• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('งานเพ้นท์เสื้อ', 'node/48649', '', '3.129.23.200', 0, 'b14957cde9fe84176f9b4586e3814b1d', 130, 1716718584) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:c78dcf99a15fca2c6ce5cc590e5659d9' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<b>ไทม์ยก &quot;ตรวจดีเอ็นเอจากน้ำลาย&quot; สุดยอดนวัตกรรมแห่งปี 2008 พร้อมอีก 49 ผลงานเด่น</b>\n</p>\n<p><!--Main--><!--Main--></p><p><span>นิตยสารไทม์จัดอันดับสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2008 ยกให้ &quot;บริการตรวจดีเอ็นเอจากน้ำลาย&quot; ที่สั่งซื้อได้ทางไปรษณีย์และอินเทอร์เน็ตเป็นสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ประจำปีนี้ ตามติดมาด้วยรถสปอร์ตไฟฟ้า &quot;เทสลาโรดสเตอร์&quot;, ยานสำรวจดวงจันทร์ของนาซา &quot;ลูนา เรคอนเนสซองซ์ ออบิเตอร์&quot; เว็บ Hulu.com ก็ได้ เครื่องเร่งอนุภาคขนาดยักษ์ LHC ของเซิร์นก็ด้วย</span></p>\n<p>ภาพยนตร์เรื่อง &quot;กัตตากา ฝ่ากฏโลกพันธุกรรม&quot; (Gattaca) ที่เคยฉายเมื่อปี 2540 ได้เผยให้เห็นถึงฝันร้ายของมนุษย์แห่งโลกอนาคต ที่ถูกกำหนดชะตาชีวิตไว้แต่แรกเกิดด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมของตัวเองที่ในยุคสมัยนั้นไม่ได้ถูกเก็บเป็นความลับอีกต่อไป และกรณีนี้ก็กำลังเป็นกลายเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลกันอยู่ในปัจจุบันว่าอาจเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ เพราะขณะนี้เทคโนโลยีตรวจรหัสดีเอ็นเอของมนุษย์ก้าวหน้าขึ้นมากจนสามารถสร้างแผนที่จีโนมของแต่คนได้แล้ว</p>\n<p>ทว่าเทคโนโลยีการตรวจรหัสดีเอ็นเอส่วนบุคคล (The Retail DNA Test) ของบริษัท ทเวนตีทรีแอนด์มี (23andMe) ก็ยังได้รับการเลือกให้เป็นสิ่งประดิษฐ์แห่งปี (Invention of the Year) ในการจัดอันดับสุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2008 ของนิตยสารไทม์ (TIME\'s Best Inventions of 2008)</p>\n<p>23andMe เป็นธุรกิจที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นโดยแอนน์ โวจิสคี (Anne Wojcicki : Wo-jis-key) และลินดา เอวี (Linda Avey) เพื่อดำเนินการตรวจรหัสดีเอ็นเอส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้ารับบริการ ผ่านการตรวจวิเคราะห์จากตัวอย่างน้ำลายของลูกค้าเพียงเล็กน้อย ก็จะได้ข้อมูลที่บ่งบอกสถานะทางพันธุกรรมของตนเองมากกว่า 90% รวมทั้งรู้ว่าเรามีความเสี่ยงต่อโรคบางโรคที่เป็นผลมาจากพันธุกรรมได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถูกเก็บไว้ในรูปแบบดิจิทัล (the digital manifestation of you) ที่เจ้าของข้อมูลต้องมีรหัสผ่านเข้าไปดูได้ในฐานข้อมูล</p>\n<p>ใครที่อยากใช้บริการนี้ก็สามารถสั่งซื้อชุดเก็บตัวอย่างน้ำลายจาก 23andMe ได้ในราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14,000 บาท) ทั้งทางออนไลน์และไปรษณีย์ แล้วส่งตัวอย่างกลับไปตรวจในห้องแล็บ เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้ข้อมูลพันธุกรรมของตัวเองได้ไม่ยาก ธุรกิจนี้ของ 23andMe จึงนับว่าเข้าถึงประชาชนได้ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่แพงมากจนเกินไป</p>\n<p>อย่างไรก็ดี ขณะนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของจีโนมส่วนบุคคล ที่จะปฏิวัติวงการแพทย์ การรักษาพยาบาล