คำต่าง ๆ ในภาษาของเรา

   
     
     
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
     
     
     
 

 

            
       คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
๑. นามทั่วไป
    หรือสามานยนาม
เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คน นักเรียน ครู กีฬา
๒. นามชื่อเฉพาะ
    หรือวิสามานยนาม
เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล หรือ สถานที่ เช่น อัญชลีพร ตาก ลำปาง
๓. นามบอกลักษณะ
     หรือลักษณนาม
เป็นคำนามบอกลักษณะ เช่น อัน แท่ง ผล ตัว
๔. นามบอกหมวดหมู่
     หรือสมุหนาม
เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ หมู่ เหล่า โขลง ฝูง
๕. นามบอกอาการ
    หรืออาการนาม
เป็นคำนามที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า เช่น การนอน ความจริง ความดี

 

 

 

 

 

 

             คือคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำ ๆ คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๑. บรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามมี ๓ ชนิด ดังนี้
    สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้เรียกแทนผู้พูด เช่น ข้า ข้าพเจ้า ดิฉัน ฉัน ผม
    สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกแทนผู้ฟัง เช่น เธอ ท่าน คุณ
    สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้เรียกแทนผู้ถูกกล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน
๒. สรรพนามชี้ระยะ เป็นสรรพนามที่กำหนดให้เรารู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ที่กล่าวถึงนั้นอยู่ในระยะใกล้ไกลเพียงใด เช่น
  นี่ ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด
  นั่น ใช้กับสิ่งที่อยู่ห่างออกไป
๓. สรรพนามใช้ถาม ใช้แทนคำนามที่ผู้ถามต้องการคำตอบ ได้แก่ อันไหน สิ่งใด ใคร อะไร เช่น เธอชอบอันไหน คุณเลือกสิ่งใดในตู้นี้
๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึง โดยไม่ต้องการคำตอบ ได้แก่ ใคร อะไร สิ่งใด หรืออาจจะใช้คำซ้ำ เช่น
  ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเขา
  รู้สิ่งใด หรือจะสู้รู้วิชา
๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาก่อนแล้ว และต้องการกล่าวซ้ำอีกโดยไม่ต้องเอ่ยคำนามนั้นอีกครั้ง ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
  ประชาชนต่างไปลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนราษฎร (ความหมายแยกแต่ทำในสิ่งเดียวกัน)
๖. สรรพนามเชื่อมประโยค ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า และเมื่อต้องการกล่าวซ้ำ ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ๒ เข้าด้วยกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น
  คน ที่ เดินมาเป็นน้องฉัน เมื่อแยกประโยคจะได้ดังนี้ คนเดินมา และน้องฉัน ส่วนคำว่า ที่ แทนคำว่า คน
๗. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด ใช้หลังคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
  เด็ก ๆ แก หัวเราเสียงดัง (บอกความรู้สึกเอ็นดู)
  คุณใบไฝ่เธอ ดีกับทุกคน (บอกความรู้สึกยกย่อง)

 

 

 

 

 

 

            คือ คำที่แสดงอาการ หรือสภาพ หรือการกระทำในประโยค บางคำมี ความหมายสมบูรณ์ แต่บางคำต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบ หรือใช้ประกอบคำอื่นเพื่อให้ความหมายชัดเจน
        คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้  
๑. กริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ เรียกว่า อกรรมกริยา เช่น เดิน วิ่ง ร้องไห้
๒. กริยาที่ต้องอาศัยกรรม
    มาทำให้สมบูรณ์
เรียกว่า สกรรมกริยา เช่น ทำ ซื้อ กิน
๓. กริยาที่ช่วยให้กริยาอื่น
     มีความหมายชัดเจนขึ้น
เรียกว่า กริยานุเคราะห์ เช่น คง จะ น่า แล้ว อาจ นะ ต้อง ทำให้ความหมายชัดเจนขึ้น
๔. กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติม
    เต็มเพื่อให้มีความหมายสมบูรณ์
ส่วนเติมเต็มนี้ ไม่ใช่กรรม คำกริยาดังกล่าวได้แก่ เป็น เหมือน
คล้าย เท่า คือ
๕. กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม อาจเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายประโยค
คำกริยาชนิดนี้มักละคำว่า “การ” ไว้ เช่น พูด อย่างเดียว
ไม่ทำให้งานสำเร็จหรอก

 

 

 

 

 

 

             
       คือคำที่ช่วยขยายคำอื่น ให้มีเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้นหน้าที่
ของคำวิเศษณ์ มีดังนี้
   
