การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

              

                การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)  หมายถึงการเกิดใหม่ และการฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรม ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาเสรีภาพและความคิดไร้ขอบเขต

                                

                   ราชวังแวร์ซาย                               บ้านเรือนในปารีส                           ตัวตึกในยุคเรเนอซองค์

                สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ   สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการคือ  เมื่อยุโรปฟื้นตัวจากการซบเซาเศรษฐกิจ ผู้คนจึงหันมาใส่ใจในศิลปะมากขึ้นอีกทั้ง พระประพฤติตนไม่เหมาะสม ประชาชนเสื่อมศรัทธาในศาสนา จึงหันมานิยมในความสวยงามที่มนุษย์ด้วยกันสร้างสรรค์ขึ้น อีกทั้ง ที่ตั้งของนครรัฐในอิตาลี เคยเป็นแหล่งรุ่งเรื่องของวัฒนธรรมในอดีตจึงไม่ยากที่จะฟื้นตัว

                แนวคิดใหม่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  แนวคิดใหม่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ   คือ แนวคิดของลัทธิมนุษยนิยม (Humanism) กล่าวถึงการแสวงหาที่เกิดจากความปรารถนาภายนอกเหล่านี้ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยการรับเอาวรรณกรรมดั้งเดิมของกรีกโบราณเข้ามาระหว่างสงครามครูเสด คนยุคกลางพบว่าจิตวิญญาณของกรีกคลาสสิกโบราณ คล้ายคลึงกับความปรารถนาภายนอกอย่างยิ่ง ดังนั้น การเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูลัทธิความคิดกรีกจึงเกิดขึ้นโดยมีศูนย์กลางที่อิตาลีก่อน แล้วจึงขยายไปสู่ยุโรปส่วนที่เหลือในเวลาต่อมา   นักปราชญ์คนแรกที่มีความสำคัญต่อวรรณคดีประเภทคลาสสิคในยุคนี้และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม ได้แก่ ฟรานเซสโก เปตราร์ก ชาวอิตาลี  ผู้ที่สนใจงานคลาสสิคสมัยโบราณ เรียกว่า พวกมนุษยนิยม (humanist) เหล่านี้ต่างได้รับการยกย่องในความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาละตินอย่างถูกต้อง        

                เมื่อปี 1454 โยฮัน ยูเตนเบริ์ก ชาวเยอรมนี สามารถประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ ทำให้หนังสือมีราคาถูกลงเป็นอย่างมาก สามารถเผยแพร่ความรู้ต่างๆไปสู่ท้องถิ่นอื่นอย่างง่าย   ศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการนับเป็นการปฏิวัติอีกแขนงหนึ่ง   เพื่อให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของคริสต์ศาสนาในสมัยกลาง   ประติมากรรมในสมัยนี้จึงหวนกลับไปนิยมวิธีการของกรีก-โรมันที่สร้างงานศิลปะที่เป็นธรรมชาติและให้ความสนใจต่อความสวยงามของสรีระร่างกายมนุษย์   ในยุคนี้ได้มีการค้นคว้าเทคนิคใหม่ๆในการผสมสี   เทคนิควาดภาพปูนเปียก (fresco)  ให้ความสำคัญของแสงและเงา   รวมทั้งมิติการจัดองค์ประกอบของภาพ   ศิลปินที่สำคัญและมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี  ได้แก่  ไมเคิลแอนเจโล บูโอนารอตติ (Michelangelo  Buonarroti)   เลโอนาร์โด ดา วินชี(Leonardo da Vinci) และ ราฟาเอล(Raphael) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 

               

                          
   ไมเคิลแอนเจโล                                พระแม่มารีอุ้มพระเยซูที่ตัก

               ไมเคิลแอนเจโล บูโอนารอตติ เป็นผู้สร้างประติมากรรมที่สวยงามเห็นส่วนของมนุษย์ชัดเจนสมส่วน โดยเชื่อว่ามนุษย์เกิดจากมือของพระเจ้าที่ปั้นมาอย่างสวยงาม ผลงานที่สร้างชื่อ   รูปสลักของเดวิด ชายเปือยกลายและปิเอตา พระแม่มารีอุ้มพระเยซูที่ตัก

                เลโอนาโด ดาวินซี  เป็นศิลปินและนักปราชญ์ที่มีความรู้ เป็นจิตรกรรมที่วาดภาพแฝงด้วยแนวคิดมนุษนิยมที่ให้ความรู้สึก ภาพที่มีชื่อเสียงคือ อาหารมื้อสุดท้าย และ ภาพโมนาลิซา หญิงสาวที่มีรอยยิ้มพิศวง

             

                                             
 อาหารมื้อสุดท้าย                   เลโอนาโด ดาวินชี                           โมนาลิซา

                   ราฟาเอล ภาพมีความนิ่มนวลในรายละเอียด ภาพที่มีชื่อคือภาพพระแม่พระบุตร และจอห์น แบบติสต์                                                   

         ผลงานของราฟาเอล            

               งานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองที่สำคัญของยุคนี้ที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของความคิดในกรอบและกฏเกณฑ์ที่เคร่งครัดของคริสต์ศาสนา ได้แก่ บทเพลงรัก หรือ ซอนนิต(Sonnet) ของเปตราก  ดิแคเมอรอน(Decameron) ของบอกคาซิโอ (Boccaccio) ซึ่งเป็นนิยายชวนหัวที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะของมนุษย์และความสัมพันธ์ทางเพศ เจ้าผู้ครองนคร(The Prince) ที่บรรยายถึงศิลปะการปกครองของเจ้านครจากการประพันธ์ของ นิโคไล มาเคียเวลลี(Nicoli Machiavelli)และยูโทเปีย(Utopia) ของเซอร์ทอมัส มอร์ (Sir Thomas More)  ที่กล่าวถึงเมืองในอุดทคติที่ปราศจากความเลวร้าย                  

               งานวรรณกรรมด้านนาฏกรรมหรือบทละครนั้นก็ได้รับอิทธิพลจากกรีกโดยนำมาปรับให้เข้ากับรสนิยมของชาวตะวันตกในสมัยนั้น  นักประพันธ์คนสำคัญ คือ วิลเลียมเชคสเปียร์ (William  Shakespeare) บทละครของเขาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ โรมิและจูเลียต(Romeo and Juliet)   เวนิสวาณิช (The Marchant of Venice) คิงเลียร์(King Lear) แมคเบท(Macbeth) และฝันคืนกลางฤดูร้อน(A Midsummer Night’s Dream )เป็นต้น   ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์  อุปนิสัย  และการตัดสินใจของมนุษย์ในเหตุการณ์ต่างๆ 

สร้างโดย: 
น.ส.สุชาดา จุติลาภถาวร ม.6/1 เลขที่ 25 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์
รูปภาพของ silavacharee

 

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 533 คน กำลังออนไลน์