เทควันโด!!!!

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ประวัติความเป็นมาของเทควันโด

เทควันโด คือ ศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่าของชาวเกาหลี เท แปลว่า เท้า ควัน แปลว่า มือ โด แปลว่า สตปัญญาหรือการมีสติ เทควันโด คือ ศิลปะการต่อสู้โดยการใช้มือและเท้าอย่างมีสติ ศิลปะการป้องกันตัวของประเทศเกาหลี มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ 1955 องค์กรพิเศษได้ถูกจัดตั้งขึ้นในนามขององค์กรการควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทารสอนให้แก่สาธารณชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสมาชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพล Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด (Taekwondo ) จนกระทั่งทุกวันนี้ มีคนจำนวนมากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก จาก 140 เมืองที่ได้รับการฝึกฝนด้านเทควันโด ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือ kukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนายอุน ยอง คิม ( Un yong Kim ) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี ค.ศ.1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก ค.ศ.1974 มีการสัมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก ค.ศ.1986 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี ค.ศ.1987 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ค.ศ.1988 เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีค.ศ.2000 เทควันโดเป็นกีฬาในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือ kukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนาย อุน ยอง คิม ( Un yong Kim ) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี

ค.ศ.1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก

ค.ศ.1974 มีการสัมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก

ค.ศ.1986 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี

ค.ศ.1987 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์

ค.ศ.1988 เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี

ค.ศ.2000 เทควันโดเป็นกีฬาในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ประวัติเทควันโดในประเทศไทย

ยุคแรก เทควันโดมีการเรียนการสอนเฉพาะทหารอเมริกาตามฐานทัพต่าง ๆ ใน ประเทศไทย เช่น
อู่ตะเภา จ. อุบลราชธานี จ. นครราชสีมา เป็นต้น โดย ทหารอเมริกันได้จ้างอาจารย์เทควันโดจากประเทศเกาหลีมาเป็นผู้ฝึกสอนให้ ยุคก่อนปัจจุบัน เป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้เรียน เมื่อประมาณ 25 ปีกว่าได้มีการเรียนการสอนที่บริเวณด้านหลังโรงภาพยนต์ลิโด สยามสแควร์ ซึ่งก็ยังมีคนเรียนกันไม่มากนักในเวลาต่อมา เทควันโดได้เปิดสอนที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัวอาภัสสา
ถ. สุขุมวิท ตรงข้ามสถานฑูตอังกฤษโดยการนำของ คุณมัลลิกา ขัมพานนท์ ผู้ซึ่งมีความสนใจและรักกีฬาเทควันโดอย่างจริงจัง ทั้งยังได้พัฒนาและเผยแพร่เทควันโดในประเทศไทยโดยการนำ อาจารย์ ซอง กิยอง จากประเทศเกาหลีมาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียน และคุณมัลลิกายังเป็นนายกสมาคมเทควันโดคนแรกของประเทศไทยหลังจากนั้นเทควันโดก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยมา
ปัจจุบัน เทควันโดเป็นกีฬาที่ได้รับการบรรจุเข้าเป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาแห่งชาติของไทย รวมทั้งซีเกมส์ เอเซี่ยนเกมส์ ทำให้มีการถ่ายทอดข่าวสู่ประชาชนทั้ง หนังสือพิมพ์ และข่าวโทรทัศน์ เทควันโดจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน และได้มีการเปิดสอนเทควันโดตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น สมาคม สโมสร ต่าง ๆ ศูนย์กีฬาต่าง ๆ รวมถึงตามโรงเรียนทั้งอนุบาล ประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ขยายวงกว้างไปถึงตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในกรุงเทพ ฯ จังหวัดต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น ตรัง กระบี่ สุรินทร์ นครราชสีมา และพิษณุโลก เป็นต้น

ประธานเทคนิคเทควันโดแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันสายดำดั้ง 6 สถาบันกุกกิวอน สมาพันธ์เทควันโดโลก (WTF)

