user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('การใช้งานโปรแกรม Ulead Video Studio ', 'node/24604', '', '3.139.85.192', 0, 'f2d1d0ab0312ee9070c4a5d0032f40bf', 152, 1716857698) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของวัยรุ่น

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของวัยรุ่น
ฮอร์โมน (อังกฤษ: hormone มาจากภาษากรีกที่ว่าhormanแปลว่าเคลื่อนไหว ) คือผู้นำส่งสารเคมีจากเซลล์ หนึ่งหรือกลุ่มของเซลล์ไปยังเซลล์อื่นๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งมนุษย์สัตว์และพืชสามารถผลิต ฮอร์โมน ได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื้อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น
1. กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโต
2. กระตุ้นหรือยับยั้งโปรแกรมการสลายตัวของเซลล์
3. กระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
4. ควบคุม กระบวนการสร้างและสลาย (metabolism) และเตรียมพร้อมสำหรับบทบาทใหม่ๆ เช่น การต่อสู้ หนี หรือ กำหนดช่วงเวลาของชีวิตเช่น วัยรุ่น วัยมีครอบครัวมีลูกหลานไว้สืบสกุล และวัยทอง
ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ( endocrine gland ) หรือเนื้อเยื่อ (endocrine tissue) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ( target organ ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน อามีนและสเตียรอยด์
       ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ต่อมใต้สมอง( pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-      ต่อมใต้สมองส่วนหน้า( anterior lobe of pituitary gland )
-      ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( intermediated lobe of pituitary )
-      ต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง( posterior lobe of pituitary gland )
       ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )
เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่
       1.     Growth hormone(GH) หรือ Somatotrophic hormone(STH) ฮอร์โมนนี้หลั่งตอนหลับมากกกว่าตอนตื่นและตอนหิวมากกว่าช่วงปกติ
เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย polypeptide ที่มีกรดอมิโน 191 ตัว มีธาตุกำมะถันอยู่ในรูป disulphid
กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัย thyroxin และ inrulin เป็นตัวคะตะลิสต์
มีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูกกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ความผิดปกติเมื่อร่างกายขาดหรือมีมากเกินไป
-      ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease
-      ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly
       2.     Gonadotrophin หรือ Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
2.1      Follicle stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นฟอลลิเคิลให้สร้างไข่และไข่สุก มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ออกมา และกระตุ้น seminiferrous tubule ให้สร้างอสุจิ
2.2      Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกจากฟอลลิเคิล สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้ interstitial cells ในอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจเรียกว่า Interstitial Cell Stimulating Hormone (ICSH)
       3.     Prolactin หรือ Lactogenic hormone (LTH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง นอกจากนี้ทำหน้าที่ร่วมกับ androgen ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
       4.     Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH)
มีหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้สร้างฮอร์โมนตามปกติและกระตุ้น การหลั่ง insulin การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH
       5.     Thyroid Stimulation hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone
การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น
-      ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth
-      ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth
-      ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา
-      ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH
-      ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH
ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus
       ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate lobe)
มีขนาดเล็กมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone(MSH) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น(ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ Malatonin จากต่อม pineal ) ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) เป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่
1.      Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอดจะทำให้แท้งลูกได้
2.      Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาดจะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus)
       ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลเกอร์ฮานส์
Paul langerhan(1868) แห่งมหาวิทยาลัยไพรเบิร์กในเยอรมัน ได้ศึกษาตับอ่อนและพบกลุ่มเซลล์ตับอ่อนกระจายอยู่เป็นย่อมๆมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก แ ละเรียกกลุ่มเซลล์เหล่านี้ตามชื่อของผู้คนพบว่า islets of Langerhans ฮอร์โมนที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ
1.      Insulin สร้างมาจากกลุ่ม ? – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก หน้าที่ของ insulin คือรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง insulin จะช่วยเร่งการนำกลูโคสเข้าเซลล์และเร่งการสร้าง glycogen เพื่อเก็บสะสมไว้ที่นับและกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป ทำให้น้ำตาลในเลือดน้อยลง
ในคนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด 100 mg ต่อเลือด 100 Cm3 กรณีคนที่ขาด insulin ทำให้เป็นโรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) คือ มีน้ำตาลในเลือดสูงมากและหลอดไตดูดกลับไม่หมด จึงมีส่วนหนึ่งออกมากับปัสสาวะ เมื่อเป็นมากๆ ร่างกายจะผอม น้ำหนักตัวลดลงมากเนื่องจากมีการสลายไขมันและโปรตีน มาใช้แทนคาร์โบไฮเดรตซึ่งร่างกายใช้ไม่ได้ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง และมีน้ำตาลออกมาด้วย ปัสสาวะมีความเป็นกรดมาก เนื่องจากมีคีโตนบอดี (Ketone Body) ซึ่งเป็นผลจากการสลายไขมัน นอกจากนี้ถ้าหากเป็นแผลจะหายยากมากเพราะในเลือดมีน้ำตาลสูง จุลินทรีย์ต่างๆจึงใช้เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นนานเข้าผู้ป่วยจะตาย เนื่องจากไตหมดประสิทธิภาพในการทำงาน
2.      Glucagon สร้างมาจาก ? – cell เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่และมีน้อยกว่า ? – cell glucagon มีหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดโดยเร่งสลายไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ) และเร่งการสร้างกลูโคสจากโปรตีนด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจะเป็นสัญญาณให้ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ทำงานเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ
       ฮอร์โมนจากต่อหมวกไต
