• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:9c0fa59df626822939f14d7e1236ad1b' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\"><span style=\"background-color: #ff9900;\"><strong><br /> <span style=\"text-decoration: underline;\">วิศวลาดกระบัง สจล.เปิดหลักสูตรป.ตรี วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์สุดฮอต</span></strong></span></p>\n<p align=\"center\"><span style=\"text-decoration: underline;\"><span style=\"background-color: #ff9900;\"><strong>ทั่วโลกขาดแคลน...รองรับไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมและการบิน</strong></span></span></p>\n<p align=\"center\"><img src=\"/files/u89232/1.jpg\" alt=\"\" width=\"387\" height=\"224\" />&nbsp;</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิชาชีพนักบินพาณิชย์สุดฮอดและเป็นที่ต้องการสูงทั่วโลก ในโอกาสที่<strong>คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.</strong>&nbsp;<strong>เปิดศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์</strong>&nbsp;ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทยและในอาเซียน ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีการฝึกบินด้วย Flight Simulator Redbird SD แห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์การบินแห่งสหรัฐอเมริกา นั้น 4 องค์กรของไทย ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล., สมาคมนักบินไทย ,วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และโรงเรียนการบินเอเชีย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ (AAA) ลงนามความร่วมมือในการเปิดสอน<strong>หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์</strong><strong>&nbsp;</strong>เดือนสิงหาคม 2558 &nbsp;ที่คณะวิศวลาดกระบัง สจล.รองรับประเทศไทยจะก้าวสู่ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและศูนย์กลางธุรกิจการบินอาเซียน คาดตามความต้องการนักบินในอาเซียนอีก 10 ปีข้างหน้า 20,000 คน หากรวมความต้องการนักบินทั่วโลกจากการคาดการณ์ของแอร์บัสและโบอิ้งใน 20 ปีข้างหน้าประมาณ 5 แสนคน โดยเป็นนักบินในเอเซีย 2 แสนคน</p>\n<p align=\"center\">&nbsp;<img src=\"/files/u89232/2.jpg\" alt=\"\" width=\"454\" height=\"256\" /></p>\n<p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รศ.ดร.คมสัน มาลีสี</strong>&nbsp;คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวถึงความต้องการนักบินพาณิชย์และที่มาการเปิดห้องปฎิบัติการและหลักสูตรวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ว่า “ความเติบโตของอุตสาหกรรมการบินและเดินทางท่องเที่ยว และมีอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินเพื่อการส่งออกที่เข้มแข็งอีกด้วย มูลค่าการนำเข้าเครื่องบินและส่งออกชิ้นส่วนของไทยในปี 2556 ประมาณ 142,200 ล้านบาท รวมทั้งการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ปี 2554 ใน 6 ประเทศอาเซียน อย่าง เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย มีสายการบินต้นทุนต่ำเพิ่มขึ้นกว่า 7 สายการบิน คาดการณ์ว่าในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า จะมีความต้องการในการใช้เครื่องบินในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ทำให้มีความต้องการนักบินพาณิชย์สูงมากขึ้น การขาดแคลนนักบินมีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากการเตรียมบุคลากรเป็นนักบิน มีค่าใช้จ่ายที่สูงและใช้เวลานาน หลายสายการบินกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของผู้ที่จะเข้าเป็นนักบินฝึกหัดว่าจะต้องสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี &nbsp;<strong>คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)</strong>&nbsp;จึงได้เตรียมเปิด<strong>หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์(</strong><strong>Aeronautical