หิน

หิน


      หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ
เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ หินอัคนี (Igneous Rocks) หินตะกอน (Sedimentary Rocks) และ หินแปร (Metamorphic Rocks)
แต่เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยได้รับการนิยมเท่าใดนัก เนื่องจากนักธรณีวิทยาพบว่ามีหลายครั้งๆ ที่หินอัคนีหรือหินแปรก็แสดงลักษณะเป็นชั้นๆเช่นกัน เช่น ชั้นลาวาของหินบะซอลต์ หรือริ้วรอยชั้นเนื่องจากการแปรสภาพของหินไนส์ และในบางครั้งหินตะกอนก็ไม่แสดงลักษณะเป็นชั้นๆก็มี
ดังนั้นทางด้านการศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยจึงพยายามรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ใช้ชื่อ หินตะกอน' ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่า’ หินชั้น
หิน คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูล ซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ


แร่ประกอบหิน


ตระกูลซิลิเกต
เฟลด์สปาร์ (Feldspar) เป็นกลุ่มแร่ที่มีมากกว่าร้อยละ 50 ของเปลือกโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของหินหลายชนิดในเปลือกโลก เฟลด์สปาร์มีองค์ประกอบหลักเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกต รูปผลึกหลายชนิด เมื่อเฟลด์สปาร์ผุพังจะกลายเป็นอนุภาคดินเหนียว (Clay minerals)
ควอรตซ์ (SiO2) เป็นซิลิกาไดออกไซด์บริสุทธิ์ มีรูปผลึกทรงหกเหลี่ยมยอดแหลม มีอยู่ทั่วไปในเปลือกทวีป แต่หาได้ยากในเปลือกมหาสมุทรและแมนเทิล เมื่อควอรตซ์ผุพังจะกลายเป็นอนุภาคทราย (Sand) ควอรตซ์มีความแข็งแรงมาก ขูดแก้วเป็นรอย
ไมก้า (Mica) เป็นกลุ่มแร่ซึ่งมีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง มีองค์ประกอบเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกตไฮดรอกไซด์ มีอยู่ทั่วไปในเปลือกทวีป ไมก้ามีโครงสร้างเช่นเดียวกับ แร่ดินเหนียว (Clay minerals) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของดิน
แอมฟิโบล (Amphibole group) มีลักษณะคล้ายเฟลด์สปาร์แต่มีสีเข้ม มีองค์ประกอบเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกตไฮดรอกไซด์ ที่มีแมกนีเซียม เหล็ก หรือ แคลเซียม เจือปนอยู่ มีอยู่แต่ในเปลือกทวีป ตัวอย่างของกลุ่มแอมฟิโบลที่พบเห็นทั่วไปคือ แร่ฮอร์นเบลนด์ ซึ่งอยู่ในหินแกรนิต
ไพร็อกซีน (Pyroxene group) มีสีเข้ม มีองค์ประกอบที่เป็นแมกนีเซียมและเหล็กซิลิเกตอยู่มาก มีลักษณะคล้ายแอมฟิโบล มีอยู่แต่ในเปลือกมหาสมุทร
โอลิวีน (Olivine) มีองค์ประกอบหลักเป็นแมกนีเซียมและเหล็กซิลิเกต มีอยู่น้อยมากบนเปลือกโลก กำเนิดจากแมนเทิลใต้เปลือกโลก
ตระกูลคาร์บอเนต
แคลไซต์ (Calcite) เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักของหินปูนและหินอ่อน โดโลไมต์ (Dolomite) ซึ่งเป็นแร่คาร์บอเนตอีกประเภทหนึ่งที่มีแมงกานีสผสมอยู่ CaMg(CO3) 2 แร่คาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับกรดเป็นฟองฟู่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา


หินชนิดต่างๆ
หินโคลน


        หินโคลน (Mudstone) เป็นหินตะกอน (Sediment Rock) มีลักษณะ เนื้อละเอียด ประกอบด้วยทรายละเอียดและดินเหนียวปะปนกัน ซึ่งมีการเชื่อมประสานอนุภาคให้จับตัวกันแน่น มีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 1/256 มิลลิเมตร หรือ น้อยกว่า 0.063 มิลลิเมตร (mm) หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.0025 นิ้ว (inch)