ต่อมหมวกไต(adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.      adrenal cortex หรือต่อมหมวกไตชั้นนอก ผลิตฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด ภายใต้การควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นมีสมบัติเป็นสเตอรอยด์ (steroid) แบ่งฮอร์โมนเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ
1.1      Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่เหมือนกลูคากอนจากตับอ่อน)ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ cortisol และ cortisone ( ในภาวะตึงเครียดถ้ามีการหลั่ง cortisol มากทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้)
ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจำทำให้อ้วน อ่อนแอ ( ไขมัน พอกตามตัว ) หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับคนเป็นโรคเบาหวาน เรียกว่า โรคคูชชิง( Cushing’s syndrome)
1.2      Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อตับ
ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ
1.3      Adrenal sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง (secondeary sexual characteristics) ในเด็กผู้หญิงพบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเพศมากเกินไปจะมี่ขนาด clitoris โต และมีอวัยวะที่ labium คล้ายๆถุงอัณฑะถ้าเป็นผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้วจะมีผลทำให้เสียงต่ำและมีหนวดเกิดขึ้น ประจำเดือนหยุดเรียกลักษณะนี้ว่า Adrenogentital sysdrome
ถ้า adrenal cortex ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็นโรค Addison’s disease ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
2.      Adrenal medulla เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ( ไม่มี parasympathetic ) ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด
2.1      Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone
กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ( ความดันเลือดสูง ) เส้นเลือดขยายตัวเปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมากในขณะหลั่งออกมา (adrenalin ใช้ในการห้ามเลือดได้เพราะทำให้เลือดเป็นลิ่ม ๆ)
2.2      Noradrenalin hormone หรือ Norepinephrine hormone
กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ( ความดันเลือดสูง ) ผลอื่นๆคล้าย adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
       ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ มี 2 lobe อยู่บริเวณลำคอ หน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงเล็กน้อย ต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1.      Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอมิโน ช่วยเร่งอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ช่วยให้เกิด metamorphosis เร็วขึ้น ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการเจริญและการพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง
ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinism
ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema
นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซิน จะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้นจึงมีขนาดขยายโตขึ้น
การสร้างฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดโรค Grave’s disease ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter ) ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง นานไปจะมีการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตาทำให้ตาโปน
2.      Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติ ให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ฮอร์โมนนี้จะทำงานร่วมกับต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน
       ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีอยู่ด้วยกัน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ parathormone
Parathormone เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับวิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitonin
ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่องของหน่วยไตลดน้อยลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งเรียกการเกิด tetany แก้โดยลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน D
แต่ในกรณีที่มีมากเกินไปจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงประสาทตอบสนองได้น้อย กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดกระดูก
       ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์
ต่อมเพศ (gonad gland) หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์คืออัณฑะ หรือ รังไข่
1.      อัณฑะ (testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ interstitial cell เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายฮอร์โมนที่ถูกสร้างเป็นสารสเตียรอยด์ ที่เรียกว่า androgens ประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ testosterone ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณที่ริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง
2.      รังไข่( ovary ) เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ต่อมเพศอยู่ในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง มีแหล่งสร้างฮอร์โมน 2 แหล่ง คือ follicle ในรังไข่ และ corpus luteum ฮอร์โมนที่สร้างได้มี 2 ชนิด คือ
1.1      Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก follicle ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่ โดยห้าม FSH จากต่อมใต้สมองและกระตุ้นให้มีการหลั่ง LH แทน
1.2      Progesterone สร้างจาก corpus luteum มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น ป้องกันการแท้งบุตร อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ระบบฮอร์โมนขณะมีการเปลี่ยนแปลงรอบเดือน ในขณะมีรอบเดือน (memstrucation) Estrogen และ LH ต่ำ progresterone ต่ำมาก ภายหลังการตกไข่ (ovulation ) progesterone จะสูงขึ้นและจะสูงสุดภายหลังตกไข่ผ่านไป 1 สัปดาห์ จากนั้นจะลดลงเรื่อยๆถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิ
       ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล
ต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสมองส่วน cerebrum พูซ้ายและพูขวา ต่อมไพเนียลจะสร้างฮอร์โมน melatonin
Melatonin เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในคนและสัตว์ชั้นสูงในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์
ถ้าต่อมนี้เกิดผิดปกติและผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าลงกว่าปกติ
ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด เช่น ปลาปากกลมต่อมไพเนียลจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง (photoreceptor)
การหลั่งฮอร์โมนของต่อมนี้ จะหลั่งได้ดีในกรณีอยู่ในที่มืดในสัตว์พวกที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากจะหลั่งน้อย พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น ฮอร์โมนนี้จะไปช่วยในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง (ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)
       ฮอร์โมนจากต่อมไทมัสและเนื่อเยื่ออื่นในร่างกาย
