อารยธรรม (สมัยจักรวรรดิ)

สมัยจักรวรรดิ (ปี1,560-1,087 ก่อนคริสต์ศักราช)      สมัยฟาโรห์อาโมสนับเป็นการเริ่มต้นสมัยจักรวรรดิ สมัยนี้มีราชวงศ์ปกครองอียิปต์ คือราชวงศ์ที่18,19และ20 นับเป็นยุคแห่งลิทธิจักรวรรดินิยม อียิปต์ต้องการขยายอำนาจไปทั่วดินแดนนอกอียิปต์      สาเหตุที่ทำให้อียิปต์เปลี่ยนแปลงนโยบายสันติสุขและโดดเดี่ยวมาเป็นการสร้างลัทธิจักรวรรดินิยม คือ      1.ความฮึกเหิมของกองทัพทหารที่ได้รบชนะขับไล่พวกฮิคโซส ซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น ทำให้ชาวอียิปต์ต้องการจะรบชนะอีกต่อๆไป

      2.กองทหารที่ใหญ่โตที่ขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ ถูกยกเลิกไปทันที

       จึงต้องการให้ฟาโรห์ต่อๆ มา ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขาวง ฟาโรห์องค์ต่อๆมา ได้เริ่มโจมตีอาณาจักรปาเลสไตน์และอ้างสิทธิเหนือซีเรีย และขยายดินแดนไปจนถึงลุ่มแม่น้ำยูแฟรทิสทางตะวันออก และทางใต้ถึงแก่งน้ำตก (cataracts) ในอียิปต์ของแม่น้ำไนล์ แต่จุดอ่อนของการขยายอาณาเขตคือไม่สามารถนำผู้แพ้ให้มาจงรักภักดีได้ จึงทำให้เกิดกบฏทั่วไปในดินแดนต่างๆ เช่น ที่ซีเรีย แม้ว่าฟาโรห์องค์ต่อมาจะสามารถปราบพวกกบฏและรวมอยู่ใต้อาราจักรได้ระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถขจัดอันตรายได้ รวมทั้งทรัพย์สินที่ยึดมาได้จากข้าศึกกลับทำให้ทหารอียิปต์โกงกัน และใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย ประกอบกับการก่อกบฏเสมอๆ ของผู้แพ้สงคราม ยิ่งทำให้อียิปต์ต้องไปปราบและทำให้อ่อนแอไปเรื่อยๆ และฟื้นตัวยาก ในศตวรรษที่12 ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์ได้สูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ที่ตีมาได้ไป

        การปกครองของสมัยอาณาจักรเก่าเน้นความสันติสุขและโดดเดี่ยวไม่รุกรานใคร แต่สมัยจักรวรรดิดิปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กองกำลังของทหารเป็นรากฐานของการปกครองของฟาโรห์ กองทหารอาชีพจะข่มขู่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญาชาเสมอ ขุนนางเก่าจะกลายเป็นมหาดเล็ก หรือข้าราชการภายใต้การปกครองของฟาโรห์         กลางศตวรรษที่ 10 ถึงเกือบปลายศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราชย์ ราชวงศ์ของพวกอนารยชนได้มาดำรงตำแหน่งฟาโรห์ของอียิปต์ จากนั้นก็ตามมาด้วยฟาโรห์เชื้อสายเอธิโอเปียนหรือนูเบียน (Ethiopian หรือ Nubian) ซึ่งมาจากทะเลทรายทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ต่อมาปี 670 ก่อนคริสต์ศักราช พวกแอสสิเรียนได้มาโจมตี รบชนะพวกอียิปต์และปกครองอียิปต์อยู่ได้ 8 ปี คือปี 662 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์ได้รับเอกราชและได้รื้อฟื้นวัฒนธรรมของตนให้เจริญขึ้นใหม่อีก แต่อาณาจักรจักรวรรดิของอียิปต์ก็ได้สิ้นสุดในปี 525 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่ออียิปต์ถูกชาวเปอร์เชียโจมตีและพ่ายแพ้แก่ชาวเปอร์เชียไป จากนั้นอารยธรรมอียิปต์ก็ไม่สามารถฟื้นขึ้นมาอีกเลย         ฟาโรห์ที่สำคัญที่ได้ขยายอาณาเขตกว้างขวางต่อจากฟาโรห์อาโมสที่ 1 ของสมัยจักรวรรดิมีดังนี้       1.ธุทโมสที่ 1 (Thutmose I) ได้ขยายดินแดนไปทางใต้จนถึงแก่งที่ 4 (fourth cataract) และได้รบต่อไปในปาเลสไตน์และซีเรีย