หินตะกอน


       หินตะกอน คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ


การเรียกชื่อหินชั้น
       เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยได้รับการนิยมเท่าใดนัก เนื่องจากนักธรณีวิทยาพบว่ามีหลายครั้งๆ ที่หินอัคนีหรือหินแปรก็แสดงลักษณะเป็นชั้นๆเช่นกัน เช่น ชั้นลาวาของหินบะซอลต์ หรือริ้วรอยชั้นเนื่องจากการแปรสภาพชองหินไนส์ และในบางครั้งหินตะกอนก็ไม่แสดงลักษณะเป็นชั้นๆก็มี ดังนั้นทางด้านการศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยจึงพยายามรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ใช้ชื่อ หินตะกอน ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่า หินชั้น


หินทราย


        หินทราย (อังกฤษ: Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์
เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง
ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง


หินหลอมเหลว


       หินหลอมเหลว หรือ ลาวา (อังกฤษ: lava) คือหินหนืด (magma) ที่เคลื่อนที่เข้าออกบนพื้นผิวโลก และหากหินหนืดเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks)


หินทรายแป้ง


         หินทรายแป้ง(Siltstone) เป็นคำศัพท์ทางธรณีวิทยาหมายถึง หินตะกอน ที่เปรียบเทียบขนาดของอนุภาคที่มีความหยาบกว่าหินทราย แต่มีความละเอียดมากกว่า หินโคลน


หินบะซอลต์


       หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด มีเนื้อละเอียด สีเข้ม หรือเทาแก่ถึงดำ น้ำตาลแก่ และหนัก ส่วนมากมีรูพรุน อายุของหินที่พบในประเทศไทยนับว่ามีอายุใหม่มาก ประมาณ 2 – 10 ล้านปี อยู่ในยุค Quaternary – Late Tertiary เกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว


หินเชิร์ต


        หินเชิร์ต (Chert) หินตะกอนเนื้อแน่น แข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่ เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เนื่องจากแพลงตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของแพลงตอนจะจมลงทับถมกัน หินเชิร์ตจึงปะปนอยู่ในหินปูน      ในประเทศไทยส่วนใหญ่หาพบได้ยาก มีประโยชน์ไว้ทำเครื่องประดับ ทำเลนส์


หินอัคนี


      หินอัคนี (Igneous rock)คือหินที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหนืด (Magma) เมื่อหินหนืดเหล่านี้เคลื่อนที่เข้ามาใกล้ผิวโลก หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหนืดใต้ผิวโลกอย่างช้า ๆ เรียกว่า หินอัคนีบาดาล (Intrusive Rocks หรือ Plutonic Rocks) หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลว (Lava) บนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (Extrusive Rocks หรือ Volcanic Rocks) หินอัคนีที่เกิดจากการทับถมของเศษหินที่ได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อมีการเชื่อมประสานด้วยแร่ จะได้หินที่เรียกว่า หินอัคนีตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic Rocks)


หินอัคนีภูเขาไฟ


      หินอัคนีภูเขาไฟ (Extrusive Rocks หรือ Volcanic Rocks) คือหินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลว (Lava) บนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก จากลักษณะการเกิดหินอัคนีภูเขาไฟ อัตราการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลวเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้หินอัคนีภูเขาไฟมีเนื้อหินหรือขนาดผลึกที่ละเอียด สังเกตผลึกหรือแร่ประกอบหินด้วยตาเปล่าได้ยาก เช่น หินบะซอลต์ หรือในบางครั้งก็เป็นเนื้อแก้วที่ไม่มีรูปผลึก เช่น หินออบซิเดียน และ หินพัมมิซ
นอกจากนี้ยังมีหินอัคนีอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทับถมของเศษหินที่ได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อมีการเชื่อมประสานด้วยแร่ จะได้หินที่เรียกว่า หินอัคนีตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic Rocks)