ต่อมไทมัส(Thymus glad) มีลักษณะเป็น 2 พู อยู่ตรงทรวงอก รอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจเป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่สร้างลิมโฟไซต์(T-Lymphotyce) หรือ T-Cell
การที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองสร้างเซลล์ได้ต้องมีฮอร์โมนThymosinที่สร้างจากเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อมไทมัส ต่อมนี้เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์แม่ และจะเสื่อมสภาพเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
นอกจากนี้ ฮอร์โมนบางชนิดยังสามารถสร้างจากเนื้อเยื่อในร่างกายได้เนื้อเยื่อสำคัญคือ เนื้อเยื่อชั้นในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อนี้เป็นสารประเภทโปรตีน มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่
1.      Gastrinเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้น ทำหน้าที่กระตุ้นหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
2.      Sacretin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัม ของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก
       การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนนี้
1.      ควบคุมโดยระบบประสาทโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหลัง และอะครีนัลเมดัลลา
2.      ควบคุมระบบประสาทโดยอ้อม เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมอะดรีนัลอร์เทกซ์ รังไข่ อัณฑะ ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ถูกควบคุม โดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า แต่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าถูกควบคุมโดยฮอร์โมนส่วนประสาทจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส
3.      ควบคุมโดยฮอร์โมน โดยต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมนมาควบคุมซึ่งกันและกัน ซึ่งมีทั้งกระตุ้น และยับยั้ง เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้างฮอร์โมนมาควบคุม และกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เมื่อฮอร์โมนนี้มีมากเกินไปก็จะยับยั้งฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าอีกทีหนึ่ง การควบคุมแบบนี้เรียกว่า การควบคุมแบบย้อนกลับ (Negative feed back)
4.      การควบคุมโดยผลของฮอร์โมน เช่น การหลั่ง Paratormone ถูกควบคุมโดยระดับแคลเซียม ในพลาสมา ถ้าระดับแคลเซียมในพลาสมาต่ำจะมีผลไปกระตุ้นต่อต่อมพาราไทรอยด์ ให้หลั่งParatormone ออกมามาก แต่เมื่อระดับแคลเซียมสูง จะเป็นการยับยั้งฮอร์โมนนี้
       ฟีโรโมน (Pheromone)
Pheromone หมายถึง สารเคมีที่สัตว์ขับออกมานอกร่างกาย โดยต่อมมีท่อ (exocrine gland) ซึ่งไม่มีผลต่อตัวเอง แต่จะไปมีผล ต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดหรือสปีชีส์เดียวกัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีรวิทยาเฉพาะอย่างได้ฟีโรโมน จัดเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสารสัญญาณดังนี้
1.      สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex Attractant)
2.      สารเตือนภัย (Alarm Pheromone)
3.      สารส่งเสริมการรวมกลุ่ม (Aggregation – Promoting Subtances)ยกว้นสารสารที่มีกลิ่นเหม็นๆของแมลงที่ผลิตออกมาเพื่อป้องกันศัตรู เรียกว่าAllomones
       ฮอร์โมนจากแมลง
ฮอร์โมนจากแมลงมี 3 กลุ่ม คือ
       1.     ฮอร์โมนจากสมอง (brain hormone หรือ BH) เป็นกลุ่มฮอร์โมนซึ่งสร้างจาก neurosecretory cell ในสมอง กระตุ้นต่อมไร้ท่อบริเวณทรวงอก ทำให้สร้างฮอร์โมน molting hormone (MH) ไปเก็บไว้ใน corpus cardiacum ต่อไป
       2.     ฮอร์โมนเกี่ยวกับการลอกคราบ (molting hormone หรือ MH) สร้างบริเวณทรวงอกมีผลทำให้แมลงลอกคาบ และ metamorphosis เป็นตัวโตเต็มวัย
       3.     ฮอร์โมนยูวีไนล์(Juvenile hormone หรือ JH) สร้าง จากต่อมทางสมองมาทางซ้ายเรียก corpus allatum ทำหน้าที่ห้ามระยะตัวหนอนและดักแด้ไม่ให้ไม่ให้เป็นตัวเต็มวัย แต่ถ้ามี JH ลดลง จะกระตุ้นให้ลอกคราบแล้วกลายเป็นตัวเต็มวัยได้
       ฮอร์โมนพืช (plant hormone)
ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วย
สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ
       1.      ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้
-      แพร่จากยอดลงสู่ต้น
-      หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า
-      ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง
-      กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
-      กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ
-      ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล
-      กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง
       2.     จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้
-      กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง
-      กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก
-      เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง
-      ช่วยยืดช่อของผล
       3.     เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้
-      เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก
-      กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด
-      กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
-      เร่งการงอกของเมล็ด
-      เร่งการไหลของน้ำยางพารา
       4.     กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่
-      กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่
-      ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา
-      กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ
-      ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด
       5.     ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้
-      กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่
-      กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
-      ชะลอการแก่ของผลไม้
วงจรการเจริญเติบโตของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ขึ้นอยู่กับความสมดุลย์อันบอบบางของฮอร์โมนที่สร้างมาจากส่วนที่อยู่ในสมอง 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1. Hypothalamus ซึ่งสร้างฮอร์โมน Gonadotropin-releasing Hormone (GnRH) ซึ่งควบคุมการปล่อยฮอร์โมนอีก 2 ชนิดจาก
2. Pituitary Gland ฮอร์โมนตัวที่ว่า คือ Luteinizing Hormone (LH) และ Follicle-Stimulating Hormone (FSH)
ทั้ง LH และ FSH ควบคุมระบบสืบพันธุ์ในช่วงครึ่งแรกของวงจร โดยมีหน้าที่ดังนี้
• FSH กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน Estrogen จากรังไข่
• LH กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน Progesterone ในช่วงครึ่งหลังของวงจร
Estrogen มีผลต่อการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่รวมทั้งการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrium )
Progesterone มีผลต่อการเจริญเติบโตของเยื่อบุโพรงมดลูก ให้พร้อมต่อการที่รับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว
ฮอร์โมนทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอยู่ในตัวเรานั้นมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของแต่ละคนเป็นอย่างยิ่งหลากหลายกิจกรรมในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลมาจากฮอร์โมนเพศในตัวเรานั่นเองลองมาทำความรู้จักฮอร์โมนเพศในตัวเรากันเถอะ

