การพัฒนาเกษตรกรรมในยุโรปกลางตอนต้น

                       

          เนื่องจากเกษตรกรรมมีความสำคัญต่อจักรวรรดิเป็นอย่างมาก  ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความสำคัญและได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ทั้งนี้เพราะรัฐต้องการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง  เพื่อจะได้เรียกเก็บภาษีจากเกษตรกรให้ได้มากที่สุด  เพราะรายได้จากภาษีเป็นรายได้หลักของจักรวรรดิ  ส่วนใหญ่การทำไร่ทำนาในจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นการทำไร่นาขนาดใหญ่ มีขุนนางและพระเป็นเจ้าของที่ดิน และมีชาวนาทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมและคุ้มครองของเจ้าของที่ดิน  ดังนั้นการเพาะปลูกในแมนเนอร์มีวิธีการเพาะปลูก 2 วิธีการ คือ

1.ระบบนา 2 ทุ่ง (Two – Field System) ด้วยวิธีการแบ่งที่ดินเพื่อการเพาะปลูกออกเป็น 2 ทุ่ง  ปีแรกทำการเพาะปลูกเพียงทุ่งเดียว  ส่วนอีกทุ่งหนึ่งพักไว้และใช้เป็นทุ่งเลี้ยงปศุสัตว์  สำหรับปีต่อไปก็จะทำการเพาะปลูกในทุ่งที่พักไว้ และพักทุ่งที่ใช้ปีที่แล้วเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกๆ ปี

2.ระบบนา 3 ทุ่ง (Three – Field System) เป็นการถือครองที่ดินในลักษณะวิเลนเนเจี้ยม (Villenagium) หมายถึงที่ดินของขุนนางที่ให้ชาวนาและทาสติดที่ดินไปทำกัน นับเป็นส่วนที่ไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์ จึงต้องมีการแบ่งทำการเพาะปลูกในระบบที่เรียกว่า Three – Field System คือ แบ่งที่นาออกเป็น 3 ส่วน  กล่าวคือ ในปีแรกจะทำนาเพียงแปลงที่ 1 และแปลงที่ 2 คือ แปลงฤดูใบไม้ผลิและแปลงฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น เก็บแปลงที่ 3 (แปลงที่ได้ไถเอาไว้ก่อน) ต่อมาจะทำนาในแปลงที่ 2 และแปลงที่ 3  (คือ แปลงฤดูใบไม้ร่วง และแปลงที่ได้ไถเอาไว้) โดยเก็บแปลงที่ 1 (แปลงฤดูใบไม้ผลิ) เอาไว้ผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  แปลงส่วนที่ทิ้งเอาไว้ใช้ปลูกพืชชนิดอื่นบำรุงดินเอาไว้  จะช่วยทำให้ดินไม่จืด อุดมด้วยอาหารพืช ดังนั้นในการทำการเกษตรในสมัยกลางไม่มีการใช้ปุ๋ยกันอย่างแพร่หลาย บางทีก็ทิ้งดินไว้เฉยๆ จะเป็นการเปิดโอกาสให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้จะเข้าไปถ่ายมูลไว้จะกลายเป็นปุ๋ย ซึ่งในสมัยนี้เรียกว่าปุ๋ยคอก  วิธีการทำนาแบบนี้เริ่มในยุโรปตะวันตกราวๆ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8  วิธีการทำนาในแมนเนอร์ใช้ระบบนาเปิด (Open Field System) คือ การที่ขุนนาง (Lord) แบ่งที่ดินที่เป็น   ทรัพย์สินของตนให้ชาวนาทำการเพาะปลูกในพื้นที่นาที่ไม่มีการล้อมรั้ว แต่อาจจะมีก้อนอิฐวางไว้ หรือต้นหญ้าปลูกไว้เป็นเส้นแบ่งเขต  ชาวนาแต่ละคนจะมีที่นาคนละ 30 เอเคอร์ต่อมาชาวนาได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นทาสติดที่ดิน (Serf) มากขึ้น จะต้องทำงานรับใช้ขุนนางตามส่วน คือ ต้องทำงานให้ขุนนางสัปดาห์ละสองวันหรือสามวัน งานที่ทำรับใช้ขุนนาง  ได้แก่ การไถนาในไร่ดีมินส์ การหว่านข้าว การเก็บเกี่ยว การตัดไม้ การตัดฟอกขนแกะ การซ่อมแซมรั้ว และงานอื่นๆ วันที่เหลือทาสติดที่ดินยังต้องทำงานส่วนตัวเพื่อเลี้ยงชีพของตนเอง เช่น เป็นกรรมกรรับจ้าง เป็นช่างฝีมือดีเยี่ยมของแมนเนอร์และเป็นผู้ผลิตสินค้าต่างๆ เพื่อใช้ในแมนเนอร์เอง และขายไปยังแมนเนอร์อื่นๆ

สร้างโดย: 
น.ส.อนุสรา เส็งเล็ก เลขที่28 ชั้น ม.6/3 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์
รูปภาพของ silavacharee

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 297 คน กำลังออนไลน์