• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บล็อกของ tamayung', 'blog/23394', '', '3.145.153.86', 0, '58fbfa32f69be37391cc1dfa48984e58', 590, 1716694329) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:a78ef52cf7a8acfefd0d0b22d088ba01' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<b>เทปกาวปล่อยรังสีเอกซ์ !! </b>\n</p>\n<p><!--Main--><!--Main--></p><p><span>นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ แกะสก็อตเทปในสุญญากาศ ได้รังสีเอกซ์ปริมาณมหาศาล และมีความแรงมากพอ ที่จะบันทึกภาพถ่ายเอกซ์เรย์ได้ โดยทีมวิจัยได้ทดสอบกับนิ้วมือของตัวเอง แต่ปรากฏการณ์นี้ เคยพบมาก่อนแล้ว ทั้ง &quot;ฟรานซิส เบคอน&quot; และ นักวิทยาศาสตร์รัสเซียเมื่อ 50 ปีก่อน </span></p>\n<p>&quot;เราแปลกใจกันมาก จากแค่เทปใสธรรมดา เราได้กำลังรังสีปริมาณมากขนาดนี้&quot; เอพีระบุคำพูดของ ฮวน เอสโคบาร์ (Juan Escobar) นักศึกษามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles) หรือยูซีแอลเอ (UCLA) ซึ่งรวมในการศึกษาครั้งนี้</p>\n<p>ทั้งนี้ เซธ พัทเทอร์แมน (Seth Putterman) พร้อมคณะจากยูซีแอลเอ ได้ใช้เครื่องยนต์เพื่อคลายม้วนสก็อตเทป และบันทึกการปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยข้อมูลจากนิวไซแอนทิสต์ระบุว่า ทีมวิจัยดึงเทปออกจากม้วนด้วยอัตราเร็ว 3 เซนติเมตรต่อวินาที ทำให้เกิดรังสีเอกซ์ 15 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (KeV) และทุกๆ หนึ่งในพันล้านวินาทีจะมีปริมาณโฟตอนออกมา 1 ล้านตัว</p>\n<p>ความแรงของรังสีเอกซ์ระดับนี้ เป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นแหล่งกำเนิดในการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ ซึ่งในการทดลองนี้ ทีมวิจัยได้ใส่หน้าต่างพลาสติกในช่องสุญญากาศ แล้วสามารถบันทึกภาพรังสีเอกซ์ของนิ้วมือได้ โดยใช้เครื่องตรวจจับรังสีเอกซ์ที่ใช้ในงานทันตกรรม ซึ่งผลจาการศึกษาดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature)</p>\n<p>&quot;พลังงานของรังสีเอกซ์นี้ ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้ หากใช้โมเลกุลแทนอิเล็กตรอน แต่มันก็เป็นเรื่องทางวิศวกรรม ไม่ใช่เรื่องทางฟิสิกส์&quot; พัทเทอร์แมนกล่าวถึงความคิดไปไกล</p>\n<p>ด้านเนเจอร์ระบุว่า พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมานั้น คือการเรืองแสงแบบที่รู้จักกันว่า &quot;ไทรโบลูมิเนสเซนส์&quot; (triboluminescence) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของแสง ที่จะเกิดขึ้นเมื่อของแข็งโดยเฉพาะของแข็งประเภทผลึก ถูกกด ขูด หรือขัด โดยคำอธิบายที่ได้การยอมรับคือ เมื่อผลึกถูกขัดหรือแยกออก กระบวนการที่เกิดขึ้นก็จะแยกประจุตรงกันข้ามออกจากกันด้วย และเมื่อประจุกลับมารวมกันกลายเป็นกลาง จะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสง</p>\n<p>ปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) จิตกรชาวอังกฤษเคยสังเกตเห็นเมื่อปี 2148 โดยเขาสังเกตว่า ก้อนน้ำตาลที่ขัดสีกันนั้นได้ปล่อยแสงออกมา</p>\n<p>ส่วนปรากฏการณ์เรืองแสงของสก็อตเทปนั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์ในรัสเซียเคยสังเกตพบเมื่อปี 2496 ว่าเทปที่ติดอยู่บนแก้วนั้นปลดปล่อยรังสีเอกซ์ได้ แต่ทีมวิจัยของยูซีแอลเอยังคงเคลือบแคลงต่อผลการทดลองดังกล่าว จึงตัดสินใจศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าว</p>\n<p>อย่างไรก็ดีตามรายงานของนิวไซแอนทิสต์ พัทเทอร์แมนยังไม่แน่ใจว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นยังคงเป็นปริศนา แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีกว่า เมื่อเกิดการขัดสีของพื้นผิว 2 อันจะทำให้เกิดประจุบวกและประจุลบ</p>\n<p>สำหรับในกรณีนี้เทปกาวจะมีประจุบวก ส่วนแกนพลาสติกจะเป็นประจุลบ ทำให้เกิดความต่างประจุขึ้นจนกระทั่งอิเล็กตรอนกระโดดจากเทปกาวที่ถูกดึงออกไปยังแถบเทปกาวที่ม้วนอยู่ ซึ่งทำให้เกิดพลังงานมากพอที่จะผลิตรังสีเอกซ์ เมื่ออิเล็กตรอนกระทบกับเทปกาว</p>\n<p>&quot;ในอีกมุมหนึ่งเราก็ค่อนข้างกลัวนะ แต่เราก็คิดได้ว่าสก็อตเทปจะปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาได้ก็เมื่อใช้ในสภาพสุญญากาศ เราไม่ต้องการสร้างความตระหนกให้กับผู้คนจากการใช้สก็อตเทปในชีวิตประจำวัน&quot; เอสโคบาร์กล่าว</p>\n<p>ชมภาพการทดลองผ่านยูทูบ<br />\n<embed allowfullscreen=\"true\" height=\"344\" width=\"425\" src=\"http://www.youtube.com/v/-o66AYhEIsU&amp;color1=0xb1b1b1&amp;color2=0xcfcfcf&amp;hl=en&amp;feature=player_embedded&amp;fs=1\"></embed></p>\n<p>จาก <a href=\"http://www.manager.co.th/\">http://www.manager.co.th/</a>\n</p>\n', created = 1716694348, expire = 1716780748, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:a78ef52cf7a8acfefd0d0b22d088ba01' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

