การรำโจ๋ง

รูปภาพของ niwat

                                                                            การรำโจ๋ง

                                                                                 

ประวัติความเป็นมา

                 นายธวัช ธูปมงคล อายุ ๙๑ ปี นายธวัช ธูปมงคล ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ ๕๗ หมู่ ๕ ตำบล สระประ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ บิดาชื่อ นายสูตร ธูปมงคล มารดาชื่อ นางสองเมือง ธูปมงคล มีอาชีพ เกษตรกรรม ได้ให้สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของการรำโจ๋งว่า การละเล่นรำโทนหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “รำโจ๋ง” เป็นการเล่นที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้ที่คิดค้นขึ้น แต่พอมีเค้าว่า ในสมัยก่อนนั้นชาวเมืองวิเชียรบุรีมักคิดติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาหรือเมืองต่าง ๆ แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยอาศัยเส้นทางคมนาคมทางลำน้ำป่าสักอยู่เนือง ๆ จึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทกลองโทน ฆ้อง รวมทั้งท่วงท่ารำจากการละเล่นรำวง การแสดงกลองยาวหรือลิเกของพื้นภาคกลาง แล้วคิดดัดแปลงท่วงท่ารำใหม่ตามภูมิปัญญาประยุกต์เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนที่เมื่อยามหน้าแล้งว่างเว้นจากการทำไร่ทำนาเด็ก ๆ หนุ่มและสาว ๆ ในช่วงยามเช้าหรือบ่ายมักต้อนวัวและควายจากคอกปล่อยออกไปและเล็มกินหญ้ากินน้ำตามทุ่งไร่ทุ่งนา ส่วนคนเลี้ยงบ้างก็พากันไปคุยกันเล่นกันอยู่ตามร่มไม้ใหญ่ บ้างก็ลงลำห้วยบึงแม่น้ำ หรือเช้าไปในชายป่าที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อหาเก็บผักหักฟืน พอวัวควายอิ่มพลีแล้วจึงแยกย้ายกันต้อนกลับคืนบ้านของตนทำให้เกิดท่าร่ายรำเยื้องย่างช้า ๆ มีกลองโทนและฆ้องคอยตีเพื่อกำกับจังหวะ


  โดยมีจินตนาการในลักษณะการต้อนวัว ซึ่งแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายสมมุติให้ฝ่ายชายเป็นวัว ส่วนฝ่ายหญิงเป็นคนต้อนและไล่จับวัว โดยฝ่ายหญิงจะไปต้อนฝ่ายชายออกมาทีละคน ในขณะที่ไล่ต้อนจับกันอยู่นั้น จะมีสัญญาณโทนตีจังหวะเสียงดัง ครึ่ม ครึ่ม ครึ่ม เมื่อจับได้แล้ว ฝ่ายหญิงจะควบคุมไว้ แล้วไล่ต้อนจับฝ่ายชายคนต่อไปจนหมด แล้วจึงชวนกันออกมารำฝ่ายหญิงจะรำเป็นวงกลมอยู่รอบนอก ฝ่ายชายจะรำอยู่วงในทำทีเหมือนถูกล้อมคอก ท่ารำท่อนนี้จะเปลี่ยนไปตามจังหวะการตีของกลองโทน เสียงดัง โจงจะโจง ครึ่ม ๆ จำนวน 7 เที่ยว แล้วเปลี่ยนเป็นครึ่ม 1 เที่ยว ในช่วงนี้ฝ่ายชายจะเปลี่ยนคู่รำ อาจจะไปข้างหน้าหรือถอยมารำกับคนข้างหลังก็ได้ พอร่ายรำกันจนเหนื่อยแล้วจึงพักพูดคุยกันหรือแยกย้ายกันกลับบ้านเรือนของตน ครั้นเมื่อภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ได้มีผู้นำเอาการเล่นรำโจ๋งไปประยุกต์เป็นการละเล่นต่าง ๆ เช่น รำเทิ่งบ้อง รำวงประยุกต์ เป็นต้น


อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบที่สำคัญ

๑.กลองโทน ๒ – ๔ ลูก ซึ่งเดิมได้ทำจากเครื่องปั้นดินเผา สำหรับหนังช่วงใช้ตีโทนสมัยก่อนจะนำหวายมาสานขึงหนังตะกวด หรือหนังตัวแลนให้แน่นตึงกับดินเผา แต่ปัจจุบันส่วนมากจะทำด้วยหนังงูเหลือม
๒.ฆ้องโหม่ง ๑ ใบ
ลักษณะการแต่งกาย
๑. ฝ่ายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก และห่มสไบ
๒. ฝ่ายชายนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าสไบคล้องคอ
ก่อนจะมีการแสดงรำโจ๋ง
ผู้ให้สำภาษณ์ คือ นายธวัช ธูปมงคล และนางน้อย ตะกรุดแก้ว ผู้แสดงรำ และผู้แสดงตีโทน อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เล่าให้ฟังว่าก่อนที่จะรำต้องมีการไหว้ครูเสียก่อน ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
๑. เงินค่าครู จำนวน ๑๒ บาท
๒. ดอกไม้ใส่กรวย ๑ คู่
๓. บุหรี่ หมาก พลู จำนวน ๕ คำ
๔. ธูป ๓ ดอก
๕. เทียน ๒ เล่ม

 


ภาพการไหว้ครู


ภัทธิรา เพ็ชรวงศ์
วัฒนธรรมอำเภอวิเชียรบุรี เอื้อเฟื้อข้อมูล

 

สร้างโดย: 
ว่าที่ พ.ต.นิวัฒน์ มาตย์นอก โรงเรียนอนุบาลวัดในเรืองศรีวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 423 คน กำลังออนไลน์