user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '3.15.150.59', 0, '0d84dfd71c61f50dd1635dede38cfd0c', 118, 1716147883) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การอ่านหนังสือของคนไทย

รูปภาพของ sss28261

                การพูด  การอ่าน  การเขียน ฟัง กริยาเหล่านี้มนุษย์ทุกคนต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่แล้ว แต่ปัจจุบันด้วยเหตุจำเป็นของเวลาที่มีขีดจำกัด จึงทำให้คนไทยห่างเหินกับการอ่านหนังสือ
การศึกษาการอ่านหนังสือของคนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรในแต่ละวัยคือ วัยเด็ก (อายุ 6-14 ปี) วัยรุ่น (อายุ 15-24 ปี)วัยทำงาน(อายุ 25-59 ปี)และผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป)โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี พ.ศ.2546 และครั้งล่าสุดเมื่อปี 2548 ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นการสำรวจประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป สรุปประเด็นที่สำคัญดังนี้
                การอ่านหนังสือของคนไทย หมายถึง การอ่านหนังสือทุกประเภทรวมทั้งตำราเรียน ตลอดจนการอ่านจากอินเทอร์เน็ต ผลจากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี 2546 และ 2548 พบว่าประชาชนมีแนวโน้มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 แม้ชายจะมีการอ่านหนังสือมากกว่าหญิง แต่หญิงมีอัตราการเพิ่มของการอ่านหนังสือมากกว่าชาย
ประชากรในเขตเทศบาลมีการอ่านหนังสือมากกว่าประชากรที่อยู่นอกเขตเทศบาลทั้งนี้เนื่องจากมีแหล่งบริการ ร้านจำหน่าย และร้านให้เช่าหนังสืออยู่มากกว่า เมื่อจำแนกการอ่านหนังสือของประชากรตามวัยต่างๆพบว่า ในปี 2548 วัยเด็กมีการอ่านหนังสือมากที่สุด คือร้อยละ 87.7 รองลงมาคือ วันรุ่น(ร้อยละ 83.1)วัยทำงาน (ร้อยละ 65.0)และผู้สูงอายุ(ร้อยละ 37.4)
                ประเภทหนังสือที่อ่าน หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่มีคนอ่านมากที่สุด โดยในปี2548 มีผู้อ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นจากปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 27.6 การอ่านหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรมีการอ่านลดลง จากร้อยละ 40.0 ในปี 2546 เหลือเพียงร้อยละ 34.4 ในปี 2548 นอกจากนี้หนังสือประเภทนิตยสาร วารสาร/เอกสารที่ออกเป็นประจำ ตำรา/หนังสือเกี่ยวกับความรู้ก็ยังมีการอ่านลดลงเช่นกัน
วัยเด็ก อ่านหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรมากที่สุด เนื่องจากยังอยู่ในวัยของการศึกษาภาคบังคับ รองลงมาคือนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และตำรา/หนังสือเกี่ยวกับความรู้ วัยรุ่น อ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดถึงร้อยละ 68.9 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.5 ในปี 2548 หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่วัยทำงานอ่านมากที่สุด คือ มากกว่าร้อยละ 85 ทั้งในปี 2546 และ 2548 หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่ผู้สูงอายุนิยมอ่านมากที่สุดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความสนใจในการอ่านจากอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 1.7 ในปี 2548
                สาเหตุที่ไม่อ่านหนังสือของคนไทย จากการสำรวจฯพบว่า ผู้ไม่อ่านหนังสือมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 38.8 ในปี 2546 เหลือร้อยละ 30.9 ในปี 2548 สาเหตุหลักของการไม่อ่านหนังสือของคนไทยในทุกวัยคือ การชอบฟังวิทยุ/ดูทีวี มากกว่าการอ่าน การชอบฟังวิทยุ/ดูทีวีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้วัยเด็กไม่อ่านหนังสือ รองลงมาคือไม่ชอบอ่านหรือไม่สนใจอ่าน และอ่านหนังสือไม่ออก
การส่งเสริมให้อ่านหนังสือ จากการสำรวจฯ ในปี 2548 เกี่ยวกับความคิดเห็นในการส่งเสริมเพื่อจูงใจให้ประชากรรักการอ่านหนังสือ พบว่าประชากรร้อยละ 31.6 เห็นว่าหนังสือควรมีราคาถูกลง และควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสในการอ่านให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนมากยิ่งขึ้น การเลือกหนังสือที่เหมาะกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆจะเป็นกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาชนสนใจอ่านหนังสือ รองลงมาคือหนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ(ร้อยละ 23.7)และควรส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน(ร้อยละ 20.5)
               สรุป จากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากร พบว่าประชากรมีแนวโน้มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น คือจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 วัยเด็กมีการอ่านหนังสือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.7 รองลงมาคือวัยรุ่น(ร้อยละ 83.1)วัยทำงาน(ร้อยละ 65.0)และผู้สูงอายุ (ร้อยละ 37.4)การไม่อ่านหนังสือของประชากรมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 38.8 ในปี 2546เหลือร้อยละ 30.9 ในปี 2548 ทั้งนี้สาเหตุของการไม่อ่านหนังสือของประชากรมาจากการชอบฟังวิทยุ/ดูทีวีมากกว่าการอ่าน
การอ่านหนังสือนับเป็นปัจจัยและมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆที่ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการดำรงชีวิต และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนควรจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น

สร้างโดย: 
http://www.sema.go.th/node/222

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 248 คน กำลังออนไลน์