เทปกาวปล่อยรังสีเอกซ์ !!

เทปกาวปล่อยรังสีเอกซ์ !!

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ แกะสก็อตเทปในสุญญากาศ ได้รังสีเอกซ์ปริมาณมหาศาล และมีความแรงมากพอ ที่จะบันทึกภาพถ่ายเอกซ์เรย์ได้ โดยทีมวิจัยได้ทดสอบกับนิ้วมือของตัวเอง แต่ปรากฏการณ์นี้ เคยพบมาก่อนแล้ว ทั้ง "ฟรานซิส เบคอน" และ นักวิทยาศาสตร์รัสเซียเมื่อ 50 ปีก่อน

"เราแปลกใจกันมาก จากแค่เทปใสธรรมดา เราได้กำลังรังสีปริมาณมากขนาดนี้" เอพีระบุคำพูดของ ฮวน เอสโคบาร์ (Juan Escobar) นักศึกษามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles) หรือยูซีแอลเอ (UCLA) ซึ่งรวมในการศึกษาครั้งนี้

ทั้งนี้ เซธ พัทเทอร์แมน (Seth Putterman) พร้อมคณะจากยูซีแอลเอ ได้ใช้เครื่องยนต์เพื่อคลายม้วนสก็อตเทป และบันทึกการปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยข้อมูลจากนิวไซแอนทิสต์ระบุว่า ทีมวิจัยดึงเทปออกจากม้วนด้วยอัตราเร็ว 3 เซนติเมตรต่อวินาที ทำให้เกิดรังสีเอกซ์ 15 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (KeV) และทุกๆ หนึ่งในพันล้านวินาทีจะมีปริมาณโฟตอนออกมา 1 ล้านตัว