Engineering and Commercial Pilot)&nbsp;</strong>ในเดือนสิงหาคม 2558 เพื่อผลิตวิศวกรการบินและนักบินพาณิชย์ที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<strong>จุดเด่นของโครงการหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์</strong>&nbsp;คณะวิศวลาดกระบัง เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ทัดเทียมกับระดับนานาชาติ เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ไม่ใช่การฟัง ได้ยิน หรือเพียงมองเห็น แต่ต้องลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำความรู้มาสังเคราะห์และประยุกต์ใช้ได้โดยลงมือปฏิบัติจริงและมีการศึกษาดูงานจากสถานที่ประกอบการจริง ผู้เรียนจะได้รับพื้นฐานแข็งแกร่งทางวิศวกรรมเครื่องกล โทรคมนาคมผสมผสานกับอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของวิศวกรรมการบิน พร้อมส่งเสริมความชำนาญในวิชาชีพด้วยการฝึกปฏิบัติงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ วิศวลาดกระบังเป็นที่เดียวที่มีสนามบินชุมพรอยู่ติดกับสถาบัน เราฝึกให้เป็นนักบินที่มีคุณภาพ เมื่อจบแล้วสามารถทำงานกับสายการบินได้ทั่วโลก อีกทั้งได้ฝึกโรงเรียนการบินที่ขอรับอนุญาตจากกรมการบินพลเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับ&nbsp;<strong>วุฒิปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต</strong>&nbsp;สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ และมีสิทธิ์สอบเพื่อได้รับ<strong>ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี</strong>&nbsp;พร้อมกับ<strong>จบหลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน</strong><strong>&nbsp;</strong>และ&nbsp;<strong>หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์</strong>จากกรมการบินพลเรือนอีกด้วย”</p>\n<p align=\"center\"><img src=\"/files/u89232/3.jpg\" alt=\"\" width=\"437\" height=\"246\" />&nbsp;</p>\n<p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดร.เสริมศักดิ์ อยู่เย็น</strong>&nbsp;&nbsp;ประธานโครงการหลักสูตรป.ตรี วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “<strong>โครงสร้างหลักสูตร</strong>ปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์(Aeronautical Engineering and Commercial Pilot) นี้เป็นระบบการศึกษาแบบทวิภาค 4 ปี รวมตลอดหลักสูตร 145 หน่วยกิต เน้นการนำความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์รวมกับความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมอากาศยาน และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักบินพาณิชย์ โดยหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาต่างๆ คือ&nbsp;<strong>1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป</strong>&nbsp;จำนวน 30 หน่วยกิต ซึ่งเป็นการศึกษาวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาในหลักสูตรของสถาบันฯประกอบด้วยกลุ่มวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ / มนุษยศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ / คณิตศาสตร์ และภาษาศาสตร์&nbsp;<strong>2.หมวดวิชาเฉพาะ</strong>&nbsp;ไม่น้อยกว่า 108 หน่วยกิต ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม(Engineering Core Courses ) กลุ่มวิชาวิศวกรรมเฉพาะ (Aeronautical Courses) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิชานักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Courses)&nbsp;<strong>3.หมวดวิชาเลือกเสรี</strong>&nbsp;6 หน่วยกิต เลือกศึกษาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในสถาบัน (Free Elective Courses 6 Credits) ทั้งนั้ในปีแรกคณะวิศวลาดกระบัง สจล.ตั้งเป้ารับนักศึกษาจำนวน 30 คน ขณะนี้ได้รับความสนใจมีผู้ต้องการสมัครเป็นจำนวนมาก”&nbsp;</p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในโอกาสนี้คณะวิศวลาดกระบัง สจล.ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ที่ก้าวหน้าทันสมัยที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย ครบครันด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียนที่มีคุณภาพและสภาพแวดล้อมที่ทันสมัยเหมาะสมกับการเรียนในยุคปัจจุบัน อาทิเช่น เครื่องจำลองฝึกการบิน Flight Simulator Redbird SD มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์การบินแห่งสหรัฐอเมริกา รุ่นใหม่ล่าสุด เครื่องแรกของประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาตั้งแต่ปี 1 จะได้ฝึกทักษะการบินจำลองสถานะการณ์และได้ฟังการโต้ตอบจากหอบังคับการบินแบบเรียลไทม์ในสนามบินที่สำคัญต่างๆได้ทั่วโลก เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง สนามบินดอนเมือง มีหมอกทึบ, เครื่องยนต์ดับ สนามบินนาริตะ ในญี่ปุ่น, พายุหิมะตก สนามบินอินชอน ในเกาหลี, ตกหลุมอากาศ สนามบินชิคาโก ในสหรัฐฯ ฯลฯ พร้อมระบบเสียง เช่นเสียงเครื่องยนต์ เสียงฟ้าผ่า เป็นต้น ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในการเป็นนักบินที่มีความเชื่อมั่นและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ”</p>\n<p style=\"text-align: center;\"><img src=\"/files/u89232/5.jpg\" alt=\"\" width=\"388\" height=\"218\" /></p>\n<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>กัปตันสนอง &nbsp;มิ่งเจริญ</strong>&nbsp;นายกสมาคมนักบินไทย (Thai Pilots Association) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกนักบินกว่า 1,300 คน กล่าวว่า “รัฐบาลมีแนวคิดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ พัฒนาระบบราง สนามบิน ศูนย์กลางธุรกิจการบินและซ่อมบำรุง แต่ไม่ได้พูดถึงการผลิตวิศวกรการบินและนักบินเลย “คน” เป็นหัวใจสำคัญยิ่งของการบินและความปลอดภัย นักบินเป็นอาชีพในฝันของเด็กๆและใครหลายคน ซึ่งพิเศษแตกต่างจากอาชีพอื่น คือ ทำงานบนอากาศ ต้องใช้กระบวนการคิดและทักษะทำงานภายใต้ภาวะความกดดันทั้งเรื่องเวลา ความเสี่ยง ความปลอดภัยต้องร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับผู้โดยสารและการบิน หากมีเหตุฉุกเฉิน นักบินจะต้องมีทักษะและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและปลอดภัย ดังนั้น<strong>บุคลิกภาพและคุณสมบัติ</strong>ที่ควรมีอยู่ในตัวนักบิน ประการแรกต้องมีวินัย มั่นคงทางอารมณ์และสามารถควบคุมตัวเองให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยเคร่งครัด 2.มีใจรักที่จะเป็นนักบินจริงๆ เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะสร้างความมุ่งมั่นและความพยายาม 3.มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยต้องผ่านการตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตเวช &nbsp;4.มีพัฒนาการที่ดีและมีทักษะความถนัดในการเป็นนักบิน เช่น สามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันหรือไม่ เพราะนักบินต้องตาดู หูฟัง สมองคิด ปากพูด มือทำ 5.ต้องเป็นคนที่หัดคิดและวางแผนเป็นขั้นตอนตลอดเวลา 6.เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ต้องมีสมาธิในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี และ 7.มีทั้งความเป็นผู้นำและต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะเครื่องบินโดยสารหนึ่งลำ มีผู้ร่วมงานที่เป็นนักบินด้วยกัน (Co-Pilot) เครื่องบินบางประเภทต้องมีนักบิน 3 คน มีพนักงานต้อนรับบนเครื่อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้ภารกิจการบินลุล่วงไปด้วยดี นักบินต้องมีความรู้จริงในอาชีพ รู้เทคโนโลยีและการใช้ มีทักษะการสื่อสารดีเยี่ยมทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่นได้ เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกฝนตั้งแต่เด็กจะทำให้เขาเป็นนักบินที่ประสบความสำเร็จ พัฒนากระบวนการรับรู้รวดเร็วถูกต้อง (Perceptual Processing) เพราะต้องดูปุ่มต่างๆ ดูสัญญาณไฟ การตีความสภาพแวดล้อม มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง, มีการตอบสนองได้โดยอัตโนมัติ (Psychomotor Coordination) สามารถฝึกฝนจากกีฬาหรือดนตรี กล้ามเนื้อ ร่างกายและสมองทำงานสัมพันธ์กันได้ดี”</p>\n<p><img style=\"display: block; margin-left: auto; margin-right: auto;\" src=\"/files/u89232/6.jpg\" alt=\"\" width=\"415\" height=\"264\" /></p>\n<p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กัปตันสินนภ เทพรักษา&nbsp;</strong>อุปนายกสมาคมนักบินไทย กล่าวว่า “การคมนาคมขนส่ง และธุรกิจการบิน เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2559 ไทยตั้งอยู่ในใจกลางภูมิภาคอาเซียนบนภาคพื้นทวีป มีพรมแดนติดกับหลายประเทศ ทำให้ไทยมีความเหมาะสมในการเป็น<strong>ศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง</strong><strong>(Logistics Hub)&nbsp;</strong>และ<strong>ศูนย์กลางธุรกิจการบินอาเซียน</strong><strong>&nbsp;</strong>ปี 2556 มีเที่ยวบินผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองรวม 440,000 เที่ยว และไทยกำลังเล็งเห็นโอกาสในการเป็น&nbsp;<strong>\"ศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาค\"</strong>&nbsp;ที่อู่ตะเภาด้วย ในการคัดเลือกเข้าทำงานเป็นนักบินนั้น บ่อยครั้งที่มีข้อสังเกตว่า รร.การบินหลายแห่งมีหลักสูตรและวิธีการสอนยังไม่เข้มข้นพอ จึงนับเป็นโอกาสอันดีของประเทศที่จะมีหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิศวกรรมและทักษะการปฏิบัติ จะช่วยเสริมศักยภาพความพร้อมและการแข่งขันของไทยในอุตสาหกรรมการบินและคมนาคมขนส่ง ในอนาคตวิศวกรรมโทรคมนาคมในการบินจะก้าวหน้ามาก การสื่อสารส่งเป็นเมสเสจได้ ดาวน์ลิ้งค์กับระบบนำร่องได้ เครื่องบินจะสามารถคุยกันเอง หาเส้นทางเองได้ในอนาคต”</p>\n<p>&nbsp;</p>\n<p align=\"center\"><img src=\"/files/u89232/7.jpg\" alt=\"\" width=\"358\" height=\"276\" />&nbsp;</p>\n<p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พลอากาศเอก อนิรุท กิตติรัต</strong>&nbsp;ผู้อำนวยการโรงเรียนการบินเอเชีย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ (Asia Aviation Academy : AAA) กล่าวว่า “ปัจจุบันในประเทศไทยมีสถาบันด้านการบินและนักบินพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 6 โรงเรียน คือ วิทยาลัยการบินนานาชาตินครพนม, ม.รังสิต, โรงเรียนการบินกรุงเทพ Bangkok Aviation Center, สถาบันการบินพลเรือน, Royal Sky Aviation Center และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร นับเป็นแห่งที่ 6 ของไทย สำหรับคุณสมบัติการรับสมัครนักบินของสายการบินและบริษัทต่างๆ 1.นักบินที่มีประสบการณ์การบินมาแล้ว 500 - 1,000 ชม. ขึ้นไป 2.จบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ ดังนั้นแทนที่จะจบปริญญาตรีแล้วค่อยไปเรียนต่อนักบิน&nbsp; ก็สามารถมาเรียนได้จากคณะวิศวลาดกระบัง จีนมีประชากร 1,300 ล้านคน แต่ไม่มี รร.การบิน จึงส่งไปเรียนประเทศอื่นและใช้นักบินต่างประเทศ อยากให้เรามองไกล อนาคตไทยสามารถส่งออกนักบินได้ แต่เราต้องวางแผนส่งเสริมการศึกษาการบิน พัฒนาศักยภาพบุคคลากรและภาษา ต้องแก้ไขอุปสรรคด้านกฏหมายด้วยเนื่องจากการบินจะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ที่คณะวิศวลาดกระบัง สจล.จะช่วยเปิดประตูสู่ฟ้ากว้างและเติมเต็มศักยภาพของนักบินไทยรุ่นใหม่ ”</p>\n<p>สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Tel: (66) 2 329 8350-1&nbsp; Fax: (66) 259- 8352</p>\n<p><a href=\"http://aviation-kmitl.wix.com/kmitl\" title=\"http://aviation-kmitl.wix.com/kmitl\">http://aviation-kmitl.wix.com/kmitl</a></p>\n<p align=\"center\">------------------------------------------------------</p>\n<p align=\"center\">&nbsp;</p>\n', created = 1714727651, expire = 1714814051, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:9c0fa59df626822939f14d7e1236ad1b' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

