• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:5f93049efd7e4141459201fb28a2d80c' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span class=\"body\"><span style=\"font-size: small\"><strong><u>อิทธิพลของคริสต์ศาสนาของสมัยยุโรปสมัยกลาง</u></strong> </span></span>\n</p>\n<p>\n<span class=\"body\"><span style=\"font-size: small\">เนื่องในศุภวาระที่คริสตศาสนจักรโรมันคาธอลิก ณ นครรัฐวาติกัน เพิ่งจะได้สมเด็จพระสันตะปาปาหรือ Pope พระองค์ใหม่คือ <strong>สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกท์ที่ 16 (Benedict XVI)</strong> (ในวันที่ 20 เมษายน) แทนสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 ซึ่งสิ้นพระชนม์ ไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน ผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอถึงแนวคิดของนักทฤษฎีการเมืองในยุคที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุด (The Supremacy) เป็นของพระเจ้าหรือของพระสันตะปาปา ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวคิดของนักทฤษฎีการเมืองในยุคต่อ ๆ มา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ บทบาทและพระราชอำนาจอันยิ่งใหญ่ของคริสตจักรและสมเด็จพระสันตะปาปาในยุโรปยุคกลาง <br />\n       คริสต์ศาสนาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่พระเยซูคริสตเจ้ามิได้ปรารถนาที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง คัมภีร์ของพระองค์ถูกสร้างขึ้นเพื่อชำระวิญญาณและไถ่บาปให้แก่มวลมนุษยชาติ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างรัฐและรัฐบาล หรือข้อเสนอแนะนำว่าสถาบันทางโลกควรมีหน้าที่อย่างไร พระองค์มุ่งหวังที่จะสถาปนาอาณาจักรธรรม และทรงประกาศยืนยันว่าพระองค์ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางโลกแม้แต่น้อย <br />\n       <br />\n       อิทธิพลของคริสต์ศาสนาต่ออาณาจักรโรมันเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 4 ภายหลังจากที่บรรดาคริสตชนถูกบรรดาผู้ปกครองของโรมันกดขี่และพยายามกำจัดด้วยวิธีการทารุณต่าง ๆ อยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่ง ค.ศ. 311 จักรพรรดิกาลีริอุส (Galerius) ยินยอมให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้โดยสันติ และคอนสแตนติน (Constantine) จักรพรรดิพระองค์ต่อมาทรงเลื่อมใสในคริสต์ศาสนาถึงกับประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชนด้วย และก่อนสิ้นสุดคริสตศตววรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ก็กลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมัน โดยราชโองการของจักรพรรดิธีโอโดซิอุส (Theodosius) นับแต่นั้นเป็นต้นมาคริสต์ศาสนาก็ได้รับการเผยแผ่ไปทั่วทั้งดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน<br />\n       <br />\n       เหตุที่คริสต์ศาสนามีความเจริญรุ่งเรื่องและแผ่ขยายได้อย่างกว้างขวางเนื่องจาก (1) จักรพรรดิโรมันในยุคนั้นขาดความสามารถในการบริหารและขาดคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ (2) ผู้นำทางคริสต์ศาสนาในเวลานั้นมีคุณสมบัติที่จักรพรรดิไม่มี (3) ความแตกแยกและเสื่อมโทรมของสังคมและการเมืองในจักรวรรดิสมัยนั้น คนจึงหวังมีชีวิตอย่างมีความสุขในโลกหน้า (4) อานารยชนที่รุกรานเข้ามาได้ทำลายแต่ความรุ่งเรืองของโรมันในด้านสถาบันการเมืองการปกครองเท่านั้น หาได้ยุ่งเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแต่อย่างใดไม่</span><span style=\"font-size: small\"><br />\n       <br />\n       </span><span style=\"font-size: small\"><strong>ความคิดทางการเมืองของนักบวชคริสต์สมัยต้น<br />\n       </strong><br />\n       พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) มีเนื้อหาสำคัญที่เด่นชัดถือเป็นหลักการเชิงการเมืองของศาสนาคริสต์คือ การยอมรับ<strong>กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)</strong> ความเสมอภาค และความเชื่อว่า<strong>รัฐและรัฐบาลเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้น</strong> หลักการทั้งสามประการนี้นอกจากจะปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่แล้วบรรดานักบวชคริสต์สมัยต้นอีกหลายท่านยังช่วยอรรถาธิบายเพิ่มเติมจนผู้ที่ศึกษาสามารถเข้าใจได้กระจ่างยิ่งขึ้น<br />\n       <br />\n       <strong>เซ็นต์ปอล (Saint Paul)</strong> ได้เขียนไว้ในจดหมายบันทึกเหตุ ความว่า กฎหมายธรรมชาติถูกลิขิตไว้ในจิตใจของมนุษย์ทุกรูป สามารถที่จะค้นหาพบได้ด้วยเหตุผล เป็นกฎหมายที่แตกต่างจากกฎหมายของรัฐ กฎหมายเป็นเช่นเดียวกับกฎแห่งศีลธรรม (conscience) สิ่งใดผิดหรือถูกสามารถรู้ได้ผ่านทางกฎหมายนี้ โดยมโนสำนึกจะคอยบอกว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร แนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาตินี้บรรดาฟาร์เธอร์ของคริสต์ศาสนาในสมัยต่อ ๆ มา ยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของคริสต์ศาสนา<br />\n       <br />\n       นอกจากนี้พระคัมภีร์ใหม่ยังอ้างว่า <strong>บรรดารัฐบาลและสถาบันการปกครองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นและกำหนดให้เป็นไปทั้งสิ้น</strong> ดังนั้นจึงต้องยอมรับว่า บรรดาสถาบันเหล่านี้เป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์ ได้รับหน้าที่จากพระเป็นเจ้า การเคารพเชื่อฟังเป็นพันธะของทุก ๆ คนเช่นเดียวกับพันธะต่อศาสนา “รัฐถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาความยุติธรรม ดังนั้นรัฐจึงมีลักษณะแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกครองคือผู้รับใช้ของพระเจ้า การเชื่อฟังจึงเป็นสิ่งจำเป็น”<br />\n       <br />\n       แนวทรรศนะเกี่ยวกับกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ปรากฏในคัมภีร์ใหม่จึงเป็นรากฐานของ <strong>ลัทธิเทวสิทธิ (Divine Right)</strong> อำนาจของผู้ปกครองมีความชอบธรรม เพราะผู้ปกครองได้รับอำนาจหรืออาณัติมอบหมายมาจากพระเจ้า ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองโดยพระเจ้า ประชาชนไม่มีสิทธิต่อต้านหรือไม่ยอมรับผู้ปกครอง เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการปฏิเสธพระเจ้า <strong>“อำนาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้า</strong> กษัตริย์ทรงปกครอง โดยอำนาจของพระเจ้า ดังนั้นอำนาจของพระองค์จึงไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเป็นเจ้า” อำนาจของกษัตริย์สืบต่อด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิวินิจฉัย<br />\n       <br />\n       จากแนวคิดดังกล่าวนี้เองได้นำมาสู่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยที่สำคัญ 2 ทฤษฎีด้วยกัน คือ <br />\n       <br />\n       </span><span style=\"font-size: small\"><strong>1. ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า (Supremacy of God) <br />\n       </strong><br />\n       ปรัชญาเมธีฝ่ายกฎหมายธรรมชาติ (Natural legal philosopher) ได้อ้างทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า มาตั้งแต่สมัยเซนต์ออกุสติน โดยอ้างว่าบรรดาสรรพสิ่งทั้งปวงย่อมอยู่ใต้คำบังคับบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ข้อนี้เห็นจะเทียบได้กับเรื่อง “พรหมลิขิต” ตามคตินิยมแบบฮินดู<br />\n       <br />\n       นักเทววิทยาอ้างว่า ทฤษฎีเช่นนี้มีรากฐานความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการนับถือผีสางเทวดา (theism) โดยมนุษย์รู้จักกันว่าจะต้องมีสิ่งสูงสุดสิ่งหนึ่งคอยดลบันดาลปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ และลิขิตความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์เกิดจากลิขิตของสิ่งนั้น และมนุษย์จะต้องกลับไปหาสิ่งที่ลิขิตชีวิตในบั้นปลาย<br />\n       <br />\n       ต่อมาเมื่อศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก (Roman Catholic) เจริญรุ่งเรืองขึ้นในตอนต้นสมัยกลาง (Middle Age) ศาสนจักรเรืองอำนาจมากเหนืออาณาจักรทั้งปวงในยุโรป และมีการอ้างอิงว่า กฎหมายธรรมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎของพระผู้เป็นเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ธรรมชาติ” (Nature) ที่ว่านั้นคือ พระผู้เป็นเจ้า (God) นั่นเอง ลัทธิอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้าก็เริ่มเป็นที่กล่าวอ้างกันทั่วไปอย่างกว้างขวางจากแนวคิดของนักบวชคริสต์ดังนี้<br />\n       <br />\n       </span><span style=\"font-size: small\"><strong>เซนต์ออกุสติน (Saint Augustine) <br />\n       </strong><br />\n       ในบรรดาฟาเธอร์ของคริสต์ศาสนาทั้งหลายในยุคต้น เซนต์ออกัสติน (ค.ศ. 354 - 430) ชาวเมืองทาเกสท์ (Tagaste) แถบอาฟริกาศิษย์ของเซนต์แอมโบรสเป็นผู้ที่เผยแพร่แนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองสมัยนั้นและสมัยต่อมามากที่สุด ผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของท่านผู้นี้คือ </span><span style=\"font-size: small\"><strong>นครของพระเจ้า (City of God) และคำสารภาพ (Confession)<br />\n       </strong><br />\n       ในระยะเริ่มแรกสมัยที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ คนทุกคนมีความเสมอภาคกันทุกคนมี<strong>กฎหมายธรรมชาติ</strong>เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และกฎหมายธรรมชาติสร้างสันติภาพในการอยู่ร่วมกันของมวลมนุษย์ ต่อมาสภาพธรรมชาติของคนถูกทำลายลงด้วยบาป (Sin) คนแต่ละคนหันไปแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนโดยเฉพาะ ความเสมอภาคระหว่างเพื่อนร่วมโลกหมดสิ้นลง บาปจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความสับสนในสังคมมนุษย์ ออกุสติน กล่าวว่า “บาปเป็นอาชญากรรมที่แท้จริงของคนชั่ว โดยมีรากฐานมาจากความผิดพลาดและความรักในสิ่งที่ผิด” ความจำเป็นในการที่ต้องมีผู้ปกครอง มีกฎหมายเพื่อจัดระเบียบและผดุงไว้ซึ่งสันติภาพจึงเกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลหรือสถาบันการปกครองเกิดขึ้นเพราะผลแห่งบาปที่มนุษย์สร้างขึ้น<br />\n       <br />\n       ทรรศนะของเซนต์ออกุสติน เป็นแนวความคิดที่<strong>สนับสนุนลัทธิเทวสิทธิ</strong>ตามแบบของนักบวชคริสต์ทั้งหลาย แต่เน้นว่า เฉพาะ<strong>กษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ยอมรับพระเจ้าและเป็นคริสต์ศาสนิกชนเท่านั้น</strong>จึงจะประกาศตัวเองได้ว่าเป็นผู้ได้รับอาณัติจากสวรรค์ มอบหมายให้เป็นผู้ปกครองมีอาญาสิทธิเหนือประชาชนทั้งปวง ส่วนผู้ปกครองที่ปฏิเสธคริสต์ศาสนาย่อมไม่ใช่ผู้ที่ได้รับเทวโองการให้มาปกครอง ในนครรัฐหรืออาณาจักรที่ปกครองโดยกษัตริย์ที่ไม่ใช่คริสตชนจะไม่มีทางบันดาลความสุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนผู้อาศัยได้ ออกุสตินเน้นความศรัทธาในพระเจ้าว่าเป็นหนทางเดียวที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุข และอำนาจทางการเมืองจะต้องมาจากความศรัทธาในศาสนา<br />\n       <br />\n       ออกุสตินให้ความสำคัญแก่สถาบันศาสนามากกว่าสถาบันการปกครอง เขามีทรรศนะว่า “พระเจ้าได้จัดหาตัวแทนเพื่อช่วยเหลือคนให้พ้นจากบาปได้สำเร็จ และประสบกับชีวิตนิรันดร์ในนครของพระเจ้า ตัวแทนที่ว่านี้คือวัดกับรัฐ <strong>วัดมีความสำคัญมากกว่ารัฐ</strong> อันที่จริงแล้วรัฐอาจจะเป็นอุปสรรคในการที่จะล้างบาป หากว่ารัฐนั้นไม่ใช่ คริสตรัฐ วัดเป็นสถาบันที่ยิ่งใหญ่เป็นตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพ”<br />\n       <br />\n       </span><span style=\"font-size: small\"><strong>จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury)<br />\n       </strong><br />\n       จอห์น (ค.