          หญิงและชายถูกกำหนดให้มีความแตกต่างกันทางสรีระ  ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของต่อมในสมองที่เรียกว่า  พิทูอิทารี  ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนในการกำหนดความแตกต่างของกระบวนการทำงานในร่างกายของทั้งหญิงและชาย  นอกจากนี้ฮอร์โมนเพศยังมีผลต่อการกำหนดภาวะอารมณ์ของผู้หญิงและผู้ชายให้แตกต่างกันอีกด้วย
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ

          โดยธรรมชาติแล้ว  ไม่ว่าหญิงหรือชายต่างก็มีฮอร์โมนของทั้งสองเพศอยู่ในร่างกาย  ซึ่งบทบาทของฮอร์โมนเพศนี่เองที่จะทำหน้าที่ขับเน้นให้เกิดความแตกต่างของแต่ละเพศอย่างเด่นชัด  โดยฮอร์โมนเพศถูกสร้างขึ้นในต่อมไร้ท่อที่เรียกว่า  ต่อมโกแนด ซึ่งฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของเพศหญิงเรียกว่าเอสโตรเจน  และโปรเจสเตอโรน  มีหน้าที่ทำให้ผู้หญิงพัฒนาจากเด็กไปสู่วัยสาว  ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้เต้านมขยาย  สะโพกผายขึ้น  น้ำเสียงเปลี่ยนเป็นนุ่มนวล  มีลีลา  อ่อนไหวมากขึ้น  และที่สำคัญคือการมีประจำเดือน  ส่วนฮอร์โมนที่กำหนดความเป็นชายคือกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน  ซึ่งทำหน้าที่สร้างความเป็นชายนับตั้งแต่ปฏิสนธิ  ส่วนใหญ่ได้แก่ เทสโทสเตอโรน  ทำให้เด็กชายที่กำลังเข้าสู่วัยหนุ่มมีเสียงห้าวขึ้น  เริ่มมีหนวด  บางรายมีลักษณะทางพันธุกรรมเด่นชัด เช่น  ศีรษะล้าน  นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะอารมณ์ของทั้งสองเพศด้วย  ผู้ชายเริ่มมองสาวๆด้วยความรู้สึกแปลกๆ และผู้หญิงก็มองชายหนุ่มด้วยความรู้สึกตื่นเต้น  แปลกใหม่เช่นเดียวกัน

