วิทยุ ทีวี บนอินเทอร์เน็ต

รูปภาพของ niwat
                                                 วิทยุ ทีวี บนอินเทอร์เน็ต

 
เมื่อร้อยปีเศษมาแล้ว มาร์โคนี่ได้ส่งสัญญาณวิทยุ เป็นคลื่นแพร่กระจายออกไปในอากาศได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเครื่องรับวิทยุ ทั้งแบบเอเอ็ม เอฟเอ็ม ใช้กันทั่วโลก ต่อมาก็มีการพัฒนาวิธีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ทำให้มีการรับชมข่าวสารผ่านทางระบบทีวี จนปัจจุบันเกือบทุกบ้านมีวิทยุ โทรทัศน์ กันหมด
หลังจากปี ค.ศ. 1990 การประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เริ่มขึ้น มีการจัดการข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้อยู่บนเครื่องลูกข่ายที่เรียกว่า ไคลแอนต์ มีโปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า บราวเซอร์ บราวเซอร์ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรโตคอลมาตรฐาน ที่ชื่อ http
การประยุกต์ไฮเปอร์เท็กซ์ได้ขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่า เวิร์ลไวด์เว็บ เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้น การใช้งานข้อมูล ข่าวสารเหล่านี้ก็ก้าวเข้าสู่มัลติมีเดีย มีการเก็บข้อมูลรูปภาพ เสียง และวิดิโอ
การเก็บข้อมูลเสียงและวิดิโอในยุคแรกยังเป็นเพียงการเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เมื่อเครื่องที่เป็นไคลแอนด์ต้องการใช้ข้อมูล ก็มีการติดต่อมายังเครื่องให้บริการ การโอนย้ายข้อมูลก็เกิดขึ้น โดยวิธีการคัดลอกแฟ้มเหล่านั้นผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้ เมื่อคัดลอกมาได้ครบจึงเริ่มแสดงผล ลักษณะการใช้งานจึงเป็นวิธีการโอนย้ายไฟล์ มิได้เป็นการส่งกระจายแบบเวลาจริง
เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น จนสามารถบีบอัดข้อมูลเสียง และวิดิโอ ให้มีขนาดเล็กลงได้ การบีบอัดข้อมูลให้เหลือน้อย ทำให้ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายที่มีข้อจำกัดทางด้านปริมาณข้อมูลต่อวินาทีลงไปได้ เพราะหากผู้ใช้ติดต่อเครือข่ายด้วยโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ปริมาณข้อมูลต่อวินาทีที่รับส่งได้ยังอยู่ในกรอบจำกัด เช่น รับส่งได้สูงสุดเพียง 28.8 กิโลบิตต่อวินาที เมื่อข้อมูลเสียงหรือวิดิโอได้รับการบีบอัดลงจึงทำให้การสื่อสารผ่านสายไปบนอินเทอร์เน็ตมีความเป็นไปได้มากขึ้น
จนในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงแบบออนไลน์ ที่เป็นที่นิยมแบบอินเทอร์เน็ตคือ ระบบ real audio การส่งวิดิโอบนอินเทอร์เน็ตเสมือนการกระจายสัญญาณทีวีบนเครือข่าย เราเรียกระบบนี้ว่า video live
ระบบ real audio และ video live ประกอบด้วยเครื่องให้บริการที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ เครื่องให้บริการนี้รับสัญญาณเสียงโดยตรงจากแหล่งสัญญาณเสียง เช่น สัญญาณจากสถานีวิทยุจริง หรือรับสัญญาณวิดิโอจากสถานีส่ง หลังจากนั้นจะแปลงสัญญาณนั้นให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล พร้อมทำการบีบอัดให้เล็กลง เพื่อส่งไปยังเครื่องผู้ใช้