และการดูแลสุขภาพที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลพันธุกรรมของแต่ละคน ที่จะกลายเป็นข้อมูลส่วนตัวของคนคนนั้นด้วย</p>\n<p>ในอดีตมีเพียงนักวิจัยระดับหัวกะทิหรืออภิมหาเศรษฐีกระเป๋าตุงเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ได้รับรู้ข้อมูลพันธุกรรมของตัวเอง แต่ตอนนี้ 23andMe ก็ทำให้ประชาชนคนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงข้อมูลดีเอ็นเอของตนได้ไม่ยากในราคาที่เขาสามารถจ่ายได้สบาย จึงได้รับเลือกจากไทม์ให้ครองตำแหน่งสุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2008 จนได้ในที่สุด</p>\n<p>ทว่า 23andMe ก็ได้จุดชนวนให้เกิดการโต้แย้งกันในเรื่องความสำคัญของผลที่ได้มา จนถึงการป้องกันไม่ให้นำข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคลมาใช้ในการเลือกปฏิบัติในทางสังคม กระทั่งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ออกกฏหมายให้การใช้ข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคลมาเป็นข้อกำหนดในการเลือกปฏิบัติของนายจ้างต่อลูกจ้าง และบริษัทประกันภัยต่อลูกค้า ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย จึงทำให้สังคมคลายความกังวลต่อเรื่องนี้ได้บ้าง</p>\n<p>ขณะที่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์กเคยพยายามห้ามการตรวจรหัสพันธุกรรมในธุรกิจดังกล่าวด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แต่จนถึงปัจจุบันก็ล้มเหลว ส่วนทางด้านนักวิชาการบางส่วนก็ยังเห็นว่าการตรวจดีเอ็นเอในรูปแบบดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องอยู่ไม่น้อย เพราะหลายโรคเกิดจากความผิดปรกติของหลายๆ ยีนรวมกัน และยังถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยภายนอก จึงไม่ใช่เรื่องถูกต้องที่จะทำให้ประชาชนต้องเสียเงินเพียงเพื่อเข้าถึงข้อมูลดีเอ็นเอของตัวเองแค่เบื้องต้นและยังขาดความสมบูรณ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือวิตกกังวลมากกว่าที่ควร</p>\n<p>นอกจากนี้ไทม์ยังยกอีก 49 นวัตกรรมเป็นนวัตกรรมดีที่สุดแห่ง 2551 ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ขอคัดเลือกผลงานน่าสนใจมานำเสนอ</p>\n<p>- เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (The Large Hadron Collider: LHC)<br />\nเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของเซิร์น (CERN) หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) ซึ่งจะส่งโปรตอนให้วิ่งวนเป็นวงกลมสวนทางกันที่ความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง จากนั้นชนกันวินาทีละ 6,000 ครั้ง เพื่อค้นคำตอบพื้นฐาน อย่างเช่น &quot;มวลมีอยู่ได้อย่างไร?&quot; หรือ &quot;เอกภพมีมิติพิเศษหรือไม่?&quot; เป็นต้น</p>\n<p>แม้ว่าจะเครื่องเร่งอนุภาคนี้ได้เริ่มทดลองเดินเครื่องยิงลำแสงแรกไปเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และเดินเครื่องหลังจากนั้นได้เพียง 10 ก็ต้องหยุดเดินเครื่องไปอย่างน้อยจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า แต่จะเป็นไรไปหากต้องใช้เวลาอีกสักหน่อยก่อนที่จะค้นหาความจริงกันต่อ</p>\n<p>- ผ้าคลุมล่องหน (The Invisibility Cloak)<br />\nนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์ (UC Berkeley) ได้ก้าวไปอีกก้าวใหญ่ๆ ที่จะทำให้การซ่อนตัวของ แฮร์รี พอตเตอร์ (Harry Potter\') เป็นจริง โดยพวกเขาได้พัฒนาวัสดุชนิดใหม่ 2 ชนิด