ศ. 1120 - 1180) เป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด แต่ได้รับการศึกษาในฝรั่งเศส เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นเลขานุการของอาร์คบิช็อบ ธอมัส เบ็คเก็ต (Thomas Backet) แห่ง Canterbury ในตอนปลายแห่งชีวิตจอห์นได้เป็นบิช็อบแห่ง Charters จนกระทั่งสิ้นชีวิต ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากคือหนังสือเรื่อง Policraticus ซึ่งแนวความคิดในเล่มนี้มีอิทธิพลมากในสมัยกลาง<br />\n       <br />\n       ในด้านความสัมพันธ์ระห่างสถาบันศาสนากับสถาบันการปกครองจอห์นเขียนไว้อย่างชัดแจ้งว่า <strong>อำนาจของกษัตริย์ไม่อาจทัดเทียมอำนาจฝ่ายพระ</strong> เพราะอำนาจในการปกครองทางโลกนั้น กษัตริย์ได้รับจากพระเจ้าและจากวัดซึ่งมีฐานะเป็นองค์การตัวแทนของพระเจ้าบนแผ่นดิน จอห์นกล่าวว่า “ดังนั้น ดาบเล่มนี้ (อำนาจการปกครองทางโลก) กษัตริย์ได้รับจากมือของฝ่ายวัด แม้ว่าฝ่ายวัดจะไม่มีดาบเปื้อนเลือดเลยก็ตาม ต้องถือว่าวัดเป็นผู้ใช้ดาบเล่มนี้ด้วยมือของกษัตริย์ผู้ซึ่งตนมอบอำนาจบังคับทางกายให้” จอห์น หมายความว่าเนื่องจากฝ่ายศาสนาซึ่งเป็นผู้แทนพระเจ้าบนพิภพมอบอำนาจในการปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ ดังนั้นจึงควรจะมีอำนาจและศักดิ์ศรีเหนือกว่า เพราะศาสนาเป็นฝ่ายให้ความชอบธรรมแก่อำนาจทางการเมือง<br />\n  </span><span style=\"font-size: small\"><br />\n       </span><span style=\"font-size: small\"><strong>2. ทฤษฎีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา (Supremacy of the Pope)<br />\n       </strong><br />\n       ในขณะที่เซนต์ออกุสตินและคนอื่น ๆ กล่าวอ้างทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง ปรัชญาเมธีเหล่านี้ต่างก็ได้วางรากฐาน ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา เคียงคู่กันตลอดมาด้วยความมุ่งหมายว่าจะสร้างฐานแห่งอำนาจของฝ่ายศาสนจักรเหนือฝ่ายอาณาจักรโดยเด็ดขาด นักปรัชญาฝ่ายคริสต์ศาสนาในสมัยกลางได้อ้างว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นบริสุทธิเทพ จึงไม่อาจมาข้องแวะหรือบงการมนุษย์ได้ทุกคน ในทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงได้เลือกให้พระบุตร หรือพระเยซูคริสต์เจ้า (Jesus Christ) มาไถ่บาปมนุษย์แทน เพื่อต่อจากนั้นไป มนุษย์จะได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์อิสระ (free will) ของตนได้ ต่อมาพระบุตรได้เลือกสาวกคนสำคัญคือเซนต์ปีเตอร์ (Saint Peter) เป็นผู้ปกครองดูแลคริสตศาสนิกชนทั้งหลายในโลกสืบต่อจากพระองค์ และต่อมาเซนต์ปีเตอร์ก็ได้มอบอำนาจให้พระสันตะปาปาองค์ต่อ ๆ มา รับภาระนี้สืบต่อไปอย่างไม่ขาดสาย ฉะนั้น พระสันตะปาปาจึงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดทางฝ่ายศาสนจักร และโดยเหตุที่ศาสนจักรเป็นใหญ่เหนือฝ่ายอาณาจักร พระสันตะปาปาจึงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจเหนือสิ่งทั้งปวง จะเป็นรองก็แต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น แม้แต่สมณสาส์นหรือพระบัญชาของพระสันตะปาปาก็จัดว่าเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (Lex divina) และมีลำดับศักดิ์สูงกว่ากฎหมายของกษัตริย์ทั้งหลาย (Lex humana) ข้อที่น่าสังเกตคือทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ระบุให้รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) หรือผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเป็นมนุษย์แต่ไม่ใช่คนธรรมดาเพราะเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง จึงยังคงเรียกว่าเป็น “เทวาธิปไตย” ได้ทั้ง 2 ทฤษฎี<br />\n       <br />\n       </span><span style=\"font-size: small\"><strong>การพิพาทระหว่างคริสตจักรและอาณาจักร<br />\n       </strong><br />\n       จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของพระสันตะปาปากับจักรพรรดิเป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่หลังจากที่ฝ่ายศาสนจักรเสนอแนวความคิดเห็นในการสถาปนาอาณาจักรคริสเตียนสากลขึ้น ความขัดแย้งระหว่างสถาบันทางศาสนากับสถาบันการปกครองทางโลกก็มีมากขึ้น เพราะสังคมคริสต์เท่ากับถูกปกครองโดยรัฐบาลสองรัฐบาล คือรัฐบาลฝ่ายคริสตจักรและรัฐบาลฝ่ายอาณาจักร ทั้งสองฝ่ายต่างมีจุดมุ่งที่จะปกครองสังคมแห่งมนุษยชาติเหมือนกัน และต่างก็มีจุดประสงค์ที่จะมีอำนาจและอิทธิพลเหนือประชาชนมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวกันว่า การที่ฝ่ายศาสนาเข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องทางโลกมากขึ้นนั้น เป็นเพราะผลแห่งระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ซึ่งทำให้ฝ่ายพระเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทางโลกในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินหรือเป็นผู้ถือศักดินา<br />\n       <br />\n       ในการพิพาทกันนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างวางเหตุผลสนับสนุนฝ่ายตนลงบน<strong> “ทฤษฎีสองดาบ” (Theory of Two Swords)</strong> ของสมเด็จพระสันตะปาปาจีลิซีอุสที่ 1 (Gelesius I) ซึ่งดำรงตำแหน่งประมุขแห่งคริสตจักรระหว่าง ค.