เครื่องผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรม real audio player ซึ่งประกอบติดตั้งเข้ากับโปรแกรมบราวเซอร์ เมื่อผู้ใช้ติดต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ ก็จะเปิดช่องสื่อสารระหว่างกัน เครื่องบริการที่เป็นเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลให้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเลิกการติดต่อ
แต่เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีสภาพแบ่งกันใช้งาน ไม่สามารถกำหนดคุณภาพของการรับส่งโดยตรงได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรับสัญญาณแบบออนไลน์ต่อเนื่อง ดังนั้นทางเครื่องไคลแอนต์ ซึ่งต้องสร้างบัฟเฟอร์ในหน่วยความจำไว้ เพื่อว่าบางขณะข้อมูลที่ส่งมาขาดหาย ข้อมูลในบัฟเฟอร์ยังรองรับการใช้งานได้ชั่วขณะหนึ่ง เพื่อให้สัญญาณต่อเนื่อง
โดยปกติหากรับสัญญาณเสียง จะมีการกำหนดช่องสื่อสารที่ต่อเนื่องขนาด 16 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นถ้าช่องสื่อสารจริงมีความจุมากกว่านี้ ก็จะทำให้การรับสัญญาณเสียงที่ต่อเนื่องเหมือนฟังวิทยุได้
ทำนองเดียวกัน หากรับสัญญาณวิดิโอ ช่องสัญญาณจะต้องมีความจุมากกว่า โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 23-30 กิโลบิตต่อวินาที ถ้าได้ความเร็วสูงกว่านี้ก็จะทำให้ภาพต่อเนื่อง แต่หากได้ความเร็วต่ำกว่านี้ภาพจะขาดเป็นช่วง ๆ
เครื่องให้บริการ real audio และ video live ทุกเครื่องจะมีข้อจำกัดจำนวนเครื่องลูกที่ติดต่อมา ทั้งนี้เพราะแถบกว้างของช่องสื่อสารมีจำกัด ผนวกกับขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ก็จำกัด สถานีให้บริการที่พบเห็นกันบนเครือข่ายขณะนี้ยังจำกัดจำนวนอยู่ที่ 60-240 สายสัญญาณ
ดังนั้นหากมีผู้นิยมใช้บริการกันมาก ข้อจำกัดนี้จะต้องได้รับการพัฒนา แต่เนื่องจากการติดตั้งสถานีบริการทำได้ง่าย จึงเชื่อแน่ว่าจะมีผู้ตั้งสถานีบริการ real audio และ video live กันมาก
การตั้งสถานีจะมีอยู่ในโฮมเพ็จ ทุกโฮมเพ็จสามารถใส่ข้อมูลแบบมัลติมีเดียสำหรับเป็นสื่อไว้ใช้ติดต่อกัน ร้านค้าอาจมีสถานีวิทยุสำหรับโฆษณาขายสินค้า มีสถานีส่งวิดิโอเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นสินค้า
ปัญหาที่สำคัญคือ ความต้องการใช้เครือข่ายจะมากขึ้นอีกมาก จนทำให้ถนนของข้อมูลข่าวสารไม่สามารถรองรับได้ พัฒนาการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า Information Highway จึงต้องพัฒนาให้มีปริมาณการรับส่งข้อมูลได้มาก
เชื่อแน่ว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ระบบวิทยุและทีวีบนเครือข่ายเป็นจริงได้ โครงสร้างการสื่อสารของประเทศหลายโครงการกำลังรองรับอยู่ ข่ายการสื่อสารด้วยแถบกว้างที่สามารถส่งข้อมูลในปริมาณมากคงจะมีให้เห็นในเร็ววันนี้
real audio และ video live เป็นบทพิสูจน์บทเริ่มต้นถึงความเป็นไปได้ในการตั้งสถานีวิทยุ และโทรทัศน์บนเครือข่าย และจะทำให้มีจำนวนสถานีเหล่านี้เป็นหมื่นเป็นแสนสถานีได้ ที่สำคัญคือ ข่าวสารจะเป็นแบบไร้พรมแดน ที่รัฐบาลเองก็ไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจะมีผู้ตั้งสถานีบนเครือข่ายกันมาก

สร้างโดย: 
ว่าที่ พ.ต.นิวัฒน์ มาตย์นอก โรงเรียนอนุบาลวัดในเรืองศรีวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 426 คน กำลังออนไลน์