ชั้นหนึ่งเป็นชั้นของโลหะที่ถักทอเป็นร่างแห และอีกชั้นเป็นสายโลหะของเงินขนาดเล็ก ซึ่งไม่สะท้อนหรือดูดกลืนแสง ส่งผลให้แสงเลี้ยวเบนไปข้างหลัง ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการหักเหแสงของน้ำในแก้ว</p>\n<p>- รถสปอร์ตไฟฟ้า &quot;เทสลาโรดสเตอร์&quot; (The Tesla Roadster)<br />\nโดยทั่วไปรถไฟฟ้ามักจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เงียบและสะอาด แต่ปราศจาก &quot;ความเซ็กซี่&quot; ข้อเท็จจริงที่ว่าใช้ไม่ได้กับ &quot;เทสลาโรดสเตอร์&quot; (The Tesla Roadster) รถไฟฟ้าเปิดประทุนที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการเทคโนโลยีสะอาด นับแต่มีการป่าวประกาศถึงรถยนต์สะอาดนี้เมื่อปี 2546</p>\n<p>รถสปอร์ตสุดเซ็กซี่นี้วิ่งด้วยพลังงานแบตเตอรีด้วยความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านบาท ซึ่งคนเด่นคนดังอย่าง จอร์จ คลูนีย์ (George Clooney) ได้เข้าร่วมอยู่ในรายชื่อผู้จองอันยาวเหยียดกับเขาด้วย และรถไฟฟ้าสปอร์ตคันแรกได้ส่งถึงลูกค้าในปี 2551 นี้</p>\n<p>- ซีเมนต์กินควันพิษ (Smog-Eating Cement)<br />\nด้วยส่วนผสมของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงอย่างไททาเนียมไดออกไซด์ ซึ่งเร่งกระบวนการในธรรมชาติเพื่อแตกตัวสารพิษให้กลายเป็นองค์ประกอบเล็กๆ ซึ่งซีเมนต์นี้พัฒนาขึ้นที่เมืองซีเกรทใกล้กับเมืองมิลานของอิตาลี โดยซีเมนต์ที่ดูดซับควันพิษนี้มีชื่อเรียกว่า &quot;ทีเอกซ์ แอคทีฟ&quot; (TX Active) โดยบริษัทอิตัลซีเมนติ (Italcementi) ใช้เวลา 10 ปีในการพัฒนา</p>\n<p>ตอนนี้มีถนนที่การจราจรคับคั่งในเมืองซีเกรทที่ปูพื้นด้วย &quot;ซีเมนต์กินควันพิษ&quot; นี้ และทางบริษัทอิตัลซีเมนติอ้างว่า บริเวณซึ่งปูซีเมนต์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นนั้นช่วยลดปริมาณไนทริคออกไซด์ได้มากถึง 60% และนอกจากนี้ตึกที่ใช้ซีเมนต์กินควันพิษก็ยังสะอาดด้วยเช่นกัน</p>\n<p>- ปีศาจกินเวลา (The Time Eater Clock)<br />\nติดหนึ่งในสุดยอดนวัตกรรมแห่งปีของไทม์ด้วย สำหรับ &quot;นาฬิกาคอร์ปัส&quot; (Corpus Clock) นาฬิกาไร้เข็ม-ไร้ตัวเลข ซึ่งได้รับการขนานนามว่า &quot;ปีศาจกินเวลา&quot; ประดิษฐ์ขึ้นโดย จอห์น เทย์เลอร์ (John Taylor) นักนวัตกรรมชาวอังกฤษ และได้รับเกียรติจากนักฟิสิกส์แห่งยุค สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) ติดริบบิ้นเปิดตัว นาฬิกาเรือนนี้ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออธิบายถึง &quot;เวลาไม่อาจย้อนกลับ&quot; ได้ ซึ่งแสดงออกโดย &quot;การกิน&quot; ทุกวินาทีที่ผ่านไป โดยปีศาจที่คล้ายตั๊กแตน</p>\n<p>- ตู้เย็นของไอน์สไตน์ (Einstein\'s Fridge)<br />\nผลงานของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์หัวฟู ทั้งเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ล้วนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ทฤษฎีเกี่ยวกับตู้เย็นของเขากลับถูกละเลย ดังนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) สหราชอาณาจักรจึงได้รื้อฟื้นตู้เย็นที่ออกแบบโดยไอน์สไตน์และเพื่อนร่วมงานตั้งแต่ปี 2473</p>\n<p>แทนที่จะหล่อเย็นภายในตู้เย็นด้วยฟรีออน (freon) ซึ่งเป็นอีกตัวการของภาวะโลกร้อน ไอน์ไสตน์ได้ออกแบบตู้เย็นที่ใช้แอมโมเนีย บิวเทนและน้ำ และตู้เย็นนี้ยังใช้พลังงานเพียงน้อยนิดอีกด้วย