ศ. 492 - 496 ทฤษฎีสองดาบนี้มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็นสองฝ่ายคือ อำนาจปกครองทางโลกกับทางธรรม และมอบให้สถาบันศาสนาและสถาบันการปกครองของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ โดยกำหนดว่า สันตะปาปาในฐานะประมุขของสถาบันศาสนา มีอำนาจเหนือจักรพรรดิประมุขของสถาบันทางโลกในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจและจักรพรรดิเหนือกว่าสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก<br />\n       <br />\n       แนวความคิดที่สนับสนุนอำนาจของฝ่ายศาสนจักรให้เหนือกว่าฝ่ายอาณาจักรนั้น มาจากการชี้นำของ<strong>สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 (Gregory VII)</strong> ซึ่งถือว่าพระเจ้ามอบอำนาจการปกครองทั้งทางโลกและทางธรรมผ่านทางสันตะปาปา แต่พระสันตะปาปาไม่ต้องการใช้อำนาจทางโลกจึงมอบต่อให้กษัตริย์ สังเกตได้จากการที่พระสันตะปาปาเป็นผู้สวมมงกุฎสถาปนาจักรพรรดิและกษัตริย์ในนามพระผู้เป็นเจ้า และพระจักรพรรดิต้องสาบานว่าจักรักษาป้องกันพระสันตะปาปาและคริสตจักรด้วยชีวิต เพราะฉะนั้นการถือว่ารัฐและรัฐบาลเป็นสถาบันของพระเจ้า เป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์นี้ทางฝ่ายศาสนจักรสันตะปาปาอ้างด้วยว่า เป็นเช่นนั้นได้เพราะรัฐได้รับมอบอำนาจมาจากพระเจ้าผ่านทางพระสันตะปาปา รัฐที่ไม่ใช่รัฐคริสเตียนย่อมไม่ใช่สถาบันศักดิ์สิทธิ์ รัฐนอกศาสนาเป็นรัฐของคนบาป ดังนั้นการที่ผู้ปกครองจะอ้างอำนาจที่พระเจ้าให้ได้ต้องหมายความว่าผู้ปกครองนั้นยอมรับศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะยอมรับ<strong>พระสันตะปาปาซึ่งได้รับมอบอำนาจทั้งทางศาสนาและทางการปกครองจากพระเจ้า</strong> แต่สันตะปาปาไม่ต้องการใช้อำนาจทางการปกครองจึงมอบต่อให้กษัตริย์ และตามแนวคิดนี้การอ้างทฤษฎีเทวสิทธิสนับสนุนความชอบธรรมของอำนาจปกครองกระทำได้ก็ต่อเมื่อทางฝ่ายศาสนาให้คำรับรองด้วย<br />\n       <br />\n       ความขัดแย้งปรากฏชัดเมื่อ<strong>พระสันตะปาปาเกรกอรีเดอะเกรท (Gregory the Great ค.ศ. 509 – 604)</strong> สามารถลงมือปกครองกรุงโรมด้วยพระองค์เอง และนับแต่นั้นมาศาสนจักรก็เริ่มแสวงหาความมั่งคั่งทางที่ดิน และเงินทองเช่นเดียวกับฝ่ายอาณาจักร เริ่มเกิดทฤษฎีที่ว่าอำนาจของจักรพรรดิและกษัตริย์มาจากพระเจ้า โดยผ่านพระสันตะปาปาดังกล่าวแล้ว ความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาฝ่ายหนึ่ง กับจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันเยอรมันนิคอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Germanic Empire) และกษัตริย์ (เช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ของอังกฤษ) มีเรื่อยมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 จนกระทั่งศตวรรษที่ 12 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 5 ของจักรวรรดิโรมันเยอรมันนิคลงนามในข้อตกลง (concordat) ที่เมืองวอร์มส์ กับพระสันตะปาปากาลิคซ์ที่ 2 (Calixte II) ในปี 1122 แต่หลังข้อตกลงก็ยังคงมีความขัดแย้งมาจนถึงศตวรรษที่ 13 ผลของความขัดแย้งคือ </span><span style=\"font-size: small\"><strong>สงครามและความวุ่นวาย <br />\n       </strong><br />\n       สภาพสงครามที่ยาวนานนี้เองที่ทำให้ทุกคนหวาดกลัว เบื่อหน่าย และต้องการให้เกิดความสงบ (order) และการเคารพกฎหมาย (law) และสภาพนี้เองที่ทำให้เกิดความต้องการรวมศูนย์อำนาจการปกครองในระดับที่พอ เหมาะ คือ ไม่เล็กเกินไปถึงขนาดเผ่า และไม่ใหญ่เกินไปอย่างจักรวรรดิ หรือสันตะปาปาณาจักร (อาณาจักรของพระสันตะปาปา) ทฤษฎีอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ (State) ทฤษฎีว่าด้วยการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ซึ่งเป็นผลมาจากการหาแนวทางใหม่ให้เกิดความสงบและการเคารพกฎหมาย จึงกำเนิดขึ้นในราวคริสตศตวรรษที่ 13 ภายหลังจากความเอือมระอากับสภาพอนาธิปไตยของยุคกลางและทฤษฎีเหล่านี้ก็เป็นผลมาจากการสังเคราะห์ความขัดแย้งของจักรวรรดิกับสันตะปาปาฝ่ายหนึ่งและจักรพรรดิ กษัตริย์กับเจ้าศักดินาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งค่อย ๆ คลี่คลายลงพร้อม ๆ กับการก้าวพ้นยุคกลางหรือยุคมืดเข้าสู่ยุคใหม่ (Modern Age) <br />\n</span></span>\n</p>\n', created = 1719398053, expire = 1719484453, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:5f93049efd7e4141459201fb28a2d80c' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:877e0513d15b607448db9e90eb9960d3' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"color: #00ff00\">ดีมากเรยไม่ต้องหาที่ละหัวข้อ</span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #00ff00\">ขอบคุนครับ</span>\n</p>\n', created = 1719398053, expire = 1719484453, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:877e0513d15b607448db9e90eb9960d3' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

