ระบบสุริยะ

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ระบบสุริยะ (Solar System)

ระบบสุริยะประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 9 ดวง บริวารของดาวเคราะห์มากกว่า 130 ดวง ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย

วงโคจรของดาวเคราะห์มีลักษณะเป็นวงรี โดยมีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสจุดหนึ่ง มีดาวพุธอยู่ใกล้ที่สุดและดาวพลูโตที่อยู่ไกลสุด วงโคจรของดาวเคราะห์จะอยู่ในระนาบเดียวกันแต่ก็มีแตกต่างกันมากบ้าง น้อยบ้างขึ้นอยู่กับแกนเอียง (เราเรียกระนาบนี้ว่า ecliptic เหมือนกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์) ระนาบอิคลิปติกจะเอียงเพียง 7 องศา จากระนาบเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ วงโคจรของดาวพลูโตจะเอียงจากระนาบอิคลิปติกมากที่สุด 17 องศา
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่างๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย (scattered disc) ขอบเขต heliopause (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต

ดาวเคราะห์ชั้นในประกอบด้วย
ดาวพุธ
ดาวศุกร์
โลก
ดาวอังคาร

ดาวเคราะห์ยักษ์ชั้นนอกประกอบด้วย
ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส
ดาวเนปจูน

ดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงประกอบด้วย
ซีรีส เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อย
พลูโต เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดที่ค้นพบในแถบไคเปอร์
อีรีส เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดที่ค้นพบในเขต scattered disc

             

 

ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V  บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี

  

ดาวพุธ

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดของระบบสุริยะใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ จึงสังเกตได้ไม่ง่ายนักด้วยกล้องโทรทรรศน์ ขณะทำมุมห่างมากที่สุดจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28.3° ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้ คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวใกล้เคียงกับดวงจันทร์มาก มีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุตกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารรวมทั้งไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ข้อแตกต่างประการเดียวระหว่างดวงจันทร์และดาวพุธคือ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซนต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
บนดาวพุธนั้นเราจะสามารถเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าที่เห็นบนโลกถึง 3 เท่า ช่วงเวลา
กลางวันของดาวพุธยาวนานมากเท่ากับ 88 วันบนโลก และช่วงเวลากลางคืนก็ใช้เวลาอีก 88
วันบนโลก เมื่อดาวพุธเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้นมันจะโคจรเร็วมาก บนท้องฟ้า
ของดาวพุธเราจะมองเห็นเหมือนดวงอาทิตย์เคลื่อนถอยหลังเลยทีเดียว

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2  ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"

โลก

โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4  เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและดีมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ

พฤหัสบดี

ดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 แห่งระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ใหญ่ที่สุดมีมวลเป็นลำดับที่ 2 รองจากดวงอาทิตย์ และมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นรวมกัน มีขนาดใหญ่กว่าโลก 318 เท่า
ยานไพโอเนีย 10 (Pioneer 10) เป็นยานลำแรกที่เดินทางเข้าใกล้กับดาวพฤหัสในปี ค.ศ.1973 หลังจากนั้นก็มียานอีกหลายลำเดินทางตามไป เช่น Pioneer 11,Voyager 1,Voyager 2 และ Ulysses นอกจากนี้ยังมียาน Galileo ได้โคจรอยู่รอบดาวพฤหัสและถ่ายภาพกลับสู่โลก

ดาวพฤหัสมีไฮโดรเจน 90% อีก 10% เป็นฮีเลียม มีเทน น้ำ แอมโมเนียและหินปะปนกัน สัดส่วนโครงสร้างของธาตุที่ก่อตัวเป็นดาวพฤหัสนี้ มีค่าใกล้เคียงกับโครงสร้างของเนบิวลา ที่ก่อตัวกำเนิดเป็นระบบสุริยะในช่วงแรก ๆ ดาวที่มีส่วนประกอบโครงสร้างของธาตุใกล้เคียงลงมาอีกคือ ดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัสและเนปจูน มีฮีเลียมและไฮโดรเจนน้อยลงไปอีก

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 นับจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นลำดับ 2

ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปยังดาวเสาร์คือยาน Pioneer 11 ในปี ค.ศ. 1979 หลังจากนั้นก็มียานตามไปอีกคือ Voyager 1 และ Voyager 2 นอกจากนี้ยังมียาน Cassini ที่กำลังเดินทางไปมีกำหนดถึงในปี ค.ศ. 2004 นี้

