user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค', 'node/21346', '', '3.22.77.149', 0, 'cdae09cb1092427fd87eaf9f0ae99565', 170, 1716120927) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

เทควันโด

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 การเล่นเทควันโด '

        เทควันโด เป็นศิลปะการป้องกันตัวชองประเทศเกาหลีมีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ.1955 องค์กรพิเศษได้ถูกจัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณะชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสามชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญกลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพล Choi  Hong  Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด(Taekwondo)   คำว่า เท (태) แปลว่า เท้า หรือการโจมตีด้วยเท้า ควัน (권) แปลว่า มือ หรือการโจมตีด้วยมือ โด (도) แปลว่า วิถี ดังนั้นเทควันโดโดยทั่วไป หมายถึง วิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวศูนย์กลางเทควันโดโลก คือKukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนายอุน ยอง คิม (Un Yong Kim) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และเป็นประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี 
 
ค.ศ. 1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1974  มีการสัมมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1986  เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ค.ศ.1987  เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์
ค.ศ.1988  เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล  ประเทศเกาหลี

ค.ศ.2000  เทควันโดเป็นกีฬาในโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์  ประเทศออสเตรเลีย

 

 

ประวัติความเป็นมาของเทควันโดในประเทศไทย

 

      ยุคแรก  เทควันโดมีการเรียนการสอนเฉพาะทหารอเมริกันตาม ตามฐานทัพต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น อู่ตะเภา จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา  เป็นต้น โดย ทหารอเมริกันได้จ้างอาจารย์เทควันโด จากประเทศเกาหลีมาเป็นผู้ฝึกสอนให้
      ยุคก่อนปัจจุบัน  เป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้เรียน เมื่อประมาณ 25 ปีกว่าได้มีการเรียนการสอนที่บริเวณด้านหลังโรงภาพยนตร์ลิโด สยามสแควร์ ซึ่งก็ยังมีคนเรียนกันไม่มากนัก
      ในเวลาต่อมา  เทควันโดได้เปิดสอนที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัวอาภัสสา ถ.สุขุมวิท ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ โดยการนำของ คุณมัลลิกา ขัมพานนท์ ผู้ซึ่งมีความสนใจและรักกีฬาเทควันโดอย่างจริงจัง ทั้งยังได้พัฒนาและเผยแพร่เทควันโดในประเทศไทย โดยการนำ อ.ซอง กิยอง จากประเทศเกาหลีมาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียน และ คุณมัลลิกา ยังเป็นนายกสมาคมเทควันโดคนแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นเทควันโดก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยมา

 

 

 กติกา

 กติกาเทควันโดสากล มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม และความเรียบร้อย ในการจัดการ
แข่งขันเทควันโดทุกระดับชั้น ซึ่งจัดหรือรับรองโดย สหพันธ์เทควันโดโลก สหพันธ์เทควันโดประจำภูมิภาค และสมาคมเทควันโดในแต่ละประเทศสมาชิก ให้มีกฎระเบียบเป็นมาตรฐานเดียวกัน   
กติกาเทควันโดสากลมีผลบังคับใช้กับการแข่งขันใดๆ ที่จัดขึ้น หรือ รับรองโดย สหพันธ์เทควันโดโลก
สหพันธ์เทควันโดประจำภูมิภาค และสมาคมเทควันโดในแต่ละประเทศสมาชิก   หากสมาคมใด
มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขกติกาส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม จะต้องชี้แจงและ ขออนุมัติจากสหพันธ์เทควันโดโลกก่อนทุกครั้ง
       ส่วนวิธีการทำคะแนน ข้อห้ามจะต้องเตือนหรือตัดคะแนน และลักษณะสนามแข่งขันเป็นข้อที่
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้  ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

 

 

การแต่งกายของนักกีฬา

 

 

1.  ให้ใช้ชุดกีฬาเทควันโด (DOBOK) และอุปกรณ์เครื่องป้องกัน ที่ได้รับรองจากสมาคม
เทควันโด (คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา)
2.  ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเกราะป้องกันลำตัว (Trunk protector)  หมวกกันน็อค(Head guard) สนับแขนและสนับขา (Forearm & Shin guard )ให้เรียบร้อยก่อนเข้าบริเวณสนามแข่งขัน โดยกระจับ สนับแขน และสนับขา ให้ใส่ไว้ข้างในชุดกีฬา ผู้เข้าแข่งขันสามารถนำอุปกรณ์การแข่งขันส่วนตัว(ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทควันโดโลก)มาใช้ได้
3.  การตรวจสอบทางด้านการแพทย์
   -  การแข่งขันเทควันโดที่จัดขึ้นโดยการกีฬาแห่งประเทศไทยและได้รับการรับรอง จากสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย              ห้ามใช้ยาโด๊ป สารกระตุ้น และสารเคมี ต้องห้ามอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ใน WTF anti-doping by laws โดยเด็ดขาด  

