• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:7dd264f0e393960c45ceb8119215b074' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><img src=\"http://www.thaigoodview.com/files/u9/1-2558.jpg\" alt=\"\" /></p>\n', created = 1726721752, expire = 1726808152, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:7dd264f0e393960c45ceb8119215b074' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

โลกคู่ขนาน : Parallel World

รูปภาพของ sss29712

 

 

 

 

ที่มาของรูป http://cdn.jewsnews.co.il/wp-content/uploads/2015/03/paralleee.jpg

                 เราทราบได้อย่างไรว่าเอกภพที่เราอยู่นี้เป็นเพียงเอกภพเดียว บางทีอาจจะมีเอกภพหนึ่งหรืออีกหลายๆเอกภพที่มีอยู่และเป็นไปคู่ขนานกับเราก็เป็นได้ เรื่องที่ดูเป็นนิยายวิทยาศาสตร์นี้ นักวิจัยเริ่มหันมาให้ความสนใจและวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์กันแล้ว

                 นักวิชาการมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ออสเตรเลีย เริ่มท้าทายหลักการของควอนตัมฟิสิกส์ด้วยทฤษฎีแบบใหม่ที่เชื่อว่า "เอกภพคู่ขนาน" มีอยู่จริงและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Physical Review X โดยศาสตราจารย์โฮเวิร์ด ไวส์แมน และ ดร.ไมเคิล ฮอลล์ จากศูนย์วิจัยกลศาสตร์คอนตัม มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ และ ดร.เดิร์ค-อังเดร เด็คเคิร์ท แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เริ่มนำเรื่องของโลกคู่ขนานออกจากโลกของนิยายวิทยาศาสตร์เข้าสู่โลกจริง

                 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เสนอว่า เอกภพคู่ขนานนั้นมีอยู่จริงและมีอันตรกิริยาต่อกันได้ กล่าวคือ ไม่ได้เป็นอิสระต่อกัน แต่จะมีแรงผลักต่อกันบางๆอยู่ และนักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า อันตรกิริยาเหล่านี้อาจจะนำไปใช้เพื่ออธิบายเรื่องแปลกประหลาดในกลศาสตร์ควอนตัมได้ทั้งหมดเราจำเป็นต้องใช้ทฤษฎีควอนตัมในการอธิบายการทำงานของเอกภพที่ระดับเล็กมาก และเชื่อกันว่า หลักการนี้น่าจะนำไปใช้เพื่ออธิบายได้ทุกอย่าง แต่เราก็ทราบกันดีว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะการอธิบายปรากฏการณ์ที่แปลกๆบางทีก็ดูจะขัดกับหลักการของเหตุและผลเสียด้วยซ้ำ

                 ดังที่ริชาร์ด ไฟย์แมน นักฟิสิกส์ชื่อดังชาวอเมริกันเคยกล่าวเอาไว้ว่า "ผมว่า ผมบอกได้เลยว่า ไม่มีใครเข้าใจกลศาสตร์ควอนตัมหรอก" แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ได้สร้างหลักการ "โลกที่มีอันตรกิริยามากมาย" ที่จะทำให้เรามองโลกที่ซับซ้อนนี้ในมุมมองใหม่"แนวคิดเรื่องเอกภพคู่ขนานในทางกลศาสตร์ควอนตัมเริ่มมาตั้งแต่ปี 1957" ศาสตราจารย์ไวส์แมน อธิบาย"เรารู้จักกันดีในชื่อ "การตีความหมายของหลายโลก" กล่าวคือ เอกภพแต่ละเอกภพจะแตกกิ่งก้านสาขาไปเป็นเอกภพใหม่ๆทุกครั้งที่มีการวัดทางควอนตัม จึงเป็นไปได้ที่ว่า ในบางเอกภพ ไดโนเสาร์อาจจะไม่ได้สูญพันธุ์เพราะอุกกาบาตชนโลก ในบางเอกภพ ออสเตรเลียอาจจะถูกชาวโปรตุเกสเข้ายึดครอง ทุกอย่างมันดูเป็นไปได้หมด"