เมื่อมองดูดาวเสาร์ผ่านกล้องดูดาวขนาดเล็ก จะเห็นดาวเสาร์มีลักษณะแป้น จากข้อเท็จจริงแล้ว ขนาดเส้นศูนย์สูตรเมื่อเทียบกับเส้นละติจูด จากขั้วเหนือถึงขั้วใต้จะมีความแตกต่างกันถึง 10% (ศูนย์สูตร : 120,536 km. เส้นละติจูดจากขั้วเหนือถึงขั้วใต้ : 108,728 km) เหตุผลที่ทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแป้น เพราะหมุนรอบตัวเองเร็วและสภาพส่วนใหญ่เป็นก๊าซเหลว ดาวเคราะห์ก๊าซอื่น ๆ ก็มีลักษณะแป้นแต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์

ดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ในชั้นบรรยากาศมี ไฮโดรเจน 75% อีก 25% เป็นฮีเลียม,น้ำ,มีเทน,แอมโมเนียและหิน ส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศนี้ เหมือนกับส่วนประกอบของเนบิวลาสุริยะช่างแรก ๆ ที่ก่อตัวจนเป็นระบบสุริยะของเรา แกนภายในของดาวเสาร์เป็นหินแข็งเหมือนกับดาวพฤหัส ถัดออกมาเป็นชั้นโลหะของไฮโดรเจนเหลว และชั้นโมเลกุลของไฮโดรเจนตามลำดับ นอกนี้ยังมีน้ำปะปนบ้างเล็กน้อย

แกนภายในของดาวเสาร์มีความร้อนประมาณ 12,000 K. และแผ่รังสีพลังงานสู่อวกาศมากกว่าที่รับจากดวงอาทิตย์ พลังงานของดาวเสาร์ทั่งหมดเกิดจากกระบวนการ Kelvin-Helmholtz mechanism เหมือนในดาวพฤหัส แถบเมฆที่เกิดบนดาวเสาร์จะมีลักษณะราบเรียบ ไม่เด่นสะดุดตาเหมือนบนดาวพฤหัส แถบเมฆที่ราบเรียบจะขนานไปกับแนวเส้นศูนย์สูตร รายละเอียดของเมฆด้านบนไม่สามารถเห็นได้จากโลก จนกระทั่งเราได้รับภาพถ่ายจากยาน Voyager ถึงได้ทราบรายละเอียดของแถบเมฆนั้น

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส หรือ มฤตยู เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของกรีก
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน หรือชื่อไทยว่า ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 8 หรือลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์  ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์  ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220° (-364°F) ซึ่งหนาวเย็นมากๆ เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000° (12,632°F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก  ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง และดวงใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน

ดาวเคราะห์แคระ
 

ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets)เป็นนิยามใหม่ของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ในเรื่องของการแบ่งประเภทของวัตถุในระบบสุริยะซึ่ง
เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ดังนี้


  1.ดาวเคราะห์ (Planet) หมายถึงวัตถุที่มีสมบัติดังต่อไปนี้ครบถ้วน (ก) โคจรรอบดวงอาทิตย์  (ข) มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวะสมดุลไฮโดรสแตติก (ค) สามารถกวาดเทห์วัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้
   2.ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) หมายถึงเทห์วัตถุที่มีสมบัติดังต่อไปนี้ครบถ้วน(ก) โคจรรอบดวงอาทิตย์ (ข) มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวะไฮโดรสแตติก (ค)ไม่สามารถกวาดเทห์วัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้  (ง) ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์อื่นๆ

3.เทห์วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar-System Bodies) หมายถึง วัตถุอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้ว

อุกกาบาต

อุกกาบาต(meteorite) เกิดจากวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ผ่านบรรยากาศโลกระยะสูงราว120กม.และเสียดสีกับบรรยากาศทำให้เกิดความร้อน มากพอที่จะทำให้วัตถุ นั้นกลายเป็นไอสว่างวาบคืนเดือนมืดท้องฟ้ากระจ่างเราสามารถมองเห็นอุกกาบาตเฉลี่ย 5-6 ชิ้น มักจะเกิดหลังเที่ยงคืน

 อุกกาบาตแบ่งตามลักษณะเนื้อในเป็น 3 แบบ คือ อุกกาบาต ชนิด หิน เหล็ก และ เหล็กปนหิน ส่วนใหญ่ ที่พบเป็นอุกกาบาต ชนิดหิน ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ จีหลิง (Jiling) ตกที่อำเภอจีหลิง ประเทศจีน เมื่อ 8 มีนาคม 2519 หนักเกือบ 2,000 กิโลกรัม ส่วนอุกกาบาตชนิดเหล็ก ก้อนใหญ่สุดที่ค้นพบคือ โฮบา เวสท์ (Hoba West) ปริมาตรราว 9 ลูกบาศก์เมตร หนักประมาณ 66 ตัน
ตกกลางป่า ในอัฟริกาตะวันออกเฉียงใต้