วิศวลาดกระบัง สจล.เปิดหลักสูตรป.ตรี วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์สุดฮอต


วิศวลาดกระบัง สจล.เปิดหลักสูตรป.ตรี วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์สุดฮอต

ทั่วโลกขาดแคลน...รองรับไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมและการบิน

 

            วิชาชีพนักบินพาณิชย์สุดฮอดและเป็นที่ต้องการสูงทั่วโลก ในโอกาสที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เปิดศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทยและในอาเซียน ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีการฝึกบินด้วย Flight Simulator Redbird SD แห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์การบินแห่งสหรัฐอเมริกา นั้น 4 องค์กรของไทย ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล., สมาคมนักบินไทย ,วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และโรงเรียนการบินเอเชีย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ (AAA) ลงนามความร่วมมือในการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ เดือนสิงหาคม 2558  ที่คณะวิศวลาดกระบัง สจล.รองรับประเทศไทยจะก้าวสู่ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและศูนย์กลางธุรกิจการบินอาเซียน คาดตามความต้องการนักบินในอาเซียนอีก 10 ปีข้างหน้า 20,000 คน หากรวมความต้องการนักบินทั่วโลกจากการคาดการณ์ของแอร์บัสและโบอิ้งใน 20 ปีข้างหน้าประมาณ 5 แสนคน โดยเป็นนักบินในเอเซีย 2 แสนคน

 

            รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวถึงความต้องการนักบินพาณิชย์และที่มาการเปิดห้องปฎิบัติการและหลักสูตรวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ว่า “ความเติบโตของอุตสาหกรรมการบินและเดินทางท่องเที่ยว และมีอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินเพื่อการส่งออกที่เข้มแข็งอีกด้วย มูลค่าการนำเข้าเครื่องบินและส่งออกชิ้นส่วนของไทยในปี 2556 ประมาณ 142,200 ล้านบาท รวมทั้งการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ปี 2554 ใน 6 ประเทศอาเซียน อย่าง เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย มีสายการบินต้นทุนต่ำเพิ่มขึ้นกว่า 7 สายการบิน คาดการณ์ว่าในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า จะมีความต้องการในการใช้เครื่องบินในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ทำให้มีความต้องการนักบินพาณิชย์สูงมากขึ้น การขาดแคลนนักบินมีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากการเตรียมบุคลากรเป็นนักบิน มีค่าใช้จ่ายที่สูงและใช้เวลานาน หลายสายการบินกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของผู้ที่จะเข้าเป็นนักบินฝึกหัดว่าจะต้องสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จึงได้เตรียมเปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์(Aeronautical Engineering and Commercial Pilot) ในเดือนสิงหาคม 2558 เพื่อผลิตวิศวกรการบินและนักบินพาณิชย์ที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ

          จุดเด่นของโครงการหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ คณะวิศวลาดกระบัง เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ทัดเทียมกับระดับนานาชาติ เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ไม่ใช่การฟัง ได้ยิน หรือเพียงมองเห็น แต่ต้องลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำความรู้มาสังเคราะห์และประยุกต์ใช้ได้โดยลงมือปฏิบัติจริงและมีการศึกษาดูงานจากสถานที่ประกอบการจริง ผู้เรียนจะได้รับพื้นฐานแข็งแกร่งทางวิศวกรรมเครื่องกล โทรคมนาคมผสมผสานกับอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของวิศวกรรมการบิน พร้อมส่งเสริมความชำนาญในวิชาชีพด้วยการฝึกปฏิบัติงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ วิศวลาดกระบังเป็นที่เดียวที่มีสนามบินชุมพรอยู่ติดกับสถาบัน เราฝึกให้เป็นนักบินที่มีคุณภาพ เมื่อจบแล้วสามารถทำงานกับสายการบินได้ทั่วโลก อีกทั้งได้ฝึกโรงเรียนการบินที่ขอรับอนุญาตจากกรมการบินพลเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับ วุฒิปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ และมีสิทธิ์สอบเพื่อได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี พร้อมกับจบหลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน และ หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์จากกรมการบินพลเรือนอีกด้วย”

 

            ดร.เสริมศักดิ์ อยู่เย็น  ประธานโครงการหลักสูตรป.ตรี วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “โครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์(Aeronautical Engineering and Commercial Pilot) นี้เป็นระบบการศึกษาแบบทวิภาค 4 ปี รวมตลอดหลักสูตร 145 หน่วยกิต เน้นการนำความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์รวมกับความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมอากาศยาน และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักบินพาณิชย์ โดยหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาต่างๆ คือ 1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต ซึ่งเป็นการศึกษาวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาในหลักสูตรของสถาบันฯประกอบด้วยกลุ่มวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ / มนุษยศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ / คณิตศาสตร์ และภาษาศาสตร์ 2.หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 108 หน่วยกิต ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม(Engineering Core Courses ) กลุ่มวิชาวิศวกรรมเฉพาะ (Aeronautical Courses) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิชานักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Courses) 3.หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต เลือกศึกษาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในสถาบัน (Free Elective Courses 6 Credits) ทั้งนั้ในปีแรกคณะวิศวลาดกระบัง สจล.ตั้งเป้ารับนักศึกษาจำนวน 30 คน ขณะนี้ได้รับความสนใจมีผู้ต้องการสมัครเป็นจำนวนมาก” 

