อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ

รูปภาพของ silavacharee

ชนชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเมโสโปเตเมียได้แก่
1. 2 สุเมเรียน
ชนชาติสุเมเรียน  ( Sumerian )  เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเมโสโปเตเมียและ
เป็นชนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมในดินแดนแห่งนี้ ในระยะแรกชาวสุเมเรียนมีการปกครองในระบบเมืองซึ่งแต่ละเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อกัน มีลักษณะเป็นนครรัฐและแต่ละนครรัฐมักจะแย่งชิงความเป็นใหญ่กันอยู่เสมอ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล นครรัฐเออร์ ( Ur ) มีอำนาจสามารถเข้าครอบครองเมืองน้อยใหญ่ในบริเวณนั้นเข้ามาอยู่ในอำนาจและได้ขายพื้นที่ไปจนจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  สุเมเรียนสามารถครอบครองดินแดนนี้ได้เป็นเวลานานถึง 1,000 ปี และได้สร้างสรรค์อารยธรรมให้แก่ดินแดนนีh

 ระบบชลประทาน  เนื่องจากดินแดนเมโสโบเตเมียเป็นดินที่มีสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย และเป็นดินแดนที่มีความแตกต่างทางธรรมชาติที่มีอากาศแปรปวนอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งก็จะมีอากาศแปรปวนอยู่เสมอ เช่นบางครั้งก็จะมีอากาศที่มีอุณหภูมิสูงและร้อนจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่บางครั้งก็จะมีพายุฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมอย่งฉับพลัน หรือการที่หิมะบนเทือกเขาอาร์เมเนียละลายลงแม่น้ำทั้งสองและไหลท่วมทำให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชากรที่อาศัยอยู่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ ดังนั้นชาวสุเมเรียนจึงจำเป็นที่จะต้องคิดหาวิธีการเอาชนะธรรมชาติที่โหดร้ายด้วยการสร้างทำนบขนาดใหญ่ ขุคลองละบายน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูน้ำและอ่างเก็บน้ำ เพื่อที่จะทดน้ำไปยังบริเวณทึ่แห้งแล้งที่อยู่ห่างไกลจากแม่น้ำ
 การประดิษฐอักษร   ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่คิดประดิษฐ์อักษรได้สำเร็จ  อักษรของสุเมเรียนใช้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวที่เปียกด้วยกิ่งของต้นอ้อ แล้วนำไปตากแห้ง หรือเผา เรียกว่าอักษรลิ่ม หรือ คูนีฟอร์ม ( Cuneiform )  ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า cuneus ซึ่งแปลว่าลิ่ม และ formis แปลว่ารูป อักษรลิ่มของสุเมเรียนนั้นเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนความหมายของคำ และใช้ประโยชน์ในทางศาสนา การบันทึกของพระ การทำบัญชีการค้า บทบัญญัติแห่งศาสนา อักษรลิ่มของสุเมเรียนนี้ จัดว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แบบเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีความเก่าแก่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ และแป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นพัฒนาการที่สำคัญในการสร้างสรรค์อารยธรรมในด้านต่าง ๆ ให้แก่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย


 ตัวอย่างอักษรลิ่ม

 วรรณกรรม  ผลจากการประดิษฐ์อักษรของชาวสุเมเรียนทำให้เกิดงานเขียนเรื่องสั้น ซึ่งเขียนโดยนักบวชได้แก่ บทสวด  โคลงสดุดีเทพเจ้า ส่วนงานเขียนที่เป็นเรื่องยาวไม่สามารถเขียนลงบนแผ่นดินเหนียวได้ดังนี้จึงใช้วิธีการท่องจำเอาและชาวสุเมเรียนมีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหากาพย์กิลกาเมซ ( Epic of Gilgamesh )  ซึ่งเป็นเรื่องราวของการผจญภัยของวีระบุรุษที่แสงหาชีวิตอันเป็นอมตะและมีผุ้สันนิษฐานว่ามหากาพย์เรื่องนี้มีอิทธิพลต่อระคัมภีร์เก่า ( Old testament  ) ในคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งกล่าวถึงน้ำท่วมโลก เช่นเดียวกับมหากาพย์นี้

 ถาปัตยกรรม   งานด้านสถาปัตยกรรมของสุเมเรียนส่วนใหญ่มักสร้างด้วยอิฐ ซึ่งทำมาจากดินเหนียวตากแห้งซึ่งมีมากมายอยู่ในบริเวณนั้น  ซึ่งเรียกว่า Sun – dried – brick  หรือเรียกว่าอิฐตากแห้ง หรือดินเหนียวที่เผาด้วยไฟ หรืออบให้แห้ง เรียกว่า  Baked – brick  ซึ่งอิฐประเภทนี้จะมีความคงทนกว่าจึงใช้ในการก่อสร้างอาคารมีต้องการความมั่นคง เช่น พระราชวัง กำแพงเมือง  สถาปัตยกรรมของสุเมเรียนที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซิกูแรต ( Ziggurat ) ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศาสนสถาน หรือเป็นวิหารของเทพเจ้า

                                                                           ภาพซิกูแรต
 
 ศาสนา  สังคมสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์ และให้ความยำเกรงในอำนาจของเทพเจ้า และจะถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์เพื่อให้พระเจ้าทรงเมตตาและไม่ลงโทษด้วยภัยธรรมชาติทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เลวร้ายทำให้ชาวสุเมเรียนต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถจะป้องกันได้ เช่น พายุลม พายุฝุ่น หรือภัยจากน้ำท่วม ทำให้ชาวสุเมเรียนมีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นทาสของพระเจ้า หรือเกิดมาเพื่อรับใช้สร้างความพอใจให้กับพระเจ้า พร้อมกันนี้แต่ละนครรัฐก็จะมีเทพเจ้าประจำเมืองของตนเอง พร้อมกันก็จะนับถือเทพเจ้าอื่น ๆ ด้วย เทพเจ้าที่นับถือทั่วไปได้แก่ เทพีอิชต้า ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบรูณ์  หรือแม่พระธรณี  และเทพแทมมุช ซึ่งเป็นเทพแห่งพืชพันธ์ธัญญหาร
 ปฏิทินและการชั่งตวงวัด  ชาวสุเมเรียนมีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ มีการทำปฏิทิน การชั่งตวงวัด  ซึ่งระบบการชั่งตวงวัดของสุเมเรียนนั้นแบ่งออกเป็น ทาเลน เชคเคิล และ มีนา โดยมีมาตราส่วนดังนี้
            1 เชคเคิล  เท่ากับ  1 มีนา
          60 มีนา       เท่ากับ 1 ทาเลน   ( 1 มีนา ประมาณ 1 ปอนด์ ) 
              การนับแบบนี้เรียกว่า ฐาน 60 ซึ่งมีอิทธิพลต่อการนับแบ่งเวลาในปัจจุบัน

สร้างโดย: 
วัชรี26

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 546 คน กำลังออนไลน์