  • สายดำดั้ง 5 สถาบันกุกกิวอน สมาพันธ์ เทควันโดโลก (WTE)
  • สายดำดั้ง 1 สถาบันกุกมูวอนสมาพันธ์ ฮับคิโดโลก
  • วุฒิบัตรผู้ฝึกสอนเทควันโด สถาบันกุกกิวอน(KUKKIWON)
    สำนักงานใหญ่เทควันโดโลก
  • วุฒิบัตรผู้ฝึกสอนกีฬา United State Sports Academy
  • วุฒิบัตรผู้ฝึกนักกีฬาทีมชาติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย
  • วุฒิบัตรผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโดโอลิมปิกสากล
  • วุฒิบัตรผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติกรุงเทพมหานคร
  • วุฒิบัตรกีฬาเวชศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ผู้ตัดสินชั้น 1 สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทยและ ผู้ตัดสินดีเด่นคนแรก กรรมการบริหารสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย
  • อดีตผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนนักกีฬาทีมชาติไทย
  • วิทยากรผู้ฝึกอบรม และที่ปรึกษาผู้สอบเลื่อน วิทยฐานะหน่วยงาน สถาบันการศึกษาต่างๆ ฯลฯ
  • อาจารย์ 2 ระดับ 7 ร. ร. สันติราษฎร์วิทยาลัย กรมสามัญศึกษา

 

คำสั่งเบื้องต้นเป็นภาษาเกาหลี

อบอุ่นร่างกาย WARMING UP

High kick
up chao rigi
อับ ชาโอ ริก
Cross kick
Sa Zib Oto Chao rigi
ซา ซิบ โอโต ชาโอริก

Circle kick

pundal dorigi
พันดัล โดริก

เตะ KICK
Front snap kick
up chagi
อับ ชากิ
Side kick
yeob chagi
เยอบ ชากิ
Round kick
doler chagi
โทลเรอร์ ชากิ
Back kick
dui dora yeob chagi
ดุย โดรา เยอบ ชากิ
Chop kick
jicker chagi
จิเกอร์ ชากิ
Swing back kick
dui dora hurigi
ดุย โดรา ฮูริกิ
Hoolk kick
up hurigi
อับ ฮูริกิ
ก้าวเตะ STEP KICK
Front
keror up chagi
เคอรอ อับ ชากิ
Side
keror yeob chagi
เคอรอ เยอบ ชากิ
Round
keror doler chagi
เคอรอ โทลเรอร์ ชากิ

กระโดดเตะ JUMP KICK
Front
tuier up chagi
ทุยเออร์ อับ ชาก
Side
tuier yerb chagi
ทุยเออร์ เยอบ ชากิ
Round
tuier doler chagi
ทุยเออร์โทลเรอร์ ชากิ
Jump high kick
tuier up nori chagi
ทุยเออร์ อับโนริ ชาก
Two way kick
kawi chagi
กาวี ชากิ
360 turning back kick
sumback yukzipto dui chagi
ดุยชากิ ซัมแบค ยุคชินโต

บล็อก SIX BLOCKS
Low block
A- rae makki
อา เร มากิ
Middle block
momtong pagud makki
มมทง อัน มากิ
Inside block
momtong An makki
มมทง อัน มากิ
Outside block
pagud pal – mok pagud makki
พากั้ด พัลมก พากั้ด มากิ
High block
Eol-gool makki
เอิล กุล มากิ
Knkfe hand block
du sonnal momtong makki
ดูโซนนัล มมทง มากิ

ท่ารำ PATTERN
สายเหลือง 1
1 Taegeuk il – jang
แทกึก อิล จัง
สายเหลือง 2
2 Taegeuk e – jang
แทกึก อี จัง
สายเขียว 1
3 Taegeuk sum jang
แทกึก ซัม จัง
สายเขียว 1
4 Taegeuk sa jang
แทกึก ซา จัง
สายฟ้า 2
5 Taegeuk o – jang
แทกึก โอ จัง
สายฟ้า 2
6 Taegeuk yuk jang
แทกึก ยุก จัง
สายน้ำตาล 1
7 Taegeuk pal jang
แทกึก ชิล จัง
สายน้ำตาล 2
8 Taegeuk pal jang
แทกึก พัล จัง
สายแดง 1
9 Taegeuk ku jang
แทกึก คู จัง
สายแดง 2
10 Taegeuk zip jang
แทกึก ซิบ จัง