            ในโอกาสนี้คณะวิศวลาดกระบัง สจล.ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ที่ก้าวหน้าทันสมัยที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย ครบครันด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียนที่มีคุณภาพและสภาพแวดล้อมที่ทันสมัยเหมาะสมกับการเรียนในยุคปัจจุบัน อาทิเช่น เครื่องจำลองฝึกการบิน Flight Simulator Redbird SD มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์การบินแห่งสหรัฐอเมริกา รุ่นใหม่ล่าสุด เครื่องแรกของประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาตั้งแต่ปี 1 จะได้ฝึกทักษะการบินจำลองสถานะการณ์และได้ฟังการโต้ตอบจากหอบังคับการบินแบบเรียลไทม์ในสนามบินที่สำคัญต่างๆได้ทั่วโลก เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง สนามบินดอนเมือง มีหมอกทึบ, เครื่องยนต์ดับ สนามบินนาริตะ ในญี่ปุ่น, พายุหิมะตก สนามบินอินชอน ในเกาหลี, ตกหลุมอากาศ สนามบินชิคาโก ในสหรัฐฯ ฯลฯ พร้อมระบบเสียง เช่นเสียงเครื่องยนต์ เสียงฟ้าผ่า เป็นต้น ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในการเป็นนักบินที่มีความเชื่อมั่นและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ”

            กัปตันสนอง  มิ่งเจริญ นายกสมาคมนักบินไทย (Thai Pilots Association) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกนักบินกว่า 1,300 คน กล่าวว่า “รัฐบาลมีแนวคิดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ พัฒนาระบบราง สนามบิน ศูนย์กลางธุรกิจการบินและซ่อมบำรุง แต่ไม่ได้พูดถึงการผลิตวิศวกรการบินและนักบินเลย “คน” เป็นหัวใจสำคัญยิ่งของการบินและความปลอดภัย นักบินเป็นอาชีพในฝันของเด็กๆและใครหลายคน ซึ่งพิเศษแตกต่างจากอาชีพอื่น คือ ทำงานบนอากาศ ต้องใช้กระบวนการคิดและทักษะทำงานภายใต้ภาวะความกดดันทั้งเรื่องเวลา ความเสี่ยง ความปลอดภัยต้องร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับผู้โดยสารและการบิน หากมีเหตุฉุกเฉิน นักบินจะต้องมีทักษะและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและปลอดภัย ดังนั้นบุคลิกภาพและคุณสมบัติที่ควรมีอยู่ในตัวนักบิน ประการแรกต้องมีวินัย มั่นคงทางอารมณ์และสามารถควบคุมตัวเองให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยเคร่งครัด 2.มีใจรักที่จะเป็นนักบินจริงๆ เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะสร้างความมุ่งมั่นและความพยายาม 3.มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยต้องผ่านการตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตเวช  4.มีพัฒนาการที่ดีและมีทักษะความถนัดในการเป็นนักบิน เช่น สามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันหรือไม่ เพราะนักบินต้องตาดู หูฟัง สมองคิด ปากพูด มือทำ 5.ต้องเป็นคนที่หัดคิดและวางแผนเป็นขั้นตอนตลอดเวลา 6.เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ต้องมีสมาธิในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี และ 7.มีทั้งความเป็นผู้นำและต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะเครื่องบินโดยสารหนึ่งลำ มีผู้ร่วมงานที่เป็นนักบินด้วยกัน (Co-Pilot) เครื่องบินบางประเภทต้องมีนักบิน 3 คน มีพนักงานต้อนรับบนเครื่อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้ภารกิจการบินลุล่วงไปด้วยดี นักบินต้องมีความรู้จริงในอาชีพ รู้เทคโนโลยีและการใช้ มีทักษะการสื่อสารดีเยี่ยมทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่นได้ เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกฝนตั้งแต่เด็กจะทำให้เขาเป็นนักบินที่ประสบความสำเร็จ พัฒนากระบวนการรับรู้รวดเร็วถูกต้อง (Perceptual Processing) เพราะต้องดูปุ่มต่างๆ ดูสัญญาณไฟ การตีความสภาพแวดล้อม มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง, มีการตอบสนองได้โดยอัตโนมัติ (Psychomotor Coordination) สามารถฝึกฝนจากกีฬาหรือดนตรี กล้ามเนื้อ ร่างกายและสมองทำงานสัมพันธ์กันได้ดี”