๑.ประกอบคำนาม เช่น คนงาม ชายหนุ่ม มะพร้าวอ่อน ผ้าบาง
๒.ประกอบคำสรรพนาม เช่น เขาสูง เธอสวย มันดุ
๓.ประกอบคำกริยา เช่น วิ่งเร็ว อยู่ไกล นอกมาก
๔.ประกอบคำวิเศษณ์ เช่น อากาศร้อนมาก เธอดื่มน้ำเย็นจัด

 

 

 

 

 

 

            
      คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่ง หรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่น หรือกลุ่มคำอื่น เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ จาก เพื่อ โย จน บน ใต้ กลาง ของ สำหรับ ระหว่าง เฉพาะ เช่น
   
แม่ทำเพื่อลูก เพื่อเป็นบุพบุทแสดงอาการ
เขามาเมื่อเช้านี้ เมื่อ เป็นบุพบทบอกเวลา
นกอยู่บนต้นไม้ี่ บน เป็นบุพบทบอกสถานท
ฉันเดินกับเขา กับ เป็นบุพบทบอกความเกี่ยวเนื่องกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             
       คือคำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ข้อความที่มีคำสันธานเชื่อมอยู่นั้น มันจะแยกออกได้เป็นประโยคมากว่าหนึ่งประโยค
   
เช่น
ใบบัวอ่านหนังสือแต่ ใบไฝ่เล่นเกม
  ติ๊กและสมต้องเป็นเด็กมีน้ำใจ
  ครูให้อภัยเขาเพราะเขาสำนึกผิด
  บ้านและโรงเรียนควรร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องเด็ก


 

 

 

 

 

 

 

 

 

             
      คือคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางเน้น
ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ
คำอุทานแบ่งเป็น ๓ ประเภทได้แก่
 
  ๑.คำอุทานบอกอาการ ใช้บอกอาการในการพูดจากัน เช่น
   โธ่ ! ไม่น่าเลย                        โอ๊ย! น่ากลัวจริง
   เอ๊ะ! ทำอย่างนี้ได้อย่างไร       ตายแล้ว! ทำไมเป็นอย่างนี้

        คำอุทานบอกอาการจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับอยู่ คำอุทาน
บอกอาการนี้จะพูดออกใสเพื่อแสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ ฯลฯ

 

๒. คำอุทานในบทร้อยกรองคำอุทานเหล่านี้จะปรากฎอยู่
ในบทร้อยกรอง เช่น อ้า โอ้ เอย เอ๋ย เฮย แล แฮ นา นอ ฯลฯ ใช้แทรกลงในถ้อยคำเพื่อความสละสลวย เช่น

                    โอ้ดวงเดือนก่ำฟ้า              ชวนฝัน ยิ่งเอย
         ใบพฤกษ์จับแสงจันทร์                   ป่ากว้าง
         หมู่แมลงเพรียกหากัน                     ดุจเพื่อน รักนา
         ป่าปลอบผู้อ้างว้าง                         ปลดเศร้าอุราหมอง

                                                                                     จตุภูมิ วงษ์แก้ว

  ๓. อุทานเสริมบท ใช้กล่าวเป็นการเสริมคำในการพูดเพื่อเน้นความหมาย
ให้ชัดเจนขึ้น ทำให้สนุกในการออกเสียงให้น่าฟังขึ้น เช่น
   
       เธอไม่สบายต้องกินหยูกกินยานะ
       เข้ามาดื่มน้ำดื่มท่าเสียก่อน
ช่วยหยิบถ้วยโถโอชามให้ด้วย
ทำไมบ้านช่องถึงสกปรกอย่างนี้


 

 

 

             


     
 


 

 

 

 

     
    
 ๑. การเขียนบันทึก
      คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรู้หรือข้อความสำคัญ
ในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ วัน เวลาที่จดบันทึกได้ด้วย
   
      ๑.ประเภทของการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท ดังนี้
       ๑)การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น
       ๒) การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการ
เดินทาง เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น

 

 

 

สิ่งที่ต้องมีในการบันทึกเหตุการณ์ คือ
๑)วัน เดือน ปี ที่บันทึก
๒)แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็นมา
๓)บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษา
ของตน ซึ่งอาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย

การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน ฝึกย่อความป้องกันการลืม และประหยัดเวลา
๒. ข้อควรปฎิบัติในการเขียนบันทึก
    ๑) ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
    ๒) บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
    ๓) บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม เป็นต้น
    ๔) ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีดเส้นใต้
    หัวข้อและประเด็นสำคัญ