แม้ว่าตูเย็นที่ไอน์ไสตน์ออกแบบไว้นั้นจะมีคุณสมบัติไม่ครอบคลุมเท่าที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ออกซ์ฟอร์ดพัฒนาขึ้นมา แต่ทีมวิจัยก็หยิบเอาแนวคิดบางส่วนของไอน์สไตน์ขึ้นมาพัฒนา และเชื่อด้วยว่าตู้เย็นนี้จะแข่งขันได้ในตลาด</p>\n<p>- แขนกลไบโอนิค (The Bionic Hand)<br />\n&quot;ไอ-ลิมบ์&quot; (iLimb) แขนกลไบโอนิคชิ้นแรกของโลกที่ออกสู่การค้าแล้ว หลังจากใช้เวลาพัฒนาและแรงคนจำนวนมาก และพัฒนาขึ้นโดยบริษัท &quot;ทัชไบโอนิคส์&quot; (Touch Bionics) ซึ่งแขนกลนี้มีการเชื่อมต่อที่มากมาย แต่ละนิ้วมือของแขนกลมีมอเตอร์ขับเคลื่อนเฉพาะ ทั้งนี้ปกติแขนเทียมมักดูคล้ายตะขอเกี่ยวทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่ไอ-ลิมบ์มีความสามารถที่มากกว่า อาทิ การหยิบจับบัตรเครดิตหรือถือถ้วยกาแฟได้ เป็นต้น</p>\n<p>- &quot;ไดนามิคทาวเวอร์&quot; ตึกระฟ้าที่ทุกชั้นหมุนได้ (The Dynamic Tower)<br />\nทุกๆ ชั้นของตึกระฟ้า &quot;ไดนามิคทาวเวอร์&quot; (The Dynamic Tower) ซึ่งสูง 80 ชั้นสามารถหมุนได้ 360 องศา ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน นับเป็นตึกแรกของโลกที่ทำได้ ตึกดังกล่าวออกแบบโดย เดวิด ฟิเชอร์ (David Fisher) สถาปนิกอิตาลี และก่อสร้างในดูไบ ส่วนกรุงมอสโคว์ของรัสเซียเป็นเมืองต่อไปที่จะสร้างตึกลักษณะนี้</p>\n<p>สำหรับตึกนี้ได้รับการออกแบบให้ใช้พลังงานลม รองรับการเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรมและที่พักอาศัย ประมาณราคาของตึกนี้อยู่ที่ 24,500 ล้านบาท โดยราคาขายห้องอยู่ที่ 130 - 1,300 ล้านบาท และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2553</p>\n<p>- ตึกไร้เงา (The Shadowless Skyscraper)<br />\nเพราะชาวปารีสไม่ปรารถนาให้เมืองของพวกเขาเหมือนเมืองฮุสตันในสหรัฐฯ ฌาคส์ เฮอร์ซอก (Jacques Herzog) และ (Pierre de Meuron) สถาปนิกชาวสวิส จึงได้ออกแบบตึกรูปสามเหลี่ยม &quot;เลอโปรเจกต์ไทรแองเกิล&quot; (Le Project Triangle) ตึกที่ผสมผสานระหว่างสำนักงานและโรงแรมที่ไม่ทำให้เกิดเงาบนถนนที่อยู่รอบๆ ลักษณะของตึกดูคล้ายคลีบของฉลามประดิษฐ์ขึ้นจากกระจกบางและเหล็กกล้ารูปสามเหลี่ยม</p>\n<p>- รองเท้าวิ่งไฮเทค (High-Tech Running Shoes)<br />\nไนกี้ (Nike) และอาดิดาส (Adidas) ยังคงแข่งขันเป็นเจ้าตลาดรองเท้ากีฬามาอย่างยาวนาน สำหรับปีนี้ไนกี้ได้เปิดตัวรองเท้า &quot;ซูมวิคทอรี&quot; (Zoom Victory) ซึ่งมีกระดาษบางที่แนบชิดผิวหนังผู้สวมใส่เหมือนเป็นผิวหนังอีกชั้น เส้นใย &quot;เวคทราน&quot; (Vectran) ซึ่งใช้ถักทอเป็นร่มชูชีพสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์ ช่วยรองรับแรงกระแทกหนักๆ ตรงส้นเท้า และรองเท้ายังมีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม นับเป็นรองเท้าที่เบาที่สุด</p>\n<p>ขณะที่อาดิดาสก็ไม่ยอมแพ้ จับมือกับ &quot;ปอร์เช่ดีไซน์&quot; (Porsche Design) ออกแบบรองเท้าวิ่ง &quot;ปอร์เช่ดีไซน์สปอร์ตบาวนซ์&quot; (Porsche Design Sport Bounce) ที่ช่วยให้ผู้สวมใส่วิ่งราวกับรถแข่ง</p>\n<p>จาก<br />\n<a href=\"http://www.manager.co.th\">http://www.manager.co.th</a>\n</p>\n', created = 1716718614, expire = 1716805014, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:c78dcf99a15fca2c6ce5cc590e5659d9' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ไทม์ยก "ตรวจดีเอ็นเอจากน้ำลาย" สุดยอดนวัตกรรมแห่งปี 2008 พร้อมอีก 49 ผลงานเด่น