            กัปตันสินนภ เทพรักษา อุปนายกสมาคมนักบินไทย กล่าวว่า “การคมนาคมขนส่ง และธุรกิจการบิน เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2559 ไทยตั้งอยู่ในใจกลางภูมิภาคอาเซียนบนภาคพื้นทวีป มีพรมแดนติดกับหลายประเทศ ทำให้ไทยมีความเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง(Logistics Hub) และศูนย์กลางธุรกิจการบินอาเซียน ปี 2556 มีเที่ยวบินผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองรวม 440,000 เที่ยว และไทยกำลังเล็งเห็นโอกาสในการเป็น "ศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาค" ที่อู่ตะเภาด้วย ในการคัดเลือกเข้าทำงานเป็นนักบินนั้น บ่อยครั้งที่มีข้อสังเกตว่า รร.การบินหลายแห่งมีหลักสูตรและวิธีการสอนยังไม่เข้มข้นพอ จึงนับเป็นโอกาสอันดีของประเทศที่จะมีหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิศวกรรมและทักษะการปฏิบัติ จะช่วยเสริมศักยภาพความพร้อมและการแข่งขันของไทยในอุตสาหกรรมการบินและคมนาคมขนส่ง ในอนาคตวิศวกรรมโทรคมนาคมในการบินจะก้าวหน้ามาก การสื่อสารส่งเป็นเมสเสจได้ ดาวน์ลิ้งค์กับระบบนำร่องได้ เครื่องบินจะสามารถคุยกันเอง หาเส้นทางเองได้ในอนาคต”

 

 

            พลอากาศเอก อนิรุท กิตติรัต ผู้อำนวยการโรงเรียนการบินเอเชีย เอวิเอชั่น อะคาเดมี่ (Asia Aviation Academy : AAA) กล่าวว่า “ปัจจุบันในประเทศไทยมีสถาบันด้านการบินและนักบินพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 6 โรงเรียน คือ วิทยาลัยการบินนานาชาตินครพนม, ม.รังสิต, โรงเรียนการบินกรุงเทพ Bangkok Aviation Center, สถาบันการบินพลเรือน, Royal Sky Aviation Center และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร นับเป็นแห่งที่ 6 ของไทย สำหรับคุณสมบัติการรับสมัครนักบินของสายการบินและบริษัทต่างๆ 1.นักบินที่มีประสบการณ์การบินมาแล้ว 500 - 1,000 ชม. ขึ้นไป 2.จบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ ดังนั้นแทนที่จะจบปริญญาตรีแล้วค่อยไปเรียนต่อนักบิน  ก็สามารถมาเรียนได้จากคณะวิศวลาดกระบัง จีนมีประชากร 1,300 ล้านคน แต่ไม่มี รร.การบิน จึงส่งไปเรียนประเทศอื่นและใช้นักบินต่างประเทศ อยากให้เรามองไกล อนาคตไทยสามารถส่งออกนักบินได้ แต่เราต้องวางแผนส่งเสริมการศึกษาการบิน พัฒนาศักยภาพบุคคลากรและภาษา ต้องแก้ไขอุปสรรคด้านกฏหมายด้วยเนื่องจากการบินจะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ ที่คณะวิศวลาดกระบัง สจล.จะช่วยเปิดประตูสู่ฟ้ากว้างและเติมเต็มศักยภาพของนักบินไทยรุ่นใหม่ ”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Tel: (66) 2 329 8350-1  Fax: (66) 259- 8352

http://aviation-kmitl.wix.com/kmitl

------------------------------------------------------

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 506 คน กำลังออนไลน์