๓. วิธีการเขียนบันทึก
     ๑) ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน เช่น
  ตอนบ่ายง่วงนอนเพราะดูทีวีจนดึก จึงนั่งสัปหงก มาลีชวนไปเล่นวิ่งเปี้ยวเลยหายง่วง เลิกเรียนแล้วกลับบ้าน และช่วยคุณแม่ทำกับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน
    ๒) ลำดับเหตุการณ์ เช่น
  วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะฉันกำลังดูหนังสือ
เวลา ๑๑.๓๐ น. เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะโกนถามและบอกให้ลดเสียง
เวลา ๑๑.๔๐ น. เสียงร้องเพลงดังมากขึ้นเหมือนจงใจจะแกล้งฉันเลยหยุดดูหนังสือ ไปทำงานอื่นแทน
     ๓) การเชื่อมโยง เช่น
  ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมาเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น ต่อมาจึงหยุดดูหนังสือ
    ๔) การเน้นใจความสำคัญ เช่น
  เริ่มเรื่อง ร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถาม ผล เสียงร้องเพลงดังขึ้น
สรุป เลิกดูหนังสือ หันไปทำงานอื่น ผล เหตุการณ์สงบ
   
   

การเขียนบันทึกเหตุการณ์
                กระทรวงการคลังได้ข้อยุติในมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อ
ช่วยเหลือ สังคม และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้
ประกอบการไทย รมว. คลังได้สั่งให้กรมสรรพากรหักค่าลดหย่อน
สำหรับการเลี้ยงดูบุพการี โดยคนที่เลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเอง สามารถนำ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักเป็น ค่าลดหย่อนได้ คนละ ๓0,000 บาท
โดยบุพการีที่เลี้ยงดูนั้นไม่จำเป็น ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
   
   
การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
         วันนี้ฉันไปโรงเรียนตั้งแต่ ๖.๕๔ น. เพื่อไปรดน้ำผักบุ้งที่แปลงผัก
หลังอาคารเรียน ฉันยืนมองผักบุ้งที่แตกยอดอวบงามแล้วรู้สึกภูมิใจมาก
ที่ฉันสามารถปลูกผักได้งอกงามด้วยมือของตัวฉัน
       ๘.๐๐ น. เรียนวิชาภาษาไทยกับคุณครูอัญชลีพร วันนี้เราเรียนเรื่อง
การใช้สำนวนภาษาในการสื่อสารกัน คุณครูอัญชลีพรให้ฉันยกตัวอย่าง
สำนวน ๑ สำนวน ฉันยกตัวอย่างสำนวนว่า “เป็นฟืนเป็นไฟ” ซึ่งหมายถึง
อาการโกรธอย่างรุนแรง เพื่อน ก็หัวเราะ และล้อฉันว่าฉันคงโกรธ
เป็นฟืนเป็นไฟ ถ้าหากใครไปทำให้แปลงผักบ้งเสียหาย ฉันยิ้มรับและหัวเราะ
.  
          
 

 

 

 

 

 

 

     
    
 ๑. การเขียนอธิบาย

     คือ การเขียนเพื่ออธิบายความหมายให้กระจ่าง หรือขยายความ
ให้มีรายละเอียด ชัดเจนขึ้น หรือชี้แจงสิ่งต่างๆ ให้แจ่มแจ้งขึ้น
งานเขียนที่มีลักษณะเป็นการอธิบายนี้ ผู้เขียนสามารถนำถ้อยคำมาเรียบเรียง
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสละสลวย เพื่อให้ผู้อื่นเข้าสิ่งต่างๆ
ได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ


๑.การเขียนอธิบายจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมในธรรมชาต

จำเป็นต้องฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต จดจำข้อมูลให้เม่นยำ 
ต้องมีวิธีการเขียนเป็นไปตามลำดับ ไม่สับสน รู้จักใช้ถ้อยคำ
ที่เหมาะสมด้วยจึงจะทำให้งานเขียนชวนให้ผู้อื่นติดตาม

 

   
การเขียนอธิบายสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ
นกภูหงอนหัวน้ำตาลแดง เป็นนกที่มีขนาดเล็กมาก(๑๔ ซม.) 
หงอนขนบนหัวมีขนาดสั้น ลำตัวผอมบาง  ด้านบนลำตัวมีขีดลายสีขาว
ขนบริเวณหูสีน้ำตาลแดงมีลายขัดสีขาว ขนปลายหางสีขาว และด้านล่างลำตัวขาว ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ เช่น
ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม ่ และในภาคกลาง เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นต้น

 

 

๒.การเขียนอธิบายจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคล

เป็นการเขียนอธิบายถึงความคิดที่สัมพันธ์กับการกระทำ ตลอดจนวิธีทำ
สิ่งต่าง ๆ

การเขียนอธิบายถึงความคิดที่สัมพันธ์กับการกระทำ

 