อิทธิพลของคริสต์ศาสนาของยุโรปสมัยกลาง

อิทธิพลของคริสต์ศาสนาของสมัยยุโรปสมัยกลาง 

เนื่องในศุภวาระที่คริสตศาสนจักรโรมันคาธอลิก ณ นครรัฐวาติกัน เพิ่งจะได้สมเด็จพระสันตะปาปาหรือ Pope พระองค์ใหม่คือ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกท์ที่ 16 (Benedict XVI) (ในวันที่ 20 เมษายน) แทนสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 ซึ่งสิ้นพระชนม์ ไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน ผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอถึงแนวคิดของนักทฤษฎีการเมืองในยุคที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุด (The Supremacy) เป็นของพระเจ้าหรือของพระสันตะปาปา ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวคิดของนักทฤษฎีการเมืองในยุคต่อ ๆ มา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ บทบาทและพระราชอำนาจอันยิ่งใหญ่ของคริสตจักรและสมเด็จพระสันตะปาปาในยุโรปยุคกลาง
       คริสต์ศาสนาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่พระเยซูคริสตเจ้ามิได้ปรารถนาที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง คัมภีร์ของพระองค์ถูกสร้างขึ้นเพื่อชำระวิญญาณและไถ่บาปให้แก่มวลมนุษยชาติ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างรัฐและรัฐบาล หรือข้อเสนอแนะนำว่าสถาบันทางโลกควรมีหน้าที่อย่างไร พระองค์มุ่งหวังที่จะสถาปนาอาณาจักรธรรม และทรงประกาศยืนยันว่าพระองค์ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางโลกแม้แต่น้อย
      
       อิทธิพลของคริสต์ศาสนาต่ออาณาจักรโรมันเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 4 ภายหลังจากที่บรรดาคริสตชนถูกบรรดาผู้ปกครองของโรมันกดขี่และพยายามกำจัดด้วยวิธีการทารุณต่าง ๆ อยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่ง ค.ศ. 311 จักรพรรดิกาลีริอุส (Galerius) ยินยอมให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้โดยสันติ และคอนสแตนติน (Constantine) จักรพรรดิพระองค์ต่อมาทรงเลื่อมใสในคริสต์ศาสนาถึงกับประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชนด้วย และก่อนสิ้นสุดคริสตศตววรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ก็กลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมัน โดยราชโองการของจักรพรรดิธีโอโดซิอุส (Theodosius) นับแต่นั้นเป็นต้นมาคริสต์ศาสนาก็ได้รับการเผยแผ่ไปทั่วทั้งดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน
      
       เหตุที่คริสต์ศาสนามีความเจริญรุ่งเรื่องและแผ่ขยายได้อย่างกว้างขวางเนื่องจาก (1) จักรพรรดิโรมันในยุคนั้นขาดความสามารถในการบริหารและขาดคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ (2) ผู้นำทางคริสต์ศาสนาในเวลานั้นมีคุณสมบัติที่จักรพรรดิไม่มี (3) ความแตกแยกและเสื่อมโทรมของสังคมและการเมืองในจักรวรรดิสมัยนั้น คนจึงหวังมีชีวิตอย่างมีความสุขในโลกหน้า (4) อานารยชนที่รุกรานเข้ามาได้ทำลายแต่ความรุ่งเรืองของโรมันในด้านสถาบันการเมืองการปกครองเท่านั้น หาได้ยุ่งเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแต่อย่างใดไม่

       
      
ความคิดทางการเมืองของนักบวชคริสต์สมัยต้น
      

       พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) มีเนื้อหาสำคัญที่เด่นชัดถือเป็นหลักการเชิงการเมืองของศาสนาคริสต์คือ การยอมรับกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) ความเสมอภาค และความเชื่อว่ารัฐและรัฐบาลเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้น หลักการทั้งสามประการนี้นอกจากจะปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่แล้วบรรดานักบวชคริสต์สมัยต้นอีกหลายท่านยังช่วยอรรถาธิบายเพิ่มเติมจนผู้ที่ศึกษาสามารถเข้าใจได้กระจ่างยิ่งขึ้น
      
       เซ็นต์ปอล (Saint Paul) ได้เขียนไว้ในจดหมายบันทึกเหตุ ความว่า กฎหมายธรรมชาติถูกลิขิตไว้ในจิตใจของมนุษย์ทุกรูป สามารถที่จะค้นหาพบได้ด้วยเหตุผล เป็นกฎหมายที่แตกต่างจากกฎหมายของรัฐ กฎหมายเป็นเช่นเดียวกับกฎแห่งศีลธรรม (conscience) สิ่งใดผิดหรือถูกสามารถรู้ได้ผ่านทางกฎหมายนี้ โดยมโนสำนึกจะคอยบอกว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร แนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาตินี้บรรดาฟาร์เธอร์ของคริสต์ศาสนาในสมัยต่อ ๆ มา ยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของคริสต์ศาสนา
      