  

 

2.ราชินีแฮทเชฟสุท (Hatshepsut) ในสมัยราชวงศ์ที่ 18 ระยะแรกทรงปกครองในนามธุสโมสที่ 3 พระสวามีซึ่งทรงพระเยาว์ ต่อมาก็ปกครองเองเป็นฟาโรห์ ทรงเป็นราชินีที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีข้าราชการที่สำคัญเป็นผู้ช่วยเหลือและทรงสร้างวิหารที่ยิ่งใหญ่ที่เดร์ เอล-บารี่ (Dier el-Bahri) และทรงค้าขายกับต่างประเทศแถบพุนท์ (Punt) คงเป็นแถบโซมาลีแลนด์ในแอฟริกา

                        

       3.ธุทโมสที่ 3 หรือ “นโปเลียนแห่งอียิปต์” (Thutmuse III, Napoleon of Egypt) ทรงได้ขยายอำนาจเด็ดขาดและปกครองต่อมา ทรงขยายอำนาจไปถึงปาเลสไตน์และซีเรียจนสิ้นพระชนม์

              จักรวรรดิอียิปต์ในสมัยของพระองค์ได้ขยายการปกครองไปครอบคลุมตั้งแต่ซีเรียจนถึงซูดานในปัจจุบัน บางเขตก็ปกครองเด็ดขาด เช่น ลิเบีย บางแห่งก็ปกครองเป็นดินแดนในอาณัติ เช่น ปาเลสไตน์ ซีเรีย คือให้เจ้าของท้องถิ่นปกครองเอง แต่ถ้ามีข้าหลวงชาวอียิปต์ควบคุมอยู่ที่เมืองกาซา (Gaza) ทรงใช้วิธีนำลูกหลานของผู้ใต้อำนาจการปกครองมาเป็นตัวประกันหรือรับการอบรมในอียิปต์ สมัยของพระองค์ อียิปต์ได้ติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น ทรงวางระเบียบให้อาณาจักรอียิปต์มั่นคงต่อมาอีกหลายศตวรรษ

       จักรวรรดิอียิปต์ในสมัยของพระองค์ได้ขยายการปกครองไปครอบคลุมตั้งแต่ซีเรียจนถึงซูดานในปัจจุบัน บางเขตก็ปกครองเด็ดขาด เช่น ลิเบีย บางแห่งก็ปกครองเป็นดินแดนในอาณัติ เช่น ปาเลสไตน์ ซีเรีย คือให้เจ้าของท้องถิ่นปกครองเอง แต่ถ้ามีข้าหลวงชาวอียิปต์ควบคุมอยู่ที่เมืองกาซา (Gaza) ทรงใช้วิธีนำลูกหลานของผู้ใต้อำนาจการปกครองมาเป็นตัวประกันหรือรับการอบรมในอียิปต์ สมัยของพระองค์ อียิปต์ได้ติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น ทรงวางระเบียบให้อาณาจักรอียิปต์มั่นคงต่อมาอีกหลายศตวรรษ

        4.อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) สมัยนี้ราชวงศ์ที่ 18 เจริญสูงสุด อยู่ในสภาวะสงบสุขการค้ารุ่งเรือง มีการก่อสร้างสถานที่และราชสำนัก รูปสลักใหญ่โต วิหารสำหรับทำพิธีพระศพวิหารบูชาเทพเจ้าที่งดงามที่สุด คือที่ลุกซอร์ (Luxor)

