก โรมาเนีย เชคโกสโลวาเกีย บัลกาเรีย ฮังการี และอัลบาเนีย

สภาพความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในลักษณะ “สงครามเย็น” ได้ทวีความตึงเครียดมากขึ้นในช่วงนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นต้นไป และได้ขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเซีย ดังนั้นเมื่อประกอบกับสภาพความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในภูมิภาคนั้นแล้ว จึงยังผลให้เกิดวิกฤตการณ์ขัดแย้ง-เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทวีปเอเซีย คือ สงครามกลางเมืองและการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ.๒๔๙๒ วิกฤตการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๗ และการปิดล้อมฝ่ายคอมมิวนิสต์ในทวีปเอเซีย

สร้างโดย: 
นางสาว ชมภูนุช เหมทานนท์ ชั้น ม4/2 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์
รูปภาพของ silavacharee

 

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 457 คน กำลังออนไลน์