                "แต่คนที่ไม่เชื่อ ก็จะตั้งคำถามว่าเอกภพอื่นๆที่ว่านี้มีอยู่จริงหรือไม่ เพราะเอกภพหนึ่งๆไม่ได้มีอิทธิพลใดๆกับเอกภพอื่นๆเลย แต่ตามทฤษฎีของเรา หลักการ"โลกที่มีอันตรกิริยามากมาย" นี้้แตกต่างออกไป และชื่อมันก็บอกอยู่ในตัวอยู่แล้ว"

                 ศาสตราจารย์ไวส์แมนและทีมงานได้เสนอหลักการสามข้อคือ
                 - เอกภพที่เราอยู่นี้ถือว่าเป็นเพียงหนึ่งในหลายโลก และบางโลกก็เกือบจะเหมือนกับที่เราเจออยู่ในตอนนี้ ขณะที่บางโลกก็ต่างออกไปเลย
                 - โลกเหล่านี้ทั้งหมดถือว่าเป็นจริงเท่าๆกัน และมีอยู่ต่อเนื่องมาตลอดผ่านกาลเวลา และมีคุณสมบัติที่นิยามได้อย่างแม่นยำ
                 - ปรากฏการณ์ควอนตัมที่เกิดขึ้นจากเอกภพหนึ่งจะทำให้เกิดแรงผลักกับโลกที่อยู่ใกล้ (เช่น โลกที่คล้ายกัน) ซึ่งก็จะทำให้โลกทั้งสองดูแตกต่างกันมากขึ้น

                 ดร.ฮอลล์ เผยว่าทฤษฎี "โลกที่มีอันตรกิริยามากมาย" นี้อาจทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่เราจะทดสอบความมีอยู่ของโลกอื่นๆ"ความสวยงามของหลักการของเรานี้คือว่า ถ้าเกิดมีแค่เพียงโลกเดียว ทฤษฎีของเราก็จะยุบกลายเป็นกลศาสตร์นิวตัน แต่ถ้าโลกมีอยู่หลายล้านโลกมากมาย ทฤษฎีนี้ก็จะเป็นเหมือนกลศาสตร์ควอนตัม"

                 "แต่ถ้าอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วนั้น ทฤษฎีของเราก็จะทำนายอะไรใหม่ๆโดยที่ไม่ใช่ทั้งกลศาสตร์นิวตันและกลศาสตร์ควอนตัม"

                 "เรายังเชื่อด้วยว่า หากเรามีภาพของกลศาสตร์ควอนตัมแบบใหม่นี้แล้ว เราจะสามารถใช้เพื่อการวางแผนการทดลองเพื่อทดสอบปรากฏการณ์ทางควอนตัมและใช้งานให้เป็นประโยชน์ได้"

                 ความสามารถในการประมาณค่าการเปลี่ยนแปลงทางควอนตัมโดยใช้จำนวนโลกที่จำกัดนี้ อาจจะแตกแขนงไปมีความสำคัญในด้านพลวัฒน์ของโมเลกุลได้ ซึ่งถือว่าจำเป็นต่อความเข้าใจปฏิกิริยาของตัวยาที่เรากำลังทำวิจัยอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

                 ทางด้านศาสตราจารย์บิลล์ พอร์เรียร์ นักเคมีชื่อดังที่มหาวิทยาลัยเทคซัสเท็คเชื่อว่า "นี่เป็นแนวความคิดที่ยอดเยี่ยมเลย ไม่เพียงแต่หลักการเท่านั้นที่ยอดเยี่ยม แต่ในด้านการดำเนินการเชิงตัวเลข วิธีแบบใหม่นี้เกือบจะถือได้ว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่เลยทีเดียว"

รับชอมวีดีโอได้ทที่ : https://www.youtube.com/watch?v=Ywn2Lz5zmYg

ที่มาของข้อมูล 

1. http://www.vcharkarn.com/vnews/501094

2. http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9480000126144

3. http://f.ptcdn.info/623/019/000/1401629762-RhTeaHeart-o.jpg

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จัดทำโดย

นางสาว พัสวี เกษมวัฒนชัย

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

email : ipassawee@gmail.com

รูปภาพของ ssspoonsak

รูปภาพของ ssspoonsak

รูปภาพของ ssspoonsak

รูปภาพของ ssspoonsak

รูปภาพของ ssspoonsak

รูปภาพของ ssspoonsak

รูปภาพของ ssspoonsak

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 580 คน กำลังออนไลน์