ความแรงของรังสีเอกซ์ระดับนี้ เป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นแหล่งกำเนิดในการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ ซึ่งในการทดลองนี้ ทีมวิจัยได้ใส่หน้าต่างพลาสติกในช่องสุญญากาศ แล้วสามารถบันทึกภาพรังสีเอกซ์ของนิ้วมือได้ โดยใช้เครื่องตรวจจับรังสีเอกซ์ที่ใช้ในงานทันตกรรม ซึ่งผลจาการศึกษาดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature)

"พลังงานของรังสีเอกซ์นี้ ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้ หากใช้โมเลกุลแทนอิเล็กตรอน แต่มันก็เป็นเรื่องทางวิศวกรรม ไม่ใช่เรื่องทางฟิสิกส์" พัทเทอร์แมนกล่าวถึงความคิดไปไกล

ด้านเนเจอร์ระบุว่า พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมานั้น คือการเรืองแสงแบบที่รู้จักกันว่า "ไทรโบลูมิเนสเซนส์" (triboluminescence) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของแสง ที่จะเกิดขึ้นเมื่อของแข็งโดยเฉพาะของแข็งประเภทผลึก ถูกกด ขูด หรือขัด โดยคำอธิบายที่ได้การยอมรับคือ เมื่อผลึกถูกขัดหรือแยกออก กระบวนการที่เกิดขึ้นก็จะแยกประจุตรงกันข้ามออกจากกันด้วย และเมื่อประจุกลับมารวมกันกลายเป็นกลาง จะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสง

ปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) จิตกรชาวอังกฤษเคยสังเกตเห็นเมื่อปี 2148 โดยเขาสังเกตว่า ก้อนน้ำตาลที่ขัดสีกันนั้นได้ปล่อยแสงออกมา

ส่วนปรากฏการณ์เรืองแสงของสก็อตเทปนั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์ในรัสเซียเคยสังเกตพบเมื่อปี 2496 ว่าเทปที่ติดอยู่บนแก้วนั้นปลดปล่อยรังสีเอกซ์ได้ แต่ทีมวิจัยของยูซีแอลเอยังคงเคลือบแคลงต่อผลการทดลองดังกล่าว จึงตัดสินใจศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ดีตามรายงานของนิวไซแอนทิสต์ พัทเทอร์แมนยังไม่แน่ใจว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นยังคงเป็นปริศนา แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีกว่า เมื่อเกิดการขัดสีของพื้นผิว 2 อันจะทำให้เกิดประจุบวกและประจุลบ

สำหรับในกรณีนี้เทปกาวจะมีประจุบวก ส่วนแกนพลาสติกจะเป็นประจุลบ ทำให้เกิดความต่างประจุขึ้นจนกระทั่งอิเล็กตรอนกระโดดจากเทปกาวที่ถูกดึงออกไปยังแถบเทปกาวที่ม้วนอยู่ ซึ่งทำให้เกิดพลังงานมากพอที่จะผลิตรังสีเอกซ์ เมื่ออิเล็กตรอนกระทบกับเทปกาว

"ในอีกมุมหนึ่งเราก็ค่อนข้างกลัวนะ แต่เราก็คิดได้ว่าสก็อตเทปจะปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาได้ก็เมื่อใช้ในสภาพสุญญากาศ เราไม่ต้องการสร้างความตระหนกให้กับผู้คนจากการใช้สก็อตเทปในชีวิตประจำวัน" เอสโคบาร์กล่าว

ชมภาพการทดลองผ่านยูทูบ

จาก http://www.manager.co.th/

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 273 คน กำลังออนไลน์