ไทม์ยก "ตรวจดีเอ็นเอจากน้ำลาย" สุดยอดนวัตกรรมแห่งปี 2008 พร้อมอีก 49 ผลงานเด่น

นิตยสารไทม์จัดอันดับสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2008 ยกให้ "บริการตรวจดีเอ็นเอจากน้ำลาย" ที่สั่งซื้อได้ทางไปรษณีย์และอินเทอร์เน็ตเป็นสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ประจำปีนี้ ตามติดมาด้วยรถสปอร์ตไฟฟ้า "เทสลาโรดสเตอร์", ยานสำรวจดวงจันทร์ของนาซา "ลูนา เรคอนเนสซองซ์ ออบิเตอร์" เว็บ Hulu.com ก็ได้ เครื่องเร่งอนุภาคขนาดยักษ์ LHC ของเซิร์นก็ด้วย

ภาพยนตร์เรื่อง "กัตตากา ฝ่ากฏโลกพันธุกรรม" (Gattaca) ที่เคยฉายเมื่อปี 2540 ได้เผยให้เห็นถึงฝันร้ายของมนุษย์แห่งโลกอนาคต ที่ถูกกำหนดชะตาชีวิตไว้แต่แรกเกิดด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมของตัวเองที่ในยุคสมัยนั้นไม่ได้ถูกเก็บเป็นความลับอีกต่อไป และกรณีนี้ก็กำลังเป็นกลายเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลกันอยู่ในปัจจุบันว่าอาจเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ เพราะขณะนี้เทคโนโลยีตรวจรหัสดีเอ็นเอของมนุษย์ก้าวหน้าขึ้นมากจนสามารถสร้างแผนที่จีโนมของแต่คนได้แล้ว

ทว่าเทคโนโลยีการตรวจรหัสดีเอ็นเอส่วนบุคคล (The Retail DNA Test) ของบริษัท ทเวนตีทรีแอนด์มี (23andMe) ก็ยังได้รับการเลือกให้เป็นสิ่งประดิษฐ์แห่งปี (Invention of the Year) ในการจัดอันดับสุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2008 ของนิตยสารไทม์ (TIME's Best Inventions of 2008)

23andMe เป็นธุรกิจที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นโดยแอนน์ โวจิสคี (Anne Wojcicki : Wo-jis-key) และลินดา เอวี (Linda Avey) เพื่อดำเนินการตรวจรหัสดีเอ็นเอส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้ารับบริการ ผ่านการตรวจวิเคราะห์จากตัวอย่างน้ำลายของลูกค้าเพียงเล็กน้อย ก็จะได้ข้อมูลที่บ่งบอกสถานะทางพันธุกรรมของตนเองมากกว่า 90% รวมทั้งรู้ว่าเรามีความเสี่ยงต่อโรคบางโรคที่เป็นผลมาจากพันธุกรรมได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถูกเก็บไว้ในรูปแบบดิจิทัล (the digital manifestation of you) ที่เจ้าของข้อมูลต้องมีรหัสผ่านเข้าไปดูได้ในฐานข้อมูล

ใครที่อยากใช้บริการนี้ก็สามารถสั่งซื้อชุดเก็บตัวอย่างน้ำลายจาก 23andMe ได้ในราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14,000 บาท) ทั้งทางออนไลน์และไปรษณีย์ แล้วส่งตัวอย่างกลับไปตรวจในห้องแล็บ เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้ข้อมูลพันธุกรรมของตัวเองได้ไม่ยาก ธุรกิจนี้ของ 23andMe จึงนับว่าเข้าถึงประชาชนได้ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่แพงมากจนเกินไป

อย่างไรก็ดี ขณะนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของจีโนมส่วนบุคคล ที่จะปฏิวัติวงการแพทย์ การรักษาพยาบาล และการดูแลสุขภาพที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลพันธุกรรมของแต่ละคน ที่จะกลายเป็นข้อมูลส่วนตัวของคนคนนั้นด้วย

ในอดีตมีเพียงนักวิจัยระดับหัวกะทิหรืออภิมหาเศรษฐีกระเป๋าตุงเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ได้รับรู้ข้อมูลพันธุกรรมของตัวเอง แต่ตอนนี้ 23andMe ก็ทำให้ประชาชนคนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงข้อมูลดีเอ็นเอของตนได้ไม่ยากในราคาที่เขาสามารถจ่ายได้สบาย จึงได้รับเลือกจากไทม์ให้ครองตำแหน่งสุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 2008 จนได้ในที่สุด

ทว่า 23andMe ก็ได้จุดชนวนให้เกิดการโต้แย้งกันในเรื่องความสำคัญของผลที่ได้มา จนถึงการป้องกันไม่ให้นำข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคลมาใช้ในการเลือกปฏิบัติในทางสังคม กระทั่งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ออกกฏหมายให้การใช้ข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคลมาเป็นข้อกำหนดในการเลือกปฏิบัติของนายจ้างต่อลูกจ้าง และบริษัทประกันภัยต่อลูกค้า ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย จึงทำให้สังคมคลายความกังวลต่อเรื่องนี้ได้บ้าง

ขณะที่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์กเคยพยายามห้ามการตรวจรหัสพันธุกรรมในธุรกิจดังกล่าวด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แต่จนถึงปัจจุบันก็ล้มเหลว ส่วนทางด้านนักวิชาการบางส่วนก็ยังเห็นว่าการตรวจดีเอ็นเอในรูปแบบดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องอยู่ไม่น้อย เพราะหลายโรคเกิดจากความผิดปรกติของหลายๆ ยีนรวมกัน และยังถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยภายนอก จึงไม่ใช่เรื่องถูกต้องที่จะทำให้ประชาชนต้องเสียเงินเพียงเพื่อเข้าถึงข้อมูลดีเอ็นเอของตัวเองแค่เบื้องต้นและยังขาดความสมบูรณ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือวิตกกังวลมากกว่าที่ควร

นอกจากนี้ไทม์ยังยกอีก 49 นวัตกรรมเป็นนวัตกรรมดีที่สุดแห่ง 2551 ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ขอคัดเลือกผลงานน่าสนใจมานำเสนอ

- เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (The Large Hadron Collider: LHC)
เครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของเซิร์น (CERN) หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) ซึ่งจะส่งโปรตอนให้วิ่งวนเป็นวงกลมสวนทางกันที่ความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง จากนั้นชนกันวินาทีละ 6,000 ครั้ง เพื่อค้นคำตอบพื้นฐาน อย่างเช่น "มวลมีอยู่ได้อย่างไร?" หรือ "เอกภพมีมิติพิเศษหรือไม่?" เป็นต้น

แม้ว่าจะเครื่องเร่งอนุภาคนี้ได้เริ่มทดลองเดินเครื่องยิงลำแสงแรกไปเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และเดินเครื่องหลังจากนั้นได้เพียง 10 ก็ต้องหยุดเดินเครื่องไปอย่างน้อยจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า แต่จะเป็นไรไปหากต้องใช้เวลาอีกสักหน่อยก่อนที่จะค้นหาความจริงกันต่อ

- ผ้าคลุมล่องหน (The Invisibility Cloak)
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์ (UC Berkeley) ได้ก้าวไปอีกก้าวใหญ่ๆ ที่จะทำให้การซ่อนตัวของ แฮร์รี พอตเตอร์ (Harry Potter') เป็นจริง โดยพวกเขาได้พัฒนาวัสดุชนิดใหม่ 2 ชนิด ชั้นหนึ่งเป็นชั้นของโลหะที่ถักทอเป็นร่างแห และอีกชั้นเป็นสายโลหะของเงินขนาดเล็ก ซึ่งไม่สะท้อนหรือดูดกลืนแสง ส่งผลให้แสงเลี้ยวเบนไปข้างหลัง ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการหักเหแสงของน้ำในแก้ว