การรุก การรับ STEP SPARRING
Three step
sumbor kielu ki
ซัมบอร์ เคียลูกิ
Two step
e – bor kielu ki
อีบอร์ เคียลูกิ
One step
il-bor kielu ki
อิลบอร์ เคียลูกิ

คำสั่งทั่วไป
Back fist attack
deung joo meok
ดึง จู มก
Reverse knkfe hand
yeok sonal
ยอก โซนนัล
Elbow
pal – koop
พัล – กุบ
Palm
batang – son
บาทัง โซน
Knife hand
sonnal
โซนนัล
Finger attack
pin sonkeut
พินโซนกึด
Finger attack
kuke – a – te – ha – yo
คุกกิ เอ เทฮาโย

อวัยวะของร่างกายที่ใช้เป็นอาวุธ


ในการฝึกเทควันโดในเชิงกีฬาหรือศิลปะป้องกันตัวนั้น เป็นการใช้มือและเท้าเป็นอาวุธในการป้องกัน และการทำร้ายคู่ต่อสู้โดยมีสติคอยควบคุม ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้ก่อนว่าส่วนใดในร่างกายที่จะใช้เป็นอาวุธได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยกับตนเองเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บทีหลัง เทควันโด จะใช้เท้ามากกว่ามือและแขน อวัยวะที่ควรทราบเพื่อเป็นแนวทางในการฝึก Mom หมายถึง ส่วนของลำตัว (body) Pal หมายถึง ส่วนของแขน (arms) ทั้ง 2 ข้าง Son หมายถึง ส่วนของมือ (hands) Joomeok หมายถึง ส่วนของกำปั้น (fist) ในการกำหมัดจะต้องอาศัยการพับข้อนิ้วแรกของนิ้วทั้งสี่นิ้วทั้งสี่นิ้วให้แน่น แล้วกดพับกำหมัดเข้าหาฝ่ามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดพับทับที่ข้อนิ้วแรกของนิ้วชี้และนิ้วกลาง Deung-joomeok หมายถึง ส่วนของหลังหมัด (Back fist) เน้นที่สันนิ้วชี้และนิ้วกลาง Me-joomeok หมายถึง ส่วนของสันมือเมื่อกำหมัด (upper fist) ถัดจากฐานนิ้วก้อยมาถึงบริเวณบนสุดของฝ่ามือใกล้ข้อมือ Pyon-joomeok หมายถึง ส่วนของข้อนิ้วสุดท้ายของนิ้วทั้ง 4 (ชี้-ก้อย) พับพร้อมกับแบฝ่ามือออกหัวแม่มือพับเก็บอยู่ด้านใน Bam- joomeok หมายถึง การพับข้อนิ้วสุดท้ายของนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง โดยมีนิ้วหัวแม่มือพับหนุนอยู่ด้านในพร้อมกำหมัด Sonnal หมายถึง ส่วนของสันมือ (Knife hand) จากฐานนิ้วก้อยไปจนถึงบริเวณฐานกระดูกใต้ข้อมือ Sonnal – deung หมายถึง ส่วนของสันมือ (head of knife hand) จากบริเวณฐานนิ้วชี้ถึงฐานกระดูกนิ้วหัวแม่มือพับนิ้วหัวแม่มือเข้าด้านใน Ageum-Son หมายถึง ส่วนของสันมือด้านใน ให้นิ้วทั้ง 4 ชิดติดกันพร้อมกับกางนิ้วหัวแม่มือออก แล้วเกร็งมือโดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้งอเป็นตะขอ (ใช้บีบหรือกดจิก) Batang-son หมายถึง ส่วนของฝ่ามือ (Palm) โดยการเกร็งนิ้วทั้ง 4 ชิดติดกันพร้อมกับพับนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านในฝ่ามือใช้สันของฝ่ามือป้องกันหรือตบ Pinson-keut หมายถึง ส่วนของปลายนิ้วแทง (finger attack) โดยการเกร็งนิ้วชิดกันที่ 4 นิ้ว นิ้วกลางพับงอเล็กน้อย ให้เสมอกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือพับเก็บในฝ่ามือ Duson-Keut หมายถึง ส่วนของปลายนิ้วชี้กับนิ้วกลางทิ่มตา Palmok หมายถึง ส่วนของข้อมือ (Wrist) สามารถนำมาใช้ทำอันตรายต่อคู่ต่อสู้ และการป้องกันตัว โดยแบ่งตำแหน่งการใช้ ดังต่อไปนี้ - An palmok หมายถึง ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ (radius) ข้อมือด้านใน
  • Bakat palmok หมายถึง ข้อมือทางด้านนิ้วก้อย (ulna) ข้อมือด้านนอก
  • Wi palmok หมายถึง ข้อมือส่วนหลังมือ (back side) หลังมือ
  • Mit palmok หมายถึง ข้อมือด้านฝ่ามือ (Palm side) หน้ามือ