          เรื่องน่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศก็คือ  ในผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าปกติจะส่งผลให้มีนิสัยบางอย่างคล้ายไปทางผู้หญิงได้  เช่น เรียบร้อย  ไม่ชอบความรุนแรง  รวมทั้งมีรสนิยมชื่นชอบเพศเดียวกันบางคนก็เป็นผลมาจากความผิดปกติของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์  จนกระทั่งเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์จึงจะเห็นเด่นชัด  ผู้ชายบางคนจึงมีผิวพรรณผุดผ่อง  นุ่มนวล  แต่ถึงแม้ว่าฮอร์โมนจะมีอิทธิพลต่อสรีระและพฤติกรรมแค่ไหนก็ตาม  สภาพความเป็นอยู่ในครอบครัว  การอบรมเลี้ยงดู  และสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งด้วยเช่นกัน  สำหรับผู้หญิงที่มีปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากว่าปกติมาตั้งแต่เกิดจะส่งผลให้มีลักษณะท่าทางคล้ายผู้ชาย  เช่น  มีขนยาวและดก  เสียงแหบห้าว  และมีเรี่ยวแรงมากกว่าผู้หญิงทั่วไป  เป็นต้น
เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสำคัญอย่างไร
 
          เอสโตรเจนเป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สร้างลักษณะทางเพศของผู้หญิง ช่วยเสริมสร้างเซลล์ให้เจริญเติบโต  ซ่อมแซมระบบสืบพันธุ์  รักษาสภาพผนังช่องคลอด  ควบคุมเมือกในช่องคลอด เพื่อป้องกันการอักเสบ  นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างหน้าอก  ทำให้เต้านมเต่งตึง  สะโพกผาย  ผิวพรรณเปล่งปลั่ง  รวมทั้งป้องกันไม่ให้กระดูกผุ  และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย  ส่วนปริมาณสารหล่อลื่นในผู้หญิงนั้นก็ยังขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตนเจนด้วย  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พบว่าผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีการหล่อลื่นไม่ค่อยดี