           อุกกาบาตชนิดหินส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนหินบนโลก และมักสลายตัวเพราะลมฟ้าอากาศ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าเป็นลูกอุกกาบาต การวิเคราะห์ทำได้โดยตัดผิวอุกกาบาตให้เรียบ ขัดมันแล้วใช้กรดอย่างอ่อนกัด พบโครงสร้างรูปผลึกปรากฏเห็นชัดบนผิวเรียบนั้น ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัวของอุกกาบาต

          อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่พุ่งชนโลกอย่างแรง ทำให้เกิดหลุมลึกบนพื้นโลกเรียกว่า เครเตอร์ หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุดบนโลก คือ หลุมแบริงเยอร์ ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา คาดว่า เกิดจากอุกกาบาตชนิดเหล็กหนักถึง 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร ตกกระแทก พื้นโลกเป็นหลุมมหึมา ปากหลุมกว้าง 1,200 เมตร ลึก 170 เมตร ความลึกเท่ากับตึกสูง 40 ชั้นทีเดียว หลุมแบริงเยอร์อายุประมาณ 22,000 ปี

ดาวฤกษ์

จุดกำเนิดของดาวฤกษ์ มาจาก เนบิวลา ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซเบาบางที่ล่องลอยอยู่ตามห้วงอวกาศ เหล่าเนบิวลานี้ บางครั้งก๊าซจะเกิดการรวมตัวกันเป็นหย่อมก๊าซที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และการรวมตัวกันเช่นนี้ ทำให้กลุ่มก๊าซ ที่เป็นกลุ่มก๊าซที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ซึ่งความหนาแน่นจะส่งผลให้ก๊าซร้อนมากขึ้น การรวมตัวในขึ้นตอนนี้อาจใช้เวลามากกว่า 10 ล้านปี หรืออาจใช้เวลาน้อยกว่า 1 แสนปี ก็เป็นไปได้
และเมื่อเวลาผ่านไป ก๊าซจะทับถมหนาแน่นจนความร้อนภายในแผ่ออกมาไม่ได้ ซึ่ง ณ จุดนี้ หากมวลสารของกลุ่มก๊าซไม่เพียงพอ ความร้อนจะทำให้กลุ่มก๊าซขยายตัวออก และกระจายกลับออกไป แต่หากมวลสารของก๊าซมีมากพอ แรงโน้มถ่วงจะมีมากพอที่จะต้านความร้อนเอาไว้ ทำให้ก๊าซไม่กระจายกลับออกไป และทำให้อุณหภูมิของกลุ่มก๊าซสูงขึ้นเรื่อยๆ และพยายามดึงก๊าซใกล้ๆ เข้ามาร่วมอย่างต่อเนื่อง จนกลุ่มก๊าซเริ่มสว่างและมองเห็นได้

“พลูโต” โดนโหวตออก ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง

 

ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากลจัดขึ้น 3 ปีครั้ง และครั้งนับเป็นครั้งที่ 26 ที่มีประเด็นให้ผู้เข้าประชุมได้ระดมความคิด ถกเถียงกันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นนิยามใหม่ของวัตถุบนท้องฟ้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานภาพของพลูโต ที่ถกกันมานานกว่าสัปดาห์ และในวันสุดท้ายเหล่านักดาราศาสตร์ที่เข้าร่วมประชุมก็ต้องร่วมกันโหวตสถานภาพของดาวพลูโต

นักดาราศาสตร์ลงมติถอด “พลูโต” ออกจากสถานภาพ “ดาวเคราะห์” และจัดชั้นให้เป็น “ดาวเคราะห์แคระ” ส่งผลให้ต้องปรับตำราดาราศาสตร์กันใหม่ทั้งโลก ต่อไปนี้ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์เพียงแค่ 8 ดวงเท่านั้น อีกทั้งยังมีการนิยามและจัดประเภทวัตถุบนท้องฟ้าใหม่

 ที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union's : IAU) ซึ่งมีนักดาราศาสตร์จาก 75 ประเทศร่วมประชุมอยู่ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเชค ได้ลงมติถอดยศ “ดาวพลูโต” ออกจาก หมู่ “ดาวเคราะห์ชั้นเอก” แห่งระบบสุริยะ เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) โดยได้ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,500 คนได้โหวตด้วยการยกบัตรสีเหลืองเพื่อแสดงความเห็นด้วยในประเด็นต่างๆ หลังจากถกถึงนิยามของดาวเคราะห์ และสถานะของ “พลูโต” กันอย่างถึงพริกถึงขิงมานานกว่าสัปดาห์
      
