มารู้จัก กรด-เบส กันเถอะ

รูปภาพของ krubpeouw

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


           
   กรดเบสเกลือในชีวิตประจำวัน

              สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอยู่มากมาย บางชนิดบริโภคได้ บางชนิดบริโภคไม่ได้ สารเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสารเคมีทั้งสิ้น
             
สารเคมีเป็นสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติหรือเกิดจากการสังเคราะห์ขึ้น สารเคมีแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัว สารแต่ละชนิดจึงมีสมบัติแตกต่างกันไป เมื่อนำมาใช้ควรศึกษาสมบัติและประโยชน์ของสารนั้นๆ ก่อน
              สารเคมีที่ใช้ในบ้านเป็นสารประกอบซึ่งแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ กรด เบส และเกลือ

               กรด
               กรด คือ สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ

               คุณสมบัติของกรด
               1. มีรสเปรี้ยวและมีฤทธิ์กัด เช่น มะนาว น้ำส้มสายชู และกรดที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ คือ กรดกำมะถัน ฯลฯ
               2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจาก น้ำเงินเป็นสีแดง ในบ้านเราสามารถใช้ดอกอัญชันทดสอบแทนได้
               3. ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ
               4. ทำปฏิกิริยากับ โลหะ ได้ แก๊สไฮโดรเจนและเกลือของโลหะ
               5. ทำปฏิกิริยากับสารประกอบ คาร์บอเนต ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
               6. ทำปฏิกิริยากับสารประกอบ ซัลเฟตได้แก๊สไข่เน่า (H2Sไฮโดรเจนซัลไฟต์)
               กรดที่นำมาบริโภคได้ เป็นกรดที่ได้จากพืช หรือที่เรียกว่ากรดอินทรีย์ เป็นกรดอ่อน ใช้ประกอบอาหารหรือปรุงแต่งรสอาหารได้ เช่น น้ำมะนาว น้ำมะขาม น้ำมะกรูด น้ำส้มสายชู(แท้)
               กรดที่นำมาบริโภคไม่ได้ เป็นกรดจากแร่ธาตุ หรือเรียกว่า กรดอนินทรีย์ เป็น กรดที่รุนแรง หรือ กรดแก่ ไม่ควรนำมาปรุงแต่งอาหาร เช่น กรดซัลฟุริก กรดเกลือ ฯลฯ
กรดประเภทนี้จะกัดโลหะและละลายสารบางอย่างในพลาสติกได้ จึงไม่ควรเก็บในขวดพลาสติกหรือโลหะ
               กรดจากแร่นี้ หากทดสอบกับเจนเชียนไวโอเลตจะเปลี่ยนจากสีม่วง เป็น สีน้ำเงิน

            เบส
            เบส คือ สารประกอบที่ทำปฏิกิริยากับกรดได้ เกลือ กับ น้ำ เบสที่ละลายน้ำเรียกว่า ด่าง

            สมบัติของเบส
            1. มีรสฝาดและขม เช่น น้ำปูนใส ผงฟู น้ำแอมโมเนีย
            2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจาก สีแดง เป็น สีน้ำเงิน
            3. ถูกับมือจะรู้สึกลื่นคล้ายสบู่
            4. ทำปฏิกิริยากับ ไขมัน ได้ สบู่ (เบสต้มกับไขมันได้สบู่)
            5. ทำปฏิกิริยากับ แอมโมเนียมไนเตรท ได้ แก๊สแอมโมเนีย
            6. ทำปฏิกิริยากับ โลหะอะลูมิเนียม ได้ แก๊สไฮโดรเจน

            เบสที่นำมาบริโภคได้ ได้แก่ ผงฟู (โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต) น้ำปูนใส น้ำขี้เถ้า ควรใช้ในปริมาณน้อย หากใช้มากจะให้โทษแก่ร่างกายได้ เช่น ใช้ทำขนมให้ฟู หรือใช้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (โซเดียมไบคาร์บอเนต) ลดความรุนแรงของกรดในกระเพาะอาหารให้เจือจางลง

            เบสที่ไม่ควรนำมาใช้บริโภค เป็นเบสที่รุนแรง ทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น โซดาไฟ (โซดาแผดเผา = โซเดียมไฮดรอกไซด์)

            เกลือ
            เกลือ คือ สารเคมีที่เกิดจากกรดทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น ดีเกลือ (MaSO4) จุนสี (CuSO4) หรือเกิดจากกรดทำปฏิกิริยากับเบส เช่น เกลือแกง (NaCl)

            เกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์ - NaCl) เป็นสารเคมีที่เป็นของแข็ง มีทั้งในน้ำทะเลและในดิน แหล่งที่เกิดของเกลือ ได้แก่
            1. น้ำทะเล เกลือที่เกิดในน้ำทะเล เรียก เกลือสมุทร
            2. พื้นดิน เกลือที่เกิดตามพื้นดิน เรียก เกลือสินเธาว์


สร้างโดย: 
krubpeouw

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 225 คน กำลังออนไลน์