ประวัติสุนทรภู่

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ประวัติสุนทรภู่
หากเอ่ยชื่อ "พระสุนทรโวหาร" คงมีคนสงสัยว่าเค้าคือใคร แต่ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" หลายคนคงร้อง อ๋อ... ขึ้นมาทันที เพราะสุนทรภู่นั้นกวีไทยที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงหลากหลายเรื่อง จนได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้างานวรรณกรรมเมื่อ พ.ศ. 2529


          สำหรับ สุนทรภู่ นั้นมีนามเดิมว่า ภู่ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง โดยตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สุนทรภู่นั้นเกิดบริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อย ส่วนชื่อบิดา-มารดา ของสุนทรภู่นั้นไม่ปรากฏ ทราบแต่เพียงว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ทางด้านมารดานั้นเป็นชาวเมืองอื่น ที่มีเชื้อสายผู้ดี


          สุนทรภู่ เกิดหลังจากที่ได้มีการสร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี ซึ่งหลังเกิดได้ไม่นานบิดามารดาก็หย่าร้างกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่วัดป่ากร่ำภูมิลำเนาเดิมของตน ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง และถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ สุนทรภู่จึงได้ไปอยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก


          ส่วนมารดาก็ได้แต่งงานมีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ 2 คน เป็นหญิงชื่อฉิมและนิ่ม เมื่อสุนทรภู่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ มารดาก็ได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว ซึ่งต่อมาวัดชีปะขาวก็ได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 4 ว่าวัดศรีสุดาราม เมื่อโตขึ้นก็เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่นานก็ลาออกเพราะไม่ชอบงานนี้ โดยสิ่งที่สุนทรภู่ชอบก็คือการแต่งกลอน แต่งสักวา ซึ่งก็สามารถแต่งได้ดี 


          ต่อมาเมื่อถึงวัยหนุ่ม สุนทรภู่ ก็เกิดรักใคร่ชอบพอกับนางข้าหลวงในวังหลังที่ชื่อแม่จัน เมื่อความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็ทรงกริ้วและรับสั่งให้นำสุนทรภู่และนางข้าหลวงจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองก็ถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 ทั้งสองก็พ้นโทษออกมาเพราะเป็นประเพณีโบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ หรือพระราชวงศ์ชั้นสูงเมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว และเมื่อพ้นโทษสุนทรภู่ก็ถูกใช้ไปชลบุรี ทำให้ต้องห่างจากคนรักไปอีก แต่ก็ทำให้สุนทรภู่ได้เดินทางไปพบบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง


          หลังจากกลับมาสุนทรภู่ก็ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ และต่อมาก็ได้สมหวังในรักกับแม่จัน แต่แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกัน ยังไม่ทันได้คืนดีสุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เนื่องในวันมาฆบูชาอีก โดยสุนทรภู่นั้นมีบุตรกับแม่จัน 1 คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ไม่ราบรื่นนักมักจะระหองระแหงกันเสมอ


          จนในที่สุดก็ต้องเลิกร้างกันไป แล้วต่อมาสุนทรภู่ก็ได้เข้ารับราชการ กับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือรัชกาลที่ 2 ที่ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยในเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง และสุนทรภู่ก็ทรงเป็นที่โปรดปรานจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนสุนทรโวหาร โดยเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนติดขัดก็มักให้สุนทรภู่แต่งต่อให้ และระยะนี้นี่เองที่สุนทรภู่ก็ได้มีภรรยาใหม่ที่มีชื่อว่านิม จนมีบุตรด้วยกันชื่อตาบ แต่นิมก็เสียชีวิตไปตั้งแต่ตาบยังเล็กอยู่ และระหว่างรับราชการสุนทรภู่ก็เคยถูกจำคุก เพราะถูกหาว่าเมาสุราแล้วทำร้ายญาติผู้ใหญ่ 

          จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต ก็ทำให้สุนทรภู่เลิกรับราชการไปด้วย แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึงสาเหตุที่สุนทรภู่ไม่กล้ารับราชการต่อในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเพราะเคยมีความขัดแย้งกันในเรื่องบทกวีที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รับสั่งวานให้สุนทรภู่ตรวจก่อนที่จะอ่านถวายตัว แต่สุนทรภู่กลับบอกว่าดีอยู่แล้ว 

          ครั้นเมื่อเสด็จออกก็มีบางประโยคที่สุนทรภู่ทรงเห็นว่า ควรแก้ไข จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงกริ้ว ว่าตอนให้ตรวจทำจึงไม่แก้ไข ซึ่งสุนทรภู่ยังได้แสดงความประมาทแบบนี้อีกครั้ง จึงทำให้ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาตลอด และเมื่อประกอบกับความอาลัยในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่จึงลาออกจากราชการและออกบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ


          เมื่อสึกออกมาสุนทรภู่ก็ต้องพบกับความยากลำบาก ต้องแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต จนสุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงพระเมตตาอุปการะสุนทรภู่ด้วย เพราะชอบพระราชหฤทัยในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้สุนทรภู่ยังได้แต่งเรื่องสิงหไตรภพถวายอีกเรื่องด้วย โดยสุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ. 2394 ขณะที่มีอายุได้ 65 ปี และสุนทรภู่ถึงแก้อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี ซึ่งผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากสุนทรภู่จะได้รับนามสกุล "ภู่เรือหงส์"


          ซึ่งสุนทรภู่เป็นคนที่ชอบแต่งกลอน สักวา และนิทานมาก จะเห็นได้จากยามที่สุนทรภู่เดินทางไปที่ไหนก็จะมีนิราศเมืองนั้นๆ ออกมา อาทิ นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองเพชร นิราศสุพรรณ นิราศภูเขาทอง เป็นต้น หรือจะเป็นนิทานเรื่องพระอภัยมณี ที่แปลกแหวกแนวยิ่งกว่านิทานเรื่องใดที่เคยมีมา ก็เริ่มแต่งในสมัยที่เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ รวมถึงสุนทรภู่ยังมีผลงานอื่นๆ อีกมากมาย

สร้างโดย: 
สรไกร สัตย์เพริศพราย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 366 คน กำลังออนไลน์