พืชกินแมลง

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


พืชกินแมลง (carnivorous plant หรือ insectivorous plant) เป็นพืชที่กินแมลงเป็นอาหาร เพราะพืชชนิดนี้จะขึ้นอยู่ในบริเวณที่ดินขาดความอุดสมบูรณ์โดยเฉพาะขาดแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) จึงจำเป็นต้องกินแมลงเพื่อไปทดแทนไนโตรเจนที่ขาดไป ในประเทศไทยพืชพวกนี้ที่รู้จักกันดี ได้แก่ หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง หยาดน้ำค้าง เป็นต้น

ลักษณะที่สำคัญของพืชกินแมลง

1. พืชต้นนั้น ต้องมีความสามารถในการดูดซึมธาตุอาหารจากสัตว์ตายซึ่งอยู่แนบกับพื้นผิวของต้นได้ และใช้วิธีนี้ช่วยบำรุงให้ต้นแข็งแรงในแง่ของ การเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของต้นพืช, โอกาสในการอยู่รอด, การสร้างละอองเรณู และการสร้างเมล็ด
2. พืชต้นนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างชัดเจนบางอย่าง โดยมีเป้าหมายหลักในการล่อแมลง, จับ และย่อยเหยื่อ

กลไกที่ใช้ในการดักจับเหยื่อ (Trapping mechanism)

พืชกินแมลงมีกลไกในการดัดจับเหยื่อ แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ

1. Pitfall traps พืชจะสร้างหลุมกับดักไว้บริเวณใบ โดยใบจะม้วนเป็นถุงเหมือนหม้อ ภายในจะมีเอนไซม์ใช้สำหรับย่อยแมลงที่หล่นลงไป พืชกินแมลงพวกนี้เรียกว่า pitcher plant เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes sp.)

2. Flypaper traps พืชจะสร้างสารเหนียวที่เรียกว่า mucilage ออกมาจากต่อมปลายขนที่บริเวณใบ พบในพวกหยาดน้ำค้าง

(Drosera sp.

3. Snap traps ใบจะมีการตอบสนองและหุบลงอย่างรวดเร็ว พบในพวก กาบหอยแครง (Dionaea sp.)

4. Bladder traps เป็นถุงอยู่โคนใบพบในพืชน้ำ ได้แก่พวกสาหร่ายข้าวเหนียว (Utricularia sp.)

5. Lobster-pot traps กับดักจะเป็นโพรงมีรูให้แมลงเดินผ่านเข้าไปได้ เมื่อเข้าไปแล้วไม่สามารถเดินออกมาได้เพราะจะมีขนดักเอาไว้

Pitfall traps

ได้แก่พวกหม่อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชวงศ์ Nephenthaceae  สกุล Nephenthes  พืชสกุลนี้มีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่มีการศึกษาและรวบรวมชื่อพรรณไม้ในประเทศไทย (Smitinand,1980) พบว่ามีพืชในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ได้แก่ หม้อข้าวหม้อแกงลิง (N. ampullaria Jack) น้ำเต้าฤาษี (N. kampotiana Lec) แขนงนายพราน (N.mirabilis  Druce หรือ N. phyllamphora Willd). น้ำเต้าฤาษี (N. smilesii Hemsl). และน้ำเต้าลม (N. thorelii Lec.) มักขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอหนาแน่น หรือถ้าเป็นต้นอ่อนจะขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ลำต้นอาจเลื่อยไปตามพื้นดิน หรือเกาะไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบยาว ๑๒ - ๑๘ เซนติเมตร ปลายใบเป็นกระเปาะคล้ายเยือก ยาว ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร กระเปาะเมื่อยังอ่อนฝาจะปิด เมื่อกระเปาะแก่ฝาจะเปิด กระเปาะมีหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำตาลอมแดง และสีเขียวปนแดงเรื่อๆ ภายในกระเปาะมีขนป้องกันแมลงที่ตกเข้าไป ไม่ให้ออกได้ อีกทั้งผิวกระเปาะยังมีรูเล็กๆจำนวนมากปล่อยน้ำย่อยออกมาขังไว้ในกระเปาะ เพื่อย่อยสลายแมลงเป็นอาหาร จะออกดอกระหว่างเดือนพฤศภาคม - สิงหาคม ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว ๕๐ - ๑๐๐ เซนติเมตร ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกอยู่กันคนละต้น

       
 ภาพที่ 1 แสดงลำต้นและใบหม้อข้าวหม้อแกงลิง        ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของถุงดักแมลง
สร้างโดย: 
ปราโมทย์ ทองเนียม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 436 คน กำลังออนไลน์