    -  คณะกรรมการ มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการตรวจสอบด้านการแพทย์ใดๆ ก็ตามแก่ผู้เข้าแข่งขันที่ต้องสงสัยว่าอาจจะละเมิดข้อ          ห้ามข้างต้น ผู้ชนะในการแข่งขันผู้ใดที่ปฏิเสธการตรวจสอบ หรือตรวจแล้วพบว่าละเมิดข้อห้ามดังกล่าว จะถูกริบตำแหน่ง  และเหรียญรางวัล  เพื่อมอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในตำแหน่งถัดลงไป
    -  คณะกรรมการจัดการแข่งขันเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดให้มีการตรวจสอบดังกล่าว
    -  รายละเอียดของการปฏิบัติจะได้กำหนดไว้ใน IOC Anti-doping by law

วิธีจัดการแข่งขัน

 

1 ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออก
2 ไม่มีการแข่งขันชิงที่ 3 โดยให้มีตำแหน่งที่ 3 ร่วมกัน 2 คน
    การจัดรางวัลประเภททีมใช้ระบบ *point system และอาจมีรางวัล Good Fighting Spirit

การรวมคะแนนสำหรับทีม ได้จากผลรวมของคะแนนดังนี้
        -  คะแนนสำหรับผู้ที่ชั่งน้ำหนักผ่าน
        -  คะแนนสำหรับการชนะแต่ละครั้ง (รวมทั้งผู้ที่จับฉลากได้ bye )
        -  บวก 7 คะแนนสำหรับผู้ที่ได้เหรียญทอง
        -  บวก 3 คะแนนสำหรับผู้ที่ได้เหรียญเงิน
        -  บวก1 คะแนนสำหรับผู้ที่ได้เหรียญทองแดง
3  ถ้านักกีฬารุ่นใดมีไม่ถึง 4 คน จาก 5 ภาค จะไม่ทำการแข่งขัน
4 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน ให้แข่งขันคู่ละ 3 ยกๆละ 2 นาที พัก 1 นาที
5  การจับฉลากเลือกสายการแข่งขัน
       -  การจับฉลากเลือกสายการแข่งขัน ให้กระทำก่อนเริ่มการแข่งขันวันแรก 1 วัน ต่อหน้าสักขีพยานจากสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย และของผู้แทนภาคต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยเริ่มจับฉลากตั้งแต่รุ่นฟินเวทขึ้นไป  ส่วนลำดับ การจับฉลากให้เรียงชื่อตามลำดับอักษร  ภาษาอังกฤษ (หรือภาษาไทยก็ได้)
      -  เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน จะเป็นผู้จับฉลากเลือกสายการแข่งขันให้แก่ทีมที่ไม่ส่ง ผู้แทนเข้าร่วมในการจับฉลาก
      -  ลำดับการจับฉลากในข้อที่1 อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยมติที่ประชุมของผู้ควบคุมทีม

 

 

 

ท่าเตะในกีฬาเทควันโด

 เทคนิคการเตะของเทควันโด ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของกีฬาเทควันโดเลยก็ว่าได้ การเตะที่มีความเร็ว และกําลังต้องอาศัย การฝึกซ้อมอยู่เป็นประจํา การที่คุณมีกําลังมากๆในการเตะจะช่วยให้คุณได้เปรียบในการต่อสู้ ในการเตะต้องใช้สะโพกช่วยส่งแรง คุณต้องยืดขาให้สุดพร้องส่งแรงไปเต็มกําลังจะทําให้การเตะของคุณสมบูรณ์ที่สุด

1. ท่าเตะด้านหน้า (Front kick)

     
 

     ยกเข่าข้างที่จะเตะให้สูง ย่อเข่าเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว ดีดขาออกไปให้เร็วโดยการใช้สะโพกช่วย เหยียดเท้าให้เต็มที่ และพับขา
กลับมาในท่าเริ่มต้น

 2. ท่าเตะด้านข้าง (Sid kick)

   

   ยกเข่าข้างที่จะเตะขึ้นแลัวหมุนตัว ให้สั้นเท้าชี้ไปทางเป้าหมายหันฝ่าเท้าไปทางด้านหน้า ในลักษณะสันเท้าใกล้สะโพกขาที่พับอยู่
ขนานกับพื้น ออกแรงทีบให้เร็ว หันหน้าตามองผ่านไหล่ พับขากลับมาในท่าเริ่มต้น

3.ท่าเตะตวัด (Round kick)

 

    ยกเข่าข้างที่จะเตะขึ้น ขาท่อนล่างเป็นจุดหมุนบิดสะโพกพร้อมส่งแรงเตะตวัดออกไป จุดปะทะอยู่ที่หลังเท้า หรือจมูกเท้า พับขา
กลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น

4.ท่าเตะเหยียบลง (Chop kick)

   

 ยกขาข้างที่จะเตะขึ้นแทงเข่าให้สูง พร้อมเหยียดเท้าให้สูงตบลงอย่างรวดเร็ว โดยใช้ฝ่าเท้าตบลงสู่เป้าหมาย

 

สร้างโดย: 
นาย รัฐธรรมนูญ เปรมชัยพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 261 คน กำลังออนไลน์