หินภูเขาไฟ


       หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) เกิดขึ้นเมื่อหินร้อนเหลวหรือแมกมาถูกดันและปะทุออกมานอกเปลือกโลก ซึ่งอาจจะออกมาตามรอยแตก หรือระเบิดออกมาเป็นภูเขาไฟกลายเป็นลาวา ลาวาจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และแข็งตัวเป็นหินซึ่งมีผลึกขนาดเล็กถึงเล็กมาก ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นรูปของผลึกด้วยตาเปล่า ลาวาที่ถูกขับมาจากส่วนลึกของเปลือกโลกจะประกอบด้วยแร่ที่มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมสูง เมื่อแข็งตัวก็จะได้หินภูเขาไฟสีดำ ลาวาที่ถูกขับออกมาจากเปลือกโลกในระดับความลึกไม่มากนัก จะกลายเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อน การปะทุขึ้นมาของแมกมาเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ได้แก่  การปะทุแบบไม่รุนแรง  การปะทุแบบรุนแรง


หินแกรนิต


        หินแกรนิต (granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์สีเทาใส แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์ หินแกรนิตแข็งแรงมาก หินแกรนิตมีความแน่น ทึบ หนัก และแข็งแรง ทนต่อกรดและด่าง ทนต่อการขีดข่วน และต้านทานความชื้นได้ดี เมื่อถูกขัดจะมีความเงา เรียบ หินแกรนิตจึงถูกใช้ทำขั้นบันได มีสีต่าง ๆ หลายสี เช่น สีเทา สีเขียว สีชมพู หรือสีแดงหินที่ใช้ใน การทำคอนกรีตจะต้องมีผิวขรุขระ มีเหลี่ยมคม เพื่อให้ซีเมนต์สามารถยึดเกาะได้


หินควอร์ตไซต์


      หินควอร์ตไซต์ (Quartzite)   เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินทราย มีลักษณะเป็นเม็ดๆ นิยมใช้ทำกรวดคอนกรีต ทำหินอัดเม็ด และใช้ทำวัสดุทนไฟ


หินอ่อน


        หินอ่อน (Marble) เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินปูน มีทั้งเนื้อละเอียด และเนื้อหยาบ มีสีขาวหรือสีต่างๆ นิยมใช้ทำหินประดับอาคารและนำมาแกะสลัก

ประโยชน์ของหิน


  ประโยชน์ของหิน มนุษย์นำหินมาใช้ประโยชน์ในงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบ และคุณสมบัติเฉพาะตัวของหินนั้นๆ ได้แก่ แร่ โครงสร้าง ความเป็นกรด ความแกร่ง และความสวยงาม เป็นต้น 
 1. หินแกรนิต เป็นหินที่ความทนทานสูง จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา นอกจากนี้หินแกรนิตมีเนื้อแข็งจึงนิยมทำครก
 2. หินชนวน เป็นหินที่ความทนทานสูงเช่นกัน จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา ในสมัยโบราณใช้ทำกระดานชนวน
 3. หินอ่อน ใช้ในการตกแต่งตัวอาคารให้สวยงาม และทำของใช้ที่ต้องการความสวยงาม เช่น ใช้ทำพื้น ผนังบ้าน โต๊ะหินอ่อน หินประดับ กรอบ       รูป เป็นต้น
 4. หินปูน ใช้ในการก่อสร้าง ทำถนนและทำรางรถไฟ และยังใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการผลติปูนซีเมนต์เช่นเดียวกับหินดินดาน
 5. หินศิลาแลง มีสีน้ำตาลแดง มีรูพรุน จึงนิยมทำกำแพง และตกแต่งสถานที่
 6. หินทราย แกะสลักรูปต่าง ๆ
 7. ถ่านหิน ใช้เป็นเชื้อเพลิง นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 
 8. ทำเครื่องประดับตกแต่ง เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู ฯลฯ
 9. ทำที่อยู่อาศัยก่อสร้างอาคารหรือถนน
 10. ทำอาวุธล่าสัตว์ในสมัยก่อน
 11. หินหลายชนิดเป็นอัญมณีมีค่าใช้ทำเครื่องประดับ
 12. ในหินมีสินแร่ชนิดต่างๆ ทั้งโลหะและอโลหะ

          สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ หินเมื่อใช้แล้วไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ทันที เมื่อความต้องการใช้หินมีแนวโน้มสูงขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอัน ได้แก่ ป่าไม้และสัตว์ป่า

 


 

สร้างโดย: 
จำเริญ บุญยืน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 767 คน กำลังออนไลน์