Palkoop หมายถึง ข้อศอก (elbow) เป็นส่วนของหัวกระดูกของแขนท่อนล่างที่แข็งแรงใช้ฟันศอกไปที่ขากรรไกรที่หน้า หรือกระทู้ที่ลิ้นปี่ Dari หมายถึง ส่วนขา (leg) ตั้งแต่ช่วงสะโพกลงไปจนถึงตาตุ่ม Bal หมายถึง ส่วนเท้า (foot) ส่วนของฝ่าเท้า คือตั้งแต่ข้อเท้าลงไป เป็นอาวุธที่ใช้มากที่สุดและสำคัญที่สุดของเทควันโด โดยแบ่งตำแหน่งการใช้ดังนี้ - Apchook คือ ส่วนของจมูกเท้า (ball of foot) ใช้เตะจิกโดยพับนิ้วเท้าเข้าหา หลังเท้าเตะจิกไปที่ลิ้นปี่ หรือที่ใบหน้า - Dwichook คือส่วนของฝ่าเท้าใต้สันเท้า (bottom of the heel)

  • Dwikoomchi คือ ส่วนของส้นเท้า (Achilles ! heel)
  • Balnal คือส่วนของข้างส้นเท้าด้านนอก ( foot knife)
  • Baldeung คือ ส่วนหลังเท้า

Mooreup หมายถึง หัวเข่า (knee) ส่วนที่แข็งแรง แข็งแกร่งเป็นอาวุธที่อันตรายในการทำร้ายคู่ต่อสู้

คุณลักษณะของนักเทควันโด


1. มีจิตใจและน้ำใจเป็นนักกีฬา  กีฬาเสริมสร้างให้คนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีน้ำใจเป็นนักกีฬาดังพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ กรมพลศึกษา เมื่อวันที่ 27 พ.ย 2507 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ การกีฬานั้น นอกจากจะให้ความสนุกสนานและความสมบูรณ์แก่ร่างกายแล้ว ยังให้ผลดีทางจิตใจได้อย่างมากมายนักกีฬาที่ได้รับการฝึกหัดอบรมอย่างดีแล้วย่อมมีใจแน่วแน่ ตัดสินใจได้รวดเร็วมีความเพียงพยายามไม่ท้อถอย และมีความหนักแน่น รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย ผู้มีใจเป็นนักกีฬา จึงเป็นผู้มีประโยชน์ต่อสังคมและน่าคบหาสมาคมด้วยอย่างยิ่ง
2. จงรักภักดีต่อประเทศชาติของตนนักเทควันโดทุกคนที่เรียนศิลปะป้องกันตัวของชาติอื่นแล้ว คุณต้องไม่ลืมชาติกำเนินของตนต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์โดยการอุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะอะไร ถ้าคุณเป็นผู้เรียนก็ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ หรือถ้าท่านเป็นครูผู้สอน ก็ต้องหมั่นฝึกอบรมลูกศิษย์ให้เป็นคนดีไม่สร้างปัญหาให้สังคมเดือนร้อน และถ้าคุณเป็นนักกีฬาทีมชาติแล้วคุณคือตัวแทนของคนทั้งชาติ หัวใจคุณต้องเกินร้อย ขอยกตัวอย่างจากสารของท่าน พลตำรวจเอก ชุมพล อัตถศาสตร์ รองอธิบดีกรมตำรวจ นายกสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดแก่นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยว่า “ เทควันโดคือกีฬาสุภาพบุรุษนักรบใจต้องเกิน 100 ซึ่งอดีตท่านเคยเป็นนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทยระดับเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ และยังเป็นนักกีฬาที่ได้เชื่อว่า “ หัวใจเกินร้อย” อีกด้วย