       “พูลโต” ถูกค้นพบโดยไคลด์ ทอมบอกจ์ (Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory in Flagstaff, Arizona) ในปี 1930 และได้รับการพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะจักรวาล นับเป็นดาวเคราะห์ในกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด แต่ตลอดเวลาก็ได้รับการถกเถียงว่าดาวดวงนี้เหมาะที่จะเป็นดาวเคราะห์หรือไม่
      
       เพราะ “พลูโต” มีลักษณะต่างจากดาวเคราะห์อีก 8 ดวงที่อยู่ในระบบมาก ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์อีก 8 ดวง และตั้งแต่หลังช่วงปี 1990 เป็นต้นมา นักดาราศาสตร์ก็เริ่มค้นพบวัตถุที่มีขนาดใกล้เคียงกับพลูโตที่แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) วงแหวนวัตถุน้ำแข็งบริเวณดาวเคราะห์ชั้นนอก ทำให้สถานภาพของพลูโตสั่นคลอนเข้าไปอีก
      
       ก่อนจะมีการโหวตตัดสินชะตากรรมของดาวพลูโตในครั้งนี้ นักดาราศาสตร์ที่มาร่วมประชุมตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันนิยามความหมายของ “ดาวเคราะห์” กันใหม่ให้ชัดเจน โดยได้ข้อสรุปว่า “ดาวเคราะห์” (planet) ต้องมีคุณสมบัติ คือ 1.เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์ 2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) และ 3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง
      
       เมื่อไอเอยูนิยามลักษณะดาวเคราะห์ออกมาเช่นนี้ก็ทำให้ “พลูโต” หลุดออกจากข่ายทันที เพราะมีวงโคจรเป็นวงรีที่ทับซ้อนกับดาวเนปจูน ส่วนดาวเคราะห์ที่เหลืออีก 8 ดวง อันได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวโลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นั้นให้ระบุลงไปด้วยว่า เป็น “ดาวเคราะห์ชั้นเอก” (classical planet)
      
       นอกจากนี้ ก็มีการนิยามประเภทของดาวขึ้นมาใหม่อีกนั่นคือ “ดาวเคราะห์แคระ” (dwarf planets) ซึ่งคล้าย กับดาวเคราะห์น้อย (minor planets) ดาวเคราะห์แคระมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับดาวเคราะห์ แต่ต่างกันตรงที่วงโคจรนั้นสามารถทับซ้อนกับดาวใกล้เคียงได้และไม่ได้เป็นจันทร์บริวารของดาวใด
      
       อีกทั้งยังมีการนิยามถึงวัตถุขนาดเล็กที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยระบุให้เป็น “วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ” (Small Solar System Bodies) ซึ่งในชั้นนี้หมายรวมถึงดาวเคราะห์น้อย (asteroids), ดาวหาง (comets), วัตถุขนาดใหญ่นอกวงโคจรของดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Objects-TNO) และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ
      
       ด้วยนิยามนี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าคงจะมีการค้นพบดาวเคราะห์แคระเพิ่มขึ้นอีกมากมายภายในไม่กี่ปีข้างหน้า
      
       แต่ ณ ปัจจุบันนับจากนี้ไปตำราวิชาดาราศาสตร์ทั้งในโรงเรียนและระดับอุดมศึกษาก็จะต้องลบชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะออกไป ส่วนพลูโตก็กลายเป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ
      
       นอกจาก สถานภาพของ “พลูโต” แล้ว ในการประชุม ไอเอยูได้เสนอญัตติที่จะเลื่อนขั้นดาวอีก 3 ดวงให้เข้าข่าย “ดาวเคราะห์” ซึ่งดาวทั้ง 3 ได้แก่ ดาวเคราะห์น้อยซีเรส (Ceres), ดวงจันทร์ชารอน (Charon) จันทร์บริวารดวงใหญ่ที่สุดของพลูโตและ 2003 ยูบี313 (2003 UB313) หรือซีนา ที่มีขนาดใหญ่กว่าพลูโต แต่ที่ประชุมยังคงคัดค้าน

 แต่ไม่ว่าพลูโตจะเป็นวัตถุบนท้องฟ้าประเภทไหนก็ตาม ยานอวกาศไร้มนุษย์ “นิว ฮอไรซอนส์” (New Horizons) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในอวกาศมีกำหนดถึงดาวพลูโตและแถบไคเปอร์ในปี 2015 เพื่อเก็บข้อมูลอดีตดาวเคราะห์และวัตถุอื่นในระบบสุริยะ

 

ดาวเคราะห์ทั้ง 8 จากบนลงล่าง พุธ, ศุกร์, โลก (ดวงจันทร์อยู่ข้างๆ), อังคาร, พฤหัส, เสาร์, ยูเรนัส และเนปจูน (ภาพ NASA)

 

 

สร้างโดย: 
นายจำเริญ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 475 คน กำลังออนไลน์