       นอกจากนี้พระคัมภีร์ใหม่ยังอ้างว่า บรรดารัฐบาลและสถาบันการปกครองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นและกำหนดให้เป็นไปทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องยอมรับว่า บรรดาสถาบันเหล่านี้เป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์ ได้รับหน้าที่จากพระเป็นเจ้า การเคารพเชื่อฟังเป็นพันธะของทุก ๆ คนเช่นเดียวกับพันธะต่อศาสนา “รัฐถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาความยุติธรรม ดังนั้นรัฐจึงมีลักษณะแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกครองคือผู้รับใช้ของพระเจ้า การเชื่อฟังจึงเป็นสิ่งจำเป็น”
      
       แนวทรรศนะเกี่ยวกับกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ปรากฏในคัมภีร์ใหม่จึงเป็นรากฐานของ ลัทธิเทวสิทธิ (Divine Right) อำนาจของผู้ปกครองมีความชอบธรรม เพราะผู้ปกครองได้รับอำนาจหรืออาณัติมอบหมายมาจากพระเจ้า ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองโดยพระเจ้า ประชาชนไม่มีสิทธิต่อต้านหรือไม่ยอมรับผู้ปกครอง เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการปฏิเสธพระเจ้า “อำนาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ทรงปกครอง โดยอำนาจของพระเจ้า ดังนั้นอำนาจของพระองค์จึงไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเป็นเจ้า” อำนาจของกษัตริย์สืบต่อด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิวินิจฉัย
      
       จากแนวคิดดังกล่าวนี้เองได้นำมาสู่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยที่สำคัญ 2 ทฤษฎีด้วยกัน คือ
      
      
1. ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า (Supremacy of God)
      

       ปรัชญาเมธีฝ่ายกฎหมายธรรมชาติ (Natural legal philosopher) ได้อ้างทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า มาตั้งแต่สมัยเซนต์ออกุสติน โดยอ้างว่าบรรดาสรรพสิ่งทั้งปวงย่อมอยู่ใต้คำบังคับบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ข้อนี้เห็นจะเทียบได้กับเรื่อง “พรหมลิขิต” ตามคตินิยมแบบฮินดู
      
       นักเทววิทยาอ้างว่า ทฤษฎีเช่นนี้มีรากฐานความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการนับถือผีสางเทวดา (theism) โดยมนุษย์รู้จักกันว่าจะต้องมีสิ่งสูงสุดสิ่งหนึ่งคอยดลบันดาลปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ และลิขิตความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์เกิดจากลิขิตของสิ่งนั้น และมนุษย์จะต้องกลับไปหาสิ่งที่ลิขิตชีวิตในบั้นปลาย
      
       ต่อมาเมื่อศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก (Roman Catholic) เจริญรุ่งเรืองขึ้นในตอนต้นสมัยกลาง (Middle Age) ศาสนจักรเรืองอำนาจมากเหนืออาณาจักรทั้งปวงในยุโรป และมีการอ้างอิงว่า กฎหมายธรรมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎของพระผู้เป็นเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ธรรมชาติ” (Nature) ที่ว่านั้นคือ พระผู้เป็นเจ้า (God) นั่นเอง ลัทธิอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้าก็เริ่มเป็นที่กล่าวอ้างกันทั่วไปอย่างกว้างขวางจากแนวคิดของนักบวชคริสต์ดังนี้
      
      
เซนต์ออกุสติน (Saint Augustine)
      

       ในบรรดาฟาเธอร์ของคริสต์ศาสนาทั้งหลายในยุคต้น เซนต์ออกัสติน (ค.ศ. 354 - 430) ชาวเมืองทาเกสท์ (Tagaste) แถบอาฟริกาศิษย์ของเซนต์แอมโบรสเป็นผู้ที่เผยแพร่แนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองสมัยนั้นและสมัยต่อมามากที่สุด ผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของท่านผู้นี้คือ
นครของพระเจ้า (City of God) และคำสารภาพ (Confession)
      

       ในระยะเริ่มแรกสมัยที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ คนทุกคนมีความเสมอภาคกันทุกคนมีกฎหมายธรรมชาติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และกฎหมายธรรมชาติสร้างสันติภาพในการอยู่ร่วมกันของมวลมนุษย์ ต่อมาสภาพธรรมชาติของคนถูกทำลายลงด้วยบาป (Sin) คนแต่ละคนหันไปแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนโดยเฉพาะ ความเสมอภาคระหว่างเพื่อนร่วมโลกหมดสิ้นลง บาปจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความสับสนในสังคมมนุษย์ ออกุสติน กล่าวว่า “บาปเป็นอาชญากรรมที่แท้จริงของคนชั่ว โดยมีรากฐานมาจากความผิดพลาดและความรักในสิ่งที่ผิด” ความจำเป็นในการที่ต้องมีผู้ปกครอง มีกฎหมายเพื่อจัดระเบียบและผดุงไว้ซึ่งสันติภาพจึงเกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลหรือสถาบันการปกครองเกิดขึ้นเพราะผลแห่งบาปที่มนุษย์สร้างขึ้น
      
       ทรรศนะของเซนต์ออกุสติน เป็นแนวความคิดที่สนับสนุนลัทธิเทวสิทธิตามแบบของนักบวชคริสต์ทั้งหลาย แต่เน้นว่า เฉพาะกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ยอมรับพระเจ้าและเป็นคริสต์ศาสนิกชนเท่านั้นจึงจะประกาศตัวเองได้ว่าเป็นผู้ได้รับอาณัติจากสวรรค์ มอบหมายให้เป็นผู้ปกครองมีอาญาสิทธิเหนือประชาชนทั้งปวง ส่วนผู้ปกครองที่ปฏิเสธคริสต์ศาสนาย่อมไม่ใช่ผู้ที่ได้รับเทวโองการให้มาปกครอง ในนครรัฐหรืออาณาจักรที่ปกครองโดยกษัตริย์ที่ไม่ใช่คริสตชนจะไม่มีทางบันดาลความสุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนผู้อาศัยได้ ออกุสตินเน้นความศรัทธาในพระเจ้าว่าเป็นหนทางเดียวที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุข และอำนาจทางการเมืองจะต้องมาจากความศรัทธาในศาสนา
      