3. เคารพพ่อแม่ ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ ความกตัญญูรู้คุณ
สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติคือ บุญคุณของคุณพ่อคุณแม่ผู้ให้กำเนิด ท่านทั้งสองคือ พระประจำบ้านที่เราควรเคารพกราบไหว้ต้องยกให้ท่านเป็น หนึ่งในหัวใจเรา รองลงมาก็คือครูอาจารย์ที่อบรม สั่งสอนให้ความรู้ เราควรแสดงความเคารพนับถือท่าน เราไม่ควรแสดงกิริยามารยาท ก้าวร้าว ดูถูกเหยียดหยามท่านเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณ
4. ความสุภาพ อ่อนน้อมต่อผู้อาวุโส
ผู้เรียนจะต้องมีความสุภาพและเคารพนับถือครูผู้สอน ตั้งแต่ลำดับอาวุโสสูงสุดและไล่ลำดับลงมาตามขั้น ต้องให้ความสำคัญมีความอ่อนน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า รวมทั้งรุ่นพี่ทุกคนเชื่อฟังคำสั่งสอนว่าสิ่งไหนเราทำถูกหรือทำผิด ก็ควรนำไปปรับปรุงแก้ไข
5. ความซื่อสัตย์และความจริงใจต่อเพื่อน
ความซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติของคนดี ถ้าคุณมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่อยู่รอบข้างคุณแล้ว คุณคือผู้ที่น่าคบค้าสมาคมมากที่สุด ทุกคนจะไว้วางใจคุณ งานทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี ถ้าคุณมีความจริงใจต่อกันและกัน
6. ความกล้าหาญและบากบั่น
การแสดงความกล้าหาญในเชิงการต่อสู้ ที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้นั้น คุณต้องมีเทคนิคที่เหนือกว่าผู้อื่น ในที่นี้ไม่ใช้การเอาเปรียบคู่ต่อสู้โดยใช้เล่ห์กล แต่เป็นการพยายามหมั้นฝึกฝนตนเองและมีความเชื่อมั่นจิตใจต้องมั่นคงมีสติในเชิงการต่อสู้
7. อย่าทำร้ายผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ในเชิงกีฬาเทควันโดแล้ว จะต้องระมัดระวังเรื่อง การนำเอาศิลปะการต่อสู้ไปใช้กับผู้ที่อ่อนแอกว่า หรือผู้ที่อยู่ในลักษณะที่เสียเปรียบเรา แต่ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่คับขันสามารถใช้ในการป้องกันตัวเองได้ หรือช่วยเหลือผู้อื่นที่โดนรังแก แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
8. ความสะอาดของร่างกายและชุดฝึก
นักกีฬาเทควันโดต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย ตลอดจนเล็บมือ เล็บเท้าต้องตัดสั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นขณะฝึกซ้อมทั้งตัวเราเองและคู่ฝึกซ้อม ส่วนชุดฝึกต้องรักษาความสะอาดเสมอไม่ปล่อยให้อับชื้น จะทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย หรือส่งกลิ่นเหม็น อาจจะทำให้บรรยากาศในการเรียนเสียไป ถ้าเรามีชุดฝึกที่สะอาดเราจะดูดี เสริมบุคลิกให้สง่างามมากขึ้น
9. การควบคุมอารมณ์
ศิลปการต่อสู้เกือบทุกประเภทในขณะที่ฝึกซ้อมหรือ การแข่งขันจะต้องมีการปะทะกันเกิดขึ้นเสมอ กีฬาเทควันโดก็เป็นกีฬาที่มีการปะทะ ฉะนั้นผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองให้มั่นคงอยู่เสมอ เมื่อมีการต่อสู้หรือการฝึกซ้อม เราไม่ควรใช้อารมณ์ที่รุนแรงเกินเหตุ อาจจะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทตามมาภายหลัง นักเทควันโดที่ดี ต้องสุขุม เยือกเย็น มีเหตุผลและโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น

