การปกครองสมัยอยุธยา

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


อาณาจักรอยุธยา


อาณาจักรอยุธนาสถาปนาโดยพระรามาธิบีที่ 1

 เมื่อพ.ศ. 1893 และถูกทำลายลงโดยกองทัพพม่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2310 มีกษัตริย์ปกครอง 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณบุรี ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีพุทธศาสนาหินยานเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และมีความเชื่อด้านวิญญาณนิยมกับพุทธมหายานเจือปนด้วย ในราชสำนักใช้พิธีกรรมที่เป็ฯฮินดู-พราหมณ์ เพื่อสร้างอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานระหว่าง "ธรรมราชา" กับ "เทวราชา"
มีเมืองที่สำคัญ 2 เมืองคือ ลพบุรีกับสุพรรณบุรี ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมลัทธิศาสนาและวิชาการด้านต่างๆ สุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางของกำลังคนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี

 การเมืองอยุธยา


การเมืองระดับสูง(อยุธยาตอนต้น) เป็นการแย่งชิงอำนาจของ 2 ราชวงศ์ ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณบุรี มีการแข่งส่งทูตไปเมืองจีนเพื่อสร้างฐานะของตนในอยุธยา เพราะการรองรับจากจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในเอเชีย เท่ากับเป็นการเสริมความมั่นคงทางอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยา
การขยายอำนาจทางการเมืองของอยุธยา ทำให้เกิดการแข่งขันและขัดแย้งกับพม่า โดนเฉพาะการแย่งชิงอำนาจเหนือเชียงใหม่และอาณาจักรมอญ(พม่าตอนล่าง) ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้พม่าในพ.ศ. 2112 และถูกพม่าทำลายลงในพ.ศ. 2310(เสียกรุงครั้งที่ 2)

ระบบการปกครองของยุธยา เป็นระบบ"ราชาธิปไตย" หมายความว่า...กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดแต่ยังไม่มีการแบ่งระบบระหว่างเจ้ากับขุนนางอย่างแท้จริงเหมือนดังที่ปรากฏในสมัยตอนกลางรัตนโกสินทร์ การปกครองใช้ระบบ"ศักดินา" แบ่งชั้นคนในสังคมออกเป็น เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร มีการเกณฑ์แรงงาน"ไพร่" และเก็บอากร"ส่วย"เป็นผลิตผลและตัวเงิน

เศรษฐกิจ การค้าภายในอยุธยา มี 2 ระดับ


1. ระดับภายใน หมายถึง ค้าขายเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและของจำเป็นระหว่างชาวบ้าน ชาวเมืองหรือชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันภายในสังคม
2. การค้ากับต่างชาติภายนอก...การค้าระดับนี้ผูกขาดโดยรัฐบาลเพียงผู้เดียว "ระบบพระคลังสินค้า"

การค้ากับต่างชาติ


-ระยะแรก : การค้ากับต่างประเทศ
ค้าเรือสำเภากับจีน...กษัตริย์เป็นผู้ผูกขาดการค้าและใช้ลูกเรือชาวจีนในการทำการค้า การค้าเป็นในรูปของความสัมพันธ์ทางบรรณาการ
-ระยะหลัง : การค้ากับต่างประเทศ
ค้าขายกับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ต่อมาถูกตะวันตก(โปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา) และญี่ปุ่นเข้ามาชิงตลาดค้า เพื่อเข้ามายึด "ระบบการค้าของเอเชีย"
 

  
 *************************************************************** 
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
1991 - 2231
              การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา  หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา   
  โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
          1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
          2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง 
          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
            กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
            กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
           นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
  กรมเมือง (เวียง)     มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
  กรมวัง                   มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
  กรมคลัง                 มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
  กรมนา                   มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
  การปกครองส่วนภูมิภาค
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
 1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
  2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
  3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

   การปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
  1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า         จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
  2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 

  3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
  4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
  ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

  1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
  2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ      การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
  3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
สร้างโดย: 
นายชาญชัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 515 คน กำลังออนไลน์