       ออกุสตินให้ความสำคัญแก่สถาบันศาสนามากกว่าสถาบันการปกครอง เขามีทรรศนะว่า “พระเจ้าได้จัดหาตัวแทนเพื่อช่วยเหลือคนให้พ้นจากบาปได้สำเร็จ และประสบกับชีวิตนิรันดร์ในนครของพระเจ้า ตัวแทนที่ว่านี้คือวัดกับรัฐ วัดมีความสำคัญมากกว่ารัฐ อันที่จริงแล้วรัฐอาจจะเป็นอุปสรรคในการที่จะล้างบาป หากว่ารัฐนั้นไม่ใช่ คริสตรัฐ วัดเป็นสถาบันที่ยิ่งใหญ่เป็นตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพ”
      
      
จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury)
      

       จอห์น (ค.ศ. 1120 - 1180) เป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด แต่ได้รับการศึกษาในฝรั่งเศส เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นเลขานุการของอาร์คบิช็อบ ธอมัส เบ็คเก็ต (Thomas Backet) แห่ง Canterbury ในตอนปลายแห่งชีวิตจอห์นได้เป็นบิช็อบแห่ง Charters จนกระทั่งสิ้นชีวิต ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากคือหนังสือเรื่อง Policraticus ซึ่งแนวความคิดในเล่มนี้มีอิทธิพลมากในสมัยกลาง
      
       ในด้านความสัมพันธ์ระห่างสถาบันศาสนากับสถาบันการปกครองจอห์นเขียนไว้อย่างชัดแจ้งว่า อำนาจของกษัตริย์ไม่อาจทัดเทียมอำนาจฝ่ายพระ เพราะอำนาจในการปกครองทางโลกนั้น กษัตริย์ได้รับจากพระเจ้าและจากวัดซึ่งมีฐานะเป็นองค์การตัวแทนของพระเจ้าบนแผ่นดิน จอห์นกล่าวว่า “ดังนั้น ดาบเล่มนี้ (อำนาจการปกครองทางโลก) กษัตริย์ได้รับจากมือของฝ่ายวัด แม้ว่าฝ่ายวัดจะไม่มีดาบเปื้อนเลือดเลยก็ตาม ต้องถือว่าวัดเป็นผู้ใช้ดาบเล่มนี้ด้วยมือของกษัตริย์ผู้ซึ่งตนมอบอำนาจบังคับทางกายให้” จอห์น หมายความว่าเนื่องจากฝ่ายศาสนาซึ่งเป็นผู้แทนพระเจ้าบนพิภพมอบอำนาจในการปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ ดังนั้นจึงควรจะมีอำนาจและศักดิ์ศรีเหนือกว่า เพราะศาสนาเป็นฝ่ายให้ความชอบธรรมแก่อำนาจทางการเมือง
  

      
2. ทฤษฎีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา (Supremacy of the Pope)
      

       ในขณะที่เซนต์ออกุสตินและคนอื่น ๆ กล่าวอ้างทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง ปรัชญาเมธีเหล่านี้ต่างก็ได้วางรากฐาน ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา เคียงคู่กันตลอดมาด้วยความมุ่งหมายว่าจะสร้างฐานแห่งอำนาจของฝ่ายศาสนจักรเหนือฝ่ายอาณาจักรโดยเด็ดขาด นักปรัชญาฝ่ายคริสต์ศาสนาในสมัยกลางได้อ้างว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นบริสุทธิเทพ จึงไม่อาจมาข้องแวะหรือบงการมนุษย์ได้ทุกคน ในทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงได้เลือกให้พระบุตร หรือพระเยซูคริสต์เจ้า (Jesus Christ) มาไถ่บาปมนุษย์แทน เพื่อต่อจากนั้นไป มนุษย์จะได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์อิสระ (free will) ของตนได้ ต่อมาพระบุตรได้เลือกสาวกคนสำคัญคือเซนต์ปีเตอร์ (Saint Peter) เป็นผู้ปกครองดูแลคริสตศาสนิกชนทั้งหลายในโลกสืบต่อจากพระองค์ และต่อมาเซนต์ปีเตอร์ก็ได้มอบอำนาจให้พระสันตะปาปาองค์ต่อ ๆ มา รับภาระนี้สืบต่อไปอย่างไม่ขาดสาย ฉะนั้น พระสันตะปาปาจึงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดทางฝ่ายศาสนจักร และโดยเหตุที่ศาสนจักรเป็นใหญ่เหนือฝ่ายอาณาจักร พระสันตะปาปาจึงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจเหนือสิ่งทั้งปวง จะเป็นรองก็แต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น แม้แต่สมณสาส์นหรือพระบัญชาของพระสันตะปาปาก็จัดว่าเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (Lex divina) และมีลำดับศักดิ์สูงกว่ากฎหมายของกษัตริย์ทั้งหลาย (Lex humana) ข้อที่น่าสังเกตคือทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ระบุให้รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) หรือผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเป็นมนุษย์แต่ไม่ใช่คนธรรมดาเพราะเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง จึงยังคงเรียกว่าเป็น “เทวาธิปไตย” ได้ทั้ง 2 ทฤษฎี
      
      
การพิพาทระหว่างคริสตจักรและอาณาจักร
      

       จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของพระสันตะปาปากับจักรพรรดิเป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่หลังจากที่ฝ่ายศาสนจักรเสนอแนวความคิดเห็นในการสถาปนาอาณาจักรคริสเตียนสากลขึ้น ความขัดแย้งระหว่างสถาบันทางศาสนากับสถาบันการปกครองทางโลกก็มีมากขึ้น เพราะสังคมคริสต์เท่ากับถูกปกครองโดยรัฐบาลสองรัฐบาล คือรัฐบาลฝ่ายคริสตจักรและรัฐบาลฝ่ายอาณาจักร ทั้งสองฝ่ายต่างมีจุดมุ่งที่จะปกครองสังคมแห่งมนุษยชาติเหมือนกัน และต่างก็มีจุดประสงค์ที่จะมีอำนาจและอิทธิพลเหนือประชาชนมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวกันว่า การที่ฝ่ายศาสนาเข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องทางโลกมากขึ้นนั้น เป็นเพราะผลแห่งระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ซึ่งทำให้ฝ่ายพระเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทางโลกในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินหรือเป็นผู้ถือศักดินา
      
       ในการพิพาทกันนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างวางเหตุผลสนับสนุนฝ่ายตนลงบน “ทฤษฎีสองดาบ” (Theory of Two Swords) ของสมเด็จพระสันตะปาปาจีลิซีอุสที่ 1 (Gelesius I) ซึ่งดำรงตำแหน่งประมุขแห่งคริสตจักรระหว่าง ค.ศ. 492 - 496 ทฤษฎีสองดาบนี้มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็นสองฝ่ายคือ อำนาจปกครองทางโลกกับทางธรรม และมอบให้สถาบันศาสนาและสถาบันการปกครองของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ โดยกำหนดว่า สันตะปาปาในฐานะประมุขของสถาบันศาสนา มีอำนาจเหนือจักรพรรดิประมุขของสถาบันทางโลกในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจและจักรพรรดิเหนือกว่าสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก
      
       แนวความคิดที่สนับสนุนอำนาจของฝ่ายศาสนจักรให้เหนือกว่าฝ่ายอาณาจักรนั้น มาจากการชี้นำของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 (Gregory VII) ซึ่งถือว่าพระเจ้ามอบอำนาจการปกครองทั้งทางโลกและทางธรรมผ่านทางสันตะปาปา แต่พระสันตะปาปาไม่ต้องการใช้อำนาจทางโลกจึงมอบต่อให้กษัตริย์ สังเกตได้จากการที่พระสันตะปาปาเป็นผู้สวมมงกุฎสถาปนาจักรพรรดิและกษัตริย์ในนามพระผู้เป็นเจ้า และพระจักรพรรดิต้องสาบานว่าจักรักษาป้องกันพระสันตะปาปาและคริสตจักรด้วยชีวิต เพราะฉะนั้นการถือว่ารัฐและรัฐบาลเป็นสถาบันของพระเจ้า เป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์นี้ทางฝ่ายศาสนจักรสันตะปาปาอ้างด้วยว่า เป็นเช่นนั้นได้เพราะรัฐได้รับมอบอำนาจมาจากพระเจ้าผ่านทางพระสันตะปาปา รัฐที่ไม่ใช่รัฐคริสเตียนย่อมไม่ใช่สถาบันศักดิ์สิทธิ์ รัฐนอกศาสนาเป็นรัฐของคนบาป ดังนั้นการที่ผู้ปกครองจะอ้างอำนาจที่พระเจ้าให้ได้ต้องหมายความว่าผู้ปกครองนั้นยอมรับศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะยอมรับพระสันตะปาปาซึ่งได้รับมอบอำนาจทั้งทางศาสนาและทางการปกครองจากพระเจ้า แต่สันตะปาปาไม่ต้องการใช้อำนาจทางการปกครองจึงมอบต่อให้กษัตริย์ และตามแนวคิดนี้การอ้างทฤษฎีเทวสิทธิสนับสนุนความชอบธรรมของอำนาจปกครองกระทำได้ก็ต่อเมื่อทางฝ่ายศาสนาให้คำรับรองด้วย
       
       ความขัดแย้งปรากฏชัดเมื่อพระสันตะปาปาเกรกอรีเดอะเกรท (Gregory the Great ค.ศ. 509 – 604) สามารถลงมือปกครองกรุงโรมด้วยพระองค์เอง และนับแต่นั้นมาศาสนจักรก็เริ่มแสวงหาความมั่งคั่งทางที่ดิน และเงินทองเช่นเดียวกับฝ่ายอาณาจักร เริ่มเกิดทฤษฎีที่ว่าอำนาจของจักรพรรดิและกษัตริย์มาจากพระเจ้า โดยผ่านพระสันตะปาปาดังกล่าวแล้ว ความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาฝ่ายหนึ่ง กับจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันเยอรมันนิคอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Germanic Empire) และกษัตริย์ (เช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ของอังกฤษ) มีเรื่อยมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 จนกระทั่งศตวรรษที่ 12 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 5 ของจักรวรรดิโรมันเยอรมันนิคลงนามในข้อตกลง (concordat) ที่เมืองวอร์มส์ กับพระสันตะปาปากาลิคซ์ที่ 2 (Calixte II) ในปี 1122 แต่หลังข้อตกลงก็ยังคงมีความขัดแย้งมาจนถึงศตวรรษที่ 13 ผลของความขัดแย้งคือ
สงครามและความวุ่นวาย
      

       สภาพสงครามที่ยาวนานนี้เองที่ทำให้ทุกคนหวาดกลัว เบื่อหน่าย และต้องการให้เกิดความสงบ (order) และการเคารพกฎหมาย (law) และสภาพนี้เองที่ทำให้เกิดความต้องการรวมศูนย์อำนาจการปกครองในระดับที่พอ เหมาะ คือ ไม่เล็กเกินไปถึงขนาดเผ่า และไม่ใหญ่เกินไปอย่างจักรวรรดิ หรือสันตะปาปาณาจักร (อาณาจักรของพระสันตะปาปา) ทฤษฎีอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ (State) ทฤษฎีว่าด้วยการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ซึ่งเป็นผลมาจากการหาแนวทางใหม่ให้เกิดความสงบและการเคารพกฎหมาย จึงกำเนิดขึ้นในราวคริสตศตวรรษที่ 13 ภายหลังจากความเอือมระอากับสภาพอนาธิปไตยของยุคกลางและทฤษฎีเหล่านี้ก็เป็นผลมาจากการสังเคราะห์ความขัดแย้งของจักรวรรดิกับสันตะปาปาฝ่ายหนึ่งและจักรพรรดิ กษัตริย์กับเจ้าศักดินาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งค่อย ๆ คลี่คลายลงพร้อม ๆ กับการก้าวพ้นยุคกลางหรือยุคมืดเข้าสู่ยุคใหม่ (Modern Age) 

สร้างโดย: 
นางสาวจิราภรณ์ ศรีเจริญ ม.6/3 เลขที่ 16 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์

ดีมากเรยไม่ต้องหาที่ละหัวข้อ

ขอบคุนครับ

รูปภาพของ silavacharee

 

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 340 คน กำลังออนไลน์