ประโยนช์เทควันโด

สำหรับผู้ใหญ่

  • เป็นการป้องกันตัว
  • ทำให้สุขภาพดีไม่เหนื่อยง่าย
  • ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ทำงานได้ดี ขึ้น เช่น ระบบอาหาร, หัวใจ
  • และการหายใจข้อต่อต่าง ๆรวมถึงกล้ามเนื้อ
  • พัฒนาด้านจิตใจ

สำหรับเด็ก

  • พัฒนาการทรงตัว
  • พัฒนากล้ามเนื้อและระบบหายใจ
  • มีระเบียบวินัยและเสริมสร้างสมาธิให้ดีขึ้น
  • เสริมสร้างบุคคลิกภาพ

กฎระเบียบ

  • ต้องแสดงบัตรลงเวลาเรียนทุกครั้งก่อนเข้าเรียน
  • การขาดเรียน (นอกจากเจ็บป่วย) ชดเชยได้ 1 ครั้ง ในเดือนที่เรียน
  • ไม่มีการเรียน 2 รอบในวันเดียวกัน
  • เรียนเฉพาะรอบที่ระบุ วัน , เวลา , เรียนเท่านั้น
  • ลงชื่อในสมุดก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง มิฉะนั้นถือว่าขาดเรียนอาจจะไม่มีสิทธิ์สอบ

ความหมายของสายคาดเอว

      สายคาดเอวไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อใช้ในการเรียงลำดับขั้นในการฝึกเท่านั้น   แต่สายคาดเอวแต่ละสีนั้นยังมีความหมาย   และสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของการรับรู้   และพัฒนาการของผู้เรียน   การพัฒนาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การพัฒนาทางด้านฝีมือ   หรือความสามารถในการต่อสู้ในโรงฝึก   (dojang)   เท่านั้น  แต่ยังแสดงถึงบุคลิกภาพและการเติบโตทางความคิดทั้งในการฝึกฝนวิชาเทควันโด   และวิถีการดำเนินชีวิตอีกด้วย  โดยสายคาดเอวแต่ละสีมีความหมายดังต่อไปนี้  คือ

                                      สายขาว                หมายถึง    การเกิด  หรือการเริ่มต้นของเมล็ดพันธุ์  คือจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้วิชาเทควันโด
                                      สายเหลือง            หมายถึง    แสงแห่งดวงอาทิตย์   เป็นแสงสว่างเพื่อให้ชีวิต   เปรียบดังการที่นักเทควันโดสายเหลืองได้รับการเริ่มต้นของการเรียนรู้   และเปิดใจพร้อมที่จะเรียนรู้   และรับฟังครูอาจารย์
                                      สายเขียว               หมายถึง    การเติบโตของเมล็ดพันธุ์ที่งอกและปักลำต้นลงกับพื้นดิน   เริ่มพัฒนาและเติบโตเป็นต้นไม้   เปรียบได้กับนักเทควันโดสายเขียวที่อยู่ในขั้นของการพัฒนา   และเริ่มต้นการเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง
                                      สายฟ้า                  หมายถึง    การเติบโตของต้นไม้ที่งอกงามจนสูงถึงท้องฟ้า  ได้รับแสงแดดในการเจริญเติบโต  เปรียบได้กับนักเทควันโดสายฟ้าที่ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ   เพื่อพร้อมที่จะพัฒนาในวิชาเทควันโดต่อไป

                                      สายน้ำตาล            มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

                                         สายแดง                 หมายถึง    ความร้อนแรงแห่งดวงอาทิตย์ที่ต้นไม้งอกงามไปถึง   นักเทควันโดสายแดงถือว่าเป็นขั้นที่สูงกว่าสายอื่น ๆ มาก   เรียนรู้รายละเอียดของเทควันโด   เรียนรู้ความระมัดระวังในการใช้วิชาเทควันโด   และรู้จักการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