        5.อเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) พระองค์ทรงหันมานับถือเทพเจ้าองค์เดียว คือ อตอน แทนเทพเจ้าอมอน เป็นการปฎิรูปศาสนาและได้ทรงเปลี่ยนชื่อของพระองค์มาเป็น อัคนาตันหรืออิคนาตัน (Akhenaton, Ikhanaton ) แปลว่าพระเจ้าอตอนพอใจ (Aton is satisfied ) และทรงย้ายเมืองหลวงจากธีบส์ (Thebes) ไปเมืองวัด (a temple city) ปัจจุบันคือเมืองแทลอัล-อมาร์นา (Tellal-Amarna) แต่หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ฟาโรห์องค์ต่อมา คือ ทุทังคามัน (TutangKhamen) ก็ทรงหันไปนับถือเทพเจ้าอมอนอีกตามเคย

        6.ทุทังคามัน (TutanKhamen หรือ TutanKhamen) ทรงเป็นที่รู้จักกันมากในปัจจุบันเพราะมีการค้นพบสุสานของพระองค์ในสภาพเกือบสมบูรณ์ ที่สุสานกษัตริย์ (Valley of the King) ค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ชื่อ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter ค.ศ.1873-1939) ปีค.ศ. 1922 ทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวของอียิปต์ในยุคนั้นอย่างดียิ่ง รวมทั้งมัมมี่และของมีค่าในสุสาน              

        7.ฟาโรห์แรมเซสที่ 2 (Ramses II) เป็นสมัยที่ยิ่งใหญ่ช่วงสุดท้ายของอียิปต์ ทรงรวมอำนาจภายในและภายนอกอียิปต์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์ได้เสด็จไปทำสงครามแถบซีเรียและปาเลสไตน์ เนื่องจากพวกฮิทไทท์บุกรุก ตอนนั้นฟาโรห์แรมเซสที่ 2 ทรงได้นำชาวยิวมาเป็นเชลยของอียิปต์ และมีเรื่องราวปรากฏในคัมภีร์ของศาสนายิวเกี่ยวกับการหนีของชาวยิวกลับไป ที่เรียกว่าเอคโซดัส (Exodus) ไปยังดินแดนที่พระเจ้าประทาน คือ ปาเลสไตน์

         ต่อมาฟาโรห์แรมเซส ได้ทรงทำสัญญาตกลงกับพวกฮิทไทท์ โดยให้พวกฮิทไทท์ครองแถบซีเรีย ส่วนพระองค์ปกครองแถบปาเลสไตน์ นับเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรทางการทูตครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกมนุษย์        ฟาโรห์แรมเซสทรงยกทัพไปตีดินแดนทางใต้ของอียิปต์แถบนูเบีย การรบของพระองค์ทุกครั้งมีหลักฐานจารึกไว้ตามกำแพงวิหารสำคัญที่สร้างในสมัยของพระองค์        นอกจากนี้ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแรมเซสที่2 เห็นได้จากการสร้างหรือสร้างเสริมต่อเติมโบสถ์วิหาร รูปสลัก ที่เมืองต่างๆ เช่น เมืองคาร์นัค ลุกซอร์ ธีบส์ อไบดอส เมมฟิส อบูซิมเบล อย่างไรก็ดี ล้วนแสดงถึงความเจริญสูงสุดของอียิปต์ในสมัยพระองค์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ ชื่อทานิส (Tanis) ที่ดินดอนสามเหลี่ยม ในสมัยของพระองค์พระตามวิหารต่างๆ เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและร่ำรวยมากจนต่อมาได้คุมอำนาจของฟาโรห์ ทำให้การปกครองของฟาโรห์อ่อนแอและตกใต้การปกครองของชนชาติต่างๆ ในศตวรรษที่ 10 จนสิ้นจักรวรรดิอียิปต์ แรมเซสที่ 2 จึงเป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย และได้รับการยกย่องว่า “เป็นกษัตริย์แห่งบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย

 

สร้างโดย: 
phonchira 6/4

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 424 คน กำลังออนไลน์