- รถสปอร์ตไฟฟ้า "เทสลาโรดสเตอร์" (The Tesla Roadster)
โดยทั่วไปรถไฟฟ้ามักจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เงียบและสะอาด แต่ปราศจาก "ความเซ็กซี่" ข้อเท็จจริงที่ว่าใช้ไม่ได้กับ "เทสลาโรดสเตอร์" (The Tesla Roadster) รถไฟฟ้าเปิดประทุนที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการเทคโนโลยีสะอาด นับแต่มีการป่าวประกาศถึงรถยนต์สะอาดนี้เมื่อปี 2546

รถสปอร์ตสุดเซ็กซี่นี้วิ่งด้วยพลังงานแบตเตอรีด้วยความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านบาท ซึ่งคนเด่นคนดังอย่าง จอร์จ คลูนีย์ (George Clooney) ได้เข้าร่วมอยู่ในรายชื่อผู้จองอันยาวเหยียดกับเขาด้วย และรถไฟฟ้าสปอร์ตคันแรกได้ส่งถึงลูกค้าในปี 2551 นี้

- ซีเมนต์กินควันพิษ (Smog-Eating Cement)
ด้วยส่วนผสมของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงอย่างไททาเนียมไดออกไซด์ ซึ่งเร่งกระบวนการในธรรมชาติเพื่อแตกตัวสารพิษให้กลายเป็นองค์ประกอบเล็กๆ ซึ่งซีเมนต์นี้พัฒนาขึ้นที่เมืองซีเกรทใกล้กับเมืองมิลานของอิตาลี โดยซีเมนต์ที่ดูดซับควันพิษนี้มีชื่อเรียกว่า "ทีเอกซ์ แอคทีฟ" (TX Active) โดยบริษัทอิตัลซีเมนติ (Italcementi) ใช้เวลา 10 ปีในการพัฒนา

ตอนนี้มีถนนที่การจราจรคับคั่งในเมืองซีเกรทที่ปูพื้นด้วย "ซีเมนต์กินควันพิษ" นี้ และทางบริษัทอิตัลซีเมนติอ้างว่า บริเวณซึ่งปูซีเมนต์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นนั้นช่วยลดปริมาณไนทริคออกไซด์ได้มากถึง 60% และนอกจากนี้ตึกที่ใช้ซีเมนต์กินควันพิษก็ยังสะอาดด้วยเช่นกัน

- ปีศาจกินเวลา (The Time Eater Clock)
ติดหนึ่งในสุดยอดนวัตกรรมแห่งปีของไทม์ด้วย สำหรับ "นาฬิกาคอร์ปัส" (Corpus Clock) นาฬิกาไร้เข็ม-ไร้ตัวเลข ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "ปีศาจกินเวลา" ประดิษฐ์ขึ้นโดย จอห์น เทย์เลอร์ (John Taylor) นักนวัตกรรมชาวอังกฤษ และได้รับเกียรติจากนักฟิสิกส์แห่งยุค สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) ติดริบบิ้นเปิดตัว นาฬิกาเรือนนี้ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออธิบายถึง "เวลาไม่อาจย้อนกลับ" ได้ ซึ่งแสดงออกโดย "การกิน" ทุกวินาทีที่ผ่านไป โดยปีศาจที่คล้ายตั๊กแตน

- ตู้เย็นของไอน์สไตน์ (Einstein's Fridge)
ผลงานของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์หัวฟู ทั้งเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ล้วนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ทฤษฎีเกี่ยวกับตู้เย็นของเขากลับถูกละเลย ดังนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) สหราชอาณาจักรจึงได้รื้อฟื้นตู้เย็นที่ออกแบบโดยไอน์สไตน์และเพื่อนร่วมงานตั้งแต่ปี 2473

แทนที่จะหล่อเย็นภายในตู้เย็นด้วยฟรีออน (freon) ซึ่งเป็นอีกตัวการของภาวะโลกร้อน ไอน์ไสตน์ได้ออกแบบตู้เย็นที่ใช้แอมโมเนีย บิวเทนและน้ำ และตู้เย็นนี้ยังใช้พลังงานเพียงน้อยนิดอีกด้วย แม้ว่าตูเย็นที่ไอน์ไสตน์ออกแบบไว้นั้นจะมีคุณสมบัติไม่ครอบคลุมเท่าที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ออกซ์ฟอร์ดพัฒนาขึ้นมา แต่ทีมวิจัยก็หยิบเอาแนวคิดบางส่วนของไอน์สไตน์ขึ้นมาพัฒนา และเชื่อด้วยว่าตู้เย็นนี้จะแข่งขันได้ในตลาด