                                        สายดำ                   หมายถึง    ความมืดเหนือแสงแห่งดวงอาทิตย์   นักเทควันโดสายดำ  จะแสวงหาความรู้ใหม่ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว   เริ่มต้นการสอนผู้อื่น  เช่นเดียวกับเริ่มต้นเพาะเมล็ด   อีกทั้งเพื่อเป็นการฝังรากลึกในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว  แต่ก็ยังไม่หยุดเจริญเติบโตเหมือนที่นักเทควันโดสายดำไม่หยุดแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

                                     ขอให้นักเทควันโดตระหนักไว้ว่า   สายที่คาดเอวอยู่นั้นแสดงถึงความเจริญเติบโต  และพัฒนาการของระดับความสามารถทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  วุฒิภาวะ  ทั้งในวิชาเทควันโด   และในการดำเนินชีวิตประจำวัน สิ่งที่สำคัญคือ   การย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า  ท่านได้มีการฝึกฝนร่างกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอสมควรแก่สายที่คาดเอวอยู่นั้นหรือไม่   ผู้ที่ฝึกฝนอยู่เป็นกิจวัตรจนกลายเป็นสิ่งปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น   จึงจะเป็นนักศิลปะการต่อสู้ที่แท้จริง เป็นนักสู้ที่แท้จริงได้   หากท่านได้ปฏิบัติได้ดังกล่าวแล้วก็ขอให้ท่านภาคภูมิใจกับการเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนสมควรแก่สายที่คาดเอวท่านอยู่แล้ว

     

    Uniform Uniform

    นี้บอกได้เลยว่าทุกยิมนั้น

    หรือว่านักเทควันโดทุกท่านคงจะ

    มีชุดใส่แน่นอนอยู่แล้วชุดเทควันโด

    มีหลายเกรดดังนั้นเลือกใช้ให้ถูกครับ

    รองเท้า

    ใช้สวมใส่ฝึกซ้อมในสถานที่ๆ

    เหมาะสมแต่ถ้าเป็นยิมสมัยนี้

    มีพื้นจิ๊กซอที่นุ่มสบายเท้าอยู่แล้ว

    เลยไม่ค่อยมีใครสวมใส่ในยิม

    หมวก

    อันนี้เป็นที่รู้กันว่าในการแข่งขัน

    ทุกครั้ง จำเป็นอย่างมากเพื่อช่วย

    ให้เราป้องกันศรีษะในขณะต่อสู้

    ไม่ให้มีการกระทบกระเทือนจนถึง

    อันตราย

    เกราะ

    ใช้สวมใส่ในการแข่งขันเช่นกัน

    เพื่อป้องกันร่างกายบอบช้ำหรือ

    เซพลำตัวนั้นเองเป็นตัวที่บอก

    piontในการต่อสู้ได้ดีเหมือนกัน

    อย่างหนึ่งถ้าเตะแล้วเกราะดัง

    กระจับ

    ใช้สวมใส่ฝึกซ้อมในสถานที่ๆ

    เหมาะสมแต่ถ้าเป็นยิมสมัยนี้

    มีพื้นจิ๊กซอที่นุ่มสบายเท้าอยู่แล้ว

    เลยไม่ค่อยมีใครสวมใส่ในยิม

    สนับแขน

    ใช้ป้องกันแขนเลยละครับ

    ในการแข่งขันเพื่อป้องกัน

    การปะทะจากการเตะของ

    คู่ต่อสู้ครับสำคัญเหมือนกัน

    สนับขา

    ใช้ป้องกันขาเลยละครับ

    ในการแข่งขันเพื่อป้องกัน

    การปะทะกันในการเตะ

    สายคาดเอว

    บ่งบอกว่าเรามีความสามารถใน

    วิชาเทควันโดขั้นใหน

    เริ่มต้นจากสาย

    ขาว/เหลือง/เขียว/ฟ้า/น้ำตาล/แดง

    แล้วก็ ดำ ครับ ดำนั้นมีอีก 10 Dun

1-10 เป็นภาษาเกาหลี

1__Hana

2__Dool

3__Set

4__Net

5__Dasut

6__Yasut

7__Eel gop

8__Yeh dul

9__Ah hap

10_Yul

สร้างโดย: 
รัฐธรรมนูญ เปรมชัยพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 483 คน กำลังออนไลน์