          หน้าที่หลักอีกอย่างหนึ่งของฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงคือ ทำให้ไข่ในรังไข่เจริญเติบโต  พร้อมกับเสริมสร้างเยื่อบุมดลูกให้หนาขึ้นด้วย  ระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเดือนจะส่งผลให้อารมณ์ของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  ในช่วงตกไข่จะมีพละกำลังและอารมณ์เซ็กซี่มากขึ้น  เนื่องจากโปรเจสเตอโรนทำหน้าที่เตรียมมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัว  ถ้าไม่มีการตั้งครรภ์โปรเจสเตอโรนก็จะค่อยๆลดปริมาณลง  นอกจากช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมในการตั้งครรภ์แล้ว  ยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว  เพื่อป้องกันการตกไข่  ตลอดจนกระตุ้นการเจริญของเซลล์หลั่งน้ำนมในหน้าอกอีกด้วย

          เมื่อระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเข้าสู่วัยทอง  อาการที่มักเกิดขึ้นคือรู้สึกร้อนวูบวาบ  เหงื่อออกตอนกลางคืน  หรือหนาวสั่น  ตื่นบ่อยๆความชื้นในช่องคลอดลดลงทำให้ติดเชื้อง่าย  หมดความสนใจเรื่องเพศสัมพันธ์  อารมณ์แปรปรวน  ปัสสาวะเล็ด  หน้าอกหย่อนยาน  ผิวหนังแห้ง  ภาวะความผิดปกติเหล่านี้จะเกิดแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน

บทบาทของเทสโทสเตอโรน

          ผู้ชายแต่ละวัยจะมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่แตกต่างกันไป  วัยหนุ่มจะผลิตได้มากกว่า  ฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ผู้ชายมีนิสัยชอบเอาชนะและชอบการแข่งขัน  เว้นแม้แต่เรื่องความรักและความสัมพันธ์  นอกจากนี้ในบางช่วงฮอร์โมนชนิดนี้ยังส่งผลให้ผู้ชายรู้สึกเครียด  วิตกกังวล  จนรู้สึกหดหู่มากกว่าปกติและในชายหนุ่มบางรายที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ไม่เพียงพอ  จะมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังตลอดจนส่งผลถึงความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ลดลงได้

          เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นในตอนกลางคืน  ช่วงที่กำลังนอนหลับสนิท  นอกจากนี้แล้วการกินอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีในปริมาณที่เพียงพอ  คือวันละ 15-25 มิลลิกรัม  จะช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชายได้อย่างดี  เมื่อมีปริมาณฮอร์โมนเพศชายมากพอก็จะช่วยกระตุ้นการสร้างอสุจิได้โดยอัตโนมัติ  โดยธาตุสังกะสีจะพบมากในอาหารทะเล เช่น กุ้ง  ปลา  และหอย  รวมทั้งตับ  เนื้อวัว  ผักสีเขียวเข้ม  และผลไม้  เช่น แตงโม  เมล็ดทานตะวัน  ยิ่งถ้าได้รับวิตามินจำพวกเบต้าแคโรทีน  ซึ่งพบมากในแครอท  แคนตาลูป  ส้ม  มะเขือเทศ  มะละกอสุก  มะม่วงสุก  และฟักทอง  จะช่วยเสริมสร้างกันได้ดียิ่งขึ้น  การออกกำลังกายสม่ำเสมอก็จะช่วยให้มีการผลิตฮอร์โมนในปริมาณที่เพียงพอได้เช่นกัน

การใช้ฮอร์โมนทดแทน

          วัตถุดิบหลักที่ร่างกายนำมาใช้ในการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งฮอร์โมนเพศหญิง  และเพศชายก็คือ คอเลสเตอรอล  ซึ่งเป็นไขมันที่จำเป็นของร่างกาย  ในผู้หญิงที่ผ่าตัดรังไข่  และย่างเข้าสู่วัยทอง  หรือวัยหลังหมดประจำเดือน  คอเลสเตอรอลจะไม่ถูกนำใช้ในการสร้างฮอร์โมรเอสโตรเจน  จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงกลุ่มนี้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น  เฉลี่ยปีละ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนนอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อสรีระทางการสืบพันธุ์ของผู้หญิงหลายอย่างแล้ว  ยังมีผลต่อการสะสมน้ำและเกลือแร่ในร่างกายด้วย  โดยเกลือแร่ที่มีแคลเซี่ยม  และฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและน้ำจะถูกขับออกจากร่างกายได้มากกว่า  ดังนั้นการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงเป็นสาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุน

          ปีค.ศ. 2002  มีการค้นพบฮอร์โมนที่สามารถใช้ทดแทนฮอร์โมนเอสโตนเจนได้อย่างปลอดภัยกว่าซึ่งเรียกกันว่าดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน ( Dehydroepiandrosterone )  หรือ DHEA ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ร่างกายจะผลิตขึ้นได้เองในต่อมหมวกไต

          ฮอร์โมน DHEA  เมื่ออยู่ในร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศชาย  และฮอร์โมนเพศหญิงได้  และจะเป็นฮอร์โมนเพศที่สร้างขึ้นทดแทนฮอร์โมนเพศในระบบหมุนเวียนเลือดที่ขาดหายไปทั้งในผู้หญิงและผู้ชายวัยทอง  หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเสริมฮอร์โมน  ซึ่งจะสามารถช่วยให้ฟื้นคืนความตื่นตัวทางเพศได้อีกด้วย

          ส่วนการกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนชนิดที่แพร่หลายที่สุด  ซึ่งเป็นยาเม็ดรวมที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในรูปสารสังเคราะห์โดยจะมีผลป้องกันการตกไข่  และโปรเจสเตอโรนยังเปลี่ยนเยื่อบุชั้นในของมดลูก  ทำให้มูกที่ปากมดลูกหนืดขึ้น  โอกาสที่อสุจิจะผ่านเข้าไปได้จึงยากขึ้น  ยาเม็ดรวมนี้ประกอบด้วยฮอร์โมนทั้งสองชนิดในระดับต่างๆกัน  ดังนั้นจึงควรกินยาตามลำดับวันที่มีระดับฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป  ซึ่งมีทั้งกินชนิดในรอบ 21 วัน  และ 28 วัน  โดยชนิด 28 วัน จะมียาอยู่ 7 เม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน  แต่ใช้เพื่อให้กินยาทุกวัน  จะได้ไม่ลืมกินยานั่นเอง  ข้อดีของการกินยานี้คือใช้สะดวก  เชื่อถือได้  และให้ผลต่อเนื่อง  อาจทำให้มีรอบเดือนน้อยลงและช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดในช่วงก่อนมีรอบเดือนได้  ส่วนข้อเสียคืออาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้  อารมณ์เปลี่ยนแปลง  และมีอาการปวดหัวข้างเดียวหรือคลื่นไส้อาเจียนได้  สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว  จะช่วยป้องกันการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วที่เยื่อบุมดลูก  แต่ไม่ได้ป้องกันการตกไข่  ข้อดีคือเหมาะกับผู้หญิงที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนรวม  หรืออยู่ระหว่างให้นมลูก  แต่การกินยาชนิดนี้ต้องกินในเวลาเดียวกันและติดต่อกันทุกวันโดยไม่มีช่วงหยุดยา

          การกินฮอร์โมนเพศหญิงชนิดที่เรียกว่าโปรเจสเตอโรน หรือยาเลื่อนประจำเดือน ซึ่งชนิดที่นิยมคือ Primalut-N และ Provera  จะมีผลให้ประจำเดือนที่มาเมื่อถึงกำหนดเลื่อนออกไป  โดยเริ่มกินก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน 3 วัน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง และสามารถกินต่อเนื่องได้นานถึง 10 วัน ระหว่างกินยาอยู่ประจำเดือนจะไม่มา  แต่เมื่อหยุดยาแล้วไม่นานประจำเดือนจะมาเอง  ระหว่างที่กินฮอร์โมนนี้  บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ้าง  แต่ก็ไม่จัดว่าผิดปกติ  ส่วนผู้ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดหรือบำบัดด้วยการเสริมฮอร์โมน  ควรกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินบี 6 บี 12 กรดโฟลิก และสังกะสี  จะช่วยปรับสมดุลในร่างกายได้ดีขึ้น

สร้างโดย: 
สมพร ฉ่ำเอี่ยม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 282 คน กำลังออนไลน์