ข้าวหน้าไก่นึ่งกุนเชียงเห็ดหอม
                        “เข้าครัวกับหมึกแดง”
                นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันพอร้อนใส่ต้นหอมซอย กระเทียมสับผัดจนหอม
นำไก่ กุนเชียง และเห็ดหอมผัดพอสุก ตักเรียงใส่ถ้วยสำหรับนึ่ง ผสมข้าวเจ้า
และข้าวเหนียว นำไปล้างให้สะอาดแล้วเทใส่ซี้อิ้วขาว น้ำมันหอย น้ำมันงา
พริกไทยขาว เทลงใสถ้วยข้าว แล้วนำไปนึ่งจนกระทั่งสุก พอสุกนำถ้วย
คว่ำลงเอาส่วนที่มีไก่ กุนเชียง เห็ดหอมไว้ข้างบนแต่งหน้าด้วยผักชี
ทานกับแตงกวา พริกชี้ฟ้าเขียวหั่น และต้นหอม
                                                                หมึกแดง
                          เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗ หน้า ๖

 

 

 

 

 

 

 

 

 


         การเขียนอธิบายเหตุผล จะพบในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น อยู่ในเรียงความ บทความ คำปราศรัย โอวาท สุนทรพจน์ คำไว้อาลัย
คำกล่าวสดุดี ฯลฯ

การเขียนอธิบายเหตุผล


คนฉลาด
        เมื่อเราหาเงินหาทองได้  เราก็ควรใช้ให้มันเป็นประโยชน์ ใช้สำหรับ
ตนบ้าง กินอยู่ เครื่องนุ่งห่ม จัดบ้านจัดเรือนตามสมควรแก่ฐานะ เหลือจากนั้นเราก็แบ่งปันส่วนบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ช่วยสร้างสิ่งที่ควรสร้าง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์คนชรา คนพิการ
        เราอยู่สบาย มีทรัพย์สินเงินทองจับจ่ายใช้สอย เราก็นึกถึงความลำบากของคนเหล่านั้นบ้าง  โดยช่วยอนุเคราะห์เกื้อกูลเขาตามฐานะ หรือว่าเรามีปัญญามีสมองมีเงินทอง  แทนที่จะนั่งให้เขากู้ท่าเดียว เราก็เอาไปหมุนสร้างโรงงานประเภทต่างๆก็เท่ากับสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์
เหมือนกัน เพราะคนที่ยากจนจะได้เข้าไปอาศัยเป็นกรรมการรับใช้ในโรงงาน ทำให้การเงินหมุนเวียน คนเหล่านั้นได้กินได้ใช้อยู่ เราก็นอนกลางคืนก็นอน
เป็นสุข หลับเป็นสุข  อย่างนี้เป็นการสงเคราะห์ทั้งเขาทั้งเรา  รู้จักใช้สิ่งที่เรามีให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ คนเหล่านี้ เขาเรียกว่า เป็นคนฉลาดใช้เงินเป็น

                                                                        พระธรรมโกศาจาย์ (ปัญญานันทภิกขุ)


 

 

 


๑. เขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี โดยใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง การแบ่งวรรคตอนควรระมัดระวังให้มาก เพราะถ้าเว้นวรรคผิด อาจให้ผิดความหมาย
๒. การนำข้อความของผู้อื่นมาเขียน ต้องให้เกียรติเจ้าของข้อความนั้น โดยอ้างอิงแหล่งที่มา และใส่เครื่องหมายคลุมข้อความที่ยกมาอ้าง เช่น
        “(ข้อความ) จากหนังสือ “(ชื่อหนังสือ)” ของ “(ชื่อผู้แต่ง)”
๓. ข้อเขียนนั้นต้องไม่ทำความเดือดร้อน รำคาญใจ และเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่น เขียนชื่อ – นามสกุล ยศ ตำแหน่ง ไม่ถูกต้อง ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือมีความหมายถึงสิ่งไม่ดีไม่งาม
๔. ไม่เขียนข้อความพาดพิงให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงซึ่งอาจถูกฟ้อง เรียกค่าเสียหายในข้อหาหมิ่นประมาท ไม่ควรใช้อารมณ์ของตนเองในการเขียนวิจารณ์ผู้อื่นโดย ปราศจากเหตุผล และข้อเท็จจริง
๕. เขียนสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ทั้งด้านความรู้ ความบันเทิง เพื่อให้เกิดความสามัคคีและความสงบสุขแก่สังคมและประเทศชาติ

 

 

 

จัดทำโดย นางอัญชลีพร ลาบุญ

เอกสารอ้างอิง

     เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ป ๖. กรุงเทพฯ. อักษรเจริญ อจก. ๒๕๔๔.

สร้างโดย: 
นางอัญชลีพร ลาบุญ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 496 คน กำลังออนไลน์