จักรวรรดิโรมันหลังยุคออกุสตุส

ผู้นำจักรวรรดิหลังยุคออกุสตุส

ออกุสตุสสิ้นพระชนม์ในปี ค.. 14 เมื่อมีพระชนม์ได้ 76 พรรษา  หลังจากนั้นพรินซิเพท (คือรัฐบาลของพรินเซบส์) รวมศูนย์มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบราชการขยายตัว และการปกครองส่วนภูมิภาคดำเนินไปด้วยดี อัตราภาษีต่ำและการจัดเก็บมีการประเมินอย่างดี กฎหมายมีมนุษยธรรมมากขึ้น พสกนิกรที่อยู่ห่างไกลได้รับความเจริญรุ่งเรืองและมีสันติสุขอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนด้วยพระปรีชาญาณของออกุสตุส

ในศตวรรษที่ 2 มีการปรับปรุงคุณภาพผู้นำจักรวรรดิ ผู้ปกครองโรมระหว่าง ค.. 96 – 180 ได้สมญาว่า จักรพรรดิที่ดี 5 องค์คือ เนอร์วา ทราจัน เฮเดรียน แอนโตนินุส และ มาร์คุส ออเรลิอุส ลักษณะเด่น คือ จักรพรรดิมีความคิด และรับผิดชอบต่อทุกข์ สุข ของจักรวรรดิ มีการปกครองที่เป็นธรรม รักษาความสงบสุขของพลเมือง ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวัตถุและการป้องกันพรมแดนจากการรุกราน จักรพรรดิแต่ละองค์จะไม่ใช้หลักการสืบสันตติวงศ์ทางสายเลือด แต่จะรับชายหนุ่มที่มีความสามารถดีเด่นมาเป็น โอรสบุญธรรมและผู้สืบราชบัลลังก์ (แม้ว่าในทางทฤษฎี สภาเซเนท จะเลือกพรินเซบส์) เมื่อ มาร์คุล ออเรลิอุส จงใจเลือกโอรสคือ คอมโมดุสผู้ไร้ความสามารถขึ้นเป็นจักรพรรดิ ทำให้ยุคที่ยิ่งใหญ่ของความเป็นจักรพรรดิที่ดีสิ้นสุดลง

จักรวรรดิโรมันภายใตต้ระบบพรินซิเพทนี้นับตั้งแต่การเถลิงอำนาจของออกุสตุสจนถึงมาร์คุส ออเรลิอุสนั้นได้ครอบครองดินแดนขนาดใหญ่ ภาระในการป้องกันพรมแดนอันยาวเหยียดตกอยู่กับกองทัพที่ได้รับการฝึกอย่างดี การคมนาคมภายในนั้นมีถนนหนทางที่ดีเยี่ยมซึ่งเชื่อมโรมเข้ากับแคว้นต่าง ๆ เส้นทางการค้าทางทะเลก็ได้รับความคุ้มครองจากกองทัพเรือโรมัน ระยะเวลา 2 ศตวรรษแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยออกุสตุสจนถึง มาร์คุส ออเรลิอุส ได้รับสมญาว่า PAX ROMANA หรือสันติภาพโรมัน

              ภายใต้การพิทักษ์ของสันติภาพโรมัน ความรุ่งเรืองทางการค้า สถาบันโรมันและวัฒนธรรมคลาสสิคได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางทั่วจักรวรรดิโรมัน เมื่อแคว้นที่อยู่ห่างไกลมีความเป็นโรมันมากขึ้น ความหมายของ โรมและ โรมันก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากประชาชนในดินแดนส่วนใหญ่ของอิตาลี ไปจนถึงแคว้นต่าง ๆ ที่ได้สัญชาติโรมันด้วย โรมันได้พัฒนาเมืองเป็นหน่วยหลักในการปกครอง บางเมืองสามารถพัฒนาตนเองเป็นศูนย์กลางการค้าและหัตถกรรม แต่บางเมืองไม่อาจพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ส่วนใหญ่เมืองทางตะวันออกจะเจริญทางด้านการค้า และมีอุตสาหกรรมพื้นเมืองขนาดย่อมในตัวเมือง แต่เศรษฐกิจหลักโดยส่วนรวมของโรมัน คือ เกษตรกรรม ทาส จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นแรงงาน อย่างไรก็ตามสังคมโรมันรวมถึงชาวนาที่ยากจนและยาจกที่อดอยากเสมอ

สร้างโดย: 
น.ส.กรกช นิติพัฒนาภิรักษ์ ชั้น ม.6/3 เลขที่23 ร.ร.ศีลาจารพิพัฒน์
รูปภาพของ silavacharee

ตรวจแล้ว

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 596 คน กำลังออนไลน์