- แขนกลไบโอนิค (The Bionic Hand)
"ไอ-ลิมบ์" (iLimb) แขนกลไบโอนิคชิ้นแรกของโลกที่ออกสู่การค้าแล้ว หลังจากใช้เวลาพัฒนาและแรงคนจำนวนมาก และพัฒนาขึ้นโดยบริษัท "ทัชไบโอนิคส์" (Touch Bionics) ซึ่งแขนกลนี้มีการเชื่อมต่อที่มากมาย แต่ละนิ้วมือของแขนกลมีมอเตอร์ขับเคลื่อนเฉพาะ ทั้งนี้ปกติแขนเทียมมักดูคล้ายตะขอเกี่ยวทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่ไอ-ลิมบ์มีความสามารถที่มากกว่า อาทิ การหยิบจับบัตรเครดิตหรือถือถ้วยกาแฟได้ เป็นต้น

- "ไดนามิคทาวเวอร์" ตึกระฟ้าที่ทุกชั้นหมุนได้ (The Dynamic Tower)
ทุกๆ ชั้นของตึกระฟ้า "ไดนามิคทาวเวอร์" (The Dynamic Tower) ซึ่งสูง 80 ชั้นสามารถหมุนได้ 360 องศา ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน นับเป็นตึกแรกของโลกที่ทำได้ ตึกดังกล่าวออกแบบโดย เดวิด ฟิเชอร์ (David Fisher) สถาปนิกอิตาลี และก่อสร้างในดูไบ ส่วนกรุงมอสโคว์ของรัสเซียเป็นเมืองต่อไปที่จะสร้างตึกลักษณะนี้

สำหรับตึกนี้ได้รับการออกแบบให้ใช้พลังงานลม รองรับการเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรมและที่พักอาศัย ประมาณราคาของตึกนี้อยู่ที่ 24,500 ล้านบาท โดยราคาขายห้องอยู่ที่ 130 - 1,300 ล้านบาท และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2553

- ตึกไร้เงา (The Shadowless Skyscraper)
เพราะชาวปารีสไม่ปรารถนาให้เมืองของพวกเขาเหมือนเมืองฮุสตันในสหรัฐฯ ฌาคส์ เฮอร์ซอก (Jacques Herzog) และ (Pierre de Meuron) สถาปนิกชาวสวิส จึงได้ออกแบบตึกรูปสามเหลี่ยม "เลอโปรเจกต์ไทรแองเกิล" (Le Project Triangle) ตึกที่ผสมผสานระหว่างสำนักงานและโรงแรมที่ไม่ทำให้เกิดเงาบนถนนที่อยู่รอบๆ ลักษณะของตึกดูคล้ายคลีบของฉลามประดิษฐ์ขึ้นจากกระจกบางและเหล็กกล้ารูปสามเหลี่ยม

- รองเท้าวิ่งไฮเทค (High-Tech Running Shoes)
ไนกี้ (Nike) และอาดิดาส (Adidas) ยังคงแข่งขันเป็นเจ้าตลาดรองเท้ากีฬามาอย่างยาวนาน สำหรับปีนี้ไนกี้ได้เปิดตัวรองเท้า "ซูมวิคทอรี" (Zoom Victory) ซึ่งมีกระดาษบางที่แนบชิดผิวหนังผู้สวมใส่เหมือนเป็นผิวหนังอีกชั้น เส้นใย "เวคทราน" (Vectran) ซึ่งใช้ถักทอเป็นร่มชูชีพสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์ ช่วยรองรับแรงกระแทกหนักๆ ตรงส้นเท้า และรองเท้ายังมีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม นับเป็นรองเท้าที่เบาที่สุด

ขณะที่อาดิดาสก็ไม่ยอมแพ้ จับมือกับ "ปอร์เช่ดีไซน์" (Porsche Design) ออกแบบรองเท้าวิ่ง "ปอร์เช่ดีไซน์สปอร์ตบาวนซ์" (Porsche Design Sport Bounce) ที่ช่วยให้ผู้สวมใส่วิ่งราวกับรถแข่ง

จาก
http://www.manager.co.th

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 297 คน กำลังออนไลน์